พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานของคนต่างด้าวเกินขอบเขตใบอนุญาต แม้เป็นงานต่อเนื่องการบริหารก็ผิด พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำงานกับบริษัท ป. ซึ่งประกอบกิจการสถานบริการ ในตำแหน่งผู้จัดการ แต่ได้ทำงานเป็นพนักงานผสมเหล้าให้ลูกค้าดื่ม อันเป็นการทำงานที่นอกเหนือไปจากที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องแล้วว่า จำเลยซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการ แต่ได้ทำงานเป็นพนักงานผสมเหล้าให้ลูกค้าดื่ม ศาลย่อมไม่อาจแปลความตามคำฟ้องให้แตกต่างออกไปได้ว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสถานบริการที่ประกอบกิจการจำหน่ายสุรา จึงมีหน้าที่ควบคุมดูแลบริหารงานทั้งหมดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัท เมื่อบริษัทมีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายสุราให้แก่ลูกค้า การที่จำเลยผสมเหล้าให้แก่ลูกค้าของบริษัทดื่มถือเป็นลักษณะงานต่อเนื่องจากการบริหารเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทซึ่งจำเลยเป็นลูกจ้างโดยไม่มีข้อบ่งชี้ว่าจำเลยจะมาทำงานในตำแหน่งเป็นพนักงานผสมเหล้าอีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อให้ได้รับเงินค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นเพิ่มขึ้นจากตำแหน่งเดิม การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 มาตรา 26 วรรคแรกแล้ว เมื่อความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นและจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นย่อมลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
ศาลเป็นผู้สอบถามจำเลยซึ่งจำเลยพูดและฟังภาษาไทยเข้าใจดี แสดงว่าศาลได้สอบคำให้การจำเลยต่อหน้าศาลและจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์ จึงให้การรับสารภาพ เช่นนี้ จึงมีการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อหน้าศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และคำให้การรับสารภาพของจำเลยเป็นไปตามความประสงค์อันแท้จริงของจำเลยแล้ว หาใช่เกิดจากความไม่เข้าใจในภาษาไทยไม่ กรณีไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องใช้ล่ามแปลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันสอบคำให้การจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลเป็นผู้สอบถามจำเลยซึ่งจำเลยพูดและฟังภาษาไทยเข้าใจดี แสดงว่าศาลได้สอบคำให้การจำเลยต่อหน้าศาลและจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์ จึงให้การรับสารภาพ เช่นนี้ จึงมีการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อหน้าศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และคำให้การรับสารภาพของจำเลยเป็นไปตามความประสงค์อันแท้จริงของจำเลยแล้ว หาใช่เกิดจากความไม่เข้าใจในภาษาไทยไม่ กรณีไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องใช้ล่ามแปลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในวันสอบคำให้การจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาบังคับคดีสัญญาประกันในคดีอาญา: สิทธิบังคับคดีของผู้ร้องยังคงมีอยู่แม้เกิน 10 ปี
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การที่ศาลชั้นต้นไม่ไต่สวนคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีของผู้ร้องจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การทำสัญญาประกันอันเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 112 ส่วนการบังคับในกรณีมีการผิดสัญญาประกันบัญญัติไว้ในมาตรา 119 จึงถือได้ว่า การบังคับตามสัญญาประกันเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ที่ทำสัญญาประกันต่อศาลจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญโดยในคดีอาญานั้น ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมามอบต่อศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับนายประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันมีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ผู้ประกันได้ก็หาจำต้องร้องขอขยายระยะเวลาในการบังคับคดีไม่ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ร้องหรือไม่
การทำสัญญาประกันอันเนื่องมาจากศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันหรือมีประกันและหลักประกันบัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 112 ส่วนการบังคับในกรณีมีการผิดสัญญาประกันบัญญัติไว้ในมาตรา 119 จึงถือได้ว่า การบังคับตามสัญญาประกันเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาทางอาญาโดยแท้ การพิจารณาถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ที่ทำสัญญาประกันต่อศาลจึงต้องพิจารณาจากบริบทของคดีอาญาเป็นสำคัญโดยในคดีอาญานั้น ผู้ประกันซึ่งทำสัญญาประกันว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลมีหน้าที่จะต้องนำตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมามอบต่อศาลตามกำหนดหรือตามที่ศาลมีหมายเรียก ซึ่งหากผิดสัญญาก็มิใช่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเสียหายภายในวงเงินตามสัญญาประกันเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมทางศาลด้วย และตราบใดที่ผู้ประกันยังไม่ส่งตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลก็ต้องถือว่ายังคงผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาลอยู่ตราบนั้น