คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 60

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 436 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7521/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้ไม่มีสิทธิโดยตรงและผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้ร้องเป็นบุตรของ ส.กับ อ. เมื่อ อ.ถึงแก่กรรม ส.ได้อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. ต่อมา ช.ถึงแก่กรรม ผู้ร้องจึงร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ดังนี้ เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม กองมรดกของ ช.ย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยชอบธรรมหรือโดยพินัยกรรม ผู้ร้องเป็นบุตรของ ส.กับ อ. มิได้เป็นบุตรของ ช.เจ้ามรดกไม่ปรากฏว่า ช.จดทะเบียนรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ช.โดยตรง อีกทั้ง ช.มีทายาทที่จะรับมรดกโดยตรงอยู่แล้ว ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
การที่ ส.มารดาของผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์มรดกของ ช.คงเพียงแต่ก่อให้เกิดสิทธิที่ผู้ร้องจะฟ้องขอแบ่งโดยอ้างว่ามีส่วนของ ส. มารดาผู้ร้องร่วมด้วยเท่านั้น ซึ่งผู้ร้องชอบไปว่ากล่าวเป็นอีกส่วนหนึ่ง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านระบุว่า อ.ในฐานะมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของนางสาว ช.ผู้เยาว์ และข้อความในคำคัดค้านบรรยายว่า ผู้คัดค้านในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้งสามเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ฟังได้ว่าเป็นคำคัดค้านของผู้เยาว์ทั้งสามโดยมารดาคัดค้านแทน ดังนั้น แม้ต่อมานางสาว ช.ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ และ อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินคดีแทนในขณะยื่นคำคัดค้าน แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว อ.ไม่อยู่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมอีกต่อไป ศาลฎีกาสมควรตั้งนางสาว ช.เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7291/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน, การลอกเลียนแบบ, การลวงสาธารณชน, และอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ธ. เป็นผู้รับมอบอำนาจโดยให้มีอำนาจยื่นฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ธ.จึงย่อมมีอำนาจตั้งทนายความยื่นฟ้องคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคสอง เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานและมีธ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาเบิกความประกอบพยานเอกสารนั้นแม้ไม่มีพยานที่รู้เห็นการทำเอกสารดังกล่าวมาเบิกความแต่เอกสารดังกล่าวก็เข้าสู่สำนวนโดยชอบพยานเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ว่าโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศและมีการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าคำว่าNIKKOHORNกับรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องออกจำหน่าย เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีตัวอักษรโรมันทั้งหมด2คำโดยคำหลังคือHORNมีตัวอักษรเหมือนกันทั้งสี่ตัวส่วนคำหน้าคงแตกต่างกันแต่เพียงคำว่าNIKKOของโจทก์มีตัวอักษรKอยู่2ตัวส่วนคำว่าNIKOของจำเลยมีอักษรKเพียง1ตัวอักษรโรมันดังกล่าวของโจทก์และของจำเลยก็อ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันโดยของโจทก์อ่านออกเสียว่านิกโกฮอน ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียว่านิโก้ฮอน รูปรอยประดิษฐ์ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยนั้นต่างเป็นสีขาวอยู่กลางพื้นสีดำโดยมีอักษรโรมันว่าNIKKONIKOตามลำดับกำกับอยู่ด้านล่างของรูปรอยประดิษฐ์ซึ่งเขียนด้วยลายเส้นเป็นรอยหยักขนาดใกล้เคียงกันคงต่างกันแต่เฉพาะทิศทางของลายเส้นเท่านั้นเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าNIKOHORNและรูปNประดิษฐ์ของโจทก์สำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยอีกเครื่องหมายหนึ่งแม้จะมีตัวอักษรโรมันคำว่าMighty-mateVFD-150อยู่ด้วยก็ตามแต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ที่คำว่าNIKOและรูปรอยประดิษฐ์ซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังนี้เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าNIKKOHORNและรูปรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมาก่อนจำเลยแม้จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของจำเลยไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อนโจทก์ก็ยังคงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าNIKKOHORNและรูปรอยประดิษฐ์นั้นและในเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย แม้รูปรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยกับตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยและตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์แตกต่างกันอยู่บ้างโดยตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีคำว่าNIKOMightymateVFD-150ส่วนตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่าNIKOPower-mateSFD-100แต่ความแตกต่างดังกล่าวก็มีเพียงเล็กน้อยซึ่งสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกันก็ยากที่จะกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้างและแม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวการที่เครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์โดยสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์เช่นนี้นับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคืนสินค้าของโจทก์และเป็นการที่จำเลยได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่าNIKOHORNและรูปรอยประดิษฐ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเป็นการละเมิดต่อโจทก์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลยเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าโดยเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่าNIKOHORNและรูปรอยประดิษฐ์เป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ร่วมในการผลิตและจำหน่ายทำให้สาธารณชนเสื่อมความนิยมในเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์โจทก์ขอคิดค่าเสียหายเดือนละ50,000บาทดังนี้โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่อย่างใดไม่คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้ เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้รับจดทะเบียนนั้นตามมาตรา29วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิและเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยได้เอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานลวงขายตามมาตรา29วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้และไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งนี้เพราะสิทธินั้นเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7291/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน และประเด็นค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นผู้รับมอบอำนาจโดยให้มีอำนาจยื่นฟ้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ธ. จึงย่อมมีอำนาจตั้งทนายความยื่นฟ้องคดีนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเอกสารเป็นพยานหลักฐานและมี ธ. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาเบิกความประกอบพยานเอกสารนั้น แม้ไม่มีพยานที่รู้เห็นการทำเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ แต่เอกสารดังกล่าวก็เข้าสู่สำนวนโดยชอบ พยานเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ว่า โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างปรเทศและมีการผลิตสินค้าตามเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKKO HORN กับรูปรอยประดิษฐ์ตามฟ้องออกจำหน่าย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีตัวอักษรโรมันทั้งหมด 2 คำ โดยคำหลังคือ HORN มีตัวอักษรเหมือนกันทั้งสี่ตัว ส่วนคำหน้าคงแตกต่างกันแต่เพียงว่าคำว่า NIKKO ของโจทก์มีอักษร K อยู่ 2 ตัว ส่วนคำว่าNIKO ของจำเลยมีอักษร K เพียง 1 ตัว อักษรโรมันดังกล่าวของโจทก์และของจำเลยก็อ่านออกเสียงคล้ายคลึงกัน โดยของโจทก์อ่านออกเสียงว่า นิกโกฮอน ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียงว่า นิโก้ ฮอน รูปรอยประดิษฐ์ของเครื่อง-หมายการค้าของโจทก์และจำเลยนั้นต่างเป็นสีขาวอยู่กลางพื้นสีดำ โดยมีอักษรโรมันว่า NIKKO และ NIKO ตามลำดับ กำกับอยู่ด้านล่างของรูปประดิษฐ์ซึ่งเขียนด้วยลายเส้นเป็นรอยหยักขนาดใกล้เคียงกัน คงต่างกันแต่เฉพาะทิศทางของลายเส้นเท่านั้น เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์สายฟ้าแลบของจำเลยจึงแทบจะไม่มีข้อแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูป N ประดิษฐ์ของโจทก์ สำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยอีกเครื่องหมายหนึ่งแม้จะมีตัวอักษรโรมันคำว่า Mighty-mate VFD-150อยู่ด้วยก็ตาม แต่จุดเด่นของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อยู่ที่คำว่า NIKOและรูปรอยประดิษฐ์ซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์ดังกล่าวมาก่อนจำเลย แม้จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าของจำเลยไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าก่อน โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า NIKKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์นั้นและในเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
แม้รูปรอยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยกับตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยและตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์แตกต่างกันอยู่บ้าง โดยตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีคำว่า NIKO Mighty-mate VFD-150ส่วนตัวอักษรโรมันบนกล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์เป็นตัวอักษรโรมันคำว่าNIKO Power-mate SFD-100 แต่ความแตกต่างดังกล่าวก็มีเพียงเล็กน้อยซึ่งสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกัน ก็ยากที่จะกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้างและแม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากได้พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว การที่เครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของจำเลยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่กล่องบรรจุสินค้าแตรของโจทก์ โดยสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์เช่นนี้นับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ และเป็นการที่จำเลยได้ลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าคำว่า NIKD HORN และรูปรอยประดิษฐ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยอันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดต่อโจทก์เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย เป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในเครื่องหมายการค้าโดยเข้าใจว่าสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า NIKO HORN และรูปรอยประดิษฐ์เป็นสินค้าของโจทก์หรือโจทก์ร่วมในการผลิตและจำหน่าย ทำให้สาธารณชนเสื่อมความนิยมในเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ มีผลทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ โจทก์ขอคิดค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท ดังนี้ โจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์แต่อย่างใดไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์หรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ ก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้ได้
เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้รับจดทะเบียนนั้น ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์อ้างว่าตนถูกโต้แย้งสิทธิ และเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าจำเลยได้เอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานลวงขายตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ และไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้งนี้เพราะสิทธินั้นเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่อง-หมายการค้าดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5741/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์แม้กรรมการเปลี่ยน, สัญญาค้ำประกัน, และดอกเบี้ยผิดสัญญา
ขณะทำหนังสือมอบอำนาจ ท. และ ย. มีอำนาจทำการผูกพันโจทก์จึงมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ เมื่อ ท. กับ ย. ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจ มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องคดีแทนโจทก์ การมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ แม้ต่อมาภายหลังจะปรากฏว่าขณะที่ ส.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ท. จะพ้นจากตำแหน่งกรรมการไปแล้วก็ตามหนังสือมอบอำนาจก็ยังมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เพิกถอนหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว ส. จึงยังมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 เป็นผู้ค้ำประกันและยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 แม้กรรมการชุดใหม่ของจำเลยที่ 1 จะได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีใหม่กับโจทก์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ซึ่งเป็นกรรมการชุดเก่าได้ทำไว้กับโจทก์
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ได้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงยินยอมด้วย และในวันที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันดังกล่าวต่อโจทก์ จำเลยที่ 1ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 เป็นการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันทั้งหมดโดยมิได้มีการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างโจทก์อยู่และมิใช่เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราวไม่มีจำกัดเวลาเป็นคุณแก่เจ้าหนี้ที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ผู้ค้ำประกันจะใช้สิทธิบอกเลิกการค้ำประกันเพื่อคราวอันเป็นอนาคตได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 699 สัญญาค้ำประกันจึงยังไม่ระงับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจำนองที่ดินไว้แก่โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 3ถึงที่ 10 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย สัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันยอมสละที่จะต่อสู้ให้โจทก์บังคับเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกค้าก่อน ดังนั้นจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นอ้างได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 10 ได้โดยไม่ต้องฟ้องบังคับจำนองจากจำเลยที่ 1 ก่อน
โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 จากยอดหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีกระแสรายวัน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แสดงว่าโจทก์ได้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยตามข้อตกลงในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตลอดมาโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ และยอดหนี้ที่โจทก์ฟ้องก็เป็นยอดหนี้ที่โจทก์คิดมาจากบัญชีกระแสรายวันภายหลังที่หักทอนบัญชีกันแล้ว ยอดหนี้ดังกล่าวจึงเป็นยอดหนี้ที่คิดดอกเบี้ยมาไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะโจทก์คิดดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ได้ตกลงกันไว้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอย่างมาก ทั้งเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้นติดต่อกันตลอดมา จำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คหลายพันฉบับและโจทก์จ่ายเงินเกินบัญชีให้ไปและมีรายการที่จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้สินอีกหลายพันรายการ ยากที่ศาลฎีกาจะคิดต้นเงินและดอกเบี้ยที่ถูกต้องให้โจทก์ได้ซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องคิดยอดหนี้มาให้ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่มีหน้าที่ต้องคิดยอดหนี้ที่ถูกต้องตามบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวให้โจทก์ ดังนี้จึงต้องยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่นำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5293/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสัตยาบันการกระทำของตัวแทน แม้ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งชัดแจ้ง
แม้ว่าจำเลยร่วมจะไม่ระบุให้ชัดแจ้งในหนังสือมอบอำนาจว่าได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งได้ แต่หลังจากที่ผู้รับมอบอำนาจได้ฟ้องแย้งไว้แล้ว จำเลยร่วมก็ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งได้ ถือได้ว่าจำเลยร่วมตัวการได้ให้สัตยาบันการกระทำของผู้รับมอบอำนาจตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 จำเลยร่วมจึงมีอำนาจฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การดำเนินการตามขั้นตอนและอำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระไว้เกินแก่กรุงเทพมหานคร แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่าง ๆแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาด หากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้ การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย จึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องกรุงเทพมหานครจำเลยที่1เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดินขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระไว้เกินแก่กรุงเทพมหานครแม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยที่2ด้วยแต่จำเลยที่2เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่างๆแทนจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อจำเลยที่2และจำเลยที่2เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาดหากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่2โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่2ด้วยจึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิด - ค่าเสียหายต่อเนื่อง - ความรับผิดของผู้กระทำละเมิด
โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงที่มาของค่าเสียหายว่าเป็นค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ส.โรงพยาบาล ห. และที่บ้านเป็นเงินรวม 100,000 บาทเป็นการบรรยายในรายละเอียดแล้ว ส่วนหลักฐานใบเสร็จรับเงินโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ในส่วนเรียกค่าเสียหายไม่เคลือบคลุม
ว.และจำเลยที่ 1 ต่างทำหน้าที่ในสวนสาธารณะของจำเลยที่ 3การเสียบปลั๊กและปล่อยกระแสไฟฟ้าก็เพื่อป้องกันหนูมิให้กัดทำลายต้นกล้าไม้ในสวนอันเป็นของจำเลยที่ 3 ย่อมเป็นการทำงานเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เป็นงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3
จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ และจำเลยที่ 2 กระทำไปโดยพลการ จำเลยที่ 3 ฎีกาในข้อนี้ จึงเป็นฎีกานอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส. บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทนเด็กชาย ส. มิได้เป็นโจทก์ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 3 จะอ้างเอาการกระทำของ ส.มาเป็นข้ออ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 หาได้ไม่
เด็กชาย ส.ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายถึงสมองฝ่อเป็นอัมพาตตลอดชีวิต พูดไม่ได้ ย่อมจะต้องได้รับการดูแลรักษาในสภาพที่ป่วยเจ็บจนกว่าจะถึงแก่ความตาย ค่าดูแลรักษาที่จะต้องใช้จ่ายต่อไปจึงมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดให้เสียหายแก่ร่างกายในอนาคตนั่นเอง และเด็กชาย ส.ย่อมเสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 444 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากไฟฟ้าดูดในสวนสาธารณะ และการคำนวณค่าเสียหายจากการบาดเจ็บทางร่างกายถาวร
โจทก์ได้รับบรรยายฟ้องถึงที่มาของค่าเสียหายว่าเป็นค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล ส. โรงพยาบาล ห. และที่บ้านเป็นเงินรวม100,000บาทเป็นการบรรยายในรายละเอียดแล้วส่วนหลักฐานใบเสร็จรับเงินโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์ในส่วนเรียกค่าเสียหายไม่เคลือบคลุม ว. และจำเลยที่1ต่างทำหน้าที่ในสวนสาธารณะของจำเลยที่3การเสียบปลั๊กและปล่อยกระแสไฟฟ้าก็เพื่อป้องกันหนูมิให้กัดทำลายต้นกล้าไม้ในสวนอันเป็นของจำเลยที่3ย่อมเป็นการทำงานเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่3เป็นงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่3 จำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่าจำเลยที่1มิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อและจำเลยที่2กระทำไปโดยพลการจำเลยที่3ฎีกาในข้อนี้จึงเป็นฎีกานอกคำให้การศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส. บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมดำเนินคดีแทนเด็กชาย ส. มิได้เป็นโจทก์ในฐานะส่วนตัวจำเลยที่3จะอ้างเอาการกระทำของ ส.มาเป็นข้ออ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา442ประกอบด้วยมาตรา223หาได้ไม่ เด็กชาย ส. ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายถึงสมองฝ่อเป็นอัมพาตตลอดชีวิตพูดไม่ได้ย่อมจะต้องได้รับการดูแลรักษาในสภาพที่ป่วยเจ็บจนกว่าจะถึงแก่ความตายค่าดูแลรักษาที่จะต้องใช้จ่ายต่อไปจึงมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดให้เสียหายแก่ร่างกายในอนาคตนั่นเองและเด็กชาย ส.ย่อมเสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงทั้งในเวลาปัจจุบันและในอนาคตโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา444วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงชื่อฟ้องแทนโจทก์ & การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น & ประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์
โจทก์มอบอำนาจให้ น. ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คตามฟ้องทั้งสามฉบับ น. ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคสองเมื่อ น. แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความและทนายความที่คู่ความได้ตั้งแต่งนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา62บัญญัติให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆแทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรซึ่งการยื่นฟ้องคดีต่อศาลก็เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาทนายความที่คู่ความตั้งแต่งจึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องได้และการลงชื่อในคำฟ้องของทนายความนี้หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีข้อความในคำฟ้องว่าเป็นการลงชื่อแทนคู่ความหรือในฐานะทนายความแต่อย่างใด การที่คู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24มิได้บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะในกรณีที่ศาลเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดนั้นเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่ยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอเท่านั้นแม้ศาลจะเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไม่เป็นคุณแก่คู่ความตามที่มีคำขอศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่คู่ความนั้นได้ โจทก์เอาดอกเบี้ยเกินอัตรารวมไว้ในเช็คหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นและมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวมาในศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
of 44