คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 112

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ และการสำคัญผิดที่ไม่ถึงขั้นโมฆะ
เดิมจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์แก่โจทก์ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1กับโจทก์ตกลงทำสัญญากันขึ้นฉบับหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาเรียกว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ มีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 2 ยอมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้แก่โจทก์โดยมอบเช็คของบริษัท ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 สลักหลังรวม 20 ฉบับ ถ้าเช็คฉบับใดธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2 จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ที่จำเลยที่ 2 แก้ฎีกาว่าทำสัญญาตามเอกสารหมาย จ.4โดยสำคัญผิดว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อเดิม จึงเป็นโมฆะนั้น การสำคัญผิดเช่นนี้มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญ ของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 สัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย อายุความ 10 ปี การสำคัญผิดไม่ใช่สาระสำคัญ
เดิมจำเลยที่ 1 ค้างชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์แก่โจทก์ต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกลงทำสัญญากันขึ้นฉบับหนึ่ง ซึ่งคู่สัญญาเรียกว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ มีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 2 ยอมชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระให้แก่โจทก์โดยมอบเช็คของบริษัท ก. ซึ่งจำเลยที่ 2 สลักหลังรวม 20 ฉบับ ถ้าเช็คฉบับใดธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยที่ 2 ยอมเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการใช้เงินจนกว่าจะชำระเสร็จด้วย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งคู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
ที่จำเลยที่ 2 แก้ฎีกาว่าทำสัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 โดยสำคัญผิดว่าตนเป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อเดิม จึงเป็นโมฆะนั้น การสำคัญผิดเช่นนี้มิใช่สำคัญผิดในสาระสำคัญ ของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 119 สัญญาตามเอกสารหมาย จ.4 จึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดามารดาต่อละเมิดของบุตรผู้เยาว์ และผลผูกพันของข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหาย
บุตรโจทก์กับบุตรจำเลยเป็นเพื่อนกันได้พากันขับรถพาเพื่อนออกไปเที่ยวโดยมีบุตรโจทก์เป็นผู้ขับ หลังจากพาเพื่อนกลับมาแล้วบุตรโจทก์ได้ขับรถออกไปกับบุตรจำเลยอีก โดยจำเลยไม่ทราบและไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อแสดงให้เห็นว่าบุตรจำเลยจะทำหน้าที่ขับรถแทนบุตรโจทก์ หลังจากนั้นบุตรจำเลยโดยความประมาทเลินเล่อขับรถโจทก์ไปประสบอุบัติเหตุเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบุตรจำเลยตามสมควรแก่หน้าที่ในขณะนั้นแล้ว จำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ด้วย
แม้จำเลยจะไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ในผลแห่งละเมิดที่บุตรผู้เยาว์กระทำลงเพราะจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุจำเลยได้ไปตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่บุตรจำเลยทำละเมิดต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการทำละเมิดของบุตรจำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2056/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดามารดาต่อละเมิดของบุตรผู้เยาว์ แม้จะใช้ความระมัดระวังแล้ว แต่การตกลงชดใช้ค่าเสียหายผูกพันตามกฎหมาย
บุตรโจทก์กับบุตรจำเลยเป็นเพื่อนกันได้พากันขับรถพาเพื่อนออกไปเที่ยวโดยมีบุตรโจทก์เป็นผู้ขับ หลังจากพาเพื่อนกลับมาแล้วบุตรโจทก์ได้ขับรถออกไปกับบุตรจำเลยอีก โดยจำเลยไม่ทราบและไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อแสดงให้เห็นว่าบุตรจำเลยจะทำหน้าที่ขับรถแทนบุตรโจทก์หลังจากนั้นบุตรจำเลยโดยความประมาทเลินเล่อขับรถโจทก์ไปประสบอุบัติเหตุเสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังดูแลบุตรจำเลยตามสมควรแก่หน้าที่ในขณะนั้นแล้วจำเลยไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ด้วย
แม้จำเลยจะไม่ต้องร่วมรับผิดกับบุตรผู้เยาว์ในผลแห่งละเมิดที่บุตรผู้เยาว์กระทำลงเพราะจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุจำเลยได้ไปตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่บุตรจำเลยทำละเมิดต่อพนักงานสอบสวน แสดงว่าจำเลยยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการทำละเมิดของบุตรจำเลยข้อตกลงดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031-2037/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นสิ้นสุดลง และไม่มีสิทธิฟ้องรุกล้ำ
