คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 112

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติสัมพันธ์สัญญาประกันภัย: โจทก์ผู้ออกเงินค่าประกันภัยไม่มีอำนาจฟ้องผู้รับประกันภัยโดยตรง
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์เป็นผู้เสียค่าประกันภัยรถยนต์ในนามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถ แล้วจำเลยที่ 1 ได้ไปทำสัญญาประกันภัยรถคันนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย และโจทก์เป็นผู้ออกเงินในการประกัน ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 เอาประกันภัยรถคันที่เช่าซื้อ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 และไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดใช้เงินค่ารถยนต์คันที่เช่าซื้อซึ่งได้หายไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการกู้ยืมเงินโดยมีที่ดินเป็นประกัน
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาท ถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก สัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคแรก
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดี ภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรก ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้ จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการจำนอง แม้ไม่ได้จดทะเบียน ศาลสั่งให้จำเลยรับเงินไถ่ถอน
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากสัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดีภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การเสนอและสนองที่นำไปสู่การซื้อขายเนื้อที่น้อยลง
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่เป็นเงินเท่าใด มีความหมายเพียงไร นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยตกลงขายที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ทั้งแปลงเนื้อที่ 4 ไร่ จำเลยผิดสัญญาจะแบ่งขายให้เพียง 3 ไร่ จำเลยให้การว่า ไม่ได้ตกลงขายที่ดินทั้งแปลงเพราะโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่เปลี่ยนแปลงเป็นว่า ตกลงซื้อขายกัน 3 ไร่ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่ ย่อมครอบคลุมไปถึงข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแยกแยะประเด็นออกไปอีกว่า ตกลงกันใหม่จริงหรือไม่ ข้อตกลงใหม่นั้นถ้าเกิดเป็นปัญหาดังเช่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา361 บัญญัติไว้ คำเสนอและคำสนองเช่นนั้น ย่อมมีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามข้อต่อสู้ เพราะเป็นการนำสืบตรงตามประเด็นแล้ว
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ 2 ฉบับ มีข้อความสำคัญว่าจะขายที่ดินให้โจทก์เพียง 3 ไร่ จะเอาเหลือไว้ 1 ไร่ฯลฯ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำเสนอของจำเลยเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งแปลงซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ ในราคา400,000 บาทอีกหนึ่งปีเศษต่อมา โจทก์มีจดหมายตอบจำเลยมีใจความสำคัญว่า ได้รับจดหมายของจำเลยแล้ว เรื่องการแบ่งที่โจทก์ก็อยากจะให้เสร็จและกล่าวถึงการขอโฉนดไปทำเรื่องโอนใหม่ขอให้เห็นความจำเป็นของโจทก์ และว่าค่าที่ดินโจทก์ยังค้างอยู่อีก1,000 บาทจึงจะครบ 300,000 บาท จดหมายของโจทก์ฉบับนี้พออนุมานได้ว่าเป็นคำสนองของโจทก์ตอบรับคำเสนอไปถึงจำเลยทำให้เกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วโดยยอมให้จำเลยกันเนื้อที่ในโฉนดเอาไว้ 1 ไร่ คงตกลงซื้อขายกันเพียง 3 ไร่ อันมีผลเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จากจำนวน 4 ไร่ เป็นการตกลงซื้อขายที่ดินเพียง 3 ไร่ จำเลยจึงมีสิทธิโอนขายที่น้อยกว่าที่ตกลงทำสัญญากันครั้งแรก โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินทั้งแปลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดิน: ผลของการเสนอและสนองที่แตกต่างจากสัญญาเดิม
