คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 60

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 436 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6057/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนรับชำระหนี้: การชำระหนี้เกินอำนาจไม่ผูกพันเจ้าหนี้
หนังสือมอบอำนาจของเจ้าหนี้ระบุข้อความอันเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนไว้โดยชัดแจ้งว่า ให้ ก. ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจเพียงเจรจาตกลงกับลูกหนี้จนเสร็จการเท่านั้น มิได้มอบอำนาจให้เป็นตัวแทนรับชำระหนี้จากลูกหนี้แต่อย่างใด การที่ ก. รับชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ไว้จากลูกหนี้ จึงเป็นการกระทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวแทน ทั้งตามหนังสือมอบอำนาจก็ระบุว่าเจ้าหนี้ยอมรับผิดต่อลูกหนี้เฉพาะในการกระทำที่ ก. ได้ทำไปตามที่เจ้าหนี้มอบอำนาจเท่านั้น เจ้าหนี้จึงไม่ต้องผูกพันกับการรับชำระหนี้ของ ก. ประกอบกับตามทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดอันจะพึงถือได้ว่า ทางปฏิบัติของเจ้าหนี้ทำให้ลูกหนี้มีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการชำระหนี้แก่ ก. นั้นอยู่ภายในขอบอำนาจของ ก. ซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้ต้องรับผิดต่อลูกหนี้ผู้สุจริตเสมือนว่า ก. เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจรับชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821 การรับชำระหนี้ของ ก. จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจย่อมไม่ผูกพันเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 เจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้เต็มจำนวน โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ลูกหนี้ชำระต่อ ก. ซึ่งมิใช่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้มาหักชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: คำสั่งมอบอำนาจยังสมบูรณ์แม้ผู้มอบอำนาจพ้นตำแหน่ง
ขณะที่ ธ. มีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นธ. ยังเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 70 แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดี ธ. จะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโจทก์ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งมอบอำนาจไม่ได้ถูกยกเลิกเพิกถอน คำสั่งมอบอำนาจของ ธ. ดังกล่าวจึงยังคงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หาทำให้ฐานะของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์สิ้นสุดตามการพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีของ ธ. ไปด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาขนส่ง, สัญญาต่างตอบแทน, ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ, และประเด็นนอกฟ้อง
แม้คำให้การจะถือว่าเป็นคำคู่ความเช่นเดียวกับคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(5) แต่การพิจารณาว่าคำให้การที่จำเลยยื่นต่อศาลเป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(4) และ มาตรา 177 กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าในกรณีที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีเอง แต่มอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินคดีแทนจำเลยจะต้องบรรยายไว้ในคำให้การด้วยว่ามอบอำนาจให้ผู้ใดดำเนินคดีแทนและต้องแสดงหลักฐานการมอบอำนาจมาพร้อมกับคำให้การด้วย เมื่อจำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือและยื่นต่อศาลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และในคำให้การจำเลยได้ปฏิเสธข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งหมดโดยแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้งเมื่อจำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งต้องมีผู้กระทำการแทนและตามใบแต่งทนายความของจำเลยระบุว่าผู้แต่งทนายความคือ "บริษัท น. โดย ร. ผู้รับมอบอำนาจจำเลย" ขอแต่งตั้งให้ว. เป็นทนายความและลงลายมือชื่อ ร. ในช่องผู้แต่งทนายความ ถือว่าจำเลยได้มอบอำนาจให้ ร. ดำเนินคดีแทนจำเลยและต่อมาจำเลยยื่นคำแถลงขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและยื่นสำเนาเอกสาร จำเลยก็ได้ส่งสำเนาภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจซึ่งรับรองสำเนาถูกต้อง ร. จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความแทนจำเลย ว. ในฐานะทนายความจึงมีอำนาจทำคำให้การและลงชื่อในคำให้การยื่นต่อศาลได้
