พบผลลัพธ์ทั้งหมด 436 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์และการปฏิบัติหน้าที่ของศาลตามลำดับชั้น
ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน และมาตรา 158 บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ค.ทนายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดยที่ ค.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ต่อศาล ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย โดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรนณีเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะถือว่าจำเลยมิได้ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ที่ ค.ยื่นต่อศาลเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 แห่ง ป.วิ.อ. เพราะยังมิได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ตั้งแต่งให้ ค.เป็นทนายความของตนโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกานี้แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดี: คำสั่งมอบอำนาจทั่วไปไม่เพียงพอ ต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจเฉพาะเจาะจง
คำสั่งกรมตำรวจเรื่องมอบอำนาจให้หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจให้มีอำนาจแต่งตั้งทนายความดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ได้ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบว่าตำแหน่งรองผู้บังคับการหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดเป็น ตำแหน่งเดียวกันกับตำแหน่งหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดตามคำสั่งของกรมตำรวจ ข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้เองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 84 จึงฟังไม่ได้ว่า พันตำรวจเอก ว. ดำรงตำแหน่งหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือตำแหน่งเทียบเท่าตามคำสั่ง โจทก์จึงไม่อาจอ้างคำสั่งมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ ส่วนหนังสือที่ผู้ช่วยโจทก์ ซึ่งปฏิบัติราชการแทนโจทก์ร่างเสนอปลัดกระทรวงมหาดไทยลงลายมือชื่อแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด มีข้อความตอนท้ายว่า "ดังนั้น ตามหนังสือที่อ้างถึง (2) เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ส่งสำนวนการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งไปให้กรมตำรวจ พิจารณาแล้ว อธิบดีกรมตำรวจจะได้มอบอำนาจให้ผู้รับผิดชอบ ตามคำสั่งกรมตำรวจที่ 990/2535 เพื่อดำเนินคดีต่อไป"คำสั่งกรมตำรวจที่ 990/2535 ก็คือคำสั่งกรมตำรวจเรื่อง มอบอำนาจให้หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการอื่น ๆ ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจตามข้อความในหนังสือ ข้างต้น โจทก์เองมิได้ถือว่าคำสั่งของโจทก์ที่ 990/2535 เป็นหนังสือมอบอำนาจ เพราะโจทก์จะต้องมอบอำนาจ ให้ผู้รับผิดชอบตามคำสั่งที่ 990/2535 อีกชั้นหนึ่ง พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่พอฟังว่าพันตำรวจเอก ว. ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาในประเด็นนี้ แต่เป็นมูลหนี้ อันไม่อาจแบ่งแยกชำระหนี้กันได้ จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายประนีประนอมยอมความ - การฉ้อฉล - สัญญาประนีประนอมยอมความ
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มาศาลแต่ทนายความของโจทก์ไล่โจทก์ออกนอกห้องพิจารณาแล้วทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม หากโจทก์อยู่ในห้องพิจารณาโจทก์จะไม่ยอมตกลงด้วยนั้นแม้เป็นความจริงก็เป็นเรื่องทนายความของโจทก์ซึ่งมีอำนาจประนีประนอมยอมความตามใบแต่งทนายความกระทำการฝ่าฝืนความประสงค์ของโจทก์ โจทก์จะเสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งหาใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1) ไม่ โจทก์ฎีกาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำขึ้นโดยฉ้อฉล ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้ ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต่อไปตามรูปคดีโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดีคำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเป็นค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความประนีประนอมยอมความเกินอำนาจ โจทก์ไม่ยินยอม ไม่ถือเป็นฉ้อฉล
ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มาศาล แต่ทนายความของโจทก์ไล่โจทก์ออกนอกห้องพิจารณา แล้วทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม หากโจทก์อยู่ในห้องพิจารณาโจทก์จะไม่ยอมตกลงด้วยนั้น แม้เป็นความจริงก็เป็นเรื่องทนายความของโจทก์ซึ่งมีอำนาจประนีประนอมยอมความตามใบแต่งทนายความกระทำการฝ่าฝืนความประสงค์ของโจทก์ โจทก์จะเสียหายอย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งหาใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 (1) ไม่
