พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงใช้ที่ดินร่วมกันเป็นถนน การจำกัดสิทธิเรียกร้องแบ่งแยกที่ดิน
เจ้าของรวมในที่ดินมีโฉนดแบ่งแยกที่ดินเป็นหลายแปลงเพื่อขายได้ตกลงกันให้ที่ดินตามเลขโฉนดเดิมที่เหลืออยู่เป็นถนนสำหรับผู้มาซื้อที่ดินออกสู่ถนนใหญ่ และได้ทำเป็นถนนคอนกรีตขึ้นในที่ดินส่วนนี้โดยตกลงกันสละสิทธิเรียกร้องใด ๆ จากผู้ใช้ถนนนี้ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันระหว่างกัน ใช้บังคับกันได้โดยมิต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนและเป็นการตกลงกันที่แสดงให้เห็นว่ามีวัตถุที่ประสงค์จะเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่กลายเป็นถนนคอนกรีตไปแล้วนี้ร่วมกัน มีลักษณะเป็นการถาวร เจ้าของรวมผู้มีชื่อในโฉนดคนหนึ่งคนใดไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินนั้นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงใช้ที่ดินร่วมกันเป็นถนน การจำกัดสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินร่วม
เจ้าของรวมในที่ดินมีโฉนดแบ่งแยกที่ดินเป็นหลายแปลงเพื่อขาย ได้ตกลงกันให้ที่ดินตามเลขโฉนดเดิมที่เหลืออยู่เป็นถนนสำหรับผู้มาซื้อที่ดินออกสู่ถนนใหญ่และได้ทำเป็นถนนคอนกรีตขึ้นในที่ดินส่วนนี้ โดยตกลงกันสละสิทธิเรียกร้องใด ๆ จากผู้ใช้ถนนนี้ ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันระหว่างกันใช้บังคับกันได้ โดยมิต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนและเป็นการตกลงกันที่แสดงให้เห็นว่ามีวัตถุประสงค์จะเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทที่กลายเป็นถนนคอนกรีตไปแล้วนี้ร่วมกัน มีลักษณะเป็นการถาวรเจ้าของรวมผู้มีชื่อในโฉนดคนหนึ่งคนใดไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่ดินนั้นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมสัญญาเช่าที่ดินโดยผู้ไม่มีอำนาจ ผลผูกพันต่อวัด และการเพิกถอนนิติกรรม
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า พระภิกษุมงคลผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดน้อยนอกโจทก์ ได้เอาที่ดินวัดและที่ธรณีสงฆ์วัดน้อยนอกไปให้จำเลยเช่าแล้วมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ศาลในระหว่างพิจารณาคดีแพ่งแดงที่ 95/2510 แต่พระภิกษุมงคลไม่มีอำนาจทำสัญญายอมได้เพราะทางการถอดถอนจากผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดน้อยนอกเสียแล้วและทั้ง ๆ ที่พระภิกษุมงคลได้ทราบถึงการที่ตนถูกถอดถอนไม่ให้มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังได้บังอาจไปจดทะเบียนการเช่าที่พิพาทให้กับจำเลย ณ หอทะเบียนที่ดินอีกด้วย จำเลยก็รู้ดีถึงการที่พระภิกษุมงคลไม่มีอำนาจ โจทก์จึงถือว่านิติกรรมดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ แต่เนื่องจากจำเลยก็ยังโต้เถียงอยู่ว่า พระภิกษุมงคลได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันวัดโจทก์อยู่ จึงชอบที่ศาลจะให้โจทก์จำเลยนำพยานหลักฐานมาสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ แล้วพิพากษาไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมสัญญาเช่าที่ดินโดยผู้ไม่มีอำนาจ ผลผูกพันต่อวัดและผลของการจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า พระภิกษุมงคลผู้รักษาแทนเจ้าอาวาสวัดน้อยนอกโจทก์ ได้เอาที่ดินวัดและที่ธรณีสงฆ์วัดน้อยนอกไปให้จำเลยเช่าแล้วมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย ที่ศาลในระหว่างพิจารณาคดีแพ่งแดงที่ 95/2510 แต่พระภิกษุมงคลไม่มีอำนาจทำสัญญายอมได้ เพราะทางการถอดถอนจากผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวันน้อยนอกเสียแล้ว และทั้ง ๆ ที่พระภิกษุมงคลได้ทราบถึงการที่ตนถูกถอดถอนไม่ให้มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังได้บังอาจไปจดทะเบียนการเช่าที่พิพาทให้กับจำเลย ณ หอทะเบียนที่ดินอีกด้วย จำเลยก็รู้ดีถึงการที่พระภิกษุมงคลไม่มีอำนาจ โจทก์จึงถือว่านิติกรรมดังกล่าวไม่ผูกผันโจทก์ แต่เนื่องจากจำเลยก็ยังโต้เถียงอยู่ว่า พระภิกษุมงคลได้กระทำไปโดยชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันวัดโจทก์อยู่ จึงชอบที่ศาลจะให้โจทก์จำเลยนำพยานหลักฐานมาสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ แล้วพิพากษาไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: ความรับผิดชอบสินค้า, เงินทุนหมุนเวียน, และลักษณะความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่ายในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียนเป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญา ระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้น หากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผู้จัดการค้า: สิทธิเรียกร้องค่าสินค้าและเงินทุนหมุนเวียนเมื่อเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานในหน้าที่ผู้จัดการจำเลย โดยโจทก์ต้องจัดหาสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่าย ในร้านสหกรณ์จำเลยโจทก์ต้องเอาเงินโจทก์ไปลงทุนหมุนเวียน เป็นจำนวนถึง 102,000 บาท ทั้งโจทก์มีสิทธิดำเนินงานได้ทุกประการ ในการจัดหาสินค้าเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของสมาชิกสำหรับค่าจ้างโจทก์นั้น จำเลยคิดให้ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินกำไรสุทธิประจำปีตามข้อบังคับของจำเลยส่วนจำเลยคงได้รับกำไรสุทธิร้อยละ 