คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นาถปรีชา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับนายประกันหลังจำเลยถูกพิพากษาโทษ: การสั่งปรับตามสัญญาประกัน
ศาลสั่งปรับนายประกันนายประกันมิได้อุทธรณ์ คงชำระเงินค่าปรับเป็นงวดๆจนครบถ้วนแล้ว ภายหลังตามตัวจำเลยมาส่งศาล จนศาลพิพากษาลงโทษจำเลยไปตามความผิดแล้วนายประกันจึงร้องขอลดค่าปรับที่ศาลสั่งปรับตามสัญญาประกันนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นไม่ควรลดค่าปรับสั่งยกคำร้องก็ถือได้ว่าเป็นการสั่งตามมาตรา 119 นั่นเอง นายประกันย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการริบของกลางคดีพนัน: ข้อจำกัดในการฎีกา
เครื่องมือที่ใช้ในการเล่นการพนันอันขัดต่อบทแห่งพระราชบัญญัติการพนันเป็นเพียงสิ่งที่ศาลจะใช้ดุลพินิจให้ริบก็ได้ ไม่ริบก็ได้ ตามพระราชบัญญัติการพนัน 2478 มาตรา 10 วรรคสองและ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 27(2)
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลพินิจว่าไม่ควรริบ ปัญหาที่ว่าจะควรริบของกลางดังกล่าวหรือไม่ จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีต้องห้ามไม่ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วโจทก์จะฎีกาขอให้ริบไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1227/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลยพินิจศาลในการริบของกลางคดีการพนัน: การพิจารณาตามข้อเท็จจริงและข้อจำกัดในการฎีกา
เครื่องมือที่ใช้ในการเล่นการพนันอันขัดต่อบทแห่ง พ.ร.บ.การพนันเป็นเพียงสิ่งที่ศาลจะใช้ดุลยพินิจให้ริบก็ได้ ไม่ริบก็ได้ ตามพ.ร.บ.การพนัน 2478 มาตรา 10 วรรค 2 และ ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 27 (2)
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลยพินิจว่าไม่ควรริบปัญหาที่ว่าจะควรริบของกลางดังกล่าวหรือไม่ จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีต้องห้ามไม่ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว โจทก์จะฎีกาขอให้ริบไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็คต่อผู้ถือเช็ค เว้นแต่พิสูจน์การโอนโดยฉ้อฉล
ผู้เซ็นสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ถือนั้น ตามกฎหมายต้องรับผิดต่อผู้ถือหรือผู้ทรงเช็คนั้นเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าได้มีการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็คต่อผู้ถือเช็ค เว้นแต่มีเจตนาฉ้อฉล
ผู้เซ็นสั่งจ่ายเช็คให้แก่ผู้ถือนั้น ตามกฎหมายต้องรับผิดต่อผู้ถือหรือผู้ทรงเช็คนั้นเว้นแต่จะพิศูจน์ได้ว่าได้มีการโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้แม้ไม่มีอากรแสตมป์ใช้ได้ หากจำเลยรับสภาพหนี้ และการนำสืบถึงที่มาของหนี้ไม่เป็นการนอกประเด็น
ฟ้องเรียกเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้นั้นจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็ดี แต่เมื่อผู้กู้ให้การรับอยู่ว่าได้ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริง เป็นแต่ต่อสู้ว่าเกิดจากเรื่องซื้อขาย ซึ่งไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นพยานหลักฐานในคดีอย่างไรแล้ว ศาลก็ย่อมพิพากษาให้ผู้กู้ชำระเงินแก่ผู้ให้กู้ตามสัญญานั้นได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ แต่นำสืบว่าเป็นหนี้ค่าซื้อปลา อันเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งสัญญากู้ ดังนี้ หาเป็นการสืบนอกประเด็นไปจากคำฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ - การนำสืบ - ที่มาของสัญญา
ฟ้องเรียกเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้นั้นจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรก็ดี แต่เมื่อผู้กู้ให้การรับอยู่ว่าได้ทำสัญญากู้ให้โจทก์ไว้จริงเป็นแต่ต่อสู้ว่าเกิดจากเรื่องซื้อขายซึ่งไม่จำต้องอาศัยสัญญากู้เป็นพยานหลักฐานในคดีอย่างไรแล้ว ศาลก็ย่อมพิพากษาให้ผู้กู้ชำระเงินแก่ผู้ให้กู้ตามสัญญานั้นได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ แต่นำสืบว่าเป็นหนี้ค่าซื้อปลา อันเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งสัญญากู้ ดังนี้ หาเป็นการสืบนอกประเด็นไปจากคำฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สมัครใจวิวาทไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันนั้น ทางนิตินัยไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษซึ่งกันและกันได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้สมัครใจวิวาทไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา
ผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน นั้นทางนิตินัยไม่ถือว่าเป็นผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษซึ่งกันและกันได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.วิ.อาญามาตรา 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้ำซ้อน ศาลยกฟ้องแล้ว สิทธิฟ้องระงับ
ความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 127,128 อันเป็นความผิดต่อแผ่นดินนั้น ผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดนั้น ก็มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดได้
การกระทำผิดโดยกรรมเดียววาระเดียว แม้จะเป็นการละเมิดกฎหมายหลายบท ก็จะฟ้องผู้กระทำผิดได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วจะยกกฎหมายบทอื่นที่จำเลย ทำละเมิด แต่ไม่ได้ฟ้องไว้ในครั้งก่อนมาฟ้องจำเลยอีกไม่ได้
จำเลยปลอมตนไปกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยแสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิต มาตรวจจับกุมผู้เสียหายหาว่ากระทำผิดแล้วเรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 127,268 ศาลไต่สวนแล้วสั่งว่าคดีมีมูลเฉพาะข้อหาตามมาตรา 268 เท่านั้น จำเลยยอมใช้เงิน ผู้เสียหายจึงถอนฟ้องดังนี้ ย่อมถือว่าความผิดตามมาตรา 127 นั้น ศาลได้ยกฟ้องเสียแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยตามมาตรา 128 ก็ย่อมระงับไปด้วย อัยการจึงจะมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 127 หรือ 128 อีกไม่ได้
of 219