พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548-2549/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาห้ามแข่งขันหลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง: ข้อจำกัดต้องสมเหตุสมผล ไม่ตัดสิทธิประกอบอาชีพโดยสิ้นเชิง
สัญญาที่บริษัทโจทก์ทำกับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างว่าภายในกำหนดเวลา 24 เดือน นับแต่สัญญาจ้างสิ้นสุดลง ลูกจ้างจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนา ทำ ผลิต หรือจำหน่าย (สุดแต่ จะพึงปรับได้ กับกรณีของลูกจ้าง) ซึ่งผลิตภัณฑ์อันเป็นการแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทโจทก์ที่ตนได้เคยมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในระหว่างที่ทำงานกับบริษัทโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทโจทก์ สัญญาดังกล่าวไม่ได้ห้ามจำเลยทั้งสองไม่ให้กระทำโดยเด็ดขาด คงห้ามจำเลยเฉพาะสิ่งที่เป็นการแข่งขันกับงานของบริษัทโจทก์ และในส่วนของงานที่จำเลยเคยทำกับบริษัทโจทก์ ทั้งเป็นการห้ามเพียงตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น ไม่เป็นการตัดการประกอบอาชีพของจำเลยทั้งหมดเสียทีเดียว จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่รักษาสิทธิและประโยชน์ของคู่กรณีในเชิงการประกอบธุรกิจโดยชอบไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลอื่น: อายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 มิใช่ 2 ปี
บริษัท พ. มีหนี้ต้อง ชำระต่อ โจทก์ จำเลยซึ่ง เป็นบุคคลภายนอกอาจขอเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. ได้ การที่จำเลยมีหนังสือยอมผูกพันตน เข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. และโจทก์มีหนังสือตอบสนองรับไปแล้ว เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่ง คู่สัญญากระทำด้วย ความสมัครใจเมื่อไม่ขัดต่อ กฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้ บังคับได้ และไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้อง ใช้ อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา164 หาใช่มีอายุความ 2 ปี ตาม มูลหนี้ เดิมไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้แทนและอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัท พ. มีหนี้ที่ต้องชำระต่อโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจขอเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. ได้ การที่จำเลยมีหนังสือยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. และโจทก์มีหนังสือตอบสนองรับไปแล้ว เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะก็ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 หาใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมูลหนี้เดิมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้แทนและอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัท พ. มีหนี้ที่ต้องชำระต่อ โจทก์ จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจขอเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. ได้ การที่จำเลยมีหนังสือยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. และโจทก์มีหนังสือตอบสนองรับไปแล้ว เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่ง คู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะก็ต้องใช้อายุความ 10 ปตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 หาใช่มีอายุความ 2 ปี ตามมูลหนี้เดิมไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้แทนและการใช้บังคับอายุความ 10 ปี
บริษัท พ. มีหนี้ที่ต้องชำระแก่โจทก์ จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอาจขอเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ.ได้ การที่จำเลยมีหนังสือยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แทนบริษัท พ. และโจทก์มีหนังสือตอบสนองรับไปแล้ว เป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะก็ต้องใช้อายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 หาใช่มีอายุความ2 ปี ตามมูลหนี้เดิมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนอมหนี้ที่ทำภายหลังถูกทวงหนี้และขู่ฟ้อง ไม่ถือเป็นการข่มขู่ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ
จำเลยทำสัญญาประนอมหนี้กับโจทก์ที่สถานีตำรวจโดยโจทก์พูดว่า "ให้เอาเงินมาใช้เสีย ถ้าไม่ใช้จะฟ้องและติดตะราง" พวกของโจทก์พูดว่า "ใช้เสียน้องเอ๋ย ถึงคราวจำเป็นแล้ว ถ้าไม่ใช้จะถูกฟ้องให้ติดตะราง" และพนักงานสอบสวนพูดว่า "ผู้ใหญ่ใช้เสียเรา มีวินัยอยู่มิฉะนั้นจะเป็นโทษอาญานะ" เป็นเรื่องที่โจทก์กับพวกขู่ว่าถ้าจำเลยไม่ใช้เงินโจทก์จะฟ้องเอาผิดกับจำเลยทางอาญา อันเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 สัญญาประนอมหนี้จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผูกพันของสัญญาจากตัวแทนกรรมการ และการพิสูจน์ผลสำเร็จจากสัญญาจ้างวิ่งเต้น
ในเรื่องความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอกนั้นต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 การที่บริษัทจำเลยโดย ธ.ประธานกรรมการ ม. กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท และ พ.กรรมการอีกคนหนึ่งทำการแทนกรรมการผู้จัดการลงนามในสัญญาให้คำมั่นแก่โจทก์ทั้งสองว่าจะให้บำเหน็จรางวัลในการทีโจทก์ทั้งสองวิ่งเต้นติดต่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตให้ตั้งโรงงานน้ำตาลอันเป็นวัตถุประสงค์ของบริษัทจำเลย จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทจำเลย แม้จะปรากฏว่า พ. กรรมการของบริษัทจะไม่มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทจำเลยในฐานะกรรมการผู้จัดการก็ตาม แต่ก็เท่ากับเป็นการเชิดให้กระทำแทนในหน้าที่กรรมการผู้จัดการ ทั้งได้ประทับตราบริษัทไว้ด้วยถือได้ว่าบริษัทจำเลยทำนิติกรรมกับโจทก์เอง นิติกรรมดังกล่าวย่อมผูกพันบริษัทจำเลย บริษัทจำเลยจะปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ แต่เมื่อปรากฏว่าความสำเร็จในการที่บริษัทจำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงงานน้ำตาลได้เป็นผลเนื่องมาจากบริษัทจำเลยโดย ป. และ ว. วิ่งเต้นติดต่อกับทางฝ่ายรัฐบาลเอง หาใช่เป็นผลสืบเนื่องจากการที่โจทก์ยื่นเรื่องราวขอความเป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จรางวัลตามสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วัตถุประสงค์บริษัทจำกัด: การซื้อลดเช็คไม่อยู่ในขอบเขต แม้จะอ้างเป็นการให้กู้ยืมเงิน
การซื้อลดเช็คกับการให้กู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมคนละประเภทมีกฎหมายรองรับในเรื่องรูปแบบและผลประโยชน์ผิดแผกแตกต่างกันดังนั้น การที่บริษัทโจทก์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงิน จึงไม่อาจฟังว่า การซื้อลดเช็คอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ บริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้ทำการรับซื้อลดเช็ค แต่รับซื้อลดเช็คไว้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้เช็คมาโดยการประกอบกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ ไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และไม่เป็นผู้เสียหายดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อลดเช็คขัดวัตถุประสงค์บริษัท ทำให้ไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และไม่มีสิทธิฟ้องร้อง
การซื้อลดเช็คกับการให้กู้ยืนเงินเป็นนิติกรรมคนละประเภทมีกฎหมายรองรับในเรื่องรูปแบบและผลประโยชน์ผิดแยกแตกต่างกัน ดังนั้น การที่บริษัทโจทก์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงิน จึงไม่อาจฟังว่า การซื้อลดเช็คอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์
บริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้ทำการรับซื้อลดเช็ค แต่รับซื้อลดเช็คไว้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้เช็คมาโดยการประกอบกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และไม่เป็นผู้เสียหายดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันกิดจากการใช้เช็ค
บริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้ทำการรับซื้อลดเช็ค แต่รับซื้อลดเช็คไว้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้เช็คมาโดยการประกอบกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และไม่เป็นผู้เสียหายดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาประกันชีวิตต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันโดยตรง หากไม่มีการสนองรับ สัญญาประกันยังไม่เกิดขึ้น
ในกรณีที่ผู้เอาประกันชีวิตได้ยื่นใบสมัครหรือทำคำเสนอเพื่อทำประกันชีวิตกับตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตนั้น จะต้องนำเอาบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกันชีวิตมาประกอบการวินิจฉัยคดีด้วย ซึ่งหากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้รับประกันชีวิตมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตทำสัญญาประกันชีวิตได้ในนามของผู้รับประกันชีวิตดังที่พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 61 บัญญัติไว้ถือได้ว่าตัวแทนของผู้รับประกันชีวิตมีอำนาจเพียงรับแบบฟอร์มใบสมัครขอประกันชีวิตและรับเบี้ยประกันล่วงหน้าส่งไปให้ผู้รับประกันชีวิตพิจารณาก่อนเท่านั้น และต้องมีการสนองรับคำเสนอจากผู้รับประกันชีวิตโดยตรง สัญญาประกันชีวิตจึงเกิดขึ้น