คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12840/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาแก้ของศาลอุทธรณ์ไม่ใช่การกลับคำพิพากษา ทำให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 4 มีความผิดตามฟ้อง ลงโทษจำคุก 4 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 2 เดือน เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน การที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนนั้น ศาลอุทธรณ์ยังพิพากษาว่าจำเลยที่ 4 มีความผิดตามฟ้องโจทก์อยู่เพียงแต่ลงโทษแตกต่างไปจากศาลชั้นต้นเท่านั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นการพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่พิพากษากลับ จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ตรี ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ที่จำเลยที่ 4 ฎีกาว่า เพิ่งเข้ามาเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ไม่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์... และขอให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 4 นั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ทั้งเป็นกรณีที่ไม่อาจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12604/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาคดีถึงที่สุดและการออกหมายจำคุกหลังถอนฎีกา: ศาลพิจารณาจากระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิฎีกา หรือคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหลัก
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตถึงวันเสาร์ที่ 18 เมษายน 2558 แม้การใช้สิทธิฎีกาจะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความ และจำเลยใช้สิทธิฎีกาและขอถอนฎีกาแล้วก็ตาม แต่โจทก์อาจฎีกาได้ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาไว้ ดังนั้น จะถือว่าคดีถึงที่สุดในวันที่ 31 มีนาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยถอนฎีกาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นหาได้ไม่ ต้องถือว่าเป็นที่สุดเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของวันสุดท้ายที่โจทก์อาจฎีกาได้ คือวันที่ 20 เมษายน 2558 หรือกรณีที่โจทก์ยื่นฎีกาต้องถือว่าเป็นที่สุดเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้คู่ความฟัง ที่จำเลยขอให้ออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดย้อนหลังไปในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดยื่นฎีกาของจำเลยหรือวันที่ 31 มีนาคม 2558 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้จำเลยถอนฎีกาจึงไม่อาจกระทำได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคดีหลักโจทก์ยื่นฎีกาและศาลฎีกามีคำพิพากษาพร้อมคดีนี้แล้ว ดังนี้ คดีย่อมถึงที่สุดเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหลักให้คู่ความฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12603/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาโจทก์ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่โต้แย้งการออกหมายจำคุกหลังยื่นขอขยายเวลาฎีกา
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ว่า ฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำเลยหรือไม่ แล้วพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นฎีกาของโจทก์ที่ว่า การออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะคดียังอยู่ในระหว่างที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 หรือกล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อใด อย่างไร อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12603/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นฎีกาไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่โต้แย้งกระบวนการออกหมายจำคุก
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในประเด็นที่ว่า ฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และมีเหตุสมควรรอการลงโทษจำเลยหรือไม่ แล้วพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ฎีกาของโจทก์ที่ว่า การออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดให้แก่จำเลยเพื่อให้จำเลยได้รับพระราชทานอภัยโทษไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากคดียังอยู่ในระหว่างที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกา คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 หรือกล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อใด อย่างไร อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11066/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องคดีแพ่งในคดีอาญาที่ไม่สมบูรณ์ ศาลไม่ควรอนุญาต
โจทก์ยื่นฟ้องเฉพาะคดีอาญาจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องและจำเลยให้การต่อสู้คดีแล้ว โจทก์จึงมายื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องให้จำเลยรับผิดในส่วนแพ่ง จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา โจทก์ต้องฟ้องคดีแพ่งมาพร้อมกับคดีอาญามาตั้งแต่แรก การขอเพิ่มเติมฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 นั้น ฟ้องเดิมจะต้องสมบูรณ์อยู่แล้ว ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องและรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณาจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11066/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องคดีแพ่งในคดีอาญาต้องฟ้องพร้อมกันตั้งแต่แรก การเพิ่มเติมฟ้องภายหลังไม่ชอบ
