คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 112

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินหลังแลกเปลี่ยน แม้ไม่มีหนังสือ แต่มี น.ส.3ก. ครบ 1 ปี จำเลยหมดสิทธิเอาคืน
การแลกเปลี่ยนที่ดินแม้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ที่ดินที่ตกลงแลกเปลี่ยนกันเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โจทก์ที่ 2 ได้ครอบครองอย่างเป็นเจ้าของมีเขตแน่นอน อนึ่งข้อเท็จจริงแห่งคดีฟังได้ด้วยว่าโจทก์ได้ครอบครองจนเกิน 1 ปีแล้ว จำเลยย่อมหมดสิทธิเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
การแลกเปลี่ยนที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) โดยต่างฝ่ายต่างเข้าครอบครองที่ดินของอีกฝ่ายหนึ่งที่แลกเปลี่ยนกันผู้แลกเปลี่ยนไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะจดทะเบียนแบ่งแยกให้หรือรับโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสโดยปริยายและการขายสินส่วนตัว: โจทก์และจำเลยตกลงแบ่งที่ดิน สินสมรสเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัว
โจทก์และจำเลยที่1เป็นสามีภริยากันต่างประสงค์จะแบ่งที่ดินสินสมรสซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันอยู่ออกเป็นสัดส่วนได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่ในชื่อของโจทก์ผู้เดียวแล้วขายไปโดยจำเลยที่1รู้เห็นด้วยต่อมาจำเลยที่1ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่เหลือคือที่พิพาทในชื่อของจำเลยที่1ผู้เดียวเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่1ได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายแล้วที่พิพาทจึงหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสตกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่1จำเลยที่1ย่อมมีอำนาจขายที่พิพาทโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์เมื่อจำเลยที่1ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่3โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทและการจดทะเบียนซื้อขายระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสโดยปริยาย การขายที่ดินหลังแบ่งแล้ว ถือเป็นสินส่วนตัวโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้อง
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากัน ต่างประสงค์จะแบ่งที่ดินสินสมรสซึ่งถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันอยู่ออกเป็นสัดส่วน ได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินดังกล่าวส่วนใหญ่ในชื่อของโจทก์ผู้เดียวแล้วขายไปโดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินส่วนที่เหลือคือที่พิพาทในชื่อของจำเลยที่ 1 ผู้เดียวเช่นนี้ ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ตกลงแบ่งที่ดินทั้งแปลงดังกล่าวออกเป็นของแต่ละฝ่ายแล้ว ที่พิพาทจึงหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสตกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจขายที่พิพาทโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์เมื่อจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทและการจดทะเบียนซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3605/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการลาออกที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมีผลผูกพันได้ หากทั้งสองฝ่ายตกลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีว่า เมื่อพนักงานผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือลาออกพร้อมเหตุผลต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันนั้นถือได้ว่ากำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่นายจ้างในการที่จะได้มีเวลาหาคนทำงานแทนผู้ลาออก ดังนั้น เมื่อนายจ้างและลูกจ้างตกลงกันที่จะไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว ไม่ว่าฝ่ายใดเป็นผู้เสนอก็ตามก็หามีกฎหมายห้ามมิให้กระทำได้ไม่ การลาออกของลูกจ้างตามข้อเสนอของนายจ้างแม้มิได้กระทำเป็นหนังสือตามระเบียบก็มีผลเป็นการลาออกที่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเช่าตึก - สิทธิเช่าเป็นของบุคคลอื่น โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย
ตามฟ้องได้ความว่าบริษัท ท. ได้จดทะเบียนเช่าตึกแถวจาก จำเลย ต่อมาโจทก์เข้าไปอยู่ในตึกแถวดังกล่าวและเสีย ค่าเช่าให้จำเลยโดยอาศัยสิทธิของบริษัท ท. โจทก์จำเลยไม่ มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกันเกี่ยวกับตึกแถวนั้นสิทธิและ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท. มีต่อกันอย่างไรจำเลยก็มิได้โต้แย้ง ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอน สิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวมาเป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับโอนสิทธิเช่า: ต้องมีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับคู่กรณี
ตามฟ้องได้ความว่าบริษัท ท. ได้จดทะเบียนเช่าตึกแถวจาก จำเลย ต่อมาโจทก์เข้าไปอยู่ในตึกแถวดังกล่าวและเสีย ค่าเช่าให้จำเลยโดยอาศัยสิทธิของบริษัท ท. โจทก์จำเลยไม่ มีนิติสัมพันธ์ใดๆ ต่อกันเกี่ยวกับตึกแถวนั้นสิทธิและ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ท.มีต่อกันอย่างไรจำเลยก็มิได้โต้แย้ง ทั้งไม่ใช่กรณีที่โจทก์จำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนสิทธิการเช่าตึกแถวดังกล่าวมาเป็นของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อและตั๋วสัญญาใช้เงินที่เป็นโมฆะเนื่องจากเจตนาลวงเพื่อป้องกันบุคคลภายนอก
