พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจราจร: ศาลฎีกาพิจารณาเองได้แม้ไม่มีการอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา43, 78, 157, 160 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 4 มกราคม 2529 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 8 มิถุนายน 2537 คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหานี้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา และ เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 และ 268 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2513 และ 15 มีนาคม 2520โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยสำหรับความผิดดังกล่าวภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันกระทำความผิดทั้งนี้ไม่ว่าโจทก์จะได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ แต่โจทก์เพิ่งฟ้องจำเลยสำหรับความผิดดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2533 โจทก์จึงไม่ได้ฟ้องจำเลยภายในกำหนดสิบปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) ตามคำขอรังวัดเปลี่ยน น.ส.3 เป็น น.ส.3 ก. ที่จำเลยยื่นต่อนายอำเภอโดยลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขอและมีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่จำเลยยื่นต่อเจ้าพนักงานมิใช่เอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความลงในเอกสารนั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 ดังนั้นการที่จำเลยนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ที่เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ตามคำขอของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ใช่เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม มาตรา 267 ไปคัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา พิจารณาจากอัตราโทษของความผิดที่ศาลลงโทษ แม้ฟ้องตามข้อหาอื่น
อายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษของความผิดที่พิจารณาได้ความ เมื่อได้ความเป็นยุติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 390 ซึ่งมีอายุความฟ้องภายใน 1 ปี ตามมาตรา 95(5) และปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน1 ปี นับแต่วันกระทำผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างฉ้อโกงประชาชนกับฉ้อโกงทั่วไป และอายุความ
จำเลยทั้งสองหลอกลวงว่ามีงานทำที่ องค์การโทรศัพท์ประเทศมาเลเซีย ทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดหลงเชื่อยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง แต่ พฤติการณ์การหลอกลวงของจำเลยไม่ได้มีลักษณะเป็นการประกาศโฆษณาแก่บุคคลทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ ตัวแทนของจำเลยได้ ติดต่อ กับโจทก์และพวกอ้างว่ามีงานที่หน่วยงานดังกล่าวว่างอยู่ 10 ตำแหน่ง เท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงประชาชนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 คงเป็นความผิดฐาน ฉ้อโกงตาม มาตรา 341 ซึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับ แต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม มาตรา 341 ดังกล่าวซึ่ง เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง จำเลยที่ 2 ให้รับผลตาม คำพิพากษาด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเบิกความเท็จเพื่อยืดอายุความคดีอาญา: ผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
โจทก์ถูกฟ้องด้วยข้อหายักยอกซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปคำเบิกความเท็จของจำเลยซึ่งสนับสนุนข้ออ้างว่าสิทธิที่จะฟ้องร้องโจทก์ยังมิได้ระงับไปด้วยคดีขาดอายุความจึงเป็นข้อสำคัญในคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จเพื่อยืดอายุความคดีอาญา: ผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
โจทก์ถูกฟ้องด้วยข้อหายักยอก ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความกันได้ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป คำเบิกความเท็จของจำเลยซึ่งสนับสนุนข้ออ้างว่าสิทธิที่จะฟ้องร้องโจทก์ยังมิได้ระงับไปด้วยคดีขาดอายุความจึงเป็นข้อสำคัญในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานไม่มีหน้าที่จัดการทรัพย์สิน ไม่ผิดฐานยักยอกทรัพย์ และการระงับคดีด้วยการยอมความ
จำเลยเป็นสหกรณ์อำเภอท่าใหม่และเป็นเลขานุการคณะกรรมการร้านสหกรณ์ท่าใหม่ จำกัด มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการเงินของร้านสหกรณ์ทุกประเภทในเขตอำเภอนั้น ๆและมีหน้าที่บันทึกรายงานการประชุม ทำหนังสือโต้ตอบ ทำงบเดือน โดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การที่จำเลยเก็บและรักษาเงินจากการจำหน่ายปุ๋ยให้แก่สมาชิกสหกรณ์แล้วเบียดบังเอาไว้ จึงไม่ใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเพราะการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา39(2)โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านปัญหานี้ไว้จึงยุติ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุดังกล่าว ปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องได้ ฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเพราะการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา39(2)โจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านปัญหานี้ไว้จึงยุติ เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเหตุดังกล่าว ปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ที่โจทก์ฎีกาขึ้นมา ย่อมไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องได้ ฎีกาของโจทก์ที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความนั้น จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีบุกรุก: เริ่มนับเมื่อใด และความผิดต่อเนื่องคืออะไร
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ได้เกิดขึ้น และสำเร็จแล้วเมื่อจำเลยเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนและกั้นรั้วในที่ดินของโจทก์ หาใช่เป็นความผิดต่อเนื่องตลอดมาไม่
จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนและกั้นรั้วในที่ดินของโจทก์และครอบครองที่ดินนั้นต่อเนื่องมาถึงวันฟ้องอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้นั้น เมื่อโจทก์มิได้ร้องทุกข์แต่ได้นำคดีมาฟ้องเมื่อล่วงเลยกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนและกั้นรั้วในที่ดินของโจทก์และครอบครองที่ดินนั้นต่อเนื่องมาถึงวันฟ้องอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้นั้น เมื่อโจทก์มิได้ร้องทุกข์แต่ได้นำคดีมาฟ้องเมื่อล่วงเลยกำหนดสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การกระทำความผิดสำเร็จเมื่อได้โฉนด และผลของการฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกันหลอกลวงเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไปตั้งแต่ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2494 ดังนี้ ความผิดฐานฉ้อโกงโฉนดสำเร็จตั้งแต่จำเลยได้โฉนดจากโจทก์ไป แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องต่อไปด้วยว่า เมื่อจำเลยได้โฉนดไปแล้วได้ร่วมกันให้จำเลยที่ 2 โอนรับมรดกและต่อมาจึงโอนใส่ชื่อของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ว่าเป็นการบรรยายให้เห็นพฤติการณ์ไม่สุจริตของจำเลยเท่านั้น มิใช่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอีกกระทงหนึ่ง หรือเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องกับความผิดฐานฉ้อโกงดังกล่าวข้างต้น ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความสำหรับความผิดตามมาตรานี้จึงมีเพียง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญ มาตรา 95 (3) โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2522 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตราดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2440/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีฉ้อโกง: การกระทำความผิดสำเร็จเมื่อได้โฉนด และผลของการฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันหลอกลวงเอาโฉนดที่ดินของโจทก์ไปตั้งแต่ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2494 ดังนี้ความผิดฐานฉ้อโกงโฉนดสำเร็จตั้งแต่จำเลยได้โฉนดจากโจทก์ไป แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องต่อไปด้วยว่า เมื่อจำเลยได้โฉนดไปแล้วได้ร่วมกันให้จำเลยที่ 2 โอนรับมรดกและต่อมาจึงโอนใส่ชื่อของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ว่าเป็นการบรรยายให้เห็นพฤติการณ์ไม่สุจริตของจำเลยเท่านั้น มิใช่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอีกกระทงหนึ่ง หรือเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องกับความผิดฐานฉ้อโกงดังกล่าวข้างต้น ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความสำหรับความผิดตามมาตรานี้จึงมีเพียง 10 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2522 เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตราดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(6)