สัญญารับจ้างขนส่งระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุไว้ชัดแจ้งว่า "สัญญานี้มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2540 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นสมควร ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้โดยทำเป็นหนังสือหรือจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับบอกกล่าวให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน" ดังนั้นสัญญานี้ย่อมเลิกกันเมื่อถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 โดยจำเลยไม่ต้องบอกเลิกสัญญาให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน กรณีที่จำเลยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าเป็นกรณีที่สัญญายังไม่สิ้นสุดแต่จำเลยเห็นสมควรเลิกสัญญาก็มีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาก่อนสัญญานี้สิ้นสุดลงโดยให้มีผลเป็นการเลิกสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541ซึ่งเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบ ก็มีผลเพียงไม่ทำให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 1 มีนาคม2541 การที่โจทก์มีหนังสือทักท้วงการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวและจำเลยมีหนังสือยินยอมให้โจทก์มีสิทธิขนส่งน้ำมันให้จำเลยต่อไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2541 อันเป็นระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญา จึงไม่ใช่เป็นการบอกเลิกสัญญา แต่เป็นการแสดงเจตนายืนยันว่าจำเลยจะไม่ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ต่อไปอีกเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว
โจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหาย หรือคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร คงฎีกาเพียงแต่ให้ศาลฎีกาพิจารณากำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นฎีกาที่เคลือบคลุมไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, พยานเอกสาร, การทิ้งฟ้อง: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
บทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ได้บังคับว่าในการมอบอำนาจแก่กันนั้น วันที่ลงในหนังสือมอบอำนาจจะต้องเป็นวันที่เดียวกันกับวันที่มีการมอบอำนาจกันจริง ทั้งผู้มอบอำนาจผู้รับมอบอำนาจ และพยานผู้รู้เห็นการมอบอำนาจก็ย่อมจะลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในภายหลังที่มีการมอบอำนาจกันแล้วได้ ไม่ถือเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ช. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยก่อนที่จะได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่โจทก์ได้ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ ช. ได้กระทำไปในนามของโจทก์โดยได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์พ.ศ. 2496 ได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ในเอกสารต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 เป็นสิ่งที่ศาลรู้เอง โจทก์ไม่ต้องนำสืบศาลก็รับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2541 ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องหมายเรียกส่งสำเนาให้จำเลยโดยให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันหากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 10 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 ต่อศาลชั้นต้นขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยและได้ยื่นคำแถลงลงวันที่ 5พฤศจิกายน 2541 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกดังกล่าวแก่จำเลยซึ่งเป็นเวลาเกิน 10 วัน นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายรายงานให้ศาลชั้นต้นทราบว่าส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี ซึ่งอาจเป็นเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีมีเหตุขัดข้องไม่สามารถส่งหมายเรียกให้จำเลยตามภูมิลำเนาที่ระบุไว้ในคำฟ้องแต่แรกได้ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6911/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจในการยื่นคำร้องขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ผู้รับมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจช่วง
การขอคืนของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36เป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญา ตามหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุไว้ชัดเจนให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีแทนทั้งทางแพ่งทางอาญาและล้มละลายจนกว่าคดีถึงที่สุด และยังระบุให้ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจช่วงด้วย ดังนั้น ศ. ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้องได้ และเมื่อ ศ. มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินการยื่นเรื่องลงชื่อในเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถจักรยานยนต์ของกลางคืนอันหมายถึงการยื่นคำร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนต่อศาลนั้นเอง จึงถือได้ว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ อ. ผู้รับมอบอำนาจช่วงยื่นคำร้องต่อศาลขอคืนของกลางได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม การรับโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนต้องผูกพันตามภาระเดิม
