พบผลลัพธ์ทั้งหมด 600 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทและผู้จัดการมรดก ไม่ทำให้เกิดอายุความ
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ 1 ใน 5 ส่วน โดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน 78,000 บาท จำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลย มิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ 78,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วย จำเลยจึงยกอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด 1 ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้ทำกินร่วมก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม ทำให้สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกของทายาทอื่นขาดอายุความ
จำเลยทั้งสองทำกินในทรัพย์มรดกร่วมกับเจ้ามรดกและมารดาจำเลยทั้งสองก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม 10 ปีเศษ เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก็ยังครอบครองทรัพย์มรดกนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเกิน 10 ปีแล้ว โดยโจทก์และผู้ร้องสอดไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่แรก ฉะนั้นสิทธิของโจทก์และผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองแบ่งมรดกซึ่งเป็นคดีมรดกจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคท้าย สิทธิในทรัพย์มรดกดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลยทั้งสองโดยสมบูรณ์ การที่จำเลยที่ 1 ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในเวลาต่อมาก็เพื่อจะดำเนินการให้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในทรัพย์มรดกเท่านั้น หาใช่เพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่น ๆ ซึ่งสิ้นสิทธิในการฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไปโดยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1754 แล้วไม่
กรณีดังกล่าวมิใช่กรณีจำเลยที่ 1 สละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิม หรือ 193/24 ใหม่ ฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแทนหรือเพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นทั้งปวงของเจ้ามรดก โจทก์และผู้ร้องจะยกเอาประโยชน์แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1748 มาอ้างสิทธิเพื่อเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยกอายุความใช้ยันโจทก์และผู้ร้องสอดได้
กรณีดังกล่าวมิใช่กรณีจำเลยที่ 1 สละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 192 เดิม หรือ 193/24 ใหม่ ฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแทนหรือเพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นทั้งปวงของเจ้ามรดก โจทก์และผู้ร้องจะยกเอาประโยชน์แห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1748 มาอ้างสิทธิเพื่อเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1754 แล้วหาได้ไม่ จำเลยจึงยกอายุความใช้ยันโจทก์และผู้ร้องสอดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6460/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกเกิน 10 ปี ยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียน อายุความย่อมตัดสิทธิทายาทอื่น
จำเลยทั้งสองทำกินในทรัพย์มรดกร่วมกับเจ้ามรดกและมารดาจำเลยทั้งสามก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม10ปีเศษเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก็ยังครอบครองทรัพย์มรดกนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเกิน10ปีแล้วโดยโจทก์และผู้ร้องสอดไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่แรกฉะนั้นสิทธิของโจทก์และผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสองแบ่งมรดกซึ่งเป็นคดีจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคท้ายสิทธิในทรัพย์มรดกดังกล่าวย่อมตกแก่จำเลยทั้งสองโดยสมบูรณ์การที่จำเลยที่1ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในเวลาต่อมาก็เพื่อจะดำเนินการให้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในทรัพย์มรดกเท่านั้นหาใช้เพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นๆซึ่งสิ้นสิทธิในการฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกไปโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754แล้วไม่ กรณีดังกล่าวมิใช่กรณีจำเลยที่1สละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา192เดิมหรือ193/24ใหม่ฉะนั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกแทนหรือเพื่อประโยชน์แก่ทายาทอื่นทั้งปวงของเจ้ามรดกโจทก์และผู้ร้องจะยกเอาประโยชน์แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1748มาอ้างสิทธิเพื่อเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา1754แล้วหาได้ไม่จำเลยจึงยกอายุความใช้ยันโจทก์และผู้ร้องสอดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันเมื่อชำระหนี้แทนลูกหนี้ และอายุความในการรับช่วงสิทธิ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 696 วรรคหนึ่งผู้ค้ำประกันจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ก็ต่อเมื่อได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปโดยมิได้บอกลูกหนี้และลูกหนี้ได้ชำระหนี้ซ้ำอีกเพียงกรณีเดียวเท่านั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ป. ชำระหนี้จำนวน 390,000 บาท ให้แก่บริษัท ธ. เจ้าหนี้ของ ป. ไปแล้ว คงเหลือยังไม่ได้ชำระอยู่อีกจำนวน 43,441.43 บาท หนี้จำนวนที่ยังไม่ได้ชำระนี้ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ป. ซึ่งถึงแก่กรรมในเวลาต่อมาถูกฟ้องและได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ให้แก่ บริษัท ธ. โดยไม่ได้ซ้ำกับยอดหนี้ส่วนที่โจทก์ได้ชำระแทนไปแล้ว ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้บอกแก่จำเลยว่าโจทก์ ได้ชำระหนี้แทน ป. ให้จำเลยทราบก็ตามก็ชอบที่จะรับช่วงสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเงินจำนวน 390,000 บาทเอาแก่จำเลยได้ สิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทของป. เกิดจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้เงินกู้ที่ ป.เจ้ามรดกมีอยู่ต่อบริษัท ธ. ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิที่ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์เพิ่งมีขึ้นในวันที่โจทก์ได้ชำระหนี้ไปอันเป็นเวลาหลังจากที่เจ้ามรดกตาย เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเรื่องอายุความแห่งการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คืออายุความสิบปี จะนำอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งเป็นอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดก มาใช้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกโดยความยินยอมและการขาดอายุความฟ้องร้องสิทธิในที่ดินมรดก