จำเลยได้นำรถยนต์ของจำเลยไปขายให้แก่โจทก์ โจทก์ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่ากับราคารถยนต์แก่จำเลยและโจทก์จำเลยได้ทำ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์กันไว้ โดยโจทก์ยึดตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไว้ และมีข้อตกลงกันว่า จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อ เมื่อครบกำหนดตาม สัญญาเช่าซื้อโจทก์จะต้องโอนรถยนต์กลับคืนให้จำเลย และตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นอันถูกยกเลิกไปโดยถือว่าต่างฝ่ายไม่ต้องชำระหรือรับเงินส่วนที่ต่างกัน เป็นการป้องกันมิให้บุคคลภายนอกเข้ามายุ่งเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าว ดังนี้ การทำสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีลักษณะเป็นการแสดง เจตนาลวงด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งสัญญาเช่าซื้อและตั๋วสัญญาใช้เงิน จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับระหว่างโจทก์จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อและการแสดงเจตนาลวงเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยได้นำรถยนต์ของจำเลยไปขายให้แก่โจทก์ โจทก์ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเท่ากับราคารถยนต์แก่จำเลย และโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กันไว้ โดยโจทก์ยึดตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไว้ และมีข้อตกลงกันว่า จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อ เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์จะต้องโอนรถยนต์กลับคืนให้จำเลย และตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นอันถูกยกเลิกไป โดยถือว่าต่างฝ่ายไม่ต้องชำระหรือรับเงินส่วนที่ต่างกัน เป็นการป้องกันมิให้บุคคลภายนอกเข้ามายุ่งเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าว ดังนี้ การทำสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์จำเลยจึงมีลักษณะเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง สัญญาเช่าซื้อและตั๋วสัญญาใช้เงินจึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับระหว่างโจทก์จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกัน - สำคัญผิด - ผิดนัดชำระหนี้ - สิทธิของผู้ค้ำประกัน - อายุความ
คำพิพากษาศาลชั้นต้นพิมพ์นามสกุลจำเลยที่ 1 "คล่องอักขระ" ผิดเป็น "คล่องอักษร" เป็นการพิมพ์ผิดพลาดเล็กน้อย ศาลมีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกค้าของโจทก์โดยมีบัญชีเงินฝากอยู่ในธนาคารโจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คเดินทางและเช็คส่วนตัวมาเข้าบัญชีในสาขาทั้งสองเพื่อให้เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ แต่ปรากฏว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้านั้นเรียกเก็บเงินไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ เมื่อจำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชี เจ้าหน้าที่สาขาทั้งสองของโจทก์ได้เปลี่ยนค่าเงินตราเป็นเงินไทยและเข้าในบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 โดยยังมิได้ทราบผลว่าเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาเข้าเรียกเงินได้หรือไม่ เป็นผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กับเจ้าหน้าที่ของโจทก์จะยักยอกฉ้อโกงโจทก์จึงร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงยอมชดใช้เงินให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันและสัญญาว่าจะจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นประกันหนี้สินและความรับผิดของจำเลยทั้งสองด้วย แต่จำเลยทั้งสองบิดพลิ้ว จึงฟ้องเรียกเงินจากจำเลยทั้งสองตามสัญญา ดังนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์โจทก์ได้ฟ้องของให้บังคับจำเลยใช้หนี้ให้โจทก์ตามบันทึกข้อตกลงและสัญญาค้ำประกัน คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 บัญญัติไว้แล้ว คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 กับพวกทำกับโจทก์ในข้อ 1 ระบุว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คต่าง ๆ มาให้โจทก์สาขาคลองตันและสาขาสุขุมวิท 57 เรียกเก็บเงินจากธนาคารต่างประเทศ และสาขาทั้สองได้นำเข้าบัญชีกระแสรายวันแล้วเท่าที่ตรวจพบในขณะทำบันทึกมีจำนวนประมาณ 5,035,407 บาทนั้น จำเลยที่ 1 ยอมชดใช้เงินจำนวนนี้ให้กับธนาคารโจทก์เป็นงวด ๆ ตามที่ปรากฏในสัญญาข้อ 2 และเพื่อเป็นหลักประกันจำเลยที่ 1 จะจัดให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดที่ 1193 มาจำนองเป็นหลักประกันภายในวงเงินไม่เกิน 3,000,000 บาท และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีในทางแพ่งและอาญากันต่อไป ตอนท้ายของบันทึกลงชื่อของจำเลยที่ 1 กับพวก และนายสำราญผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทั้งสองฝ่ายมุ่งประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทในทางแพ่งและทางอาญาต่อกัน