คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 112

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างลูกจ้างของจำเลย แม้มีข้อสัญญาให้จ่ายแทนได้ หากจำเลยไม่จ่ายค่าจ้าง
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยให้ก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคารสัญญาจ้างข้อ 14 ระบุว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาถ้า...ผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง...ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างได้ และให้ถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายไปนี้เป็นเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างได้รับไปจากผู้ว่าจ้างแล้ว... สัญญาข้อนี้เป็นเพียงการกำหนดให้สิทธิแก่จำเลยร่วมที่จะเอาเงินค่าจ้างที่จำเลยร่วมจะต้องจ่ายแก่จำเลย จ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างของจำเลยได้หากว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เพื่อให้งานก่อสร้างของจำเลยร่วมสำเร็จลุล่วงไปโดยเรียบร้อย มิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ จำเลยร่วมไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์จะอาศัยข้อสัญญาดังกล่าวบังคับให้จำเลยร่วมชำระค่าจ้างแก่โจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยร่วมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างลูกจ้างของจำเลย แม้มีข้อตกลงในสัญญาให้จ่ายแทนได้
จำเลยร่วมว่าจ้างจำเลยให้ก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคารสัญญาจ้างข้อ 14 ระบุว่า 'ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลา ...... ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง ...... ผู้รับจ้าง ยอมให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้าง ที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างได้ และให้ถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายไปนี้เป็นเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างได้รับไปจากผู้ว่าจ้างแล้ว .......' สัญญาข้อนี้เป็นเพียงการกำหนดให้สิทธิแก่จำเลยร่วมที่จะเอาเงินค่าจ้างที่จำเลยร่วมจะต้องจ่ายแก่จำเลย จ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างของจำเลยได้หากว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เพื่อให้งานก่อสร้างของจำเลยร่วมสำเร็จลุล่วงไปโดยเรียบร้อยมิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยร่วมที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ จำเลยร่วมไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์จะอาศัยข้อสัญญาดังกล่าวบังคับให้จำเลยร่วมชำระค่าจ้างแก่โจทก์หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของกรรมการสมาคม/มูลนิธิ: ผู้มีอำนาจฟ้องคือผู้จัดการ ไม่ใช่กรรมการ
เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิของสมาคมและมูลนิธิผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนคือผู้จัดการสมาคมและมูลนิธิซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลกรรมการสมาคมและมุลนิธิไม่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดี การฟ้องคดีแพ่งมิใช่เป็นการทำนิติกรรมเพราะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา112หากแต่เป็นกรณีที่ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่แล้วและถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55ดังนั้นแม้ตราสารของมูลนิธิจะให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการของมูลนิธิทำนิติกรรมของมูลนิธิได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของกรรมการสมาคม/มูลนิธิ: ผู้จัดการเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องแทน
เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิของสมาคมและมูลนิธิ ผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนคือผู้จัดการสมาคมและมูลนิธิซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล กรรมการสมาคมและมุลนิธิไม่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดี
การฟ้องคดีแพ่ง มิใช่เป็นการทำนิติกรรม เพราะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 112 หากแต่เป็นกรณีที่ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่แล้วและถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ดังนั้น แม้ตราสารของมูลนิธิจะให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการของมูลนิธิทำนิติกรรมของมูลนิธิได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3976/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของกรรมการสมาคม/มูลนิธิ: ผู้จัดการเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องแทน
เมื่อมีข้อโต้แย้งสิทธิของสมาคมและมูลนิธิ ผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนคือผู้จัดการสมาคมและมูลนิธิซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล กรรมการสมาคมและมูลนิธิไม่มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดี
การฟ้องคดีแพ่ง มิใช่เป็นการทำนิติกรรม เพราะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 112 หากแต่เป็นกรณีที่ฟ้องขอให้บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่แล้วและถูกโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ดังนั้น แม้ตราสารของมูลนิธิจะให้อำนาจโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการของมูลนิธิ ทำนิติกรรมของมูลนิธิได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นแทนลูกค้า: สิทธิหน้าที่ของตัวแทน, ลูกค้า, และการรับสภาพหนี้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนลูกค้านั้นบริษัทผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภทจำนวนและราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาดกรรมสิทธิ์ในหุ้นย่อมตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่ได้มีการซื้อขายกันการจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นการกระทำเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นนั้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นหาเกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นแต่ประการใดไม่ดังนี้แม้โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยตามข้อตกลงกันแล้วโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129ก็ยังถือว่าโจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่1และเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่1ไปก่อนจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินที่โจทก์ได้ออกแทนไปพร้อมทั้งค่านายหน้าและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่จำเลยที่1ตกลงไว้กับโจทก์. จำเลยที่1ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่1ไปจำเลยที่1ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้นและกรณีนี้มีอายุความ10ปีนับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว. จำเลยที่2ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่าจำเลยที่2ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่1กับพวกและได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่1ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่าจำเลยที่2ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่1ไม่ได้ทำในนามของตนเองประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวดังนั้นแม้จำเลยที่2จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญากรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่าลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่1หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่2ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นแทนลูกค้า: สิทธิและหน้าที่ของตัวแทน, ลูกค้า, และการรับสภาพหนี้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนลูกค้านั้น บริษัทผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภท จำนวน และราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในหุ้นย่อมตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่ได้มีการซื้อขายกัน การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นการกระทำเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นนั้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นหาเกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นแต่ประการใดไม่ ดังนี้แม้โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยตามข้อตกลงกันแล้ว โจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 ก็ยังถือว่าโจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่ 1 และเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินที่โจทก์ได้ออกแทนไปพร้อมทั้งค่านายหน้าและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 ตกลงไว้กับโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้น และกรณีนี้มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่ 1 กับพวก และได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำในนามของตนเอง ประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญา กรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่า ลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมขายฝากไม่โมฆะ แม้ผู้รับซื้อฝากมอบอำนาจต่อบุคคลอื่น หากผู้ขายไม่ได้เจาะจงตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญ
การแสดงเจตนาถ้าสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมย่อมเป็นโมฆะ และตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมก็อาจเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมได้ถ้าการทำนิติกรรมนั้นถือเอาตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญ แต่ในบางกรณีตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเนื่องจากจุดประสงค์เพราะต้องการเพียงเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เดือดร้อนเรื่องเงินและรู้จักกับนาง อ.มารดาจำเลยซึ่งมีอาชีพรับซื้อฝากที่ดินเป็นธุรกิจ โจทก์ตกลงขายฝากที่ดินไว้แก่นาง อ.เพราะไม่รู้จักจำเลยมาก่อน แต่นาง อ.กับจำเลยได้สมคบกันฉ้อฉลทำหนังสือมอบอำนาจมารับซื้อฝากใส่ชื่อจำเลยไว้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการไถ่คืนในภายหลังเพราะจำเลยไม่ได้อยู่ในประเทศไทย นิติกรรมการขายฝากจึงตกเป็นโมฆะ นั้น คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างให้เห็นเลยว่าเหตุใดจึงเจาะจงที่จะขายฝากไว้แก่นาง อ.อันพอจะทำให้เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาตัวบุคคลที่จะรับซื้อฝากเป็นสาระสำคัญ คงเห็นได้แต่เพียงว่าโจทก์ต้องการเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น การที่นาง อ.หรือจำเลยจะเป็นผู้รับซื้อฝากก็ไม่มีผลต่างกัน เพราะโจทก์ได้รับค่าขายฝากไปครบถ้วนแล้ว เหตุตามคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะ คดีพอวินิจฉัยได้หาจำต้องฟังพยานโจทก์จำเลยอีกต่อไปไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในนิติกรรม: ตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญหรือไม่ พิจารณาจากเจตนาและความจำเป็นในการไถ่คืน
การแสดงเจตนาถ้าสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมย่อมเป็นโมฆะและตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมก็อาจเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมได้ถ้าการทำนิติกรรมนั้นถือเอาตัวบุคคลเป็นสาระสำคัญแต่ในบางกรณีตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเนื่องจากจุดประสงค์เพราะต้องการเพียงเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เดือดร้อนเรื่องเงินและรู้จักกับนางอ.มารดาจำเลยซึ่งมีอาชีพรับซื้อฝากที่ดินเป็นธุรกิจโจทก์ตกลงขายฝากที่ดินไว้แก่นางอ.เพราะไม่รู้จักจำเลยมาก่อนแต่นางอ.กับจำเลยได้สมคบกันฉ้อฉลทำหนังสือมอบอำนาจมรรับซื้อฝากใส่ชื่อจำเลยไว้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการไถ่คืนในภายหลังเพราะจำเลยไม่ได้อยู่ในประเทศไทยนิติกรรมการขายฝากจึงตกเป็นโมฆะนั้นคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างให้เห็นเลยว่าเหตุใดจึงเจาะจงที่จะขายฝากไว้แก่นางอ.อันพอจะทำให้เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาตัวบุคคลที่จะรับซื้อฝากเป็นสาระสำคัญคงเห็นได้แต่เพียงว่าโจทก์ต้องการเงินจำนวนหนึ่งเท่านั้นการที่นางอ.หรือจำเลยจะเป็นผู้รับซื้อฝากก็ไม่มีผลต่างกันเพราะโจทก์ได้รับค่าขายฝากไปครบถ้วนแล้วเหตุตามคำฟ้องดังกล่าวจึงไม่ทำให้นิติกรรมขายฝากเป็นโมฆะคดีพอวินิจฉัยได้หาจำต้องฟังพยานโจทก์จำเลยอีกต่อไปไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังแลกเปลี่ยน แม้ไม่มีหนังสือ แต่มี น.ส.3ก. ครบ 1 ปี จำเลยหมดสิทธิเอาคืน
การแลกเปลี่ยนที่ดินแม้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ที่ดินที่ตกลงแลกเปลี่ยนกันเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โจทก์ที่ 2 ได้ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมีเขตแน่นอน อนึ่งข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ด้วยว่าโจทก์ได้ครอบครองจนเกิน 1 ปีแล้ว จำเลยย่อมหมดสิทธิเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
การแลกเปลี่ยนที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) โดยต่างฝ่ายต่างเข้าครอบครองที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งที่แลกเปลี่ยนกันผู้แลกเปลี่ยนไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะจดทะเบียนแบ่งแยกให้หรือรับโอน
of 32