แต่หากผู้ประกันขวนขวายได้ตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมาภายในอายุความทางอาญา ศาลในคดีนั้น ๆ ก็ยังอาจลดค่าปรับลงได้ตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้จะส่งมอบตัวเกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับนายประกันก็ตาม เมื่อผู้ประกันในคดีอาญาต่าง ๆ รวมทั้งผู้ประกันมีสิทธิและหน้าที่ดังเช่นที่กล่าวมา ผู้ร้องจึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งของศาลที่สั่งปรับผู้ประกันได้แม้จะเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน เมื่อผู้ร้องยังคงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ผู้ประกันได้ก็หาจำต้องร้องขอขยายระยะเวลาในการบังคับคดีไม่ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่ากรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาให้แก่ผู้ร้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้ถือหุ้นในความผิดกรรมการยักยอกทรัพย์ของบริษัท และการไม่ระงับสิทธิฟ้องเนื่องจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 41 มิใช่ความผิดอันยอมความได้ จึงมิใช่ความผิดส่วนตัว ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
บริษัท ค. มีกรรมการทั้งหมด 9 คน จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 เป็นกรรมการบริษัทด้วย โดยผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท คือจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือกรรมการอื่นรวม 2 คน และประทับตราสำคัญของบริษัท มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ กรณีคดีนี้เป็นความผิดที่ได้กระทำต่อนิติบุคคลซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (3) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 บัญญัติให้ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลเป็นผู้ฟ้องคดีแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทและเป็นผู้กระทำผิดต่อบริษัท ค. ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้นเอง ย่อมจะไม่ฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเพื่อกล่าวหาตนเอง เมื่อเป็นดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นซึ่งมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหาย ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 ก็บัญญัติไว้ว่าถ้ากรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งฟ้องคดีได้ ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ของบริษัท ค. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) ประกอบมาตรา 2 (4) และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ได้ และต้องถือว่าโจทก์ฟ้องแทนบริษัท ค. ด้วย
ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. มีมติให้หยุดการฟ้องร้องและพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้นกับกรรมการบริษัท เป็นมติที่ไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. ซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วย ตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ต่อไป และไม่เป็นการยอมความทางอาญาในความผิดฐานร่วมกันยักยอกโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันยกยอกจึงไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
บริษัท ค. มีกรรมการทั้งหมด 9 คน จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 เป็นกรรมการบริษัทด้วย โดยผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท คือจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อร่วมกับจำเลยที่ 2 หรือกรรมการอื่นรวม 2 คน และประทับตราสำคัญของบริษัท มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้ กรณีคดีนี้เป็นความผิดที่ได้กระทำต่อนิติบุคคลซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (3) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 บัญญัติให้ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลเป็นผู้ฟ้องคดีแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทและเป็นผู้กระทำผิดต่อบริษัท ค. ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้นเอง ย่อมจะไม่ฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเพื่อกล่าวหาตนเอง เมื่อเป็นดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นซึ่งมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหาย ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 ก็บัญญัติไว้ว่าถ้ากรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งฟ้องคดีได้ ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ของบริษัท ค. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) ประกอบมาตรา 2 (4) และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ได้ และต้องถือว่าโจทก์ฟ้องแทนบริษัท ค. ด้วย
ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. มีมติให้หยุดการฟ้องร้องและพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้นกับกรรมการบริษัท เป็นมติที่ไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. ซึ่งรวมทั้งโจทก์ด้วย ตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ต่อไป และไม่เป็นการยอมความทางอาญาในความผิดฐานร่วมกันยักยอกโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันยกยอกจึงไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้ถือหุ้น กรณีกรรมการยักยอกทรัพย์ของบริษัท และการไม่ถือเป็นยอมความ