โจทก์ฎีกาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำขึ้นโดยฉ้อฉลขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต่อไปตามรูปคดี โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายป.วิ.พ.เท่านั้น
โจทก์ฎีกาว่าสัญญาประนีประนอมยอมความทำขึ้นโดยฉ้อฉลขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ต่อไปตามรูปคดี โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เป็นฝ่ายชนะคดี คำขอตามคำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ (2) (ก) ท้ายป.วิ.พ.เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายของผู้ค้ำประกัน การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และการตีราคาหลักประกัน
พ.และย. ร่วมกันลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์มอบอำนาจให้ น. มีอำนาจกระทำการต่าง ๆตามที่ระบุไว้ รวมทั้งมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีล้มละลายทุกศาลแทนโจทก์ได้ ขณะ พ. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจนั้น พ. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีผลให้ น. มีอำนาจฟ้องคดีล้มละลายแทนโจทก์ได้ทั้งหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาท อันแสดงว่าโจทก์มอบอำนาจให้กระทำการแทนโจทก์ได้มากกว่าครั้งเดียวดังนี้ ตราบใดโจทก์ยังมิได้ยกเลิกหรือเพิกถอนหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว น. ย่อมมีอำนาจกระทำการต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ทั้งหมดแทนโจทก์ได้ตลอดไป แม้ต่อมาภายหลังขณะยื่นฟ้องนั้นพ. จะมิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์อีกต่อไปก็ตามเพราะการที่ พ.และย. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์นั้นเป็นการมอบอำนาจในนามโจทก์ น. จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินบัญชีและหนี้ที่เกิดจากการที่จำเลยที่ 1ขายลดเช็คตามสัญญาขายลดเช็คพร้อมดอกเบี้ย หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ส่วนที่โจทก์ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 10(2) ที่ให้กระทำเช่นนั้น เพียงแต่เมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 500,000 บาทก็ฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งและนำยึดหลักประกันออกขายทอดตลาดก่อน ที่จำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งที่มีอยู่แล้วขณะค้ำประกันและที่จะมีขึ้นต่อไปในภายหน้า โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาทเมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 8,423,598.91บาท โจทก์ตีราคาหลักประกันเป็นเงิน 3,856,300 บาทเมื่อหักกันจำนวนหนี้ดังกล่าวเงินยังขาดอยู่ 4,567,298.91บาท อันเป็นจำนวนเงินที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายได้ จำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว 2 ครั้ง แต่ละครั้งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ที่จำเลยที่ 2นำสืบว่า มีรถยนต์บรรทุกหลายคันคงมีแต่จำเลยที่ 2คนเดียวเบิกความลอย ๆ ไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ให้เห็นว่าเป็นความจริง ส่วนจำเลยที่ 2นำสืบว่าจำเลยที่ 2 ประกอบการขนส่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทั้งที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังวินิจฉัยมาข้างต้นหาใช่ไม่มีหน้าที่ต้องรับชำระหนี้แก่โจทก์ดังที่จำเลยที่ 2ฎีกาไม่ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้ล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน, การต่ออายุสัญญาเช่า, และการประเมินค่าเช่าที่สมควร
สัญญาเช่าทรัพย์สินระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากับโจทก์ผู้เช่าระบุว่าโจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนผู้ให้เช่า การที่จำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระค่าภาษีดังกล่าวจากโจทก์ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน หากจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีดังกล่าว เกินไปจำเลยที่ 1 ก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่คืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินจำนวนนั้นไม่ เมื่อโจทก์เป็นผู้ชำระเงินส่วนที่อ้างว่าเกินนั้น โจทก์ย่อมเรียกเงินส่วนนี้คืนได้แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้รับประเมินและไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ด้วยอำนาจแห่งสิทธิของโจทก์เองกรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องแทนผู้ให้เช่าโจทก์จึงไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากผู้ให้เช่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ทำการประเมินค่ารายปีโดยใช้ หลักเกณฑ์เทียบเคียงกับอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งใช้ประโยชน์ คล้ายคลึงกันและมีทำเลที่ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกันคือ เทียบเคียงกับโรงเรือนซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 300 เมตรโดยคำนึงถึงค่ารายปีในปี 2537 ด้วยแล้วจึงประเมินพื้นที่อาคารสำนักงานและลายจอดรถ ซึ่งราคาประเมินลายจอดรถยังต่ำกว่าของอาคารที่อยู่ใกล้เคียงดังกล่าว สำหรับป้อมยาม โรงอาหารโรงไฟฟ้า รวมทั้งพื้นที่ต่อเนื่องกับอาคารไม่มีการประเมินเพิ่มทั้งนี้ได้คำนึงถึงดรรชนีราคาผู้บริโภคของทางราชการประกอบสภาพทางเศรษฐกิจอีกด้วย ค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ประเมินไว้เป็นเงินค่ารายปีอันสมควร และมิได้สูงกว่าค่าเช่าที่อาจให้เช่าได้ในปี 2538 การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจช่วงก่อนยื่นฟ้อง แม้หนังสือมอบอำนาจลงวันที่หลัง แต่มีผลบังคับใช้ย้อนหลังได้
