คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงรับรองฎีกา และความผิดฐานฉ้อโกงจากสัญญาซื้อขายหุ้น
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับในศาลแขวง แต่ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้บังคับ ให้คงใช้กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีอำนาจรับรองให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 ได้ โจทก์เป็นผู้จะซื้อหุ้นที่บริษัท ส. จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดโดยมีข้อตกลงเรื่องผิดสัญญากันไว้ว่าจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรแล้ว ซึ่งแยกเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาและกรณีที่โจทก์ผิดสัญญา เมื่อจำเลยถูกหาว่ากระทำผิดสัญญาจะซื้อจะขายตามที่ได้ตกลงกันไว้ จำเลยในฐานะผู้จะขายก็ชอบที่จะถูกโจทก์ในฐานะผู้จะซื้อฟ้องบังคับกันตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าว เพื่อรับค่าเสียหายตามข้อตกลงเท่านั้น คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลความผิดฐานฉ้อโกงที่ศาลจะประทับฟ้องไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินความผิดฐานขับรถประมาทและการลงโทษฐานหลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
การที่จำเลยจะได้รับโทษหนักขึ้นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคสองนั้น หมายถึงกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง แล้วเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส มิใช่หมายถึงจำเลยขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยก่อความเสียหายแล้วจำเลยได้หลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที มิได้บรรยายอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส จึงไม่อาจลงโทษตามมาตรา 160 วรรคสองได้ ต้องลงโทษตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4877/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา, การนับโทษต่อกัน, และองค์ประกอบความผิดฐานออกเช็คไม่มีเงิน
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีระบุว่า โจทก์โดยส.และ บ.กรรมการ มอบอำนาจให้ก.เป็นผู้มีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย เป็นการมอบอำนาจเฉพาะการเพื่อฟ้องคดีอาญาและหนังสือมอบอำนาจนี้มิได้ระบุเจาะจงว่าให้ฟ้องได้เพียงคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะ ก. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาเป็นหลายสำนวนได้ ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยออกเช็คพิพาททั้งหกฉบับเพื่อชำระหนี้ค่ากระป๋องและฝา กระป๋อง ให้แก่โจทก์จำเลยฎีกาโต้แย้งว่าพยานโจทก์เบิกความว่า จำเลยออกเช็คเพื่อค้ำประกันหนี้ให้ล.เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสองจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยออกเช็คให้โจทก์รวม 6 ฉบับ เมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนด ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องโดยยกฟ้องเป็นสามสำนวน สำนวนแรกโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 1 ฉบับ สำนวนที่ 2 บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 3 ฉบับ สำนวนที่ 3 บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คจำนวน 2 ฉบับ คำขอท้ายฟ้องแต่ละสำนวนไม่ขอให้นับโทษจำเลยต่อ จึงนับโทษต่อกันไม่ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นับโทษจำเลยแต่ละสำนวนต่อกันจึงไม่ชอบ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โจทก์ฎีกาขอไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์แก้โทษเป็นรอการลงโทษ ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก 3 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ 1,000 บาทอีกสถานหนึ่ง รวม 3 กระทง ปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลย เป็นการแก้ไขมาก แต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเป็นรอการลงโทษ โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ ถือเป็นการโต้เถียงดุลยพินิจ จึงต้องห้ามฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326จำคุกกระทงละ1เดือนรวม3กระทงจำคุก3เดือนศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ1,000บาทอีกสถานหนึ่งรวม3กระทงปรับ3,000บาทโทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด2ปีแม้ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลยเป็นการแก้ไขมากแต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค1ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปีจึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯมาตรา4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ จำเลยต้องโทษจำคุกไม่เกินสองปี จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ 1,000 บาท อีกสถานหนึ่ง รวม 3 กระทง ปรับ3,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลย เป็นการแก้ไขมาก แต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบพระราชกฤษฎีกาต่อความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณะ และการพิจารณาโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแต่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลได้มีพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินพิพาทดังนั้น ที่ดินพิพาทย่อมไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแต่ที่ดินพิพาทยังคงมีสภาพเป็นที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหาได้เปลี่ยนแปลงตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จึงยังมีความผิดอยู่ แต่เมื่อที่ดินพิพาทมิได้มีสภาพเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน จึงเป็นกรณีกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าทางใดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 จำเลยทั้งหกจึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ต้องรับโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่า พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวหาได้บัญญัติให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดไม่จึงไม่มีผลให้จำเลยทั้งหกพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 การที่นายอำเภอซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ดูแลที่ดินพิพาทดังกล่าวตามกฎหมายมีหนังสือสั่งให้จำเลยที่ 4 และที่ 6 ออกไปจากที่ดินพิพาทภายในกำหนดจำเลยที่ 4 และที่ 6 ทราบแล้วเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุและข้อแก้ตัวอันสมควรการกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 6 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา368 วรรคหนึ่ง ความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลยที่ 4และที่ 6 คนละ 400 บาท จึงเป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 แต่เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5อุทธรณ์รวมมากับความผิดฐานอื่นที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้ซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา: โจทก์ต้องมาศาลเพื่อแจ้งรายละเอียดการฟ้องด้วยตนเอง
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20กำหนดไว้ว่าถ้าผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ให้พนักงานสอบสวนนำผู้ต้องหามายังพนักงานอัยการเพื่อฟ้องศาลโดยไม่ต้องสอบสวนและให้ฟ้องด้วยวาจา และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่าการฟ้องด้วยวาจาให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดและอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่นนี้ โจทก์จึงต้องมาศาล เมื่อโจทก์เพียงแต่ให้พนักงานธุรการนำบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจามายื่นต่อศาล โดยโจทก์ไม่มาศาล ย่อมถือไม่ได้ว่ามีการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา
บันทึกการฟ้องคดีด้วยวาจาของโจทก์เป็นเพียงหลักฐานการฟ้องคดีด้วยวาจา และเพื่อความสะดวกที่ศาลจะบันทึกการฟ้องด้วยวาจาลงในแบบพิมพ์ของศาลได้รวดเร็วขึ้นเท่านั้น หาใช่ฟ้องด้วยวาจาตามกฎหมายไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ ชนกันที่สี่แยก แม้ผู้ขับอีกฝ่ายประมาท จำเลยก็ต้องรับผิดชอบหากขับเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ประจำทางโดยประมาทฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจราจร เป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์อีกคันหนึ่งมีคนบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสหลายคน ศาลแขวงลงโทษจำเลยในความผิดฐานฝ่าฝืนพระราชบัญญัติจราจร ให้ยกฟ้องในข้อหาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส โจทก์อุทธรณ์ในข้อกฎหมายว่าจำเลยมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดฐานทำให้คนบาดเจ็บสาหัสโดยประมาทด้วย เช่นนี้จำเลยฎีกาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 เพราะในข้อหาฐานทำให้คนบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสโดยประมาทนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยขับรถผ่านสี่แยกด้วยความเร็วเกินกว่า 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถอีกคันหนึ่งขับล้ำเข้าไปในสี่แยกโดยฝ่าฝืนเครื่องหมายหยุด การที่จำเลยขับรถผ่านสี่แยกด้วยความเร็วเกินกำหนดและไม่ชลอให้ช้าลงบ้าง เป็นเหตุให้รถชนกัน ดังนี้ ย่อมได้ชื่อว่าจำเลยได้กระทำการโดยประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1973/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้สืบพยานพิสูจน์พยานจำเลยในคดีอาญา: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกา
ในคดีอาญา เมื่อโจทก์สืบพยานหมดแล้วอยู่ระหว่างสืบพยานจำเลย โจทก์ยื่นคำร้องขอพิสูจน์พยานจำเลยที่เบิกความไปแล้วโดยอ้างประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 120 และ 88 วรรคท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลชั้นต้นสั่งชี้ขาดในปัญหาที่โจทก์จะพิสูจน์พยานจำเลยว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ห่างไกลต่อประเด็นแห่งคดีจึงไม่อนุญาต การที่ศาลชั้นต้นสั่งเช่นนี้ ก็โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงมิใช่เป็นการพิจารณาในข้อกฎหมาย เมื่อเป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ถึงหากโจทก์จะขอสืบพยานพิสูจน์พยานจำเลยได้ โจทก์ก็อุทธรณ์ฎีกาเพื่อขอสืบพยานพิสูจน์พยานจำเลยไม่ได้อยู่นั่นเอง
of 17