คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 112

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการ, การเชิดตัวแทน, และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา แม้ไม่มีการประชุมสามัญประจำปี กรรมการชุดเดิมยังคงมีอำนาจ
ข้อบังคับของบริษัทโจทก์ ข้อ 4 มีความว่า 'เมื่อมีการประชุมสามัญประจำปี'ภายหลังแต่การจดทะเบียนบริษัท ในทุก ๆ ปีต่อไปของบริษัทก็ดี ผู้ที่เป็นกรรมการต้องออกจากตำแหน่งทั้งสิ้น ...' ดังนี้ กรรมการชุดเดิมต้องออกจากตำแหน่งต่อเมื่อมีการประชุมสามัญประจำปีในทุก ๆ ปี ถ้าไม่มีการประชุมสามัญประจำปี กรรมการก็ยังคงเป็นกรรมการของบริษัทอยู่ต่อไป หลังจากตั้งกรรมการชุดเดิมแล้ว บริษัทโจทก์ไม่มีการประชุมสามัญประจำปีกรรมการบริษัทโจทก์ชุดเดิมจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายฟ้องจำเลยได้
ข้อที่ว่า บริษัทจำเลยเชิด ช. และ ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของบริษัทจำเลย ทำการกู้เงินจากบริษัทโจทก์และบริษัทจำเลยได้รับและถือเอาประโยชน์จากการกู้ยืมรายนี้ย่อมอยู่ในประเด็นว่าบริษัทจำเลยได้กู้เงินโจทก์โดย ช. และส. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยในสัญญากู้ยืมหรือไม่
การตั้งตัวแทนที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือต้องทำเป็นหนังสือนั้นใช้แก่กรณีที่มีสัญญาตั้งตัวแทนไม่ใช้แก่กรณีเชิดบุคคลเป็นตัวแทน
พยานโจทก์เบิกความว่า การกู้ยืมเงินรายนี้จำเลยให้ดอกเบี้ยร้อยละ2 บาทต่อเดือน ดังนี้ เป็นเพียงเสนอด้วยวาจาเบื้องต้นเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันแน่นอน ก็คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน จึงไม่ฝ่าฝืนอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นซองประกวดราคาถือเป็นการยอมรับเงื่อนไข การถอนซองหลังยื่นถือเป็นการผิดสัญญา
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์ (องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นของประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการ ต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า "เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้ โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด...ฯลฯ... "หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนของประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า "เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด" เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯ จะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึกก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด นั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว จะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้ และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเสนอราคาหลังยื่นซองประกวดราคา ถือเป็นการผิดเงื่อนไขสัญญา และการฟ้องธนาคารต้องฟ้องบริษัทแม่
การยื่นซองประกวดราคาการก่อสร้างมีเงื่อนไขหลายประการที่โจทก์(องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) วางไว้ เมื่อโจทก์ได้ออกประกาศแจ้งความเรียกประกวดราคา ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ายื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์จึงเท่ากับว่าจำเลยได้ยอมรับที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ทุกประการต่อมาจำเลยยื่นหนังสือต่อโจทก์มีข้อความว่า 'เนื่องจากความผิดพลาดในการคิดคำนวณราคาคลาดเคลื่อนและตกหล่นไปบ้างบางรายการ ซึ่งหากไม่เช่นนั้นแล้วข้าพเจ้า (จำเลย) ก็จะต้องเสนอราคาสูงกว่านี้อีกมาก ฯลฯ โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาแต่อย่างใดเลยและก็เกินแก่การแก้ไขได้ ดังนั้น...ฯลฯ.... ขอท่านได้โปรดพิจารณากรุณาผ่อนผันให้ข้าพเจ้าได้สละสิทธิการเสนอราคางานรายนี้โดยยกเว้นไม่ต้องพิจารณาราคาที่ข้าพเจ้าเสนอในครั้งนี้ เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด....ฯลฯ.....' หนังสือของจำเลยดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่าเป็นหนังสือสละสิทธิการเสนอราคา และขณะเดียวกันก็เป็นหนังสือที่แสดงการขอถอนซองประกวดราคาต่อโจทก์ด้วย เพราะมีถ้อยคำว่า'เสมือนหนึ่งว่าข้าพเจ้ามิได้ยื่นประกวดราคาครั้งนี้ด้วยแต่อย่างใด' เงื่อนไขในการยื่นซองประกวดราคาต่อโจทก์ซึ่งกำหนดไว้ว่า ซองของผู้เสนอราคาทุกรายที่ได้ยื่นไว้ต่อเจ้าหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์ฯ แล้ว ย่อมถือว่าเป็นสิทธิขององค์การโทรศัพท์ฯจะถอนคืนไปมิได้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น และถ้าผู้ใดสละสิทธิการเสนอราคาหรือขอถอนซองประกวดราคาภายหลังยื่นซองประกวดราคาแล้ว ถือว่าผู้นั้นผิดเงื่อนไขการประกวดราคา ซึ่งองค์การโทรศัพท์ฯ จะริบเงินมัดจำตามรายการนี้ได้ทันที
