คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นาถปรีชา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,184 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าชอบด้วยกฎหมาย แม้ความเห็นอนุกรรมการฯจะต่างกัน การฟ้องขับไล่เป็นคนละประเด็น
มติของคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าที่ให้ความยินยอมแก่ผู้ให้เช่าเข้าอยู่อาศัยในเคหะที่เช่าเองนั้น แม้ในชั้นแรกคณะอนุกรรมการฯจะมีความเห็นว่าไม่ควรอนุญาตก็ดี แต่เมื่อคณะกรรมการผู้มีอำนาจสูงกว่าได้พิจารณาอนุญาตแล้ว มตินั้นหาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเคหะที่เช่าโดยอ้างว่า ครบกำหนดสัญญาเช่าและบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว แต่ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ โจทก์จึงขอต่อคณะกรรมการฯเข้าอยู่เองเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยอีกโดยอ้างมติอนุญาตของคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าฯ ดังนี้ ย่อมเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน หาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 หรือ 173(1)ไม่
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้วข้าหลวงยุติธรรมก็ยังมีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 230 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติอนุญาตเข้าอยู่อาศัยและการฟ้องขับไล่ซ้ำ: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ามติไม่โมฆะและฟ้องซ้ำไม่ขัดกฎหมาย
มติของคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าที่ให้ความยินยอมแก่ผู้ให้เช่าเข้าอยู่อาศัยในเคหะที่เช่าเองนั้น แม้ในชั้นแรกคณะอนุกรรมการฯจะมีความเห็นว่าไม่ควรอนุญาตก็ดี แต่เมื่อคณะกรรมการผู้มีอำนาจสูงกว่าได้พิจารณาอนุญาตแล้ว มตินั้นหาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเคหะที่เช่าโดยอ้างว่า ครบกำหนดสัญญาเช่าและบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว แต่ศาลพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า จำเลยได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ โจทก์จึงขอต่อคณะกรรมการณข้าอยู่เอง เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว+ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยอีก โดยทางมติอนุญาตของคณะกรรมการควบคุมค่าเช่า ฯ ดังนี้ย่อมเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน หาต้อง+ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 148 หรือ 173 (1) ไม่
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้ว ข้าหลวงยุติธรรมก็ยังมีอำนาจอนุญาตให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 230 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ข้อพิพาทระหว่างยายและย่า ผู้มีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก
ยายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของหลาน มีย่าร้องคัดค้านเข้ามาเป็นกรณีพิพาทระหว่างยายกับย่าว่า ใครจะเป็นผู้สมควรจัดการมรดกของหลานนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาตั้งยายเป็นผู้จัดการคนเดียว แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ตั้งย่าเป็นผู้จัดการร่วมกับยายอีกคนหนึ่งด้วย ดังนี้ ผู้ร้องฎีกาในข้อเท็จจริงขอให้ศาลฎีกาตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการแต่คนเดียว ได้ไม่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกรายเดียว vs. ผู้จัดการมรดกหลายคน
ยายร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของหลาน มีย่าร้องคัดค้านเข้ามา เป็นกรณีพิพาทระหว่างยายกับย่าว่า ใครจะเป็นผู้สมควรจัดการมรดกของหลานนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาตั้งยายเป็นผู้จัดการคนเดียว แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ตั้งย่าเป็นผู้จัดการร่วมกับยายอีกคนหนึ่งด้วย ดังนี้ ผู้ร้องฎีกาในข้อเท็จจริงขอให้ศาลฎีกาตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการแต่คนเดียวได้ ไม่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานพินัยกรรม: การสงเคราะห์ผู้เขียนเป็นพยานลุกนั่งได้ แม้พิมพ์นิ้วมือ
พินัยกรรมทำก่อนใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการทำพินัยกรรม พ.ศ.2475และก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 49 ซึ่งกำหนดให้มีพยานผู้ลุกนั่งอย่างน้อย 3 คน
ในพินัยกรรมมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน อีกคนหนึ่งพิมพ์นิ้วมือแต่ไม่มีพยานรับรอง พยานที่พิมพ์นิ้วมือย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นพยานลุกนั่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 แต่เมื่อปรากฏว่ามีผู้เขียนลงชื่ออีกคนหนึ่งและเป็นผู้เขียนตามคำบอกของผู้ทำพินัยกรรมและรู้เห็นขณะนั้นโดยตลอดเช่นนี้ ย่อมสงเคราะห์ผู้เขียนเป็นพยานผู้ลุกนั่งด้วยอีกคนหนึ่งได้พินัยกรรมจึงมีพยาน 3 คนตามที่กฎหมายกำหนดไว้และย่อมสมบูรณ์
(อ้างฎีกาที่ 208/2487 ที่ 45/2465)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรมตามกฎหมายลักษณะมรดกและการสงเคราะห์ผู้เขียนเป็นพยาน
พินัยกรรม์ทำก่อนใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการทำพินัยกรรม์พ.ศ.2475 และก่อนใช้ ป.ม.กฎหมายแพ่ง ฯ บรรพ 6 ต้องบังคับตาม ก.ม.ลักษณะมรดกบทที่ 49 ซึ่งกำหนดให้มีพยายผู้ลุกนั่งอย่างน้อย 3 คน
ในพินัยกรรม์มีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน อีกคนหนึ่งพิมพ์นิ้วมือ แต่ไม่มีพยานรับรอง พยานที่พิมพ์นิ้วมือย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นพยานลุกนั่งตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 9 แต่เมื่อปรากฎว่ามีผู้เขียนลงชื่ออีกคนหนึ่งและเป็นผู้เขียนตามคำบอกของผู้ทำพินัยกรรม์และรู้เห็นขณะนั้นโดยตลอดเช่นนี้ ย่อมสงเคราะห์ผู้เขียนเป็นพยานผู้ลุกนั่งด้วยอีกคนหนึ่งได้พินัยกรรม์จึงมีพยาน 3 คนตามที่กฎหมายกำหนดไว้และย่อมสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า: ศาลมีอำนาจสั่งสืบพยานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แม้ไม่ยื่นตามกำหนด
ก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานครั้งแรกหนึ่งวัน จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยาน อ้างเหตุที่ไม่ยื่นภายในกำหนดแห่ง ก.ม.ว่าเนื่องจากการติดต่อกับพยานให้ครบตามความจำเป็นเพื่อความยุติธรรมไม่ได้และก็เพิ่งได้ครบ ดังนี้ ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรตาม ก.ม.แล้วก็อาศัยอำนาจตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 87 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้สืบพยานจำเลยตามที่ระบุไว้นั้นได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยที่ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดนั้น ไม่เป็นเหตุอันสมควร จึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยาน ดังนี้ จำเลยย่อมฎีกาว่าข้ออ้างของจำเลยมีเหตุผลอันสมควรตาม ก.ม.ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด: เหตุผลสมควรและความยุติธรรมในการสืบพยาน
ก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานครั้งแรกหนึ่งวัน จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยาน อ้างเหตุที่ไม่ยื่นภายในกำหนดแห่งกฎหมายว่าเนื่องจากการติดต่อกับพยานให้ครบตามความจำเป็นเพื่อความยุติธรรมไม่ได้และก็เพิ่งได้ครบ ดังนี้ ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรตามกฎหมายแล้วก็อาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมให้สืบพยานจำเลยตามที่ระบุไว้นั้นได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยที่ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดนั้น ไม่เป็นเหตุอันสมควร จึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยาน ดังนี้ จำเลยย่อมฎีกาว่าข้ออ้างของจำเลยมีเหตุผลอันสมควรตามกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดเจ็บสาหัสจากการถูกทำร้ายด้วยอาวุธมีคม ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอตึงและพิการถาวร
บาดแผลถูกฟันที่ก้านคอหลังแถบซ้ายลึกตัดเนื้อกล้ามในการเย็บแผลต้องตัดเนื้อกล้ามที่กะรุ่งกะริ่งทิ้งเสียบ้าง เมื่อหายแล้วจึงทำให้กล้ามเนื้อส่วนนี้ตึง จะเอี้ยวคอไปทางซ้ายไม่ได้ต้องหันทั้งตัว ส่วนทางขวาเอี้ยวไปได้นิดหน่อยการเอี้ยวไม่ได้นี้ จะพิการไปตลอดชีวิต ดังนี้ ได้ชื่อว่าบาดเจ็บสาหัสตามมาตรา 256 ข้อ 7
ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 8 เดือน ตาม มาตรา254 ศาลอุทธรณ์แก้เป็นโทษจำคุก 3 ปี ตามมาตรา 256 เป็นแก้มากฎีกาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บาดเจ็บสาหัสจากการถูกฟันคอ ทำให้พิการตลอดชีวิต ถือเป็นความผิดตามมาตรา 256
บาดแผลถูกฟันที่ก้านคอหลังแถบซ้ายลึกตัดเนื้อกล้ามในการเย็บแผลต้องตัดเนื้อกล้ามที่กะรุ่งกะริ่งทิ้งเสียบ้าง เมื่อหายแล้วจึงทำให้กล้ามเนื้อส่วนนี้ดึ จะเอี้ยวคอไปทางซ้ายไม่ได้ต้องหันทั้งตัว ส่วนทางขวาเอี้ยไปได้นิดหน่อย การเอี้ยวไม่ได้นี้ จะพิการไปตลอดชีวิต ดังนี้ ได้ชื่อว่าบาดเจ็บสาหัสตามมาตรา 256 ข้อ 7
ศาลชั้นต้นลงโทษ+ ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุก 3 ปี ตามมาตรา 256 เป็นแก้มาก +ข้อเท็จจริง
of 219