แม้ข้อตกลงที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินมิใช่การสละมรดกเพราะไม่ได้แสดงเจตนาเป็นหนังสือมอบให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612แต่เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ตามบันทึกถ้อยคำที่ทำขึ้นเมื่อจำเลยไปขอโอนมรดกโดยให้จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินเพียงผู้เดียวถือว่าโจทก์สละสิทธิครอบครองให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงรับเอาแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินนั้นอีก โจทก์เพียงแต่เก็บผลไม้ในที่ดินมรดกโดยจำเลยซึ่งครอบครองและทำประโยชน์อยู่มิได้หวงห้ามยังไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ครอบครองที่ดินร่วมด้วยฉะนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิครอบครองที่ดินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เลขที่ 1016 เพราะจำเลยเป็นผู้ออกเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินจากธนาคาร แม้ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่เป็นเรื่องการสละมรดก เพราะการสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือต้องทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ก็ตามเมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ตามบันทึกถ้อยคำให้จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่เพียงผู้เดียว ถือได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิครอบครองในที่ดินให้แก่จำเลยและจำเลยตกลงรับเอาแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่ดินในฐานะที่เป็นทรัพย์มรดกอีก
ข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์เก็บมะขามและน้อยหน่าในที่ดิน การที่จำเลยมิได้หวงห้ามยังไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินร่วมด้วย ที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามรดกยกที่ดินให้จำเลยแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยครอบครองที่ดินเพื่อตนเอง หาใช่ครอบครองแทนโจทก์ไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์สำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 900 และ 1246 จึงขาดอายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
ข้อเท็จจริงได้ความแต่เพียงว่า โจทก์เก็บมะขามและน้อยหน่าในที่ดิน การที่จำเลยมิได้หวงห้ามยังไม่อาจถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินร่วมด้วย ที่จำเลยอ้างว่าเจ้ามรดกยกที่ดินให้จำเลยแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยครอบครองที่ดินเพื่อตนเอง หาใช่ครอบครองแทนโจทก์ไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์สำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 900 และ 1246 จึงขาดอายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ, การกระทำโดยประมาทเลินเล่อ, การตรวจรับงาน, ความรับผิดทางละเมิด
โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สินหนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯเป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดพ.ศ.2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัดถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่4และที่5ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754 ตามระเบียบของทางราชการคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งหากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น1ปีหลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงานณสถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้องสมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดของเจ้าหน้าที่ตรวจรับงาน การจ่ายเงินค่าจ้างโดยไม่ได้รับมอบงานครบถ้วน และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สิน หนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯ เป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัด ถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ตามระเบียบของทางราชการ คณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง หากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น 1 ปี หลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงาน ณ สถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้อง สมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้าง ทำให้โจทก์เสียหาย ไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา แต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดต่อหน้าที่กรรมการตรวจรับงาน การจ่ายเงินค่าจ้างโดยไม่ได้รับมอบงานครบถ้วน ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สินหนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯเป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดพ.ศ.2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัดถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่4และที่5ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754 ตามระเบียบของทางราชการคณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งหากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น1ปีหลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่งคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่1ถึงที่3ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงานณสถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้องสมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อนการกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งมรดกของผู้จัดการมรดก: การจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุดทำให้ฟ้องได้เสมอ
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนโจทก์และทายาทอื่นยังจัดการมรดกยังไม่เสร็จจำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้