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่เป็นเงินเท่าใด มีความหมายเพียงไร นั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ฟ้องกล่าวว่า จำเลยตกลงขายที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ทั้งแปลง เนื้อที่ 4 ไร่ จำเลยผิดสัญญาจะแบ่งขายให้เพียง3 ไร่ จำเลยให้การว่า ไม่ได้ตกลงขายที่ดินทั้งแปลงเพราะโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่ เปลี่ยนแปลงเป็นว่า ตกลงซื้อขายกัน 3 ไร่ ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์กี่ไร่ ย่อมครอบคลุมไปถึงข้อต่อสู้ของจำเลยอยู่แล้ว. ไม่จำเป็นต้องแยกแยะประเด็นออกไปอีกว่า ตกลงกันใหม่จริงหรือไม่. ข้อตกลงใหม่นั้นถ้าเกิดเป็นปัญหาดังเช่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา361 บัญญัติไว้ คำเสนอและคำสนองเช่นนั้น ย่อมมีผลเปลี่ยนแปลงสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้ตามข้อต่อสู้ เพราะเป็นการนำสืบตรงตามประเด็นแล้ว
จำเลยมีจดหมายถึงโจทก์ 2 ฉบับ มีข้อความสำคัญว่า จะขายที่ดินให้โจทก์เพียง 3 ไร่ จะเอาเหลือไว้ 1 ไร่ฯลฯ ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นคำเสนอของจำเลยเพื่อเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ตกลงซื้อขายกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งแปลงซึ่งมีเนื้อที่ 4 ไร่ ในราคา 400,000 บาทอีกหนึ่งปีเศษต่อมา โจทก์มีจดหมายตอบจำเลยมีใจความสำคัญว่า ได้รับจดหมายของจำเลยแล้ว เรื่องการแบ่งที่โจทก์ก็อยากจะให้เสร็จและกล่าวถึงการขอโฉนดไปทำเรื่องโอนใหม่ขอให้เห็นความจำเป็นของโจทก์ และว่าค่าที่ดินโจทก์ยังค้างอยู่อีก 1,000 บาทจึงจะครบ 300,000 บาท จดหมายของโจทก์ฉบับนี้พออนุมานได้ว่าเป็นคำสนองของโจทก์ตอบรับคำเสนอไปถึงจำเลย ทำให้เกิดเป็นสัญญาขึ้นแล้วโดยยอมให้จำเลยกันเนื้อที่ในโฉนดเอาไว้ 1 ไร่ คงตกลงซื้อขายกันเพียง 3 ไร่ อันมีผลเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินเดิม จากจำนวน 4 ไร่ เป็นการตกลงซื้อขายที่ดินเพียง 3 ไร่ จำเลยจึงมีสิทธิโอนขายที่น้อยกว่าที่ตกลงทำสัญญากันครั้งแรก โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยโอนขายที่ดินทั้งแปลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2735/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจ สัตยาบันโดยปริยาย และนิติสัมพันธ์จากการรับผลประโยชน์การซ่อมรถ
บริษัทจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. นำหลักฐานการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ซึ่งผู้ที่เช่าซื้อไปจากจำเลย นำไปให้อู่รถของโจทก์ทำการซ่อมเพื่อรับรถกลับคืนไปยังบริษัทจำเลย ดังนี้ย่อมแสดงว่าจำเลยได้รู้เห็นและยอมรับเอาผลการซ่อมรถของโจทก์แล้วโจทก์จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน และในการรับรถคืนไปนี้ส. ได้บันทึกจำนวนเงินค่าแรงซ่อมและเครื่องอะไหล่ให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานเพื่อให้โจทก์ไปรับเงินจากบริษัทจำเลย ถือว่าการกระทำของ ส. เป็นไปภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการมอบอำนาจทั้งเมื่อบริษัทจำเลยทราบเรื่องที่ ส. ได้บันทึกหนี้สินไว้กับโจทก์แล้วก็ไม่ทักท้วง กลับนิ่งเฉยและรับเอาผลการซ่อมรถ จึงเป็นการให้สัตยาบันโดยปริยายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2735/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันโดยปริยายจากตัวแทน การเกิดนิติสัมพันธ์จากผลการกระทำของตัวแทน และความผูกพันตามหนี้ที่ตัวแทนสร้าง
บริษัทจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. นำหลักฐานการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ซึ่งผู้ที่เช่าซื้อไปจากจำเลย นำไปให้อู่รถของโจทก์ทำการซ่อมเพื่อรับรถกลับคืนไปยังบริษัทจำเลย ดังนี้ ย่อมแสดงว่าจำเลยได้รู้เห็นและยอมรับเอาผลการซ่อมรถของโจทก์แล้วโจทก์จำเลยจึงมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน และในการรับรถคืนไปนี้ ส. ได้บันทึกจำนวนเงินค่าแรงซ่อมและเครื่องอะไหล่ให้โจทก์ไว้เป็นหลักฐานเพื่อให้โจทก์ไปรับเงินจากบริษัทจำเลย ถือว่าการกระทำของ ส. เป็นไปภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ของการมอบอำนาจทั้งเมื่อบริษัทจำเลยทราบเรื่องที่ ส. ได้บันทึกหนี้สินไว้กับโจทก์แล้วก็ไม่ทักท้วง กลับนิ่งเฉยและรับเอาผลการซ่อมรถ จึงเป็นการให้สัตยาบันโดยปริยายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077-1079/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงทรัพย์สินที่เช่า: การกั้นห้องที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายและการอนุญาตดัดแปลงบันไดด้วยวาจา
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยผู้เช่าได้กั้นห้องด้วยไม้อัดไม่แน่นหนา รื้อออกได้ง่ายและไม่ทำให้เกิดความเสียหายหรือเปลี่ยนแปลงรูปทรงอาคารเดิมของโจทก์ จึงไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงหรือต่อเติมแก่ทรัพย์ที่เช่า
ส่วนการดัดแปลงบันไดนั้น ปรากฏว่าโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาให้จำเลยดัดแปลงได้ การที่ระบุไว้ในสัญญาว่าจำเลยจะไม่ดัดแปลงหรือต่อเติมอย่างใดแก่ทรัพย์ที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น ก็เพื่อความสะดวกแก่การพิสูจน์โดยมีหลักฐานแน่นอนและชัดแจ้งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเท่านั้นไม่ใช่ว่าโจทก์จะไม่อาจให้คำอนุญาตด้วยวาจาได้เลยประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งเมื่อโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาแล้วเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้สละข้อห้ามในสัญญานั้นแล้ว โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายความกันเป็นโมฆะ สัญญาต่อเนื่องก็ตกเป็นโมฆะตามไปด้วย
สัญญาซึ่งจำเลยให้ประโยชน์เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ และโจทก์ยอมโอนสิทธิส่วนได้เสียทั้งปวงในคดีความให้แก่จำเลยนั้น เป็นสัญญาที่แสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันหรือนัยหนึ่งเป็นสัญญาซื้อขายความกัน ย่อมเป็นสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาซึ่งก่อหนี้ตกเป็นโมฆะ สัญญาขยายระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญานั้นย่อมตกเป็นโมฆะด้วย ส่วนสัญญาจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานั้น ย่อมไม่มีผลผูกพันผู้จำนองให้ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายความกันเป็นโมฆะ สัญญาต่อเนื่องและจำนองเป็นประกันไม่มีผลผูกพัน
สัญญาซึ่งจำเลยให้ประโยชน์เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์และโจทก์ยอมโอนสิทธิส่วนได้เสียทั้งปวงในคดีความให้แก่จำเลยนั้น เป็นสัญญาที่แสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันหรือนัยหนึ่งเป็นสัญญาซื้อขายความกัน ย่อมเป็นสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาซึ่งก่อหนี้ตกเป็นโมฆะ สัญญาขยายระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญานั้นย่อมตกเป็นโมฆะด้วย ส่วนสัญญาจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานั้น ย่อมไม่มีผลผูกพันผู้จำนองให้ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน
of 32