พบผลลัพธ์ทั้งหมด 436 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและการพิจารณาความผิดฐานต่างๆ ศาลฎีกายกฟ้องฐานพรากผู้เยาว์และยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมขอให้การใหม่รับสารภาพศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยที่รับสารภาพขึ้นใหม่ การที่ตัวจำเลยได้ลงชื่อในฐานะจำเลยลงในคำให้การและในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลต่อหน้าศาลชั้นต้นนั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนายื่นคำร้องให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องโจทก์ใหม่ต่อศาลด้วยตัวของจำเลยโดยไม่ประสงค์ให้ทนายความที่แต่งตั้งทำแทนซึ่งย่อมกระทำได้เพราะทนายความที่จำเลยแต่งตั้งนั้นตามกฎหมายเพียงให้เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในฐานะตัวแทนของจำเลยเท่านั้น ฟ้องโจทก์ระบุว่า ผู้เสียหายอายุ 11 ปี 10 เดือน ทางพิจารณาปรากฏว่าผู้เสียหายอายุ 14 ปี 10 เดือน 16 วัน เมื่อตามฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 277 วรรคแรก วรรคสอง และวรรคสามซึ่งตามวรรคแรกได้ระบุอายุของผู้เสียหายไว้ไม่เกิน 15 ปีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องอายุของผู้เสียหายจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้อง การที่จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นการรับสารภาพว่าจำเลยได้กระทำตามฟ้องจริง ส่วนการกระทำตามฟ้องจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185 แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในข้อหาความผิดฐานพรากผู้เยาว์แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยมิได้มีเจตนาพรากผู้เสียหายไปจากผู้ปกครอง ศาลฎีกามีอำนาจยกฟ้องในข้อหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215,225 ที่จำเลยฎีกาว่า ลายมือชื่อผู้ร้องทุกข์ในบันทึกคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษในคดีนี้เป็นลายมือชื่อปลอมนั้น เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องใหม่หลังแก้ไขข้อบกพร่องด้านตัวแทน ไม่ถือเป็นการรื้อร้องคดีเดิม
การจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ว่า ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดในประเด็นใด โดยอาศัยเหตุอย่างใดแล้ว คู่ความจะรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นนั้น โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันนั้นอีกไม่ได้ ในคดีก่อนศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจทก์เนื่องจากจำนวนบุคคลที่มาดำเนินคดีแทนโจทก์ไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์มอบอำนาจขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 804 ซึ่งถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยหรือไม่นั้น ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย ส่วนในคดีหลังโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับผู้รับมอบอำนาจแล้วและดำเนินการฟ้องใหม่เพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยดังนี้การฟ้องคดีหลังจึงไม่มีลักษณะเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน กรณีจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำ: การแก้ไขข้อบกพร่องของผู้รับมอบอำนาจ ไม่ถือเป็นการรื้อฟ้องประเด็นเดิม
การจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ว่า ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดในประเด็นใด โดยอาศัยเหตุอย่างใดแล้ว คู่ความจะรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นนั้น โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันนั้นอีกไม่ได้
ในคดีก่อนศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจกท์เนื่องจากจำนวนบุคคลที่มาดำเนินคดีแทนโจทก์ไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์มอบอำนาจขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 804ซึ่งถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยหรือไม่นั้น ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย ส่วนในคดีหลังโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับผู้รับมอบอำนาจแล้วและดำเนินการฟ้องใหม่เพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยดังนี้การฟ้องคดีหลังจึงไม่มีลักษณะเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน กรณีจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ในคดีก่อนศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโจกท์เนื่องจากจำนวนบุคคลที่มาดำเนินคดีแทนโจทก์ไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์มอบอำนาจขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 804ซึ่งถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนประเด็นแห่งคดีที่ว่า โจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยหรือไม่นั้น ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย ส่วนในคดีหลังโจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับผู้รับมอบอำนาจแล้วและดำเนินการฟ้องใหม่เพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยดังนี้การฟ้องคดีหลังจึงไม่มีลักษณะเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน กรณีจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลาออก, ตัวแทน, ผลการเปลี่ยนแปลงกรรมการต่อบุคคลภายนอก
