คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 39 (6)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาไตร่ตรองไว้ก่อนในการพยายามฆ่า และอายุความความผิดพกพาอาวุธ
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด หาใช่เป็นการกระทำในลักษณะปัจจุบันทันด่วนไม่ พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองตะโกนให้ของลับแล้วเดินออกจากร้านอาหารไปโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อน และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสองได้ออกจากร้านอาหารไปแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ตระเตรียมการเพื่อฆ่าผู้เสียหาย การที่จำเลยที่ 1 กลับมาที่ร้านอาหารแล้วใช้อาวุธปืนยิงไปที่ผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกัน จึงไม่พอที่จะให้รับฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ความผิดข้อหาพาอาวุธปืนตาม ปอ. มาตรา 371 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท นั้น มีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) คดีนี้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดวันที่ 15 มิถุนายน 2537 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2542 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ในความผิดข้อหาดังกล่าว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและการขาดอายุความของความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน
การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ผู้กระทำความผิดได้คิดไตร่ตรองทบทวนแล้วจึงตกลงใจกระทำความผิด หาใช่เป็นการกระทำในลักษณะปัจจุบันด่วนไม่ พฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองตะโกนให้ของลับแล้วเดินออกจาก ร้านอาหารไปโดยไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อน และไม่ปรากฏว่าหลังจากที่จำเลยทั้งสองออกจากร้านอาหารไปแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ตระเตรียมการเพื่อฆ่าผู้เสียหายมาก่อน การที่จำเลยที่ 1 กลับมาที่ร้านอาหารแล้วใช้อาวุธปืนยิงไปที่ผู้เสียหายในเวลาต่อเนื่องกันดังกล่าว จึงไม่พอที่จะรับฟังว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท มีอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยที่ 1 กระทำความผิดวันที่ 15 มิถุนายน 2537 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 4 พฤศจิกายน 2542 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ในความผิดข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้น วินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12559/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา พ.ร.บ.พรรคการเมือง: ฟ้องไม่ทันขาดอายุความ แม้มีการกระทำต่อเนื่อง
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค ส. ในวันที่ 6 กันยายน 2544 จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกและกรรมการสาขาพรรค ต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 42 วรรคหนึ่ง คือ ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2544 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2544 เมื่อจำเลยไม่ยื่นภายในกำหนด จำเลยจึงกระทำผิดตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2544 ซึ่งตามมาตรา 84 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวกำหนด ให้ระวางโทษปรับสถานเดียว เมื่อจำเลยกระทำความผิดในวันที่ 7 ตุลาคม 2544 โจทก์ฟ้องจำเลยในวันที่ 30 ตุลาคม 2545 เกินกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดซึ่งขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 วรรคหนึ่ง (5) และความผิดดังกล่าวเป็นความผิดกรรมเดียวบทเดียว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 84 ได้อีก ทั้งไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่อง แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อนายทะเบียนเลยก็จะปรับจำเลยเป็นรายวันอีกไม่ได้ เพราะความผิดของจำเลยได้สิ้นสุดโดยขาดอายุความไปแล้ว และเมื่อโจทก์ไม่ได้ตัวจำเลยมาฟ้องภายใน 1 ปี จึงขาดอายุความฟ้องจำเลย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลยกฟ้องเนื่องจากฟ้องพ้นอายุความ
ประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 ลักษณะ 1 หมวด 9 ได้บัญญัติเรื่องอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะแล้ว หาได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงหรือเลิกนับอายุความร้องทุกข์อันจะนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับไม่ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแขวงดุสิตภายในกำหนดอายุความ แต่เมื่อคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงดุสิตซึ่งศาลแขวงดุสิตมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ไปแล้ว การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องศาลแขวงพระนครใต้อีกเมื่อพ้นกำหนดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่, นับโทษกรรมต่างกันชอบ, อายุความความผิดปรับ
จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างไว้ในฟ้องอุทธรณ์เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7665/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้างผิดแบบ: ความผิดสำเร็จเมื่อก่อสร้างโครงสร้างเสร็จ โจทก์ฟ้องเกินกำหนด ยุติคดี
การตกแต่งภายในมิใช่งานเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างของอาคาร การก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนย่อมเป็นความผิดสำเร็จในวันที่ทำการก่อสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโครงสร้างแล้วเสร็จ
จำเลยทั้งเจ็ดกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 70 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จ แต่โจทก์นำคดีอาญาฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพจำเลย และการสันนิษฐานการร้องทุกข์โดยชอบ
ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้ต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความร้องทุกข์คดีอาญา: การรับสารภาพของจำเลยทำให้สันนิษฐานว่ามีการร้องทุกข์โดยชอบ
ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโดยมิได้ต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6473/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: การละเลยการร้องทุกข์เกิน 3 เดือน ทำให้สิทธิในการฟ้องระงับ
โจทก์ร่วมรู้เรื่องความผิดที่ถูกฉ้อโกงและรู้ตัวผู้กระทำความผิดว่าจำเลยเป็นคนฉ้อโกงตั้งแต่ก่อนวันที่1มิถุนายน2533แล้วเพิ่งมาร้องทุกข์เมื่อวันที่7ธันวาคม2533ซึ่งเกิน3เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา96สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(6)โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีจราจร: ศาลฎีกายกฟ้องข้อหาจราจรที่ขาดอายุความ แม้ไม่มีการอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43,78,157,160วรรคหนึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่1เดือนลงมาจึงมีอายุความเพียง1ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(5)จำเลยกระทำความผิดวันที่4มกราคม2529นับถึงวันฟ้องคือวันที่8มิถุนายน2537คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(6)ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
of 6