คดีนี้เป็นความผิดที่ได้กระทำต่อนิติบุคคลซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (3) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 บัญญัติให้ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลเป็นผู้ฟ้องคดีแทน เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทและเป็นกรรมการบริษัทผู้กระทำผิดต่อบริษัท ค. ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้นเอง ย่อมจะไม่ฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเพื่อกล่าวหาตนเอง เมื่อเป็นดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหาย ทั้ง ป.พ.พ. มาตรา 1169 ก็บัญญัติไว้ว่า ถ้ากรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทและบริษัทไม่ฟ้องคดี ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งฟ้องคดีได้ ดังนี้ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นจึงเป็นผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ฐานร่วมกันยักยอกทรัพย์ของบริษัทตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) ประกอบมาตรา 2 (4) และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ได้ และต้องถือว่าโจทก์ฟ้องแทนบริษัทด้วย
มติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. ที่ให้ยุติการฟ้องร้องและยุติข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้นกับกรรมการบริหารทั้งหมด ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. ซึ่งรวมทั้งโจทก์ ตกลงไม่เอาความทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และไม่เป็นการยอมความในความผิดฐานร่วมกันยักยอกโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานดังกล่าวจึงไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
มติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. ที่ให้ยุติการฟ้องร้องและยุติข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้นกับกรรมการบริหารทั้งหมด ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าผู้ถือหุ้นของบริษัท ค. ซึ่งรวมทั้งโจทก์ ตกลงไม่เอาความทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 และไม่เป็นการยอมความในความผิดฐานร่วมกันยักยอกโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดฐานดังกล่าวจึงไม่ระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19384/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยวิธี เนื่องจากไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดเจน แม้จะอ้างเหตุผลใหม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในบ้านพักทหารกองบิน 2 เลขที่ 302/773 หมู่ที่ 7 ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อันเป็นเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหาย แล้วพูดใส่ความผู้เสียหายว่า "อีกะหรี่ อีหน้าหี อีหน้าหัวควย อีดอกทอง อีสัตว์" ต่อหน้าผู้เสียหายและ ฤ. อันเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าผู้เสียหายเป็นคนไม่ดีประพฤติชั่ว โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกผู้อื่นดูหมิ่น เกลียดชัง ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362, 364 และ 393 ยกฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท จำเลยฎีกามีข้อความว่า ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยยังไม่เห็นพ้องด้วย จากคำเบิกความของผู้เสียหายตอบทนายจำเลยถามค้านว่า "หลังจากที่จำเลยด่าข้าฯ ด้วยคำพูดหยาบคายโดยเน้นย้ำคำว่า อีกะหรี่ ข้าฯ บอกให้จำเลยออกไป แต่จำเลยไม่ออกไป ข้าฯ จึงหยิบมีดปอกผลไม้มาถือไว้เพื่อป้องกันตัว" เห็นได้ชัดว่าผู้เสียหายมีอาวุธมีดในมือ ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะกล้าบุกรุกเข้าไปในบ้านและด่าผู้เสียหาย... ขอศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องนั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลย แต่ฎีกาของจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับทั้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาไม่ถูกต้องอย่างไร ที่ถูกต้องเป็นเช่นไร และไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพราะเหตุใด ทั้งๆ ที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 อ้างเหตุคนละอย่างกับเหตุที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18162/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหมิ่นประมาทของนิติบุคคล: วิทยาลัยฯ เป็นผู้เสียหายโดยตรง
วิทยาลัย ฉ. ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 ส่วนวิทยาลัย ฉ.ศูนย์นครศรีธรรมราชเป็นหน่วยงานหนึ่งของวิทยาลัย ฉ. อันเป็นการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งของวิทยาลัย ฉ. ตามมาตรา 20 เท่านั้น ตามฟ้องโจทก์ที่กล่าวหาว่าจำเลยหมิ่นประมาทวิทยาลัย ฉ.ศูนย์นครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของวิทยาลัย ฉ. มีผลเป็นการหมิ่นประมาทวิทยาลัย ฉ.นั่นเอง วิทยาลัย ฉ. จึงเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ เมื่อ ส. อธิการบดีวิทยาลัย ฉ. ได้มอบอำนาจให้ บ. แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว ถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวน และโจทก์จึงมีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120, 121 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16250/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: การหมิ่นประมาทจากหนังสือร้องเรียนและให้สัมภาษณ์ ศาลระงับคดีเนื่องจากมีคำพิพากษาแล้ว