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส. ช. และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช.ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนที่ลาออก: การกระทำของกรรมการที่พ้นสภาพแล้วย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส.ช.และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช. ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนบริษัทเมื่อกรรมการลาออก การกระทำของตัวแทนที่ปราศจากอำนาจผูกพันบริษัทไม่ได้
ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทกับกรรมการนั้น ป.พ.พ มาตรา 1167ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น ส. ในฐานะกรรมการย่อมบอกเลิกการเป็นผู้แทนโจทก์ในเวลาใด ๆ ก็ได้ และมีผลทันทีเมื่อแสดงเจตนาแก่โจทก์ตามมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลเมื่อโจทก์นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้จนกว่าจะได้พิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้ โจทก์มอบอำนาจให้ จ. ฟ้องคดีโดยมี ส. ร่วมลงลายมือชื่อกับกรรมการอื่นของโจทก์กระทำการแทนโจทก์ แต่ ส. ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการของโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว การกระทำของ ส.จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ จ. ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีหลังตัวการเสียชีวิต และข้อจำกัดในการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
แม้โจทก์ที่ 13 ถึงแก่กรรมก่อนฟ้องเพียง 9 วัน ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 13 ก็ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนเพราะสัญญาตั้งตัวแทนย่อมระงับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 826 วรรคสองและไม่ปรากฏว่าการฟ้องคดีนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ตัวแทนต้องจัดการเพื่อจะปกปักรักษาประโยชน์ตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 828 ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 13จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่าที่พิพาทไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพราะไม่มีการออกพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 จึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้อง และไม่ใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจครอบคลุมอำนาจการแต่งตั้งทนายความเพื่อทำคำให้การได้
จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ จ.ฟ้องโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและผู้จัดการมรดกของ ข. กับ ล. อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของบุคคลทั้งสองและให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาตลอดทั้งแต่งตั้งทนายความเข้าดำเนินคดี ดังนี้ ตามข้อความในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมมีความหมายรวมถึงให้ตั้งทนายความแก้ต่างคดีและทำคำให้การแก้คดีได้ด้วย จ.จึงอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวแต่งตั้งให้ทนายความทำคำให้การต่อสู้คดีในคดีที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องจำเลย อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ล. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนตามหนังสือมอบอำนาจทั่วไปและการดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลย
สำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การของจำเลยที่มีใจความสำคัญว่า จำเลยขอมอบอำนาจให้ ท.เป็นผู้มีอำนาจและดำเนินการต่างๆ ของจำเลยจัดการเกี่ยวกับงานในประเทศไทย ตลอดจนมอบอำนาจช่วงให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้จำเลยขอรับผิดชอบในการกระทำของผู้รับมอบอำนาจเสมือนหนึ่งจำเลยได้กระทำเองทุกประการ นั้น มีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ตั้ง ท.เป็นตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปท.จึงมีอำนาจทำกิจใดๆ ในทางจัดการแทนจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 801วรรคแรก หนังสือมอบอำนาจของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ท.เข้ามาต่อสู้คดีแทนจำเลย กับมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนจำเลยได้ ดังนั้น การมาศาล การยื่นคำให้การ และการสืบพยานจำเลยของทนายความที่ ท.แต่งตั้งไว้ถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3102/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจทั่วไป: อำนาจต่อสู้คดีและแต่งตั้งทนายความ
สำเนาหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การของจำเลยที่มีใจความสำคัญว่า จำเลยขอมอบอำนาจให้ ท.เป็นผู้มีอำนาจและดำเนินการต่าง ๆ ของจำเลยจัดการเกี่ยวกับงานในประเทศไทย ตลอดจนมอบอำนาจช่วงให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้จำเลยขอรับผิดชอบในการกระทำของผู้รับมอบอำนาจเสมือนหนึ่งจำเลยได้กระทำเองทุกประการนั้น มีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ตั้ง ท.เป็นตัวแทนรับมอบรับมอบอำนาจทั่วไป ท. จึงมีอำนาจทำกิจใด ๆ ในทางจัดการแทนจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 วรรคแรกหนังสือมอบอำนาจของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ท. เข้ามาต่อสู้คดีแทนจำเลยกับมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแทนจำเลยได้ ดังนั้น การมาศาล การยื่นคำให้การและการสืบพยานจำเลยของทนายความที่ ท. แต่งตั้งไว้ถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว