คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1754

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 600 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ทรัพย์คืนจากผู้รับซื้อฝาก: ประเด็นอายุความและสิทธิของผู้รับมรดก
ข้อที่จำเลยฎีกาว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย จำเลยซื้อจากนายกองบิดาโจทก์ส่วนที่ซึ่งนายกองบิดาโจทก์ขายฝากจำเลยเป็นที่คนละแปลงนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับการไถ่โอนที่ดินคืนให้แก่โจทก์ จำเลยต่อสู้ว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ที่ขายฝาก จึงเป็นคดีที่มีคำขออันคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่นายกองขายฝากอยู่ตรงไหน พร้อมทั้งได้แสดงแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง และมีสำเนาทะเบียนบุริมสิทธิฯลฯ แนบมาท้ายฟ้องด้วย เห็นว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
อายุความตามมาตรา 1754 เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก ส่วนคดีที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษในมาตรา 1754 แต่อย่างใด เมื่อเป็นคดีที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของนายกองผู้ขายเดิมฟ้องขอไถ่ทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากตามมาตรา 497(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยหลังจากนายกองผู้ขายเดิมตายเกิน 1 ปีคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะคดีนี้ไม่เป็นคดีมรดกหรือเป็นคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก จะนำมาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
ข้อที่ว่าสิทธิในการไถ่ทรัพย์ตามมาตรา 497 พึงใช้ได้แก่บุคคลซึ่งในสัญญายอมไว้โดยเฉพาะให้เป็นผู้ไถ่ถอนได้ เมื่อนายกองผู้ขายเดิมไม่ได้ทำสัญญายอมให้โจทก์เป็นคนไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะไถ่ทรัพย์นั้น เป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามมาตรา 249 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเอกสารพยานทางคำร้องสอด และอายุความในการเรียกร้องตามพินัยกรรม
ขณะที่ยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมนั้น จำเลยร่วมได้แนบสำเนาเอกสารมาพร้อมกับคำร้อง เมื่ออ้างเอกสารนั้นเป็นพยาน จำเลยร่วมจึงไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้โจทก์อีก
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยซึ่งปกครองร่วมกันมาจำเลยร่วมซึ่งปกครองทรัพย์นั้นอยู่ด้วยได้ยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมหลังจากที่โจทก์ฟ้องประมาณ 3 เดือนเพื่อสู้คดีมิให้โจทก์ขอแบ่งทรัพย์สิน มิใช่เรียกร้องเอาทรัพย์มรดกโจทก์จะยกอายุความขึ้นอ้างว่าคดีของจำเลยร่วมขาดอายุความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งเอกสารประกอบคำร้องสอด และอายุความในการเรียกร้องตามพินัยกรรม การครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
ขณะที่ยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมนั้น จำเลยร่วมได้แนบสำเนาเอกสารมาพร้อมกับคำร้อง เมื่ออ้างเอกสารนั้นเป็นพยานจำเลยร่วมจึงไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้โจทก์อีก
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยซึ่งปกครองร่วมกันมา จำเลยร่วมซึ่งปกครองทรัพย์นั้นอยู่ด้วยได้ยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมหลังจากที่โจทก์ฟ้องประมาณ 3 เดือน เพื่อสู้คดีมิให้โจทก์ขอแบ่งทรัพย์สิน มิใช่เรียกร้องเอาทรัพย์มรดก โจทก์จะยกอายุความขึ้นอ้างว่าคดีของจำเลยร่วมขาดอายุความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกหน้าที่แบ่งมรดก & ทายาทฟ้องร้องได้ แม้ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์แทน
ผู้จัดการมรดก มิใช่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ1720 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ทำตามคำสั่งแห่งพินัยกรรมจัดการมรดกทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทอีกด้วย ผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง ทายาทไม่จำต้องครอบครองมรดกเพราะผู้จัดการมรดกครอบครองแทนอยู่แล้วผู้จัดการมรดกจะอ้างอายุความใดๆ มาตัดฟ้องมิให้ทายาทฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งตนครอบครองแทนไว้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกเป็นตัวแทนทายาท, อายุความมิอาจอ้างตัดสิทธิการแบ่งมรดก
ผู้จัดการมรดก มิใช่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1720 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ทำตามคำสั่งแห่งพินัยกรรมจัดการมรดกทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทอีกด้วย ผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง ทายาทไม่จำต้องครอบครองมรดก เพราะผู้จัดการมรดกครอบครองแทนอยู่แล้ว ผู้จัดการมรดกจะอ้างอายุความใด ๆ มาตัดฟ้องมิให้ทายาทฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งตนครอบครองแทนไว้หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีทรัพย์มรดก: การครอบครองแทนโจทก์ของผู้เยาว์และการไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
คำบรรยายฟ้องที่พอฟังได้ ว่าจำเลยได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ตลอดมาถึงวันฟ้อง
