คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 112

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฝ่ายเดียวในการยินยอมให้หักเงินเดือน: สิทธิของนายจ้างในการชดใช้ค่าเสียหายจากลูกจ้าง
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ยินยอมลงชื่อในเอกสารที่มีใจความว่าโจทก์สัญญาว่าจะไม่ประพฤติการต่าง ๆ ให้เป็นที่เสียหายต่อจำเลย หากทำให้จำเลยเสียหายยอมให้จำเลยหักเอาจากเงินที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยได้ ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าโจทก์จะเรียกร้องสิ่งใดจากจำเลยได้บ้าง และไม่มีกฎหมายบังคับว่าความยินยอมของลูกจ้างเช่นนี้จะต้องทำตามแบบอย่างไร ดังนั้นเพียงแต่โจทก์แสดงเจตนาฝ่ายเดียวก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์มาชดใช้เงินค่าอาหารและค่าอุปกรณ์การเรียนของบุตรที่โจทก์เบิกไปโดยไม่มีสิทธิได้ โดยจำเลยไม่จำเป็นต้องลงชื่อในเอกสารดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาต้องทำเป็นหนังสือ: ผลของการตกลงให้ทำสัญญาอีกชั้นหนึ่ง
จำเลยทำคำเสนอจะทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารต่อโจทก์โดยเสนอราคาค่าก่อสร้างหลังละ 500,000 บาท โจทก์ตกลงและมีหนังสือแจ้งให้จำเลยมาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับเจ้าหน้าที่ แต่จำเลยกลับปฏิเสธและแจ้งแก่โจทก์ขอระงับการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์จึงว่าจ้างผู้รับเหมารายอื่นก่อสร้างอาคารดังกล่าวในราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะจ้างเหมาจำเลยก่อสร้างตามคำเสนอของจำเลย โดยให้จำเลยไปทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอีกชั้นหนึ่งจึงจะมีผลให้ผูกพันกันได้ ต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 366 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อยังมิได้กระทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอาศัยเพียงข้อเสนอของจำเลยและการสนองรับของโจทก์ให้เป็นข้อสัญญาจ้างเหมาที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1167/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาต้องทำเป็นหนังสือ: ผลของการตกลงทำสัญญาอีกชั้นหนึ่ง
จำเลยทำคำเสนอจะทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารต่อโจทก์ โดยเสนอราคาค่าก่อสร้างหลังละ 500,000 บาท โจทก์ตกลงและมีหนังสือแจ้งให้จำเลยมาทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับเจ้าหน้าที่ แต่จำเลยกลับปฏิเสธและแจ้งแก่โจทก์ขอระงับการทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์จึงว่าจ้างผู้รับเหมารายอื่นก่อสร้างอาคารดังกล่าวในราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ดังนี้เป็นกรณีที่โจทก์ตกลงจะจ้างเหมาจำเลยก่อสร้างตามคำเสนอของจำเลย โดยให้จำเลยไปทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอีกชั้นหนึ่งจึงจะมีผลให้ผูกพันกันได้ ต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 366 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อยังมิได้กระทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะอาศัยเพียงข้อเสนอของจำเลยและการสนองรับของโจทก์ให้เป็นข้อสัญญาจ้างเหมาที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบลาออกสมบูรณ์ แม้ไม่มีวันที่ ยื่นจริง ถือลาออกโดยสมัครใจ ไม่เป็นการเลิกจ้าง
ใบลาออกจากงานไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าไม่ลงวันที่แล้วจะเป็นใบลาที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรับว่าได้ยื่นใบลาออกจริง ก็ย่อมเป็นการลาออกที่สมบูรณ์มิใช่นายจ้างให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบลาออกไม่จำเป็นต้องลงวันที่ให้สมบูรณ์ การลาออกด้วยความสมัครใจ มิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ใบลาออกจากงานไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าไม่ลงวันที่แล้วจะเป็นใบลาที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรับว่าได้ยื่นใบลาออกจริง ก็ย่อมเป็นการลาออกที่สมบูรณ์มิใช่นายจ้างให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ที่มีข้อความเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาขาย ไม่ถือเป็นสัญญาจะซื้อขาย
สัญญานี้กรอกข้อความลงในแบบพิมพ์สัญญากู้เงินว่า จำเลยที่ 1กู้เงินไป 6,500 บาท และจำเลยที่ 1 นำโฉนดให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกัน และมีข้อความเพิ่มเติมว่า " ที่ดินแปลงนี้จะขายให้กับเจ้าของเงินจะไม่ยอมขายให้ใคร คือภายใน 3 ปี ตามราคา 20,000 บาทถ้วน ถึงราคา 20,000 บาท จึงจะขายให้ ถึงราคา 20,000 บาท ก็จะโอนให้" และด้านหลังมีผู้อื่นทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้รายนี้ ดังนี้ เป็นเรื่องกู้เงิน โจทก์แล้วมอบโฉนดเป็นประกัน ไม่มีลักษณะจะซื้อขาย ข้อความเพิ่มเติม นั้นเป็นเพียงคำปรารภของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวมิใช่มุ่งโดยตรงต่อการ ผูกนิติสัมพันธ์ จึงมิใช่คำมั่นหรือสัญญาจะขายที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3600/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีรายละเอียดชัดเจน การตกลงแบบมีเงื่อนไขยังไม่ถือเป็นสัญญา