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นหมายถึงคดีที่การกระทำผิดอาญานั้นก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องทางแพ่งติดตามมาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องคดีส่วนอาญาแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องและหมายเรียกจำเลยแก้คดีย่อมเป็นการสั่งรับฟ้องคดีส่วนอาญาและคำฟ้องคดีส่วนแพ่งด้วยโดยไม่จำต้องสั่งรับฟ้องคดีส่วนแพ่งอีก ดังนี้ ในการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาโจทก์จึงต้องฟ้องคดีแพ่งมาพร้อมกับคดีอาญาตั้งแต่แรก แต่คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องเฉพาะคดีในส่วนอาญาจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องและจำเลยให้การต่อสู้คดีแล้วโจทก์จึงมายื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องให้จำเลยรับผิดคดีในส่วนแพ่ง ซึ่งการขอเพิ่มเติมฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 นั้น ฟ้องเดิมจะต้องสมบูรณ์อยู่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเฉพาะคดีอาญาแล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องโดยขอให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งโดยอ้างว่าโจทก์ต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัท บ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห. และนาย ท. จำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ ดังนี้คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างความรับผิดทางแพ่งของจำเลยขึ้นมาใหม่ โจทก์จะมาขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10424/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพและการพิพากษาในคดีอาญา: ศาลไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติมหากจำเลยให้การรับสารภาพ
ข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องมิใช่เป็นข้อหาความผิดที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นให้ขัดกับที่จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องหาได้ไม่ ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10252/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยไม่แจ้งวันนัดและไม่ออกหมายจับจำเลยที่ไม่ได้มาฟังคำพิพากษาเป็นกระบวนการที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นไม่ได้ออกหมายแจ้งวันนัดให้โจทก์มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในวันที่ 2 มิถุนายน 2558 และไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้โจทก์ฟัง ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 2 มิถุนายน 2558 โดยไม่เชื่อว่าจำเลยไม่สามารถเดินทางมาศาลได้ กรณีจึงมีเหตุสงสัยว่าจำเลยจงใจไม่มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ศาลชั้นต้นต้องออกหมายจับจำเลยเพื่อมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 แม้ศาลชั้นต้นเคยออกหมายจับจำเลยมาครั้งหนึ่งแล้วตามคำสั่งศาลชั้นต้นลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ก็ตาม แต่การออกหมายจับดังกล่าวเป็นการออกหมายจับจำเลยเพื่อบังคับตามคำพิพากษาเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้โจทก์ฟังและไม่ได้ออกหมายจับจำเลยเพื่อมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 แม้ศาลชั้นต้นจะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ให้ทนายจำเลยฟังก็ตาม แต่ทนายจำเลยไม่ใช่คู่ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (3) และ (15) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9091/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: การพิสูจน์วันที่โจทก์รู้ความผิดและตัวผู้กระทำผิดมีผลต่อการฟ้องคดี
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยกระทำความผิดฐานยักยอก จำเลยไม่ฎีกาแต่ยื่นคำแก้ฎีกาทำนองว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานยักยอกอันเป็นการขอให้ศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิใช่ขอมาในคำแก้ฎีกา จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ การกระทำความผิดฐานยักยอกของจำเลยจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น หากจำเลยประสงค์จะต่อสู้คดีว่าโจทก์มิได้ฟ้องคดีนี้ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดแล้ว จำเลยต้องซักค้านพยานโจทก์ที่นำสืบในชั้นพิจารณาให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์รู้เรื่องความผิดคดีนี้และรู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อไร แต่จำเลยไม่ได้ซักค้านพยานโจทก์ดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงยังไม่อาจฟังยุติตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ แต่จากคำเบิกความของ ห. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ประกอบกับรายงานการตรวจสอบของ บ. ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทโจทก์ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2554 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2554 จึงเป็นการฟ้องภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9076/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาต้องยกข้อต่อสู้ในชั้นต้น หากมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ปัญหาเรื่องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งจำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ก็ตาม แต่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาและวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่า การกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ของจำเลยคดีนี้เป็นกรรมเดียวกับความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 619/2556 ของศาลชั้นต้น และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์คดีนี้ระงับไปเพราะคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้ว จึงเป็นข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
of 17