พบผลลัพธ์ทั้งหมด 600 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการแบ่งมรดก: สิทธิทายาทและการคำนวณส่วนแบ่ง
จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ที่ 1 และรับว่าครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วย ดังนี้จำเลยทั้งสองจะยกอายุความตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้
บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605นั้นมุ่งเฉพาะแต่ทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น ล.มีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกคือโจทก์ที่ 2 จ.และ ม.เพียง 3 คน จำเลยทั้งสองเป็นภรรยาและบุตรของ จ.เป็นเพียงผู้สืบสิทธิของ จ.คือรับมรดกในส่วนของ จ.เท่านั้น(จ.ตายหลัง ล.) ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นทายาทอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ล.
ทายาททั้งสามมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากันคือคนละ 144 1/3ตารางวา โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทจำนวน 166 1/2 ตารางวาอันเกินไปจากสิทธิที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับ
บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605นั้นมุ่งเฉพาะแต่ทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น ล.มีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกคือโจทก์ที่ 2 จ.และ ม.เพียง 3 คน จำเลยทั้งสองเป็นภรรยาและบุตรของ จ.เป็นเพียงผู้สืบสิทธิของ จ.คือรับมรดกในส่วนของ จ.เท่านั้น(จ.ตายหลัง ล.) ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นทายาทอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ล.
ทายาททั้งสามมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากันคือคนละ 144 1/3ตารางวา โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทจำนวน 166 1/2 ตารางวาอันเกินไปจากสิทธิที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก, สิทธิทายาท, บันทึกข้อตกลง, การครอบครองแทนทายาท, และการฉ้อฉลทรัพย์มรดก
โจทก์ที่1ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่พิพาทตามบันทึกข้อตกลงแบ่งมรดกแม้จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าทำบันทึกข้อตกลงไปโดยสำคัญผิดและได้บอกล้างแล้วแต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ถือว่าจำเลยทั้งสองสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้วและแม้โจทก์ที่1จะบรรยายฟ้องตอนต้นว่าเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้อื่นก็เป็นเพียงความเข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนไปโจทก์ที่1จึงมีอำนาจฟ้องขอแบ่งที่พิพาทตามบันทึกข้อตกลงแบ่งมรดกได้เมื่อจำเลยทั้งสองรับว่าครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยทั้งสองก็ยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้ บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา1605หมายถึงเฉพาะแต่ทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้นจำเลยทั้งสองเป็นเพียงผู้มีสิทธิของทายาทของเจ้ามรดกจึงไม่ต้องถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีหนี้สินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ไม่ตกตามมาตรา 1754 หากกองมรดกเป็นเจ้าหนี้
อายุความตามมาตรา1754ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกส่วนคดีที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษในมาตรา1754เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ที่จำเลยทั้งสองกู้ยืมผู้ตายไปแม้โจทก์จะฟ้องเมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่เจ้ามรดกตายคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความเพราะคดีนี้ไม่ได้เป็นคดีมรดกหรือเป็นคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างโดยการเฉลี่ยทรัพย์สิน ไม่ถือเป็นการฟ้องคดี ไม่ติดอายุความ 1 ปี
กรมสรรพากรผู้ร้องได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไปยังผู้จัดการมรดกของจำเลยเมื่อวันที่27มกราคม2535ผู้จัดการมรดกของจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้วไม่นำเงินภาษีอากรชำระให้ผู้ร้องผู้ร้องย่อมสามารถใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรมาตรา12ได้ภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่จะใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าวเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างเมื่อวันที่24พฤศจิกายน2535อันเป็นเวลาภายในกำหนดสิบปีที่ผู้ร้องได้ใช้อำนาจตามมาตรา12แห่งประมวลรัษฎากรวิธีการดังกล่าวเป็นกรณีของการบังคับชำระหนี้ซึ่งผู้ร้องอาจบังคับได้ภายในสิบปีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา12วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มิใช่การใช้สิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องคดีจึงไม่อาจอ้างอายุความ1ปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสามมาใช้ได้คดีของผู้ร้องจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 803/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้ภาษีอากรค้างหลังมรณะ: กำหนดเวลา 10 ปีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 มิใช่อายุความฟ้องร้อง
กรมสรรพากรผู้ร้องได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าไปยังผู้จัดการมรดกของจำเลยเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2535 ผู้จัดการมรดกของจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวแล้วไม่นำเงินภาษีอากรชำระให้ผู้ร้อง ผู้ร้องย่อมสามารถใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 ได้ภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันที่จะใช้อำนาจตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2535 อันเป็นเวลาภายในกำหนดสิบปีที่ผู้ร้องได้ใช้อำนาจตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร วิธีการดังกล่าวเป็นกรณีของการบังคับชำระหนี้ซึ่งผู้ร้องอาจบังคับได้ภายในสิบปีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 271 มิใช่การใช้สิทธิเรียกร้องโดยการฟ้องคดี จึงไม่อาจอ้างอายุความ 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม มาใช้ได้ คดีของผู้ร้องจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละมรดก สัญญาแบ่งทรัพย์มรดก และสิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้สละ