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองพยานพร้อมยื่นคำร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ และการให้สัมภาษณ์หรือให้ข้อมูลแก่ผู้สื่อข่าวโดยมีข้อความใส่ความโจทก์ว่า โจทก์กับพวกคุกคามข่มขู่จำเลยกับพยาน เป็นข้อความที่เกี่ยวเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกันต่อเนื่องด้วยเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว แม้จำเลยจะจัดส่งหนังสือร้องเรียนดังกล่าวไปให้บุคคล และคณะบุคคลต่างรายกันก็หาทำให้เกิดผลเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทในคดีก่อนต่อศาลแขวงดุสิตในเรื่องที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนดังกล่าว แล้วโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหาหมิ่นประมาทในคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นอีก เมื่อคดีของศาลแขวงดุสิตที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อน ศาลมีคำพิพากษาแล้ว แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาภายหลังศาลแขวงดุสิตได้มีคำพิพากษาแล้ว แม้คดียังไม่ถึงที่สุดก็ถือได้ว่าศาลแขวงดุสิตได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15726/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาที่ไม่บรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน และการขาดอายุความของความผิดทำให้เสียทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362 โดยบรรยายฟ้องในข้อ 1 และข้อ 5 เพียงว่า จำเลยได้บุกรุกเข้าไปในเคหสถานของโจทก์ ไม่ได้กล่าวบรรยายในฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดดังกล่าวว่าเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุขมาด้วย แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 362 มิได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
สำหรับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่า เหตุเกิดวันที่ 28 มกราคม 2554 โจทก์มิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพราะประสงค์จะดำเนินคดีเอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 28 ตุลาคม 2554 โดยมิได้ร้องทุกข์ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 มกราคม 2554 จึงฟ้องเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์สำหรับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามฟ้องข้อ 1 จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 และข้อเท็จจริงปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 28 กันยายน 2555 ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในความผิดฐานทำร้ายร่างกายแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดฐานดังกล่าวและพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
สำหรับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1 ว่า เหตุเกิดวันที่ 28 มกราคม 2554 โจทก์มิได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพราะประสงค์จะดำเนินคดีเอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 28 ตุลาคม 2554 โดยมิได้ร้องทุกข์ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 มกราคม 2554 จึงฟ้องเกินกว่าสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์สำหรับความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามฟ้องข้อ 1 จึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96 และข้อเท็จจริงปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาฉบับลงวันที่ 28 กันยายน 2555 ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในความผิดฐานทำร้ายร่างกายแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดฐานดังกล่าวและพิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10786/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากปลอมแปลงเอกสารเป็นใช้เอกสารปลอม ทำให้ข้ออุทธรณ์เกินกรอบฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจปลอมขึ้นทั้งฉบับและลงลายมือชื่อโจทก์ปลอมในช่องผู้มอบอำนาจ แล้วนำไปใช้หรืออ้างต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 83, 264 วรรคแรก, 268 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ มิได้ร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจปลอมขึ้นทั้งฉบับและลงลายมือชื่อโจทก์ปลอมในช่องผู้มอบอำนาจดังฟ้อง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 83 ไม่ได้ เพราะนอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 83 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1941/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากผู้พิพากษาลงลายมือชื่อเพียงคนเดียว ทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี โดยมีผู้พิพากษาลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น ซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องก่อน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และพ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3