นายจ้างของคนขับรถที่ขับรถชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายมีผู้ได้รับบาดเจ็บทำบันทึกยอมจะซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้ใช้การ ได้ดีอยู่ในสภาพเดิมกับยอมใช้ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนให้แก่ ผู้บาดเจ็บเมื่อบริษัทประกันภัยได้พิจารณาแล้ว ไม่มีรายละเอียด หรือ ข้อตกลงที่แน่นอนอันปราศจากการโต้แย้งเป็นต้นว่าซ่อมที่อู่ไหน สภาพอย่างไรที่เรียกว่าใช้การได้ดีอยู่ในสภาพเดิม จำนวนเงินที่ จะต้องชำระ เป็นต้น โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลและค่าทดแทนของ ผู้บาดเจ็บเป็นข้อตกลงที่มีเงื่อนไข ต้องให้บริษัทประกันภัยพิจารณาเสียก่อน ซึ่งบริษัทประกันภัยอาจมีความเห็นว่าไม่ต้องรับผิดก็ได้ จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ลูกจ้าง ถือเป็นสัญญา ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน
ข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการสงเคราะห์พนักงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาอย่างหนึ่งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและมีผลใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยไม่จำต้องอาศัยเงื่อนไขใด ลูกจ้างจะมีสิทธิเมื่อเลิกจ้างอย่างใด ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับสงเคราะห์พนักงานเป็นสัญญาทางแรงงาน ข้อกำหนดจ่ายบำเหน็จไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน
ข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการสงเคราะห์พนักงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาอย่างหนึ่งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและมีผลใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยไม่จำต้องอาศัยเงื่อนไขใด ลูกจ้างจะมีสิทธิเมื่อเลิกจ้างอย่างใด ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการและผู้บังคับบัญชาต่อเงินฝากในสวัสดิการเงินกู้ที่ไม่จดทะเบียน
สโมสรนายทหารกองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ 1 ตั้งสวัสดิการเงินกู้ขึ้น ดำเนินงานโดยคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับการเป็นผู้แต่งตั้งตามตำแหน่งของหน่วย ผลัดเปลี่ยนกันไปโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของผู้บังคับการ ทุนของสวัสดิการเงินกู้ได้มาจากเงินของหน่วยงานกับเงินของข้าราชการที่เป็นสมาชิกสโมสรนำมาฝาก ปี พ.ศ. 2514 จำเลยที่ 1 มาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองรบพิเศษฯ แห่งนี้ ได้เป็นประธาน กรรมการสวัสดิการ เงินกู้โดยรองผู้บังคับการเป็นประธานกรรมการ จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการ และจำเลยที่ 4 คงเป็นกรรมการและผู้จัดการตามเดิมต่อไป โจทก์นำเงินเข้าฝากไว้ในสวัสดิการเงินกู้เป็นจำนวน 230,000 บาท สวัสดิการเงินกู้ไม่จ่ายเงินปันผลให้โจทก์ โจทก์จึงเรียกเงินฝากคืนพร้อมทั้งเงินปันผล เช่นนี้ สวัสดิการเงินกู้มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานทั้งหลายจึงอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการผู้ได้แต่งตั้งดังปรากฏตามระเบียบว่าด้วยเงินกู้ แม้คณะกรรมการนี้จะมีการแต่งตั้งเปลี่ยนกันไปหลายครั้งตามตำแหน่งนับแต่เริ่มตั้งสวัสดิการเงินกู้จนถึงปัจจุบัน ก็ต้องถือว่าคณะกรรมการใหม่ยอมรับมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ตลอดจนความรับผิดจากคณะกรรมการชุดเดิมที่ดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ไว้ จะยกข้ออ้างว่าตนเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและไม่ได้รับมอบหมายการงานหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 รับเงินจากโจทก์ไว้ในนามของคณะกรรมการ ซึ่งกรรมการอื่นต้องร่วมรับผิดในเงินฝากของโจทก์ด้วย และเป็นนิติสัมพันธ์ ทางสัญญาตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 พ้นจากตำแหน่งกรรมการสวัสดิการ เงินกู้ระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น ไม่เป็นผลลบล้างอำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิม ให้หมดไป สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาการ จำเลยที่ 1 ก็เข้าเป็นประธานกรรมการดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ต่อมา แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะไปราชการและแต่งตั้งคณะกรรมการสวัสดิการเงินกู้ขึ้นใหม่คือ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งยังคงอยู่ในความควบคุมดูแลรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 เช่นเดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อบุคคลภายนอก เช่นโจทก์ ผู้ได้รับความเสียหายด้วย
of 32