คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 60

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 436 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ของบริษัท: การตีความวัตถุประสงค์บริษัทตามหนังสือบริคณห์สนธิ
บริษัท อ. มีวัตถุประสงค์กระทำการเป็นผู้สำรวจและจัดการให้เป็นที่ตกลงกันในการประนอมข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการ สืบสวน การตรวจสอบในสิทธิหน้าที่หนี้สิน ข้อพิพาทและสิทธิเรียกร้องทั้งปวงซึ่งเกิดจากสัญญาประกันภัยทุกประเภท ฯลฯ ดังนี้ การรับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยแทนโจทก์จึงอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัท อ. บริษัท อ. มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์: การรับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการประกันภัยอยู่ในวัตถุประสงค์ของบริษัทได้
บริษัทอ.มีวัตถุประสงค์กระทำการเป็นผู้สำรวจและจัดการให้เป็นที่ตกลงกันในการประนอมข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการสืบสวนการตรวจสอบในสิทธิหน้าที่ หนี้สิน ข้อพิพาท และสิทธิเรียกร้องทั้งปวงซึ่งเกิดจากสัญญาประกันภัยทุกประเภท ฯลฯ ดังนี้ การรับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยแทนโจทก์จึงอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัทอ.บริษัทอ.มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความ, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, และการยอมรับหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน
ทนายโจทก์เบิกความยืนยันว่า ว.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ลงชื่อในใบแต่งทนายความตั้งแต่ทนายโจทก์ และ ส. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของโจทก์และได้ติดต่อการงานกับ ว. ยืนยันลายมือชื่อของ ว. เช่นนี้รับฟังได้ว่า ว. ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ตั้งแต่งทนายความโดยชอบโดยโจทก์ไม่จำต้องนำ ว.มาเบิกความยืนยันในเรื่องนี้อีก ทนายความผู้ได้รับตั้งแต่งย่อมมีอำนาจเรียกคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 เมื่อโจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายความต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 แล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องระบุอ้างใบแต่งทนายความในบัญชีระบุพยานอีก
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยไม่ได้กำหนดข้อต่อสู้ของจำเลยเรื่องอำนาจการบอกกล่าวบังคับจำนองไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้สละประเด็นข้อนี้แล้ว จึงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ฟ้องจริง แต่ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วเช่นนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ดังที่ปรากฏในตั๋วสัญญาใช้เงินฉะนั้น เอกสารซึ่งเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินจึงไม่จำเป็นแก่คดีที่จะต้องอ้างมาเป็นพยานหลักฐานอีก ตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องจะปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ฟังได้เป็นยุติแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทน, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, และหลักฐานทางหนี้ที่ยอมรับแล้ว
ทนายโจทก์เบิกความยืนยันว่า ว.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้ลงชื่อในใบแต่งทนายความตั้งแต่งทนายโจทก์และ ส.ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของโจทก์และได้ติดต่อการงานกับ ว.ยืนยันลายมือชื่อของว. เช่นนี้รับฟังได้ว่าว.ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ตั้งแต่งทนายความโดยชอบโดยโจทก์ไม่จำต้องนำว.มาเบิกความยืนยันในเรื่องนี้อีกทนายความผู้ได้รับแต่งย่อมมีอำนาจเรียงคำฟ้องและลงชื่อในคำฟ้องแทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62เมื่อโจทก์ได้ยื่นใบแต่งทนายความต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 แล้ว โจทก์ก็ไม่จำต้องระบุอ้างใบแต่งทนายความในบัญชีระบุพยานอีก ศาลชั้นต้นชี้สองสถานโดยไม่ได้กำหนดข้อต่อสู้ของจำเลยเรื่องอำนาจการบอกกล่าวบังคับจำนองไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท จำเลยมิได้โต้แย้งไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้สละประเด็นข้อนี้แล้ว จึงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ฟ้องจริงแต่ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้วเช่นนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ดังที่ปรากฏในตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉะนั้นเอกสารซึ่งเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินจึงไม่จำเป็นแก่คดีที่จะต้องอ้างมาเป็นพยานหลักฐานอีก ตั๋วสัญญาใช้เงินตามฟ้องจะปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงที่ฟังได้เป็นยุติแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3637/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นภาษีอากรแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานได้
พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 มาตรา 19 บัญญัติให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ และรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3637/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีอากรขององค์การโทรศัพท์ และการใช้หนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐาน
พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497มาตรา 19 บัญญัติให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์หลังมีประกาศรัฐมนตรี และอำนาจแก้ฟ้องแย้งของผู้รับมอบอำนาจ
บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีวุตถุประสงค์ในการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ออกมาใช้บังคับก็ไม่ได้ระบุว่ากิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกำหนดให้กิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตเพิ่มขึ้น และให้ถือว่าการประกอบกิจการดังกล่าวเป็นการประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์อย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อดำเนินกิจการดังกล่าวต่อไปภายในกำหนดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 22 และกระทรวงการคลังได้แจ้งชื่อบริษัทโจทก์ไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งต่อกรมที่ดินทั้งนับแต่โจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ไม่เคยแจ้งโจทก์หรือกรมที่ดินว่าไม่อนุญาตตามคำร้องขอดังกล่าวของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิรับซื้อฝากที่ดินพิพาทได้โดยชอบ และมีอำนาจฟ้อง
เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องและดำเนินคดีแทนแล้วอ. ย่อมมีอำนาจทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยได้โดยโจทก์ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจและแต่งทนายความให้กระทำการดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรับซื้อฝากและการอนุญาตประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์: การที่รัฐมนตรีไม่แจ้งไม่อนุญาตถือว่าโจทก์มีสิทธิ
บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ออกมาใช้บังคับก็ไม่ได้ระบุว่ากิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกำหนดให้กิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตเพิ่มขึ้น และให้ถือว่าการประกอบกิจการดังกล่าวเป็นการประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์อย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อดำเนินกิจการดังกล่าวต่อไปภายในกำหนดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 22 และกระทรวงการคลังได้แจ้งชื่อบริษัทโจทก์ไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งต่อกรมที่ดินทั้งนับแต่โจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ไม่เคยแจ้งโจทก์หรือกรมที่ดินว่าไม่อนุญาตตามคำร้องขอดังกล่าวของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิรับซื้อฝากที่ดินพิพาทได้โดยชอบ และมีอำนาจฟ้อง
เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องและดำเนินคดีแทนแล้ว อ. ย่อมมีอำนาจทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยได้โดยโจทก์ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจและแต่งทนายความให้กระทำการดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรับซื้อฝาก, การมอบอำนาจ, การซื้อขายฝาก, การไม่ไถ่ถอน, กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ออกมาใช้บังคับก็ไม่ได้ระบุว่ากิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกำหนดให้กิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตเพิ่มขึ้น และให้ถือว่าการประกอบกิจการดังกล่าวเป็นการประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์อย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อดำเนินกิจการดังกล่าวต่อไปภายในกำหนดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 22 และกระทรวงการคลังได้แจ้งชื่อบริษัทโจทก์ไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งต่อกรมที่ดินทั้งนับแต่โจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ไม่เคยแจ้งโจทก์หรือกรมที่ดินว่าไม่อนุญาตตามคำร้องขอดังกล่าวของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิรับซื้อฝากที่ดินพิพาทได้โดยชอบ และมีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องและดำเนินคดีแทนแล้วอ. ย่อมมีอำนาจทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยได้โดยโจทก์ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจและแต่งทนายความให้กระทำการดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการต่อการยักยอกเงินของทางราชการจากความประมาทเลินเล่อและการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล อธิบดีซึ่งเป็นผู้แทนของกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องคดีแทน ดังนี้อากรสำหรับการมอบอำนาจซึ่งกรมโจทก์เป็นฝ่ายที่ต้องเสียจึงเป็นอันไม่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้มีหน้าที่และรับผิดชอบโดยตรงในด้านการเงินและทะเบียนยานพาหนะ แต่จำเลยที่ 3 ไม่เคยตรวจตราอย่างใกล้ชิดในการเก็บรักษาเงิน และไม่ดูแลในการนำเงินส่งคลังให้เป็นไปตามระเบียบเป็นการประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฉวยโอกาสยักยอกเงินของทางราชการไป จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 มีตำแหน่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร ย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบงานในหน่วยราชการที่ตนมีหน้าที่ควบคุมอยู่ แม้จะมอบหมายหน้าที่การเงินให้จำเลยที่ 3 ดูแลแทน จำเลยที่ 4 ก็ยังต้องมีหน้าที่ดูแลมิให้เกิดการเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 4 ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบในการรักษาเงินโดยไม่เก็บรักษา กุญแจไว้กับตนกลับมอบให้จำเลยที่ 3 ซึ่งถือกุญแจอยู่อีก 1 ดอก เป็น การเปิดช่องให้มีการยักยอกเงินสะดวกขึ้นเมื่อมอบหมายให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติหน้าที่แทนตนก็มิได้ตรวจตราควบคุมดูแลการนำเงินเข้าและออกจากที่เก็บตลอดจนมิได้ตรวจสอบทะเบียนเงินยืมและเร่งรัดให้มีการส่งใบสำคัญหักล้างเงินยืมตามระเบียบจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ร่วมกันปลอมใบยืมและเบิกเงินไปโดยผิดระเบียบถึง 29 ครั้ง ถือว่า เป็นความประมาทเลินเล่อ เมื่อเกิดความเสียหายอันเป็นผล ของความประมาทเลินเล่อดังกล่าวจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิด
of 44