คำฟ้องของโจทก์แม้จะกล่าวว่าฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัด สาขาวัดตึก ก็ต้องถือว่าโจทก์ฟ้องธนาคารไทยพัฒนา จำกัดนั่นเอง เพราะบริษัทจำกัด นอกจากสำนักงานแห่งใหญ่แล้วจะมีสำนักงานสาขาที่ใดอีกก็ได้และสาขาของบริษัทใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั้นนั่นเอง จึงไม่ต้องมีการจดทะเบียนให้สาขาเป็นบริษัทขึ้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่สมบูรณ์หากผู้รับโอนเข้าทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกไม่ได้ เงินค่าเช่าช่วงที่เก็บไปต้องคืน
ผู้เช่าทำสัญญากับผู้รับโอน ยอมโอนสิทธิการเช่าตึกให้แก่ผู้รับโอนตั้งแต่วันที่ผู้เช่ามีมติเลิกกิจการบริษัทเป็นต้นไป โดยผู้รับโอนยอมจ่ายเงินชดเชยให้ผู้เช่าจำนวนหนึ่ง เมื่อผู้รับโอนได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกแล้ว เห็นเจตนาได้ว่าเป็นสัญญาซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าตึกให้ผู้รับโอนในเมื่อผู้รับโอนทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกแล้ว ความสำเร็จผลเป็นสัญญาผูกพันกันขึ้นอยู่กับการที่ผู้รับโอนได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกเป็นสำคัญ มิใช่เพียงโอนการเช่าหรือให้เช่าช่วงที่มิได้เกี่ยวข้องถึงผู้ให้เช่า
แม้ผู้เช่าจะมอบหมายให้ผู้รับโอนเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าตึกได้ก่อนที่ผู้รับโอนจะทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึก แต่เมื่อผู้รับโอนไม่อาจเข้าเป็นผู้เช่าตึกได้ เพราะเจ้าของตึกไม่ยอมทำสัญญาเช่ากับผู้รับโอน ทำให้สัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่บังเกิดผล ดังนั้นการที่ผู้รับโอนเข้าเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วง ย่อมมีผลเป็นเพียงกระทำแทนผู้เช่าเท่านั้น ผู้รับโอนจึงต้องมอบค่าเช่าช่วงที่เก็บไปคืนให้ผู้เช่า โดยหักค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นภาระในการเช่าออกเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่สมบูรณ์ผลหากผู้รับโอนไม่สามารถทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกได้ สิทธิการเช่ากลับคืนแก่ผู้ให้เช่าเดิม
ผู้เช่าทำสัญญากับผู้รับโอน ยอมโอนสิทธิการเช่าตึกให้แก่ผู้รับโอนตั้งแต่วันที่ผู้เช่ามีมติเลิกกิจการบริษัทเป็นต้นไป โดยผู้รับโอนยอมจ่ายเงินชดเชยให้ผู้เช่าจำนวนหนึ่งเมื่อผู้รับโอนได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกแล้ว เห็นเจตนาได้ว่าเป็นสัญญาซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าตึกให้ผู้รับโอนในเมื่อผู้รับโอนได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกแล้ว ความสำเร็จผลเป็นสัญญาผูกพันกันขึ้นอยู่กับการที่ผู้รับโอนได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกเป็นสำคัญ มิใช่เพียงโอนการเช่าหรือให้เช่าช่วงที่มิได้เกี่ยวข้องถึงผู้ให้เช่า
แม้ผู้เช่าจะมอบหมายให้ผู้รับโอนเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วงตึกได้ก่อนที่ผู้รับโอนจะทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึก แต่เมื่อผู้รับโอนไม่อาจเข้าเป็นผู้เช่าตึกได้เพราะเจ้าของตึกไม่ยอมทำสัญญาเช่ากับผู้รับโอน ทำให้สัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่บังเกิดผล ดังนั้นการที่ผู้รับโอนเข้าเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วง ย่อมมีผลเป็นเพียงกระทำแทนผู้เช่าเท่านั้น ผู้รับโอนจึงต้องมอบค่าเช่าช่วงทีเก็บไปคืนให้ผู้เช่า โดยหักค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นภาระในการเช่าออกเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1685/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่สมบูรณ์ผลหากผู้รับโอนไม่สามารถทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกได้ การเก็บค่าเช่าช่วงก่อนทำสัญญาเช่าถือเป็นการกระทำแทน
ผู้เช่าทำสัญญากับผู้รับโอน ยอมโอนสิทธิการเช่าตึกให้แก่ผู้รับโอนตั้งแต่วันที่ผู้เช่ามีมติเลิกกิจการบริษัทเป็นต้นไป. โดยผู้รับโอนยอมจ่ายเงินชดเชยให้ผู้เช่าจำนวนหนึ่งเมื่อผู้รับโอนได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกแล้ว. เห็นเจตนาได้ว่าเป็นสัญญาซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าตึกให้ผู้รับโอนในเมื่อผู้รับโอนได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกแล้ว. ความสำเร็จผลเป็นสัญญาผูกพันกันขึ้นอยู่กับการที่ผู้รับโอนได้ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึกเป็นสำคัญ. มิใช่เพียงโอนการเช่าหรือให้เช่าช่วงที่มิได้เกี่ยวข้องถึงผู้ให้เช่า.