การที่จำเลยได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตลอดมาตั้งแต่เจ้ามรดกตาย แม้ต่อมาโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยก็ยังคงครอบครองแทนต่อมาอีก โจทก์ย่อมฟ้องคดีเกิน 10 ปีนับตั้งแต่เจ้ามรดกตายได้ คดีไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748
การที่จำเลยบอกโจทก์ว่าจะไม่ให้ทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกให้นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยพูดไปด้วยความโมโห ไม่มีเจตนาจริงจังก็ไม่ถือว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1381 กรณีไม่ใช่โจทก์ถูกจำเลยแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความครอบครองแทน & การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือทรัพย์มรดก
คำบรรยายฟ้องที่พอฟังได้ว่าจำเลยได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ตลอดมาถึงวันฟ้อง
การที่จำเลยได้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตลอดมาตั้งแต่เจ้ามรดกตาย แม้ต่อมาโจทก์บรรลุนิติภาวะแล้ว จำเลยก็ยังคงครอบครองแทนต่อมาอีก โจทก์ย่อมฟ้องคดีเกิน 10 ปีนับตั้งแต่เจ้ามรดกตายได้ คดีไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748
การที่จำเลยบอกโจทก์ว่าจะไม่ให้ทรัพย์มรดกที่เจ้ามรดกให้นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยพูดไปด้วยความโมโห ไม่มีเจตนาจริงจังก็ไม่ถือว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 กรณีไม่ใช่โจทก์ถูกจำเลยแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่ต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินมรดก การแบ่งสินสมรส และอายุความคดีครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของ ด. ด. ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ผู้เป็นภริยาและบุตรของ ด.ขอให้แบ่งตามส่วน จำเลยให้การต่อสู้ว่ายายจำเลยยกที่พิพาทให้ด. ต่อมาด.ยกให้จำเลย (ผู้เป็นบุตรของ ด.เกิดแต่ภรรยาอีกคนหนึ่ง) ตั้งแต่ด.ยังมีชีวิตอยู่ ศาลกะประเด็นนำสืบว่า ที่พิพาทนี้ ด. ได้ยกให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่จริงหรือไม่ ดังนี้ ศาลก็ชอบที่จะสืบพยานตามประเด็นข้อพิพาท และพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปตามนั้น ที่จะไปฟังตามคำพยานจำเลยว่ายายจำเลยมิได้เจตนายกที่ให้ด. ด. ปกครองที่พิพาทโดยมิได้เจตนาปกครองเป็นเจ้าของ แต่เป็นการปกครองแทนจำเลยนั้น ย่อมเป็นการขัดแย้งกับคำของจำเลย และเป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์เป็นภริยาของผู้ตายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 กับมีสิทธิได้ส่วนแบ่งจากส่วนที่เป็นมรดกของผู้ตายด้วย รวมเป็นเนื้อที่ 13 ไร่เศษ แต่โจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทมาเพียง11 ไร่ นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครอง ที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเกินกว่า 1 ปี ที่มรดกนอกจากที่โจทก์ได้ครอบครองมาย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและสินสมรสหลังการเสียชีวิตของสามี โดยมีประเด็นเรื่องการครอบครองและการต่อสู้เรื่องการยกทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่า ที่พิพาทเป็นของ ค. ค.ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่ โจทก์ผู้เป็นภริยาและบุตรของ ค. ขอให้แบ่งตามส่วน จำเลยให้การต่อสู้ว่ายายจำเลยยกที่พิพาทให้ ค. ต่อมา ค. ยกให้จำเลย (ผู้เป็นบุตรของ ค. เกิดแต่ภรรยาอีกคนหนึ่ง) ตั้งแต่ ค. ยังมีชีวิตอยู่ ศาลกะประเด็นนำสืบว่า ที่พิพาทนี้ ค. ได้ยกให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่จริงหรือไม่ ดังนี้ ศาลก็ชอบที่จะสืบพยานตามประเด็นข้อพิพาท และพิจารณาชี้ขาดตัดสินไปตามนั้น ที่จะไปฟังตามคำพยานจำเลยว่ายายจำเลยมิได้เจตนายกที่ให้ ค. ค.ปกครองที่พิพาทโดยมิได้เจตนาหกครองเป็นเจ้าของ แต่เป็นการปกครองแทนจำเลยนั้น ย่อมเป็นการขัดแย้งกับคำของจำเลย และเป็นเรื่องนอกประเด็น
โจทก์เป็นภริยาของผู้ตายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 กับมีสิทธิได้ส่วนแบ่งจากส่วนที่เป้นมรดกของผู้ตายด้วย รวมเป็นเนื้อที่ 13 ไร่เศษ แต่โจทก์ได้ใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทมาเพียง 11 ไร่ นอกนั้นจำเลยเป็นฝ่ายครอบครอง ที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเกินกว่า 1 ปี ที่มรดกนอกจากที่โจทก์ได้ครอบครองมาย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำเกี่ยวกับการแบ่งมรดก: แม้เปลี่ยนรูปคดี ก็ยังถือเป็นฟ้องซ้ำหากประเด็นข้อพิพาทเหมือนเดิม
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ขอแบ่งมรดกผู้ตาย ศาลพิพากษาให้แบ่ง คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลงขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมดก็ตามแต่จำเลยก็ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายซึ่งจำเลยมีสิทธิรับมรดำด้วย และทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ที่พิพาทครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อพิจารณาคำฟ้อง คำให้การและข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องพิจารราเกี่ยวกับการแบ่งมรดกนั่นเอง ถือได้ว่ามีประเด็นอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับมรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คดีมรดกซึ่งเป็นเรื่องพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์โดยตรง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เมื่อคดีระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ก็ไม่มีทางจะขอแบ่งมรดกจากจำเลยที่ 1 ได้.
of 60