การมอบอำนาจให้ฟ้องหรือต่อสู้คดี ย่อมหมายความว่ามอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนทั้งเรื่องจนกว่าจะเสร็จสิ้น การที่จะมีคู่ความฝ่ายอื่นเช่นผู้ร้องสอดหรือผู้ร้องขัดทรัพย์เข้ามาในคดีหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่อาจรู้ได้ในขณะที่เริ่มฟ้องหรือต่อสู้คดีผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวความในการต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาในคดีในภายหลังได้
ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงซื้อที่ดินจากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ได้ภารจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะจำเลยก็ได้แบ่งแยกที่ดินจนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินของโจทก์และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยเพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด ข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี
จำเลยโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และมีการทำแผนที่พิพาทแล้ว โดยจำเลยและจำเลยร่วมทราบข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้องแล้วว่าที่ดินแปลงนี้จะต้องถูกบังคับให้ตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีกล่าวอ้างว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทไปโดยรู้แล้วว่าที่ดินแปลงนี้กำลังถูกฟ้องบังคับให้ตกอยู่ในภารจำยอมเท่ากับจำเลยร่วมรับโอนโดยไม่สุจริตเมื่อจำเลยร่วมยื่นคำให้การเข้ามาในคดี จำเลยร่วมหาได้ปฏิเสธว่าตนเองรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมยอมรับตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้วว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตสิทธิและหน้าที่ของจำเลยในที่ดินแปลงนี้มีอยู่อย่างไร จำเลยร่วมย่อมต้องรับโอนจากจำเลยไปทั้งหมด รวมทั้งหน้าที่ที่จะต้องถูกบังคับให้ที่ดินแปลงนี้ตกอยู่ในภารจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิภาระจำยอม - ผู้รับโอนทราบข้อพิพาทต้องรับภาระ
การมอบอำนาจให้ฟ้องหรือต่อสู้คดี ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนทั้งเรื่องจนกว่าจะเสร็จสิ้น การที่จะมีคู่ความฝ่ายอื่นเช่นผู้ร้องสอดหรือผู้ร้องขัดทรัพย์เข้ามาในคดีหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่อาจรู้ได้ในขณะที่เริ่มฟ้องหรือต่อสู้คดี ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวความในการต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาในคดีในภายหลังได้
ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงซื้อที่ดินจากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ได้ภาระจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ จำเลยก็ได้แบ่งแยกที่ดินจนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินของโจทก์ และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยเพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด ข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี
จำเลยโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และมีการทำแผนที่พิพาทแล้ว โดยจำเลยและจำเลยร่วมทราบข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้องแล้วว่าที่ดินแปลงนี้จะต้องถูกบังคับให้ตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีกล่าวอ้างว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทไปโดยรู้แล้วว่าที่ดินแปลงนี้กำลังถูกฟ้องบังคับให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเท่ากับจำเลยร่วมรับโอนโดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยร่วมยื่นคำให้การเข้ามาในคดีจำเลยร่วมหาได้ปฏิเสธว่าตนเองรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมยอมรับตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้วว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต สิทธิและหน้าที่ของจำเลยในที่ดินแปลงนี้มีอยู่อย่างไร จำเลยร่วมย่อมต้องรับโอนจากจำเลยไปทั้งหมด รวมทั้งหน้าที่ที่จะต้องถูกบังคับให้ที่ดินแปลงนี้ตกอยู่ในภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการใช้ดุลพินิจของศาลในการงดสืบพยานที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญ
จำเลยเคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายเรียกพยานปากอ.และ น.กรรมการของโจทก์มาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยแถลงศาลก่อนว่าพยานที่ขอออกหมายเรียกที่ประสงค์จะนำสืบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีอย่างไรแล้วจะพิจารณาสั่งต่อไป แต่จำเลยก็ไม่ได้แถลงถึงเหตุที่ต้องขอหมายเรียกพยานดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นทราบ จนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียก อ.และ น.มาเป็นพยานจำเลย และจำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยกำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมสืบตามนัด เนื่องจากศาลเลื่อนคดีไปเป็นระยะเวลานานเกือบ 3 เดือน หากในวันนัดไม่สามารถนำพยานอื่นมาสืบได้ก็ให้นำตัวจำเลยเข้าสืบก่อน แต่ครั้นถึงกำหนด จำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างเหตุว่าประสงค์จะนำ อ.เข้าสืบเป็นพยานจำเลยปากแรกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เกิดเหตุขัดข้องในด้านธุรการศาล เจ้าหน้าที่ศาลไม่สามารถนำหมายเรียกพยานบุคคลดังกล่าวมาให้ทนายจำเลยได้ และไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาล พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี
ป.วิ.พ.มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยมิชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้ว จะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้น คือมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เมื่อการขอเลื่อนคดี ตามคำร้อง และคำแถลงของทนายจำเลยต่อศาลชั้นต้นไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์จึงเป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยโดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณากำหนดนัดฟังคำพิพากษา จึงมีความหมายในตัวว่ากำหนดนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือล่วงหน้าเป็นอันยกเลิกไปในตัว ศาลชั้นต้นหาจำต้องสั่งยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองอีกไม่ กรณีมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 27ได้
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า อ.ไม่ใช่กรรมการผู้มีสิทธิมอบอำนาจกระทำการแทนโจทก์ หรือลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง ที่จะนำเข้าสู่ประเด็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และข้อต่อสู้ของจำเลยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจในเรื่องวันที่ สถานที่ ที่ทำใบมอบอำนาจ และผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยานร่วมกันลงชื่อตามวันและสถานที่ตามใบมอบอำนาจหรือไม่ ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์และไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยขอหมายเรียก อ.มาเบิกความเป็นพยานจำเลยในเรื่องอำนาจฟ้องเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี จึงงดสืบพยานดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสอง และ มาตรา 104 แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยมาศาลไม่ได้ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามทนายจำเลยถึงการไม่นำตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยติดธุระสำคัญไม่อาจมาศาลได้เท่านั้น ถือได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นแล้วว่า คำร้องขอเลื่อนคดีและคำแถลงของทนายจำเลยไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรมประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำชับให้นำตัวจำเลยเข้าเบิกความ หากไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาลในนัดก่อนหน้านี้แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 831/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการใช้ดุลพินิจศาลในการงดสืบพยาน กรณีจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลและไม่มีเหตุจำเป็นในการขอเลื่อนคดี
จำเลยเคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายเรียกพยานปาก อ. และ น. กรรมการของโจทก์มาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยแถลงศาลก่อนว่า พยานที่ขอออกหมายเรียกที่ประสงค์จะนำสืบข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีอย่างไรแล้วจะพิจารณาสั่งต่อไป แต่จำเลยก็ไม่ได้แถลงถึงเหตุที่ต้องขอหมายเรียกพยานดังกล่าวให้ศาลชั้นต้นทราบ จนถึงวันนัดสืบพยานจำเลยนัดแรก จำเลยขอเลื่อนคดีอ้างเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียก อ. และ น. มาเป็นพยานจำเลย และจำเลยไม่ได้เตรียมพยานอื่นมา ซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีโดยกำชับว่าให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อมสืบตามนัด เนื่องจากศาลเลื่อนคดีไปเป็นระยะเวลานานเกือบ 3 เดือน หากในวันนัดไม่สามารถนำพยานอื่นมาสืบได้ก็ให้นำตัวจำเลยเข้าสืบก่อน แต่ครั้นถึงกำหนดจำเลยก็ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างเหตุว่าประสงค์จะนำ อ. เข้าสืบเป็นพยานจำเลยปากแรกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง แต่เกิดเหตุขัดข้องในด้านธุรการศาล เจ้าหน้าที่ศาลไม่สามารถนำหมายเรียกพยานบุคคลดังกล่าวมาให้ทนายจำเลยได้ และไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาล พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์จะให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาโดยมิชักช้า การเลื่อนคดีก็อนุญาตให้เลื่อนได้เพียงครั้งเดียว คู่ความที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีไปแล้ว จะขอเลื่อนคดีอีกได้ก็ต่อเมื่อเข้าข้อยกเว้น คือมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ เมื่อการขอเลื่อนคดี ตามคำร้อง และคำแถลงของทนายจำเลยต่อศาลชั้นต้นไม่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ทั้งมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลชั้นต้นว่า ถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม พฤติการณ์จึงเป็นการประวิงคดี ชอบที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลย โดยไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไป และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสอง คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณากำหนดนัดฟังคำพิพากษา จึงมีความหมายในตัวว่ากำหนดนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือล่วงหน้าเป็นอันยกเลิกไปในตัว ศาลชั้นต้นหาจำต้องสั่งยกเลิกวันนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองอีกไม่ กรณีมิใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ได้
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า อ. ไม่ใช่กรรมการผู้มีสิทธิมอบอำนาจกระทำการแทนโจทก์ หรือลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อันมีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง ที่จะนำเข้าสู่ประเด็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ และข้อต่อสู้ของจำเลยเกี่ยวกับใบมอบอำนาจในเรื่องวันที่ สถานที่ ที่ทำใบมอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจผู้รับมอบอำนาจ และพยานร่วมกันลงชื่อตามวันและสถานที่ตามใบมอบอำนาจหรือไม่ ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์และไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่จำเลยขอหมายเรียก อ. มาเบิกความเป็นพยานจำเลยในเรื่องอำนาจฟ้องเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดี จึงงดสืบพยานดังกล่าวเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง และมาตรา 104 แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงเหตุที่จำเลยมาศาลไม่ได้ในวันนัดสืบพยานจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นสอบถามทนายจำเลยถึงการไม่นำตัวจำเลยมาเบิกความเป็นพยาน ทนายจำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยติดธุระสำคัญไม่อาจมาศาลได้เท่านั้น ถือได้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลชั้นต้นแล้วว่า คำร้องขอเลื่อนคดีและคำแถลงของทนายจำเลยไม่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้และไม่แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม ประกอบกับศาลชั้นต้นได้กำชับให้นำตัวจำเลยเข้าเบิกความ หากไม่มีพยานอื่นของจำเลยมาศาลในนัดก่อนหน้านี้แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยอีกแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจให้การแทนจำเลยในคดีแรงงาน และการวินิจฉัยคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน
ใบมอบอำนาจที่จำเลยยื่นต่อศาลแรงงานได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าป. ผู้มีอำนาจลงนามแทนจำเลยมอบอำนาจให้ ย.เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยเกี่ยวกับการพิจารณาและการสืบพยานโจทก์ที่ศาลแรงงาน เมื่อคำให้การเป็นกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งและเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (8)ย.จึงมีอำนาจให้การด้วยวาจากต่อศาลแรงงานได้
การห้ามมิให้ว่าความอย่างทนายความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60หมายถึงห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจซักถามพยานในศาลอย่างทนายความเท่านั้น แต่มิได้ห้ามมิให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่นต่อศาล
การยื่นคำให้การหรือการให้การด้วยวาจาต่อศาลแรงงาน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งที่มิใช่เป็นการว่าความอย่างทนายความ ย.ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยจึงมีอำนาจให้การด้วยวาจาต่อศาลแทนจำเลยได้ และเมื่อเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่อยู่ในขอบอำนาจที่ได้รับมอบอำนาจจากจำเลย ศาลแรงงานจึงรับคำให้การด้วยวาจาของ ย.ไว้พิจารณาได้
จำเลยให้การด้วยวาจา ศาลแรงงานได้บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยได้ค้างจ่ายค่าจ้างโจทก์ และจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์โดยยังไม่ได้จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจริง แต่ตามคำให้การที่ศาลบันทึกไว้ดังกล่าว จำเลยมิได้ยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด กรณีจะถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด และจะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง มาใช้อย่างเคร่งครัดในกรณีเช่นนี้ไม่ได้ เพราะศาลแรงงานเป็นผู้บันทึกคำให้การจำเลยไว้เอง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่า จำเลยยอมรับว่าเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามคำฟ้อง การที่ศาลแรงงานสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงดังกล่าวในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คดีแรงงานเป็นคดีมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานได้ไกล่เกลี่ยให้โจทก์จำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกัน ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การไกล่เกลี่ยโจทก์จำเลยตามมาตรา 38 เป็นต้นไปแล้วมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
of 44