โจทก์ยื่นคำฟ้องเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ตลอดจนให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงกระทำการแทน และบรรยายฟ้องต่อไปว่า ส. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้องและแต่งตั้งทนายความแทนโจทก์ได้ แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส. ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้แม้หนังสือมอบอำนาจช่วงจะลงวันที่ 4 มกราคม 2537 อันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วก็ตาม เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ได้ระบุเงื่อนเวลาเริ่มต้นของการมอบอำนาจช่วงว่าจะให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงเริ่มมีอำนาจเมื่อใด จึงเป็นที่เห็นได้ว่าในขณะยื่นฟ้อง ส. ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้หาทำให้กลับกลายเป็นการมอบอำนาจช่วงภายหลังยื่นคำฟ้อง อันจะทำให้ ว. ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4080/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาแผ่นดิน เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิด แม้หนังสือมอบอำนาจจะระบุชื่อผิด
ข้อหาหรือฐานความผิดลักทรัพย์หรือรับของโจรในคดีนี้มีประเด็นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใดหรือไม่ แม้จะปรากฏในหนังสือมอบอำนาจว่าผู้เสียหายมอบอำนาจให้ป. แจ้งความดำเนินคดีแก่บุคคลที่ชื่อว่า ส. แต่เนื่องจากการกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาเป็นอาญาแผ่นดิน เมื่อมีการกระทำผิดเกิดขึ้น ผู้เสียหายหรือผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้เสียหายอาจจะกล่าวโทษต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดีได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าหนังสือมอบอำนาจจะระบุชื่อผู้กระทำความผิดหรือไม่ เจ้าพนักงานตำรวจก็ดำเนินการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดได้อยู่แล้ว การที่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย ลำพังแต่หนังสือมอบอำนาจของผู้เสียหายระบุชื่อผู้กระทำความผิดไม่ถูกต้องไม่ทำให้การดำเนินคดีไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของรวม: เจ้าของรวมคนหนึ่งมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของรวมคนอื่น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ให้อำนาจเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด การใช้สิทธิดังกล่าวรวมถึงการใช้สิทธิทางศาลด้วย เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาท โจทก์แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่นแต่อย่างใด ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ และนาง ล. กับนาง ส. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่นจะมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยได้รับความยินยอมจากสามีหรือไม่ จึงมิใช่ข้อสาระสำคัญจักต้องวินิจฉัย โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อและการริบของกลาง ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิขอคืนหากผู้เช่าซื้อยังไม่ครบกำหนดชำระ
ขณะจำเลยถูกจับกุมและศาลมีคำสั่งให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางส. ผู้เช่าซื้อยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบกรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกของกลางจึงยังเป็นของผู้ร้องอยู่การที่รถยนต์บรรทุกของกลางถูกศาลสั่งริบย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายเพราะอาจจะไม่สามารถบังคับชำระหนี้เอาจากส. ได้อีกดังนั้นจะถือว่าการที่ผู้ร้องมาร้องขอของกลางคืนเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของส.ผู้เช่าซื้อจึงไม่ถูกต้องเพราะผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียร่วมอยู่ด้วยส่วนการที่ผู้ร้องจะมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินคดีแทนนั้นก็เป็นสิทธิตามกฎหมายที่จะกระทำได้และการที่ผู้รับมอบอำนาจ>จากผู้ร้องจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของจำเลยอย่างไรนั้นก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้รับมอบอำนาจเท่านั้นหามีผลถึงผู้ร้องด้วยไม่