พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเล่นแชร์: สิทธิเรียกร้องค่าแชร์ค้างชำระโดยตรงของนายวงแชร์ต่อลูกวงแชร์
ในการเล่นแชร์ลูกวงแชร์ต่างเชื่อถือนายวงแชร์เป็นสำคัญนายวงแชร์มีหน้าที่ต่อลูกวงแชร์ในการรวบรวมเงินจากลูกวงแชร์แต่ละคนทั้งที่ประมูลแล้วและยังมิได้ประมูลส่งแก่ลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ในงวดนั้น ส่วนลูกวงแชร์ก็มีหน้าที่ต้องส่งเงินค่าแชร์ในแต่ละงวดให้แก่นายวงแชร์เพื่อรวบรวมมอบให้แก่ลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ นายวงแชร์จึงมีนิติสัมพันธ์อยู่กับลูกวงแชร์แต่ละคนดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นลูกวงแชร์จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าแชร์ในแต่ละงวดให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายวงแชร์ หากจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าแชร์ในงวดนั้นได้โดยตรง หาจำต้องอาศัยสิทธิหรือรับช่วงสิทธิของลูกวงแชร์ที่ประมูลได้แต่อย่างใดไม่การที่โจทก์ชำระค่าแชร์แทนจำเลยไปบางงวดก็เพื่อป้องกันมิให้ถูกลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ฟ้องร้องเท่านั้น หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องชำระแทนจำเลยไปก่อนแล้วจึงจะเกิดสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยในภายหลังไม่ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าแชร์จำนวน 10 งวด เป็นเงิน 50,000 บาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกเงินโดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ชำระค่าแชร์แทนจำเลยไปแล้วเพียงใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน-หนังสือแจ้งหนี้ค้างชำระ-จำกัดสิทธิเรียกหนี้-อายุความ-ศาลฎีกาวินิจฉัย
เงื่อนไขในการประกวดราคาสัญญาก่อสร้างอาคารระบุว่าเมื่อโจทก์ตกลงเลือกผู้เข้าประกวดราคารายใดให้เป็นผู้รับจ้างและนัดให้ไปทำสัญญาแล้ว ผู้ถูกเลือกจะต้องไปทำสัญญาภายในกำหนดหากผู้ถูกเลือกไม่ยอมรับทำสัญญาโจทก์จะริบเงินมัดจำซองประกวดราคาและหากปรากฏว่าโจทก์ต้องจ้างผู้อื่นก่อสร้างแทนแพงกว่าราคาที่เสนอไว้รวมกับเงินประกันที่ยึดไว้แล้ว ผู้เสนอราคายินยอมที่จะชดใช้ราคาในส่วนที่เกินนั้นด้วยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ตกลงเลือกเป็นผู้เข้าประกวดราคาได้ไม่ยอมไปทำสัญญาก่อสร้างกับโจทก์ตามที่ยื่นซองประกวดราคาได้ ทำให้โจทก์ต้องจ้าง ช. ก่อสร้างอาคารของโจทก์ในราคาสูงกว่าราคาที่จำเลยที่ 1 ประมูลได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในราคาที่สูงขึ้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่ากำหนดเวลาให้ใช้ดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฎีกาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่ก่อนวันฟ้องกรณีก็ถือว่าโจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในปัญหาเรื่องดอกเบี้ยแล้ว ก่อนฟ้องคดีโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ที่ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้โต้แย้งโจทก์เรื่องที่โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบภายในระยะเวลาค้ำประกันถึงกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกวดราคาแต่จำเลยที่ 3 ก็ยังมีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนในชั้นให้การได้ ปัญหาที่โจทก์ฎีกา โจทก์มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อมิได้ว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหานี้ให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญาเช่าซื้อโดยความยินยอม และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ ธ. มีอำนาจเต็มในการขายรถยนต์ให้เช่าซื้อรถยนต์ ตลอดจนการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ อำนาจเช่นนี้ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจในการลดราคาขายหรือราคาเช่าซื้อหรือลดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระด้วย การที่ ธ. ลดค่าเช่าซื้อที่ค้างให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำตามที่ได้รับมอบอำนาจมาจากโจทก์ แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่าการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายก็ตาม