พบผลลัพธ์ทั้งหมด 600 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของท.โจทก์กับม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมาแต่ให้ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม" โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 วรรคท้าย ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมาโดยท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับท.ด้วยเมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของท.บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของท.เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับท.และม.ด้วย นอกจากนั้นหลังจากท.ตามไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาทและโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพท.การที่ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือม.คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม.การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของท.และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้บังคับไม่ได้ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้อง มีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตามแต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถ.ได้บันทึกรับรองว่าคดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้วเมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่าถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มาศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: การครอบครองทำกินร่วมกัน และการแบ่งมรดกหลังการเสียชีวิต
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของ ท. โจทก์กับ ม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และ ม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมา แต่ให้ ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม..." โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 วรรคท้าย
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดก: การฟ้องบังคับจดทะเบียนและขับไล่ ไม่ใช่ประเด็นต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และไม่ขาดอายุความ
คดีก่อนกับคดีนี้ แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกัน แต่ในคดีก่อนประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนที่โจทก์ฟ้องได้หรือไม่ คงวินิจฉัยไว้แต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทในคดีก่อนเพียงใด เท่าใด ดังนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นที่ดินพิพาท กับขอให้ขับไล่จำเลยที่ 7 และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วอันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดก แต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดก แต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว ซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดก: ฟ้องแบ่งมรดกไม่ขาดอายุความ หากอ้างกรรมสิทธิ์จากการครอบครอง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้แบ่งที่ดินมรดกโฉนดที่1969แก่โจทก์จำนวน23ไร่เศษศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องเกิน1ปีจึงขาดอายุความมรดกแต่โจทก์คงได้เท่าที่โจทก์ครอบครองอยู่6ไร่เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินเพียงใดโจทก์ขอให้ศาลออกคำบังคับให้จำเลยแบ่งที่ดิน6ไร่ให้โจทก์แต่ศาลยกคำร้องเพราะไม่อาจออกคำบังคับได้โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ขอให้จำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่1969เป็นเนื้อที่6ไร่อันมีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งที่ดิน6ไร่ได้หรือไม่ซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วไม่เป็นฟ้องซ้ำตามป.วิ.พ.มาตรา148 หลังจากเจ้ามรดกตายมีการแบ่งปันมรดกโดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดทั้งนี้โจทก์เข้าครอบครองที่ดิน6ไร่ของที่ดินโฉนดที่1969โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ร่วมในโฉนดดังกล่าวได้และมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ ทรัพยสินมรดก และการฟ้องขับไล่ การฟ้องบังคับให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
คดีก่อนกับคดีนี้แม้จะเป็นคู่ความรายเดียวกันแต่ในคดีก่อนประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทหรือไม่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินบางส่วนที่โจทก์ฟ้องได้หรือไม่คงวินิจฉัยไว้แต่เพียงว่าโจทก์มีสิทธิได้ที่ดินพิพาทในคดีก่อนเพียงใดเท่าใดดังนั้นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินอันเป็นที่ดินพิพาทกับขอให้ขับไล่จำเลยที่7และบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้วอันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148 ที่ดินพิพาทแม้จะเป็นทรัพย์มรดกแต่ก็เป็นทรัพย์มรดกที่โจทก์ผู้เป็นทายาทได้มาโดยการเข้าครอบครองเป็นสัดส่วนแล้วซึ่งเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750วรรคหนึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดกโดยทายาทโดยไม่ปรากฏทายาทอื่น ทายาทที่มาภายหลังพ้นกำหนดอ้างสิทธิ
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดก และไม่ปรากฏว่ามีทายาทคนใดแสดงตนเข้าครอบครองโดยให้โจทก์ที่ 2 ครอบครองแทน จึงถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 ครอบครองเพื่อตน ช่วงที่โจทก์ที่ 2 ครอบครองไม่มีทายาทมาแสดงสิทธิขอรับมรดกตามสิทธิเลย จำเลยทั้งห้าเพิ่งยื่นคำร้องขอรับมรดกหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมไปแล้วเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี จำเลยทั้งห้าย่อมสิ้นสิทธิเรียกร้องเอามรดกจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา1754 วรรคสี่ โจทก์ที่ 2 จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาทแต่เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ครอบครองทรัพย์สินก่อนทายาทอื่นยื่นคำร้องรับมรดกเกิน 10 ปี
เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทุกคนโจทก์ที่2ซึ่งเป็นทายาทเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกและไม่ปรากฏว่ามีทายาทคนใดแสดงตนเข้าครอบครองโดยให้โจทก์ที่2ครอบครองแทนจึงถือได้ว่าโจทก์ที่2ครอบครองเพื่อตนจำเลยทั้งห้าเพิ่งยื่นคำร้องขอรับมรดกหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปแล้วเป็นเวลาเกินกว่า10ปีย่อมสิ้นสิทธิเรียกร้องเอาที่พิพาทจากโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองทรัพย์มรดก: การครอบครองเพื่อตนและการสิ้นสิทธิเรียกร้องมรดกเมื่อล่าช้า
โจทก์ที่2เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกและไม่ปรากฏว่ามีทายาทคนใดแสดงตนเข้าครอบครองโดยให้โจทก์ที่2ครอบครองแทนจึงถือได้ว่าโจทก์ที่2ครอบครองเพื่อตนช่วงที่โจทก์ที่2ครอบครองไม่มีทายาทมาแสดงสิทธิขอรับมรดกตามสิทธิเลยจำเลยทั้งห้าเพิ่งยื่นคำร้องขอรับมรดกหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมไปแล้วเป็นเวลาเกินกว่า10ปีจำเลยทั้งห้าย่อมสิ้นสิทธิเรียกร้องเอามรดกจากโจทก์ที่2ซึ่งเป็นทายาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสี่โจทก์ที่2จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาทแต่เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกเป็นโมฆะ ผู้รับซื้อฝากไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการฟ้องบุพการีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ปัญหาเรื่องโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกเรื่องห้ามฟ้องจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ห. ย่อมเป็นตัวแทนของบรรดาทายาทในการจัดการมรดก มีหน้าที่ต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมและจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากพินัยกรรม และเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกแต่กลับโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัว จึงเป็นการทำนิติกรรมให้ตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกอันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722การโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นกองมรดกของ ห.อยู่ตามเดิม ส่วนบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินย่อมตกได้แก่โจทก์ทั้งสาม ไม่ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินพิพาทพร้อมบ้านไว้จากจำเลยที่ 1ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามนิติกรรมขายฝาก ทั้งเป็นการกระทำที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทพร้อมบ้านคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ เพราะเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และจะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4811/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีครอบครองที่ดิน: ไม่เป็นคดีมรดกหรือเจ้าหนี้บังคับตามสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาตั้งแต่ปี 2503 สามีจำเลยไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) สำหรับที่ดินพิพาทในชื่อของสามีจำเลยในปี 2515ขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทต่อไป และขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท ดังนี้ แม้โจทก์ฟ้องจำเลยหลังจากสามีจำเลยตายเกิน 1 ปี ฟ้องของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะไม่เป็นคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก จะนำอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้ไม่ได้