แม้ผู้เช่าจะมอบหมายให้ผู้รับโอนเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วงตึกได้ก่อนที่ผู้รับโอนจะทำสัญญาเช่ากับเจ้าของตึก.แต่เมื่อผู้รับโอนไม่อาจเข้าเป็นผู้เช่าตึกได้ เพราะเจ้าของตึกไม่ยอมทำสัญญาเช่ากับผู้รับโอน. ทำให้สัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่บังเกิดผล. ดังนั้นการที่ผู้รับโอนเข้าเก็บค่าเช่าช่วงจากผู้เช่าช่วง ย่อมมีผลเป็นเพียงกระทำแทนผู้เช่าเท่านั้น. ผู้รับโอนจึงต้องมอบค่าเช่าช่วงทีเก็บไปคืนให้ผู้เช่า โดยหักค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นภาระในการเช่าออกเสียก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์โมฆะ: การสมยอมทุจริตและขาดนิติสัมพันธ์ที่ถูกต้อง
เดิมกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลและจัดการผลประโยชน์ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย เมื่อกรมการศาสนาฟ้อง ส.และว.ขอเลิกการเช่า ได้มีผู้อื่นยื่นคำเสนอขอเช่าที่ดินแปลงนี้หลายราย แต่กรมการศาสนามิได้พิจารณาให้ผู้ใดเช่า กรมการศาสนาได้บอกปัดข้อเสนอของโจทก์และผู้แทนชาวตลาด ไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์กับพวกตามความเห็นของพระพุทธิวงศาจารย์ผู้รักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งพระพุทธิวงศาจารย์ก็มิได้มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจของกรมการศาสนาแต่ประการใด คงรับรองอำนาจของกรมการศาสนาว่ามีอำนาจเด็ดขาดที่จะให้เช่าหรือไม่ให้เช่าที่พิพาท จึงถือไม่ได้ว่ากรมการศาสนาร่วมกับพระพุทธิวงศาจารย์ได้ตกลงให้โจทก์กับพวกเช่าที่ดินพิพาท เมื่อกรมการศาสนาผู้มีอำนาจจัดการให้เช่าที่ดินพิพาทไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์ ข้อเสนอเช่าของโจทก์ย่อมตกไป โจทก์และวัดจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกัน แม้สัญญาเช่าฉบับนี้จะได้ทำกันภายหลังที่พระพุทธิวงศาจารย์ถอนอำนาจจัดการผลประโยชน์จากกรมการศาสนามาจัดการเองในฐานะผู้รักษาการเจ้าอาวาสและมีอำนาจที่จะทำสัญญาให้เช่าที่พิพาทได้ก็ดี
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่ ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505 พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินธรณีสงฆ์ที่เป็นโมฆะ เนื่องจากการสมยอมกันโดยไม่สุจริต และการไม่มีนิติสัมพันธ์กับวัด
เดิมกรมการศาสนาเป็นผู้ดูแลและจัดการผลประโยชน์ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัดจำเลย. เมื่อกรมการศาสนาฟ้อง ส.และว.ขอเลิกการเช่า. ได้มีผู้อื่นยื่นคำเสนอขอเช่าที่ดินแปลงนี้หลายราย. แต่กรมการศาสนามิได้พิจารณาให้ผู้ใดเช่า.กรมการศาสนาได้บอกปัดข้อเสนอของโจทก์และผู้แทนชาวตลาด.ไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์กับพวกตามความเห็นของพระพุทธิวงศาจารย์ผู้รักษาการเจ้าอาวาส.ซึ่งพระพุทธิวงศาจารย์ก็มิได้มีปฏิกิริยาคัดค้านอำนาจของกรมการศาสนาแต่ประการใด. คงรับรองอำนาจของกรมการศาสนาว่ามีอำนาจเด็ดขาดที่จะให้เช่าหรือไม่ให้เช่าที่พิพาท. จึงถือไม่ได้ว่ากรมการศาสนาร่วมกับพระพุทธิวงศาจารย์ได้ตกลงให้โจทก์กับพวกเช่าที่ดินพิพาท. เมื่อกรมการศาสนาผู้มีอำนาจจัดการให้เช่าที่ดินพิพาทไม่ยอมทำสัญญาเช่าให้โจทก์.ข้อเสนอเช่าของโจทก์ย่อมตกไป. โจทก์และวัดจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์อย่างใดต่อกัน. แม้สัญญาเช่าฉบับนี้จะได้ทำกันภายหลังที่พระพุทธิวงศาจารย์ถอนอำนาจจัดการผลประโยชน์จากกรมการศาสนามาจัดการเองในฐานะผู้รักษาการเจ้าอาวาสและมีอำนาจที่จะทำสัญญาให้เช่าที่พิพาทได้ก็ดี.