20 เห็นได้ว่าจำเลยเป็นเพียงหวังได้รับผลกำไรจากการดำเนินงานของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวเป็นการตอบแทนโดยจำเลยไม่ต้องเสี่ยงภัยรับผิดและลงทุนประกอบการค้า แต่อาศัยที่จำเลยเป็นนิติบุคคลมีสมาชิกขึ้นอยู่กับจำเลย จำเลยจึงยินยอมให้โจทก์ใช้นามของจำเลยในการดำเนินกิจการค้า ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้สิทธิเรียกร้องหนี้สินจากสมาชิกของจำเลย โดยจำเลยคงเป็นแต่เพียงควบคุมดูแลการดำเนินการของโจทก์ให้เป็นไปตามข้อสัญญาระเบียบแบบแผน มติของคณะกรรมการของจำเลยเท่านั้นหากเกิดความเสียหาย โจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในการขาดทุนในกิจการค้านั้น คงมีแต่ส่วนได้คือผลกำไรเท่านั้นหากการค้าขาดทุน โจทก์คงเป็นผู้รับผิดฝ่ายเดียว และไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทนเลย สินค้าที่โจทก์นำมาเสนอขายในร้านของจำเลยก็เป็นสินค้าของโจทก์เองที่จะต้องรับผิดชอบโดยตรง เมื่อจำเลยเลิกสัญญาจ้างโจทก์แล้ว เช่นนี้ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิรับคืนสินค้าไปจากจำเลยหรือเรียกเงินค่าสินค้าของโจทก์ที่จำเลยเรียกเก็บจากลูกหนี้ได้แล้วแต่กรณี ความผูกพันระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่เข้าลักษณะตัวการตัวแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เพื่อค้ำประกัน สิทธิเรียกร้องเกิดจากสัญญากู้จริงเท่านั้น ไม่ใช่สัญญากู้ค้ำประกันที่ไม่มีการรับเงิน
โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน 500 บาท โดยให้จำเลยเขียนสัญญากู้ 500 บาทฉบับหนึ่ง แล้วให้เขียนสัญญากู้อีกฉบับหนึ่งว่าจำเลยกู้ 20,000 บาท คือฉบับหมาย จ.1 เพื่อค้ำประกันสัญญากู้ฉบับแรกดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำสัญญากู้หมาย จ.1 มาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดเพราะโจทก์กับจำเลยไม่มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้หมาย จ.1 และโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาเรียกร้องตามสัญญากู้หมาย จ.1 เลยการที่จำเลยนำสืบว่า ไม่ได้รับเงิน 20,000 บาทตามสัญญากู้หมาย จ.1. เป็นการนำสืบถึงข้อตกลงอันเป็นมูลเหตุและความประสงค์ที่ทำสัญญากู้หมาย จ.1 ว่ามีอยู่อย่างไร และเป็นการนำสืบว่า มูลหนี้ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินโจทก์นั้นหามีไม่ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (อ้างฎีกาที่ 781/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินเพื่อค้ำประกัน สิทธิเรียกร้องเกิดจากสัญญากู้หลัก ไม่ใช่สัญญากู้ค้ำประกัน
โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน 500 บาท โดยให้จำเลยเขียนสัญญากู้ 500 บาทฉบับหนึ่ง แล้วให้เขียนสัญญากู้อีกฉบับหนึ่งว่าจำเลยกู้ 20,000 บาท คือฉบับหมาย จ.1 เพื่อค้ำประกันสัญญากู้ฉบับแรกดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะนำสัญญากู้หมาย จ.1 มาเป็นมูลฟ้องให้จำเลยต้องรับผิด เพราะโจทก์กับจำเลยไม่มีมูลหนี้ต่อกันตามสัญญากู้หมาย จ.1 และโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาเรียกร้องตามสัญญากู้หมาย จ.1 เลยการที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงิน 20,000 บาทตามสัญญากู้หมาย จ.1. เป็นการนำสืบถึงข้อตกลงอันเป็นมูลเหตุและความประสงค์ที่ทำสัญญากู้หมาย จ.1ว่ามีอยู่อย่างไร และเป็นการนำสืบว่า มูลหนี้ที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดใช้เงินโจทก์นั้นหามีไม่ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 (อ้างฎีกาที่ 781/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การจำนองทรัพย์สินโดยบุคคลอื่นไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกัน
การที่ผู้ร้องแต่ผู้เดียวจำนองทรัพย์สินเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ ไม่ถือว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็น 'เจ้าหนี้มีประกัน' ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 การที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้อย่างมิใช่ 'เจ้าหนี้มีประกัน' มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยินยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96(1) หนี้จำนองระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยังมีอยู่ตามสัญญาจำนอง โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ก่อนตามสัญญาจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การจำนองทรัพย์สินโดยบุคคลอื่นย่อมไม่ถือเป็นเจ้าหนี้มีประกัน
การที่ผู้ร้องแต่ผู้เดียวจำนองทรัพย์สินเป็นประกันเงินกู้ที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ ไม่ถือว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็น 'เจ้าหนี้มีประกัน' ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 การที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ถือได้ว่าเป็นการขอรับชำระหนี้อย่างมิใช่ 'เจ้าหนี้มีประกัน' มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยินยอมสละทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 96 (1) หนี้จำนองระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยังมีอยู่ตามสัญญาจำนอง โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ก่อนตามสัญญาจำนอง