แต่ข้อสัญญาใดที่คู่กรณีได้ทำขึ้น คู่กรณีสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขและตกลงทำข้อสัญญาใหม่ได้ เมื่อข้อสัญญาที่ทำขึ้นใหม่นั้นไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนการที่ ธ. ผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงลดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดที่ค้างชำระแล้วเท่ากับคู่กรณีได้ตกลงลดค่าเช่าซื้อให้แก่กันโดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อสัญญาเดิมที่ให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วใช้ข้อสัญญาใหม่ดังกล่าวข้อสัญญาใหม่นี้มีผลผูกพันคู่กรณีเพราะเป็นข้อสัญญาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าค่าเสียหายที่แท้จริงมีจำนวนเท่าใด คงได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร ค่าเช่าซื้อรถยนต์แต่ละงวดเป็นเงินค่ารถยนต์ที่ซื้อและค่าเช่ารวมอยู่ด้วย เงินค่าเช่าถือเป็นค่าเสียหายที่ฝ่ายใช้รถยนต์จะต้องชำระให้แก่เจ้าของรถยนต์เมื่อไม่ปรากฏแน่ชัดว่า เงินค่าเช่ามีจำนวนเท่าไรศาลย่อมกำหนดค่าเช่าหรือค่าเสียหายนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6167/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ดอกเบี้ย: การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องได้รับการตกลงยินยอมจากลูกหนี้
สัญญากู้เป็นสัญญาสองฝ่าย เมื่อตามสัญญากู้ไม่มีเงื่อนไขให้จำเลยคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ได้เกินกว่าที่ตกลงกันไว้ แม้จะมีประกาศกระทรวงการคลังและประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่จำเลยจะเรียกเก็บได้เกินกว่าที่โจทก์จำเลยตกลงกันไว้ แต่จำเลยจะเรียกเก็บดอกเบี้ยตามอัตราที่เปลี่ยนแปลงใหม่โดยโจทก์ไม่ตกลงยินยอมด้วยหาได้ไม่ จำเลยฎีกาว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยผิดไป 1 วัน คำเบิกความของช. ไม่ควรรับฟังและจำนวนวันที่คำนวณดอกเบี้ยเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้ได้เอง แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่าที่ถูกต้องควรคำนวณอย่างไร เป็นดอกเบี้ยเท่าใด และคำขอ ช.ไม่ควรรับฟังอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: การซื้อเวลาออกอากาศ ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
จำเลยที่ 1 มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์ให้เป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อให้โจทก์มีสิทธิที่จะเข้าไปจัดรายการสดที่สถานีวิทยุของจำเลยที่ 1 โดยถูกต้องตามระเบียบที่กำหนดไว้เท่านั้นมิใช่เป็นการแสดงออกซึ่งเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่ประการใด และงานที่โจทก์ทำในสถานีของจำเลยที่ 1เป็นงานจัดรายการสดซึ่งผู้จัดรายการได้ซื้อเวลาออกอากาศของจำเลยที่ 1 ไป และเมื่อมีการซื้อเวลาออกอากาศไปแล้ว ผู้ซื้อเวลาออกอากาศจะจัดรายการออกอากาศอย่างไร จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจควบคุมการปฏิบัติงานของผู้จัดรายการ ดังนั้น งานที่โจทก์ทำโดยแท้จริงคือการจัดรายการสด ซึ่งงานนี้แม้จะทำในสถานที่ของจำเลยที่ 1 แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ขายเวลาในการจัดรายการให้ผู้ซื้อไปแล้ว งานจัดรายการจึงมิใช่งานของจำเลยที่ 1 แต่เป็นงานของผู้ที่ซื้อเวลาไป โจทก์เป็นผู้หนึ่งที่ซื้อเวลาออกอากาศไปจากจำเลยที่ 1 ดังนั้น การทำงานจัดรายการสดจึงมิใช่งานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยที่ 1 จึงไม่มีกรณีที่จะถือได้ว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยที่ 1เป็นการตอบแทนการทำงานอันจะถือว่าเป็นค่าจ้างตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาทำสัญญาจ้างแรงงานกับโจทก์ และโจทก์มิได้ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงไม่ใช่ฐานะลูกจ้างและนายจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินสมบูรณ์ แม้มีผู้ลงนามเพียงคนเดียว และการมอบอำนาจตั้งตัวแทนผูกพันบริษัท
สัญญาซื้อขายลดเช็คเป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้เมื่อมีการทำกันขึ้นจริง เพียงแต่ลงชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามสัญญาเพียงฝ่ายเดียวก็เป็นการเพียงพอแล้ว ดังนั้นสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินที่บริษัทเจ้าหนี้ทำไว้กับบริษัท พ. แม้จะมีชื่อกรรมการบริษัทเจ้าหนี้ผู้ซื้อลดตั๋วเงินเพียงคนเดียวก็มีผลผูกพันบริษัทพ. ผู้ขายลดตั๋วเงินนั้น บริษัท พ.มอบอำนาจให้นางด. ลงนามร่วมกับกรรมการบริหารคนใดคนหนึ่งในสามคน มีนาย ข. นาย ธ.นายฤ. ในเอกสารขายลดเช็คของบริษัท พ. ได้ ดังนี้ เป็นการตั้งตัวแทนเพื่อการขายลดตั๋วเงิน เมื่อกรรมการคนหนึ่งของบริษัท พ. ได้ลงลายมือชื่อร่วมกับนาง ด. ในการเสนอขายลดตั๋วเงินกับบริษัทเจ้าหนี้ การกระทำของตัวแทนจึงมีผลผูกพันบริษัท พ.ซึ่งเป็นตัวการ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์มือสอง: สิทธิเรียกร้องโอนกรรมสิทธิ์เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีความสัมพันธ์กับรถ
รถคันพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 มิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดเกี่ยวกับรถคันพิพาทกับโจทก์ การโอนทะเบียนรถยนต์อันเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของจำเลยที่ 2 ที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ได้ต่อไป สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนรถคันพิพาทเป็นชื่อของโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์จากตัวแทนที่ไม่ได้รับมอบอำนาจ และการโอนกรรมสิทธิ์ที่จำกัด
รถคันพิพาทที่โจทก์ซื้อจากจำเลยที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้เชิดจำเลยที่ 1 ออกเป็นตัวแทนขายรถคันพิพาทให้โจทก์ จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ รถคันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 2ไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดเกี่ยวกับรถคันพิพาทกับโจทก์ การโอนทะเบียนรถยนต์อันเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่จะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายกับโจทก์ สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนรถคันพิพาทเป็นชื่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่เคลือบคลุม - สัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชี - ดอกเบี้ยเพิ่ม - สิทธิของโจทก์ในการบังคับชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 โดยถือเอาบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 13777 ของจำเลยที่มีไว้กับโจทก์เพื่อเดินสะพัดบัญชีกับโจทก์ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2526 จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,256,239.21 บาท จำเลยได้จำนองที่ดินและเครื่องจักรเป็นประดับหนี้ดังกล่าว หนี้ถึงกำหนดแล้วแต่จำเลยยังไม่ชำระให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้หากไม่ชำระให้ครบ ให้ยึดทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินยังไม่ชำระหนี้ก็ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์จนครบ คำฟ้องดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำของบีงคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้าหาครบถ้วนสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาในทางแพ่งซึ่งทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอก และวัตถุประสงค์ของสัญญาก็ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้
่
ข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาในทางแพ่งซึ่งทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอก และวัตถุประสงค์ของสัญญาก็ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้
่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3783/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของนายคลังสินค้า: ข้อบังคับต้องได้รับการตกลงชัดแจ้งจากเจ้าของสินค้า
พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 29(1)และ มาตรา 9(4) ให้คณะกรรมการจำเลยมีอำนาจวางข้อบังคับและระเบียบตามที่ระบุไว้ในมาตรา 9(4) คือ จัดระเบียบว่าด้วยความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยจักต้องรับผิด เมื่อจำเลยออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่ให้ผู้ฝากสินค้ากับจำเลยต้องเสนอข้อเรียกร้องค่าเสียหายภายในกำหนด 7 วันนับแต่วันรับมอบสินค้าขึ้นฝ่ายเดียว โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจยกข้อบังคับที่จำเลยกำหนดขึ้นมาอ้างให้พ้นความรับผิดได้