จำเลยให้การว่า โจทก์สละมรดกและอ้างสัญญาประนีประนอม-ยอมความ คดีมีประเด็นว่า โจทก์ทำบันทึกสละมรดกให้ผู้จัดการมรดกไว้จริงหรือไม่การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย เพื่อให้เอาไปจำนองแก่ธนาคารเอาเงินมาทำศพบิดา และจำเลยรับจะเลี้ยงมารดาและทำศพมารดาให้ด้วย จึงเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุของการทำเอกสารดังกล่าว และนำสืบถึงความเป็นมาของเอกสาร ย่อมไม่ใช่การนำสืบนอกประเด็นหรือนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
เอกสารมีใจความว่า โจทก์และ ส.ทายาทโดยธรรม ล.ยินยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งสรรที่ดินมรดกแปลงพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้ โดยโจทก์และ ส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้น โจทก์ ส.และ บ.ได้ลงชื่อไว้ต่อหน้าพยาน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่านอกจากที่ดินดังกล่าวแล้วยังมีบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งด้วย เอกสารทั้งสองฉบับกล่าวถึงที่ดินแต่ไม่กล่าวถึงบ้านด้วยจึงเป็นการสละสิทธิบางส่วน ถือว่าเป็นการสละมรดกไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1613 อย่างไรก็ตามข้อความตามเอกสารฉบับนี้เป็นกรณีที่โจทก์และ ส.ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล.แสดงเจตนาสละสิทธิในที่ดินพิพาท เพื่อระงับข้อพิพาทว่าโจทก์และส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านที่ บ.ผู้จัดการมรดกจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้แม้จะทำไว้แก่ บ.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก แต่ บ.ก็เป็นภรรยา ล. จึงมีฐานะเป็นทายาท มีสิทธิได้รับมรดก ล.ด้วย และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท การที่โจทก์ ส.และ บ.ทำเอกสารดังกล่าวไว้นั้นแสดงถึงเจตนาของโจทก์ที่จะไม่รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาทและยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งให้ทายาทคนใดก็ได้ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์ ส.และ บ.ผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อด้วย สัญญาดังกล่าวก็ไม่เสียไปและมีผลผูกพันโจทก์ผู้ต้องรับผิดที่ลงชื่อในสัญญาไว้ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ดังนั้นการที่ บ.ผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่แบ่งให้โจทก์ก็เป็นไปตามเจตนาของโจทก์ตามเอกสารสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงเป็นการโอนโดยชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้า แต่ในส่วนบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งนั้น โจทก์มิได้สละสิทธิด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งให้โจทก์ได้ตามส่วน
หลังจาก ล.เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง บ.เป็นผู้จัดการมรดก ถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1748โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านพิพาทได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เอกสารมีใจความว่า โจทก์และ ส.ทายาทโดยธรรม ล.ยินยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งสรรที่ดินมรดกแปลงพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้ โดยโจทก์และ ส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้น โจทก์ ส.และ บ.ได้ลงชื่อไว้ต่อหน้าพยาน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่านอกจากที่ดินดังกล่าวแล้วยังมีบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งด้วย เอกสารทั้งสองฉบับกล่าวถึงที่ดินแต่ไม่กล่าวถึงบ้านด้วยจึงเป็นการสละสิทธิบางส่วน ถือว่าเป็นการสละมรดกไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1613 อย่างไรก็ตามข้อความตามเอกสารฉบับนี้เป็นกรณีที่โจทก์และ ส.ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล.แสดงเจตนาสละสิทธิในที่ดินพิพาท เพื่อระงับข้อพิพาทว่าโจทก์และส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านที่ บ.ผู้จัดการมรดกจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้แม้จะทำไว้แก่ บ.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก แต่ บ.ก็เป็นภรรยา ล. จึงมีฐานะเป็นทายาท มีสิทธิได้รับมรดก ล.ด้วย และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท การที่โจทก์ ส.และ บ.ทำเอกสารดังกล่าวไว้นั้นแสดงถึงเจตนาของโจทก์ที่จะไม่รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาทและยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งให้ทายาทคนใดก็ได้ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์ ส.และ บ.ผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อด้วย สัญญาดังกล่าวก็ไม่เสียไปและมีผลผูกพันโจทก์ผู้ต้องรับผิดที่ลงชื่อในสัญญาไว้ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ดังนั้นการที่ บ.ผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่แบ่งให้โจทก์ก็เป็นไปตามเจตนาของโจทก์ตามเอกสารสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงเป็นการโอนโดยชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้า แต่ในส่วนบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งนั้น โจทก์มิได้สละสิทธิด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งให้โจทก์ได้ตามส่วน
หลังจาก ล.เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง บ.เป็นผู้จัดการมรดก ถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1748โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านพิพาทได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละมรดกโดยความยินยอมและสัญญาแบ่งทรัพย์สินมรดก: ผลผูกพันและข้อยกเว้น