ที่พิพาทคือที่ดินของโจทก์ที่เหลืออยู่ระหว่างถนนสาธารณะกับที่ดินซึ่งโจทก์แบ่งแยกขายให้จำเลย เมื่อโจทก์ยอมให้กันเป็นเขตถนนสาธารณะซึ่งเป็นการแสดงเจตนาอุทิศให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นนิติกรรมไม่มีแบบ ที่พิพาทย่อมมิใช่ของโจทก์อีกต่อไป การที่เสาหินหลักเขตถนนปักเข้ามาอยู่ใต้ถุนบ้านจำเลย จำเลยจึงมิได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนรัฐบาล: อำนาจฟ้องของโจทก์ในการเรียกคืนทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
จำเลยที่ 1 ได้รับทุน เอ.ไอ.ดี. ซึ่งเป็นทุนที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลไทย ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศโดยจำเลยที่ 1 สัญญาว่าเมื่อเสร็จการศึกษาแล้วจะกลับมารับราชการในหน่วยงานของโจทก์ที่ 1 หรือกระทรวง ทบวง กรมอื่นตามที่โจทก์ที่ 1 เห็นสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับทุนหลังจากสำเร็จการศึกษา ณ ต่างประเทศแล้ว จำเลยที่ 1ผิดสัญญาลาออกจากราชการก่อนครบกำหนดรับราชการใช้ทุนคืนดังนี้ จำเลยที่ 1 จะต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเงินทุนที่ได้รับมิใช่ของรัฐบาลไทยและค่าเครื่องบินก็เป็นของโจทก์ที่ 2 หาได้ไม่เพราะทุนดังกล่าวรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มอบให้แก่รัฐบาลไทยและเมื่อมีการผิดสัญญา เงินที่ได้รับชดใช้จากผู้ได้รับทุนจะได้นำไปจัดสรรเป็นทุนใหม่ต่อไป ส่วนค่าเครื่องบินนั้นแม้จะเป็นเงินของโจทก์ที่ 2 ก็เป็นเงินของทางราชการ ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำสัญญาผูกพันให้ไว้แก่โจทก์ที่ 1 ว่าจะชำระคืนให้โจทก์ที่ 1โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาทุนรัฐบาลกับการชดใช้ค่าทุนและค่าใช้จ่ายเมื่อผิดสัญญา
จำเลยที่ 1 ได้รับทุน เอ.ไอ.ดี. ซึ่งเป็นทุนที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลไทย ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ โดยจำเลยที่ 1 สัญญาว่าเมื่อเสร็จการศึกษาแล้วจะกลับมารับราชการในหน่วยงานของโจทก์ที่ 1 หรือกระทรวง ทบวง กรมอื่นตามที่โจทก์ที่ 1 เห็นสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับทุน หลังจากสำเร็จการศึกษา ณ ต่างประเทศแล้ว จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาลาออกจากราชการก่อนครบกำหนดรับราชการใช้ทุนคืนดังนี้จำเลยที่ 1 จะต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเงินทุนที่ได้รับมิใช่ของรัฐบาลไทยและค่าเครื่องบินก็เป็นของโจทก์ที่ 2 หาได้ไม่ เพราะทุนดังกล่าวรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มอบให้แก่รัฐบาลไทย และเมื่อมีการผิดสัญญา เงินที่ได้รับชดใช้จากผู้ได้รับทุนจะได้นำไปจัดสรรเป็นทุนใหม่ต่อไป ส่วนค่าเครื่องบินนั้นแม้จะเป็นเงินของโจทก์ที่ 2 ก็เป็นเงินของทางราชการ ซึ่งจำเลยที่ 1 ทำสัญญาผูกพันให้ไว้แก่โจทก์ที่ 1 ว่าจะชำระคืนให้โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่าช่วง แม้สัญญาเช่าหลักสิ้นสุดแล้ว ยังมีสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงกับผู้เช่าช่วงได้
ขณะที่โจทก์มีสิทธิการเช่าห้องพิพาทโจทก์ได้ให้จำเลยเข้าไปอาศัยอยู่ โดยตกลงกันว่าจำเลยจะออกจากห้องเมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อไป จึงเป็นการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างกันซึ่งผูกพันคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลง เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากห้องพิพาทจึงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่เจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้ว
ขณะที่โจทก์มีสิทธิการเช่าห้องพิพาทโจทก์ได้ให้จำเลยเข้าไปอาศัยอยู่โดยตกลงกันว่าจำเลยจะออกจากห้องเมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อไป จึงเป็นการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างกันซึ่งผูกพันคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลง เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากห้องพิพาทจึงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่เจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมลูกจ้างให้หักเงินชดใช้ค่าเสียหาย แม้ไม่มีการลงชื่อคู่สัญญา ก็มีผลผูกพันได้ หากแสดงเจตนาชัดเจน
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ยินยอมลงชื่อในเอกสารที่มีใจความว่าโจทก์สัญญาว่าจะไม่ประพฤติการต่าง ๆ ให้เป็นที่เสียหายต่อจำเลยหากทำให้จำเลยเสียหายยอมให้จำเลยหักเอาจากเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยได้ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าโจทก์จะเรียกร้องสิ่งใดจากจำเลยได้บ้างและไม่มีกฎหมายบังคับว่าความยินยอมของลูกจ้างเช่นนี้จะต้องทำตามแบบอย่างไรดังนั้นเพียงแต่โจทก์แสดงเจตนาฝ่ายเดียวก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์มาชดใช้เงินค่าอาหารและค่าอุปกรณ์การเรียนของบุตรที่โจทก์เบิกไปโดยไม่มีสิทธิได้โดยจำเลยไม่จำเป็นต้องลงชื่อในเอกสารดังกล่าวด้วย
of 32