ข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ให้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนจำนองและจำเลยที่ 1 กับพวกจะไม่ดำเนินการกล่าวหาโจทก์หรือพนักงานของโจทก์นั้น เป็นหนี้หรือนัยหนึ่งข้อตกลงในสัญญาที่ลูกหนี้คือจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติก่อนที่โจทก์จะถอนคำร้องทุกข์ มิใช่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจัดการให้จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญา ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นเงื่อนไขแห่งนิติกรรมที่เงื่อนไขจะสำเร็จหรือไม่สุดแต่ใจของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชอบตามบันทึกข้อตกลงและตามหนังสือค้ำประกัน แม้ว่าตามฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถึงเรื่องการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คมาเข้าบัญชีให้โจทก์เรียกเก็บเงินและเช็คเก็บเงินไม่ได้และถูกส่งคืนก็เป็นแต่เพียงมูลเหตุถึงที่มาของการทำบันทึกข้อตกลงและหนังสือค้ำประกันขึ้นเท่านั้นฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเรียกเงินตามสัญญา ซึ่งจำเลยทั้งสองได้ทำให้โจทก์ยึดถือไว้ซึ่งอายุความฟ้องคดีชนิดนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีสิทธิฟ้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 และเมื่อจำเลยผิดสัญญา การที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังมีอยู่ โจทก์มีสิทธิที่จะร้องต่อศาลให้สั่งบังคับจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงไปโดยถูกข่มขู่ จำเลยที่ 1 มิได้เป็นหนี้โจทก์ แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาโดยสิ้นเชิง มิใช่แต่เพียงไม่ยอมรับผิดตามข้อสัญญาในเรื่องชำระหนี้แต่ละงวด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินได้ทั้งหมดเมื่อมีการผิดสัญญาเกิดขึ้นไม่ใช่เฉพาะแต่งวดที่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ และจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอ้างเงื่อนเวลาเป็นข้อต่อสู้ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ให้การสู้คดีโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหนี้โจทก์เนื่องจากทำหนังสือค้ำประกันโดยสำคัญผิด เท่ากับสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเสียแล้ว
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าได้ทำบันทึกข้อตกลงให้โจทก์ไว้จริง แต่ต่อสู้ว่าทำโดยถูกข่มขู่ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ทำหนังสือค้ำประกันไว้จริง แต่ต่อสู้ว่ากระทำโดยสำคัญผิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับประกันตัวจำเลยที่ 1 ฉะนั้นประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 ถูกข่มขู่หรือไม่ และจำเลยที่ 2 สำคัญผิดหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างขึ้นมาใหม่ ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายนำสืบก่อนไม่ใช่ฝ่ายโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3394/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล, ข้อสัญญาเช่าซื้อ, ค่าเสียหาย, และการตีราคาทรัพย์สิน
โจทก์มีหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครและหนังสือมอบอำนาจประกอบคำเบิกความของ ค. ผู้รับมอบอำนาจเป็นพยานโดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างแต่ประการใด ย่อม เป็นการเพียงพอที่ฟังได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจ ให้ ค.ฟ้องคดีแทนจริง โดยไม่จำเป็นต้องนำหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์และ นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมาสืบประกอบ
แม้โจทก์มิได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ แต่โจทก์มอบอำนาจให้ค. เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อทำสัญญาเช่าซื้อแทนได้ โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อสัญญาเช่าซื้อรถที่กำหนดว่า ผู้เช่าซื้อไม่ชำระราคา เช่าซื้อ 2 งวดติดต่อกัน สัญญาเป็นอันสิ้นสุดลง ผู้ให้เช่าซื้อชอบที่จะเอารถพร้อมอุปกรณ์คืนได้ และ ผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อตีราคารถพร้อมอุปกรณ์ได้แต่ เพียงผู้เดียวโดยถือเป็นเด็ดขาด และเมื่อคิดหักกับราคาที่ผู้เช่าซื้อได้ผ่อนชำระบางส่วนแล้วผู้เช่าซื้อยังคงเป็นหนี้อยู่ ก็ยินยอมให้ผู้เช่าซื้อฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่ผู้เช่าซื้อได้ทันทีนั้น เป็นเรื่องที่ผู้เช่าซื้อสมัครใจทำสัญญาเสียเปรียบเอง หาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ และข้อสัญญานี้มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ จะใช้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามสัญญาซึ่งกำหนดไว้ใน กรณีที่ผู้เช่าซื้อค้างชำระเงินค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7
โจทก์ที่ 2 แม้จะเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นผู้จัดการของห้างโจทก์ที่ 1 ก็ตาม หากกรณี เป็นเรื่องของห้างโจทก์ที่ 1 โดยเฉพาะ ไม่ใช่กิจการ ส่วนตัวของโจทก์ที่ 2.โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้อง
of 32