คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 60

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 436 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5341/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสิทธิบัตร: หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องและสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญ
หนังสือมอบอำนาจประกอบกับหนังสือรับรองหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งได้ทำขึ้นก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ได้ระบุให้อำนาจด. ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทยซึ่งสิทธิบัตร/แผนแบบ เหยือก หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งทำการยื่นฟ้องต่อศาลในประเทศไทยเกี่ยวกับคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหยือก หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันของโจทก์ผู้มอบอำนาจได้และในวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร โจทก์มีสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์แล้ว ดังนั้น ด. ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำขอรับสิทธิบัตรและฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
หนังสือของผู้ช่วยเลขานุการบริษัทโจทก์ เป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงว่าได้มีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้เท่านั้นมิใช่ใบมอบอำนาจ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977-4979/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสที่แต่งตั้งโดยอธิบดีสงฆ์พม่า: ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อขัดต่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดที่อยู่ในความปกครองของคณะสงฆ์ไทย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 46 บัญญัติว่า "การปกครองคณะสงฆ์อื่นนอกจากคณะสงฆ์ไทยให้เป็นไปตามกฎกระทรวง" แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่าได้ออกกฎกระทรวงใช้บังคับแก่คณะสงฆ์อื่นนอกจากคณะสงฆ์จีนนิกายอนัมนิกายแต่อย่างใด การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์จึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมดังนั้น การที่อธิบดีสงฆ์พม่าแต่งตั้งพระณรงค์ นันทิโยเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิใช่เป็นการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคม พระณรงค์ นันทิโย จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพลาดของทนายความย่อมเป็นความรับผิดของจำเลย และคำขอพิจารณาใหม่ต้องชัดเจน
เมื่อทนายจำเลยดำเนินคดีผิดพลาด ย่อมต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดของจำเลยด้วย จำเลยจะอ้างว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเป็นเหตุปัดความรับผิดหาได้ไม่ จำเลยอ้างในคำขอให้พิจารณาใหม่แต่เพียงว่าคดีจำเลยมีทางชนะคดีโจทก์ได้เท่านั้น ข้ออ้างเช่นนี้หาเป็นข้อความที่คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยละเอียดและชัดแจ้งไม่ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคท้าย ศาลชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพลาดของทนายความย่อมเป็นความรับผิดของจำเลย และคำขอพิจารณาใหม่ต้องชัดเจน
เมื่อทนายจำเลยดำเนินคดีผิดพลาด ย่อมต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดของจำเลยด้วย จำเลยจะอ้างว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเป็นเหตุปัดความรับผิดหาได้ไม่
จำเลยอ้างในคำขอให้พิจารณาใหม่แต่เพียงว่าคดีจำเลยมีทางชนะคดีโจทก์ได้เท่านั้น ข้ออ้างเช่นนี้หาเป็นข้อความที่คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยละเอียดและชัดแจ้งไม่ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย ศาลชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดพิจารณาคดีผ่านทนาย แม้จำเลยขัดแย้งกับทนาย ก็ยังถือเป็นการส่งโดยชอบ
เจ้าหน้าที่ศาลส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่ทนายจำเลยโดยชอบแล้วจำเลยจะอ้างเหตุว่าจำเลยขัดแย้งในการดำเนินคดีกับทนายจำเลย และทนายจำเลยไม่ได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทราบ ขอให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ใหม่โดยที่จำเลยมิได้จำกัดอำนาจของทนายหรือถอนทนายจำเลยในขณะเกิดเหตุขัดแย้งกัน คงปล่อยให้ทนายจำเลยทำหน้าที่ทนายต่อไปย่อมไม่อาจรับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2238/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 2 โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบแล้ว แม้เป็นทุนของผู้ร้อง แต่จำเลยยังมีสิทธิเรียกร้องคืนได้
ม. และ อ. ร่วมกันลงชื่อท้ายคำร้องในฐานะผู้แทนของผู้ร้องและร่วมกันลงชื่อแต่งตั้งให้ ส. เป็นทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาและดำเนินกระบวนพิจารณาต่าง ๆ แทนผู้ร้องด้วย แม้ว่า ม.จะลงชื่อในฐานะผู้เรียงและพิมพ์คำร้องแต่ผู้เดียว เมื่อ ส.ยื่นฎีกาแทนผู้ร้องจึงถือว่าเป็นฎีกาของผู้ร้อง หาใช่เป็นฎีกาของม. เป็นการส่วนตัวไม่ เงินค่าหุ้นแม้จะเป็นทุนสำรองของผู้ร้อง แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังมีสิทธิเรียกเอาคืนได้ เพราะจำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระเงินค่าหุ้นดังกล่าว ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของผู้ร้องมิใช่กฎหมาย เป็นระเบียบภายในที่ใช้บังคับระหว่างผู้ร้องกับสมาชิก ไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา การอายัดเงินค่าหุ้นของจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยหลายกรรมต่างกัน และการรับสารภาพของจำเลยที่เป็นนิติบุคคล
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) เพียงแต่บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็คอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยที่ 1โดย ธ.และร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1ได้ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้เข้ามาในคดีนี้แล้วนับตั้งแต่วันที่ตั้งทนายความ เมื่อจำเลยที่ 3 ในนามของจำเลยที่ 1 และในฐานะส่วนตัวให้การรับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณา การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยหลายกรรม และการรับสารภาพของนิติบุคคลผ่านผู้มีอำนาจ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับเมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตาม ป.อ. มาตรา 91 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ ป.วิ.อ. มาตรา 158(6) เพียงแต่บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น.
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็คอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯจำเลยที่ 1 โดย ธ.และร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีนี้แล้ว นับตั้งแต่วันที่ตั้งทนายความ เมื่อจำเลย ที่ 3 ในนามของจำเลยที่ 1และในฐานะส่วนตัวให้การ รับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเช็คหลายกรรม, การลงโทษ, และการเข้ามาในคดีของจำเลย
โจทก์ได้ บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ เมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้ตามป.อ. มาตรา 91 แม้โจทก์ไม่ได้อ้างบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ก็จะถือว่าศาลลงโทษเกินคำขอหาได้ไม่ ป.วิ.อ. มาตรา 158(6เพียงแต่ บัญญัติให้โจทก์อ้างมาตราในกฎหมายซึ่ง บัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดเท่านั้น โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการร่วมกันออกเช็ค อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค จำเลยที่ 1 โดย ธ. และ ร. กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ ตั้งทนายความก่อนมีการไต่สวนมูลฟ้อง ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีนี้แล้วนับตั้งแต่ วันที่ตั้ง ทนายความ เมื่อจำเลยที่ 3ในนามของจำเลยที่ 1 และในฐานะ ส่วนตัวให้การรับสารภาพโดยจำเลยที่ 3 กับทนายจำเลยผู้นั้นลงลายมือชื่อท้ายคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณา การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 172.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโดยการมอบอำนาจ: ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจเป็นโจทก์ได้หรือไม่ และขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 หรือไม่
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุว่า บริษัทผู้เสียหายขอมอบอำนาจให้ อ. กระทำการแทนโจทก์ในกิจการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ รวมทั้งให้มีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีได้ด้วย ดังนี้ อ. จึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีได้ หาเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 ไม่
of 44