คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 39 (6)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9069/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความในคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและผลกระทบต่อการฟ้องคดี
แม้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 จะยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 แต่ก็มิได้ยกเลิกความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่าแผ่นดีวีดีและวีซีดีภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาตจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ในขณะที่ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ แต่ขณะที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีนี้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ได้ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 ไปแล้ว การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง, 79 ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่ออายุความตามกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า จึงต้องนำอายุความตามกฎหมายใหม่มาใช้บังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551 เกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีสำหรับความผิดฐานนี้จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ของกลางตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางที่เป็นแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ปัญหานี้ แต่ข้อนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4926/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจราจร และความประมาทเลินเล่อจากการขับรถโดยไฟท้ายชำรุด
ความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 11, 43 (4), 148, 157 และ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง, 60 มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) คดีนี้เหตุเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2535 นับถึงวันฟ้องวันที่ 19 ตุลาคม 2539 ความผิดตามบทมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดก่อสร้างอาคาร และการยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่งและวรรคสอง มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2549 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดคดีสำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) และต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวเสียตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีบุกรุกและจำเลยมีสิทธิครอบครองก่อนประกาศใช้กฎหมาย กรณีขาดอายุความฟ้อง
แม้ที่ดินที่เกิดเหตุจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นที่ดินของรัฐ แต่การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และเป็นทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) (2) ดังนั้น ผู้เข้าไปยึดถือครอบครองอาจมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362, 365 แต่ความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นและสำเร็จแล้วในทันทีที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุ ส่วนการที่จำเลยยึดถือครอบครองต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกเท่านั้น ไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังคงยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุแต่อย่างใด ซึ่งความผิดตามมาตรา 365 มีกำหนดอายุความ 10 ปี และตามมาตรา 362 มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) และ (4) เมื่อฟังได้ว่าจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุมาตั้งแต่ก่อนวันที่ 4 มีนาคม 2515 โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2546 เกินกว่า 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิดจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10523/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: การฟ้องซ้ำหลังแยกฟ้อง และการหยุดนับอายุความ
ป.อ. มาตรา 95 วรรคแรก บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความ" ซึ่งหมายความว่า เมื่อฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้วอายุความจึงหยุดนับ คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2547 ความผิดฐานร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือไม่มีเหตุสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 100 บาท จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) โจทก์นำจำเลยมาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2547 ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 580/2549 ของศาลชั้นต้น ซึ่งอยู่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันกระทำความผิด อายุความจึงหยุดนับ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ และโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ภายในกำหนดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 26 เมษายน 2549 คดีโจทก์สำหรับความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือไม่มีเหตุสมควรจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การรับรู้ความผิดของผู้เสียหายเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
จำเลยชักชวนโจทก์ร่วมให้ลงทุนทำธุรกิจกับจำเลย โดยอ้างว่าจะนำเงินไปลงทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่ของโรงแรมเพื่อจัดแสดงสินค้าหัตถกรรมไทยให้ชาวต่างประเทศมาซื้อและนำไปทำกล่องปากกาย่านลิเภาส่งให้บริษัท ก. พร้อมกับนำหลักฐานการติดต่อโรงแรมและบริษัท ก. มาให้ดู โจทก์ร่วมจึงโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยรวม 13 ครั้ง จากนั้นโจทก์ร่วมก็ไม่เห็นว่าจำเลยจะดำเนินการใดๆ และคอยติดตามทวงถามจำเลยว่าดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจไปมากน้อยเพียงใด จำเลยบ่ายเบี่ยงว่ากำลังติดต่ออยู่และยังดำเนินการไม่เสร็จ โจทก์ร่วมจึงทวงเงินคืน แต่แทนที่จำเลยจะคืนเงินกลับสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์ร่วมสองฉบับ ซึ่งนับแต่วันที่ 28 เมษายน 2543 อันเป็นวันที่โจทก์ร่วมโอนเงินให้จำเลยครั้งแรกถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2543 อันเป็นวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คฉบับแรกให้โจทก์ร่วมนั้นก็เป็นระยะเวลาหลายเดือน โจทก์ร่วมย่อมน่าจะรู้แต่นั้นแล้วว่าจำเลยหลอกลวงเอาเงินไปโดยมิได้ดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจตามที่ชักชวนไว้ ครั้นโจทก์ร่วมนำเช็คทั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินธนาคารก็ปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมทวงถาม แต่จำเลยผัดผ่อนว่าจะนำเงินสดมาชำระคืนและขอให้โจทก์ร่วมไม่ดำเนินคดีตามกฎหมายอีก จึงเป็นพฤติการณ์ที่มาสนับสนุนให้โจทก์ร่วมรู้แน่ชัดยิ่งขึ้นอีกว่าถูกจำเลยหลอกลวงแล้ว การที่จำเลยผัดผ่อนว่าจะนำเงินสดมาชำระคืนและขอให้โจทก์ร่วมไม่ดำเนินคดีตามกฎหมายนั้นไม่เป็นผลลบล้างการรับรู้ของโจทก์ร่วมที่ถูกจำเลยหลอกลวง แต่วันที่โจทก์ร่วมไปทวงถามเงินคืนจากจำเลยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเป็นวันใด จึงต้องถือเอาวันที่ 10 ตุลาคม 2543 อันเป็นวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คฉบับแรกให้โจทก์ร่วมเป็นวันที่โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงโจทก์ร่วมแล้ว เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยวันที่ 1 ตุลาคม 2544 จึงเกินกว่า 3 เดือน คดีจึงขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: การร้องทุกข์เกิน 3 เดือน ทำให้คดีขาดอายุความ แม้ผู้เสียหายมีสิทธิร้องทุกข์
แม้ผู้เช่าซื้อยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ แต่ผู้เช่าซื้อก็มีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์และมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์บรรทุกที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่าซื้อหากมีกรณีต้องคืน เมื่อจำเลยทั้งสองยักยอกชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถยนต์บรรทุกดังกล่าวไปจากผู้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อย่อมได้รับความเสียหายจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองได้เช่นเดียวกับผู้ให้เช่าซื้อ คดีนี้เป็นกรณีความผิดอันยอมความได้ เมื่อผู้เช่าซื้อมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ป.อ. มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา และการแก้ไขฟ้องที่ส่งผลต่อการรับสารภาพของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง โดยขอแก้ไขบทลงโทษ ซึ่งเป็นการแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิดความผิดก่อนที่ศาลชั้นพิพากษาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง, 164 เมื่อจำเลยไม่ค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง หากจำเลยเห็นว่าที่จำเลยรับสารภาพไปจะทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้ เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำร้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ในฐานความผิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ศาลล่างทั้งสองย่อมลงโทษจำเลยตามคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมได้
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีนี้สำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5489/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดฐานมีอาวุธปืน และการที่ศาลฎีกาสั่งยกฟ้องข้อหาขาดอายุความ แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เพียงสถานเดียว อันเป็นระวางโทษอย่างอื่นนอกจากโทษจำคุก จึงมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 26 กรกฎาคม 2535 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 3 ตุลาคม 2540 คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215, 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดแจ้งเท็จ และการลงโทษความผิดหลายกระทงตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน
จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 13 พฤษภาคม 2546 เกินกำหนด 5 ปี คดีโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดดังกล่าวย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 จนเจ้าพนักงานหลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณกว่า พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นความผิดกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเพราะบัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ ซึ่งจำเลยกระทำเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 และความผิดฐานใช้หรือแสดงใบรับคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 เป็นความผิดตาม มาตรา 14 (1) (ที่แก้ไขใหม่) และมาตรา 14 (3) (ที่แก้ไขใหม่) ตามลำดับ จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตาม (3) เป็นผู้กระทำความผิดตาม (1) ด้วย จึงให้ลงโทษตาม (3) แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 14 วรรคสอง และ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 14 วรรคสี่ อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงนี้เพียง 1 ปี เป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของกฎหมาย คือจำคุก 2 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงมิอาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
of 6