จำเลยให้การว่าโจทก์สละมรดกและอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความคดีมีประเด็นว่าโจทก์ทำบันทึกสละมรดกให้ผู้จัดการมรดกไว้จริงหรือไม่การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้เอาไปจำนองแก่ธนาคารเอาเงินมาทำศพบิดาและจำเลยรับจะเลี้ยงมารดาและทำศพมารดาให้ด้วยจึงเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุของการทำเอกสารดังกล่าวและนำสืบถึงความเป็นมาของเอกสารย่อมไม่ใช่การนำสืบนอกประเด็นหรือนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร เอกสารมีใจความว่าโจทก์และส. ทายาทโดยธรรมล.ยินยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งสรรที่ดินมรดกแปลงพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้โดยโจทก์และส. ไม่ขอรับและไม่คัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้นโจทก์ส. และบ. ได้ลงชื่อไว้ต่อหน้าพยานดังนี้เมื่อปรากฏว่านอกจากที่ดินดังกล่าวแล้วยังมีบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งด้วยเอกสารทั้งสองฉบับกล่าวถึงที่ดินแต่ไม่กล่าวถึงบ้านด้วยจึงเป็นการสละสิทธิบางส่วนถือว่าเป็นการสละมรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1613อย่างไรก็ตามข้อความตามเอกสารฉบับนี้เป็นกรณีที่โจทก์และส. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของล. แสดงเจตนาสละสิทธิในที่ดินพิพาทเพื่อระงับข้อพิพาทว่าโจทก์และส. ไม่ขอรับและไม่คัดค้านที่บ. ผู้จัดการมรดกจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้แม้จะทำไว้แก่บ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกแต่บ. ก็เป็นภรรยาล. จึงมีฐานะเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกล.ด้วยและส. ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทการที่โจทก์ส. และบ.ทำเอกสารดังกล่าวไว้นั้นแสดงถึงเจตนาของโจทก์ที่จะไม่รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาทและยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งให้ทายาทคนใดก็ได้จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์ส. และบ. ผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อด้วยสัญญาดังกล่าวก็ไม่เสียไปและมีผลผูกพันโจทก์ผู้ต้องรับผิดที่ลงชื่อในสัญญาไว้ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวดังนั้นการที่บ. ผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่แบ่งให้โจทก์ก็เป็นไปตามเจตนาของโจทก์ตามเอกสารสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าวจึงเป็นการโอนโดยชอบแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าแต่ในส่วนบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งนั้นโจทก์มิได้สละสิทธิด้วยโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งให้โจทก์ได้ตามส่วน หลังจากล. เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งบ. เป็นผู้จัดการมรดกถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1748โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านพิพาทได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754แล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดก ไม่ตัดสิทธิทายาทอื่นในการฟ้องแบ่งมรดก
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ1ใน5ส่วนโดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน78,000บาทจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยจำเลยจึงยกอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด1ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะทายาท/ผู้จัดการมรดก ไม่ตัดสิทธิทายาทในการฟ้องแบ่งมรดก
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ1ใน5ส่วนโดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน78,000บาทจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยจำเลยจึงยกอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด1ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งมรดกที่ดิน: ทายาทมีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยครอบครองแต่เพียงผู้เดียว
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า ที่ดินมือเปล่าเนื้อที่ 13 ไร่ เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ให้จำเลยแบ่งที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งสามคนละ 1 ใน 5 ส่วน คิดเป็นที่ดินรวมกัน 7 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ซึ่งโจทก์ตีราคาเป็นเงิน 78,000 บาทจำเลยอุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาททั้งสามส่วนเป็นของจำเลย ขอให้ยกฟ้อง เท่ากับโต้เถียงว่าที่ดินพิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลย มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ 78,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามและจำเลยซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ผู้ตายถึงแก่ความตายแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทก็ดี และในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจะยกอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ทั้งสามย่อมฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลยได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่)
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งสามและจำเลยซึ่งเป็นทายาทจึงมีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาท แม้จะฟังว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ผู้ตายถึงแก่ความตายแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาลการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทก็ดี และในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจะยกอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ โจทก์ทั้งสามย่อมฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลยได้