พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายสาหัส และการนับโทษต่อจากคดีอื่น
จำเลยใช้ไม้ตีทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย 2 ครั้ง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและแขนซ้าย แพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียหายด้วยวิธีฉายเอกซเรย์พบว่ากระดูกปลายแขนซ้ายหักและมีความเห็นว่าต้องใช้เวลารักษา 6 สัปดาห์ ผู้บังคับบัญชาของผู้เสียหายได้อนุญาตให้ผู้เสียหายลาป่วยจนกว่าจะหายเป็นปกติจึงฟังได้ว่าผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) คดีนี้โจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 893/2534 และหมายเลขดำที่57/2535 ของศาลชั้นต้นไว้แล้ว แต่ศาลชั้นต้นนับโทษต่อจากคดีดังกล่าวไม่ได้ เพราะคดีดังกล่าวนั้นศาลยังมิได้มีคำพิพากษา โจทก์ฎีกาขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาทั้งสองสำนวนดังกล่าว โดยอ้างว่าคดีทั้งสองสำนวนนั้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว เป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่637/2536 และหมายเลขแดงที่ 1079/2535 ของศาลชั้นต้น ตามลำดับจำเลยมิได้แก้ฎีกาปฏิเสธข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังได้ว่าคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์ และการใช้ดุลพินิจศาลในการเลื่อนคดีเนื่องจากเหตุป่วย
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยอุทธรณ์มาตรา 198,200 และ 201 มีความหมายชัดเจนบังคับไว้ว่า เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์แล้วเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งและกำหนดเวลาให้แก้อุทธรณ์ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์โจทก์ สำเนาให้อีกฝ่าย"และออกหมายนัดส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อความในหมายนัดว่า"ด้วยคดีเรื่องนี้ศาลได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ดังสำเนาอุทธรณ์แนบมาพร้อมหมายนี้ เพราะฉะนั้นจึงแจ้งมาให้ทราบ" เป็นการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทราบเท่านั้น มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 1แก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยการอุทธรณ์ คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ในการขอเลื่อนคดีครั้งที่ 2โจทก์มีใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาลมาแสดง ระบุว่าโจทก์มีอาการอ่อนแรงแขนขาด้านซ้าย เนื่องจากโรคเส้นเลือดสมองตีบ และความดันโลหิตสูงได้เข้ารักษาในโรงพยาบาลและยังไม่มีกำหนดกลับบ้านการขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์จึงเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีเพราะตัวความป่วยเจ็บไม่สามารถมาศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หากศาลชั้นต้นมีความสงสัยว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่า โจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้และมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์เลื่อนคดีอีกครั้งหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีแล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์พร้อมทั้งพิพากษายกฟ้องในวันเดียวกัน โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์, การยกฟ้องเนื่องจากไม่มาศาล, และการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 กำหนดให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะส่งสำเนาให้จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่จำต้องวางเงินค่าส่งสำเนาอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาการพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา200 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้ง แต่เนื่องจากระยะเวลาที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนได้ล่วงเลยมาจนศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 กำหนดให้นำบทบัญญัติในมาตรา 139 และ 166 มาบังคับแก่การพิจารณาโดยอนุโลมดังนั้นศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกมาตรา 166 ดังกล่าวมาปรับแก่คดีในชั้นพิจารณาได้
โจทก์อ้างว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ ตัวโจทก์อยู่ที่จังหวัด สกลนคร เพื่อจัดการงานศพของมารดาภรรยาโจทก์ และต้องดูแลอาการป่วยของภรรยาโจทก์ กับโจทก์เข้าใจว่าในวันนัดดังกล่าวทนายโจทก์จะสืบพยานคนอื่นก่อน ส่วนโจทก์จะเข้าสืบในวันนัดภายหลัง โจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาลตามกำหนดนัด และโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าทนายโจทก์ขอถอนตัวออกจากเป็นทนายให้โจทก์ กรณีดังกล่าวหากเป็นความจริงตามคำร้อง ของ โจทก์ก็ถือว่าโจทก์ได้แสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียโดยไม่ไต่สวนนั้นเป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาการพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา200 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้ง แต่เนื่องจากระยะเวลาที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนได้ล่วงเลยมาจนศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 กำหนดให้นำบทบัญญัติในมาตรา 139 และ 166 มาบังคับแก่การพิจารณาโดยอนุโลมดังนั้นศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกมาตรา 166 ดังกล่าวมาปรับแก่คดีในชั้นพิจารณาได้
โจทก์อ้างว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ ตัวโจทก์อยู่ที่จังหวัด สกลนคร เพื่อจัดการงานศพของมารดาภรรยาโจทก์ และต้องดูแลอาการป่วยของภรรยาโจทก์ กับโจทก์เข้าใจว่าในวันนัดดังกล่าวทนายโจทก์จะสืบพยานคนอื่นก่อน ส่วนโจทก์จะเข้าสืบในวันนัดภายหลัง โจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาลตามกำหนดนัด และโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าทนายโจทก์ขอถอนตัวออกจากเป็นทนายให้โจทก์ กรณีดังกล่าวหากเป็นความจริงตามคำร้อง ของ โจทก์ก็ถือว่าโจทก์ได้แสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียโดยไม่ไต่สวนนั้นเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์, เหตุสมควรไม่มาศาล, และการพิจารณาคดีโดยชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200 กำหนดให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ดังนี้เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์จึงเป็นหน้าที่ของศาลที่จะส่งสำเนาให้จำเลยโดยตรง โจทก์ไม่จำต้องวางเงินค่าส่งสำเนาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยก่อนศาลอุทธรณ์พิพากษาการพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา200 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยชัดแจ้ง แต่เนื่องจากระยะเวลาที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนได้ล่วงเลยมาจนศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้ว ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 181 กำหนดให้นำบทบัญญัติในมาตรา 139 และ 166 มาบังคับแก่การพิจารณาโดยอนุโลมดังนั้นศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะยกมาตรา 166 ดังกล่าวมาปรับแก่คดีในชั้นพิจารณาได้ โจทก์อ้างว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์ ตัวโจทก์อยู่ที่จังหวัด สกลนคร เพื่อจัดการงานศพของมารดาภรรยาโจทก์ และต้องดูแลอาการป่วยของภรรยาโจทก์ กับโจทก์เข้าใจว่าในวันนัดดังกล่าวทนายโจทก์จะสืบพยานคนอื่นก่อน ส่วนโจทก์จะเข้าสืบในวันนัดภายหลัง โจทก์มิได้จงใจที่จะไม่มาศาลตามกำหนดนัด และโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าทนายโจทก์ขอถอนตัวออกจากเป็นทนายให้โจทก์ กรณีดังกล่าวหากเป็นความจริงตามคำร้อง ของ โจทก์ก็ถือว่าโจทก์ได้แสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีเหตุสมควรจึงมาไม่ได้ ที่ศาลชั้นต้นด่วนวินิจฉัยสั่งยกคำร้องของโจทก์เสียโดยไม่ไต่สวนนั้นเป็นการไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาคำอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาคดี ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบ
พนักงานเดินหมายนำสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลย 2 ครั้ง ณ ภูมิลำเนาตามฟ้อง แต่ไม่พบจำเลย พบแต่ประตูบ้านปิดใส่กุญแจ และสอบถามผู้ที่อยู่บ้านข้างเคียง ไม่มีใครทราบว่าจำเลยไปไหน ครั้นนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พนักงานเดินหมายนำหมายนัดไปส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาเดิมโดยในครั้งที่สองได้ปิดหมายไว้ จำเลยไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามกำหนดนัด เช่นนี้ แสดงว่าการที่พนักงานเดินหมายไม่พบจำเลยอาจเป็นเพราะจำเลยไม่อยู่บ้านหรือออกไปทำงานในตอนเช้าและกลับบ้านในตอนเย็นดังจำเลยกล่าวอ้างก็ได้ ถือไม่ได้ว่าการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยไม่ได้นั้นเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบ หรือหลบหนีหรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 201 การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย การพิจารณาคดีโดยไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย
พนักงานเดินหมายได้นำสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยรวม 2 ครั้ง ปรากฏว่าส่งให้ไม่ได้เพราะไม่พบจำเลย พบประตูปิดใส่กุญแจ สอบถามผู้ที่อยู่บ้านข้างเคียงไม่ทราบว่าจำเลยไปที่ใด แต่เมื่อคราวนำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปส่งให้แก่จำเลยในครั้งแรก ก็ไม่พบจำเลยเช่นเดียวกันในการส่งหมายนัดครั้งที่ 2 จึงส่งหมายนัดโดยการปิดหมายไว้ที่ภูมิลำเนาของจำเลย จำเลยมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามกำหนดนัดดังนี้ แสดงว่าการที่พนักงานเดินหมายไม่พบจำเลยนั้นอาจเป็นเพราะจำเลยไม่อยู่บ้านหรือออกไปทำงานในตอนเช้า และกลับบ้านในตอนเย็นจึงถือไม่ได้ว่าการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยไม่ได้นั้นเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบหรือหลบหนีหรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย การพิจารณาคดีโดยไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์เป็นเหตุให้คำพิพากษาไม่ชอบ
พนักงานเดินหมายนำสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ไปส่งให้แก่จำเลย 2 ครั้ง ณ ภูมิลำเนาตามฟ้อง แต่ไม่พบจำเลย พบแต่ประตูบ้านปิดใส่กุญแจ และสอบถามผู้ที่อยู่บ้านข้างเคียง ไม่มีใครทราบว่าจำเลยไปไหน ครั้นนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พนักงานเดินหมายนำหมายนัดไปส่งให้แก่จำเลย ณ ภูมิลำเนาเดิมโดยในครั้งที่สองได้ปิดหมายไว้ จำเลยไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามกำหนดนัด เช่นนี้ แสดงว่าการที่พนักงานเดินหมายไม่พบจำเลยอาจเป็นเพราะจำเลยไม่อยู่บ้านหรือออกไปทำงานในตอนเช้าและกลับบ้านในตอนเย็นดังจำเลยกล่าวอ้างก็ได้ ถือไม่ได้ว่าการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้แก่จำเลยไม่ได้นั้นเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบ หรือหลบหนีหรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 201 การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 200.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์ไม่ถูกต้อง การพิจารณาคดีโดยจำเลยไม่ทราบเป็นเหตุให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นโมฆะ
ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้เพราะหมายนัดระบุที่อยู่ของจำเลยโดยไม่ได้ระบุว่าอยู่ถนนใด เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์จึงรายงานการส่งหมายว่าหมายนัดระบุที่อยู่ของจำเลยไม่ชัดเจนและออกติดตามหาจำเลยแล้วไม่มีผู้ใดรู้จักในชั้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หมายนัดก็ระบุแต่ชื่อและที่อยู่ของจำเลยโดยไม่ได้ระบุว่าอยู่ถนนใดเช่นกัน แต่ก็ปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดให้จำเลยได้โดยจำเลยรับไว้เอง เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้นั้นเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบหรือจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 201 การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยเพื่อแก้นั้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 200
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามที่อยู่ ทำให้การพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้เพราะหมายนัดระบุที่อยู่ของจำเลยโดยไม่ได้ระบุว่าอยู่ถนนใดเจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์จึงรายงานการส่งหมายว่าหมายนัดระบุที่อยู่ของจำเลยไม่ชัดเจนและออกติดตามหาจำเลยแล้วไม่มีผู้ใดรู้จักในชั้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หมายนัดก็ระบุแต่ชื่อและที่อยู่ของจำเลยโดยไม่ได้ระบุว่าอยู่ถนนใดเช่นกันแต่ก็ปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลส่งหมายนัดให้จำเลยได้โดยจำเลยรับไว้เองเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้นั้นเป็นเพราะหาตัวจำเลยไม่พบหรือจำเลยหลบหนีหรือจงใจไม่รับสำเนาอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา201การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยเพื่อแก้นั้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา200.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงรายบุคคล vs. ฉ้อโกงประชาชน, การนับโทษต่อคดีอาญาอื่น
ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยฉ้อโกงผู้เสียหายทั้งห้าหลายครั้งต่างกรรมต่างวาระกันแต่ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดการกระทำของจำเลยให้ปรากฏพอที่จะให้เห็นว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษทุกกรรมดังที่ได้ความตามทางพิจารณาศาลจะลงโทษจำเลยแต่ละกรรมนอกเหนือจากฟ้องหาได้ไม่. จำเลยกล่าวหลอกลวงว.ผู้เสียหายที่บ้านว.ขณะนั้นมีย.ม.ป.ผู้เสียหายและชาวบ้านอื่นอยู่ด้วยเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวแก่ว.แล้วผู้เสียหายอื่นไปได้ยินเข้าเองถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะกล่าวหลอกลวงผู้เสียหายอื่นและชาวบ้านหากแต่ผู้เสียหายอื่นได้ยินแล้วเชื่อและชำระเงินให้จำเลยถือได้ว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายเป็นรายบุคคลมิได้หลอกลวงประชาชนจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341. คดีนี้โจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากคดีอาญาหมายเลชดำที่3672/2526ของศาลชั้นต้นไว้แล้วแต่ศาลล่างทั้งสองนับโทษต่อจากคดีดังกล่าวไม่ได้เพราะคดีนั้นศาลยังมิได้มีคำพิพากษาโจทก์ฎีกาขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาหมายเลขดำที่2672/2526หมายเลขแดงที่3332/2526ของศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้วจำเลยมิได้แก้ฎีกาปฏิเสธข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้ว่าคดีดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วจริงศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อกันได้.