จ.มีผลประโยชน์ร่วมกับพวกโจทก์หากได้เช่าตลาดพิพาทเป็นเวลานานปี. แต่พระพุทธิวงศาจารย์ กลับตั้งให้จ.เป็นไวยาวัจกรของวัด. มอบอำนาจให้จ.ทำสัญญาเช่าฉบับพิพาทกับโจทก์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 และเก็บค่าเช่าในนามของวัดจำเลย. จนกระทั่งพระพุทธิวงศาจารย์พ้นจากตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2507 และไม่ยอมมอบงานให้แก่พระครูวินัยธรนวนเจ้าอาวาสองค์ใหม่. ต่อมาวันที่ 2 สิงหาคม 2507 พระพุทธิวงศาจารย์จึงได้มอบงานในหน้าที่ให้พระครูวินัยธรนวน. จึงได้ปรากฏสัญญาเช่าฉบับพิพาทขึ้นว่า พระพุทธิวงศาจารย์ได้มอบอำนาจให้ จ. ทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2505.พฤติการณ์ดังนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าสัญญาเช่าฉบับนี้เกิดจากพระพุทธิวงศาจารย์และ จ.สมยอมกับโจทก์ทำขึ้นโดยไม่สุจริต. เพราะโจทก์เองก็รู้แล้วว่าเป็นทางให้วัดจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทและตลาดได้รับความเสียหาย. สัญญาเช่าฉบับลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2505 ระหว่างโจทก์กับพระพุทธิวงศาจารย์จึงไม่ผูกพันวัดจำเลย. โจทก์ไม่มีอำนาจนำสัญญาเช่าซึ่งเกิดจากการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าตามฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองโมฆะ หากมิได้จดทะเบียนตามกฎหมาย การรับสภาพหนี้ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฟ้องร้องใหม่
จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเองเพื่อประกันการชำระหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์ โดยมอบโฉนดที่ดินและใบมอบฉันทะซึ่งลงชื่อแล้วให้โจทก์ไว้เพื่อจดทะเบียนจำนองเมื่อมิได้มีการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องตามกฎหมาย สัญญาจำนองย่อมตกเป็นโมฆะ
การรับสภาพหนี้นั้น มีผลเพียงทำให้อายุความสะดุดหยุดลง หาเป็นการก่อตั้งสิทธิฟ้องร้องขึ้นใหม่แต่อย่างใดไม่ หากหนี้ซึ่งจะต้องรับผิดมิได้เกิดมีขึ้นอยู่แต่เดิม
เมื่อโจทก์อุทธรณ์ฎีกาเฉพาะในประเด็นที่ว่า หนังสือซึ่งจำเลยที่ 2 มีถึงโจทก์เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ โดยมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนังสือนั้นอาจถือเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ ย่อมไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองโมฆะเมื่อมิได้จดทะเบียน และการรับสภาพหนี้ไม่ก่อตั้งสิทธิฟ้องร้องใหม่
จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเองเพื่อประกันการชำระหนี้ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์. โดยมอบโฉนดที่ดินและใบมอบฉันทะซึ่งลงชื่อแล้ว.ให้โจทก์ไว้เพื่อจดทะเบียนจำนอง. เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนจำนองให้ถูกต้องตามกฎหมาย.สัญญาจำนองย่อมตกเป็นโมฆะ.
การรับสภาพหนี้นั้น มีผลเพียงทำให้อายุความสะดุดหยุดลง.หาเป็นการก่อตั้งสิทธิฟ้องร้องขึ้นใหม่แต่อย่างใดไม่. หากหนี้ซึ่งจะต้องรับผิดมิได้เกิดมีขึ้นอยู่แต่เดิม.
เมื่อโจทก์อุทธรณ์ฎีกาเฉพาะในประเด็นที่ว่า หนังสือซึ่งจำเลยที่ 2 มีถึงโจทก์เป็นหนังสือรับสภาพหนี้. โดยมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนังสือนั้นอาจถือเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้. ย่อมไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัย.
of 32