พบผลลัพธ์ทั้งหมด 600 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำเกี่ยวกับการแบ่งมรดก: แม้ฟ้องจำเลยเพิ่ม สิทธิเดิมเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ขอแบ่งมรดกผู้ตาย ศาลพิพากษาให้แบ่ง คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลง ขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมดก็ตามแต่จำเลยก็ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายซึ่งจำเลยมีสิทธิรับมรดกด้วยและทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ที่พิพาทครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อพิจารณาคำฟ้อง คำให้การและข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการแบ่งมรดกนั่นเอง ถือได้ว่ามีประเด็นอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับมรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คดีมรดกซึ่งเป็นเรื่องพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์โดยตรง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เมื่อคดีระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ก็ไม่มีทางจะขอแบ่งมรดกจากจำเลยที่ 1 ได้
คดีมรดกซึ่งเป็นเรื่องพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์โดยตรง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เมื่อคดีระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ก็ไม่มีทางจะขอแบ่งมรดกจากจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การครอบครองปรปักษ์ และการอ้างสิทธิมรดก
ที่ว่า 'สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือท่านว่าเป็นโมฆะ' นั้นหมายถึงว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องทำหนังสือสัญญานั้นขึ้นด้วยกันจึงจะผูกพันกันสัญญาเช่าซื้อที่มีแต่ผู้เช่าซื้อลงชื่อเพียงฝ่ายเดียวจึงไม่ผูกพันเจ้าของทรัพย์ที่ถูกอ้างว่าให้เช่าซื้อ
เมื่อฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอยู่ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ และผู้รับมรดกจากทายาทย่อมอ้างสิทธิของทายาทผู้ครอบครองทรัพย์นั้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้ฟ้องเรียกมรดกได้เช่นเดียวกัน
เมื่อฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอยู่ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ และผู้รับมรดกจากทายาทย่อมอ้างสิทธิของทายาทผู้ครอบครองทรัพย์นั้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้ฟ้องเรียกมรดกได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือชัดเจน และผลของการครอบครองทำประโยชน์เกิน 10 ปี ต่อการรับมรดก
ที่ว่า "สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือท่านว่าเป็นโมฆะ" นั้น หมายถึงว่า คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องทำหนังสือสัญญานั้นขึ้นด้วย จึงจะผูกพันกันสัญญาเช่าซื้อที่มีแต่ผู้เช่าซื้อลงชื่อเพียงฝ่ายเดียวจึงไม่ผูกพันเจ้าของทรัพย์ที่ถูกอ้างว่าให้เช่าซื้อ
เมื่อฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอยู่ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ และผู้รับมรดกจากทายาทย่อมอ้างสิทธิของทายาทผู้ครอบครองทรัพย์นั้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้ฟ้องเรียกมรดกได้เช่นเดียวกัน
เมื่อฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเกินกว่า 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอยู่ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ และผู้รับมรดกจากทายาทย่อมอ้างสิทธิของทายาทผู้ครอบครองทรัพย์นั้นเป็นข้อต่อสู้ทายาทผู้ฟ้องเรียกมรดกได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนบุตรยังเยาว์และการขาดอายุความในการเรียกร้องสิทธิในมรดก
มารดาครอบครองที่มรดกที่ไว้แทนบุตรตั้งแต่ยังเยาว์จนกระทั่งมารดาตายก็ไม่ปรากฏว่ามารดาได้แสดงว่าไม่เจตนายึดถือครอบครองที่มรดกนั้นแทนบุตร ดังนี้ แม้จะเป็นเวลาช้านานเท่าใดก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 และมารดาไม่มีสิทธิจะนำเอาทรัพย์สินส่วนของบุตรไปทำพินัยกรรมยกให้แก่คนอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดกแทนบุตรยังเยาว์ไม่ขาดอายุความ และสิทธิในทรัพย์สินมรดก
มารดาครอบครองที่มรดกไว้แทนบุตรตั้งแต่ยังเยาว์จนกระทั่งมารดาตายก็ไม่ปรากฏว่ามารดาได้แสดงว่าไม่เจตนายึดถือครอบครองที่มรดกนั้นแทนบุตรดังนี้ แม้จะเป็นเวลาช้านานเท่าใดก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 และมารดาไม่มีสิทธิจะนำเอาทรัพย์สินส่วนของบุตรไปทำพินัยกรรมยกให้แก่คนอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดกเป็นเจ้าของร่วม ยุติอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ไม่ใช้บังคับ
เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกได้ครอบครองมรดกร่วมกัน แม้เพียง 1 เดือนก็ถือได้ว่าได้ร่วมกันรับมรดกดังกล่าวและเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกร่วมกันแล้ว เมื่อทายาทฝ่ายหนึ่งมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวนั้น จึงเป็นการฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ซึ่งทายาทฝ่ายนั้นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย จะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา ต่อมาโจทก์โกรธจำเลยจึงแยกไปอยู่เสียที่อื่น จำเลยจึงครอบครอบทรัพย์มรดกนั้นแต่ผู้เดียวต้องถือว่าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมกันและแทนกัน มิใช่เป็นการเข้าแย่งการครองครองดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375
โจทก์จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา ต่อมาโจทก์โกรธจำเลยจึงแยกไปอยู่เสียที่อื่น จำเลยจึงครอบครอบทรัพย์มรดกนั้นแต่ผู้เดียวต้องถือว่าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมกันและแทนกัน มิใช่เป็นการเข้าแย่งการครองครองดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันไม่ทำให้เกิดอายุความ ย่อมฟ้องแบ่งได้แม้ครอบครองคนเดียว
เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกได้ครอบครองมรดกร่วมกัน แม้เพียง 1 เดือนก็ถือได้ว่าได้ร่วมกันรับมรดกดังกล่าวและเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกร่วมกันแล้ว เมื่อทายาทฝ่ายหนึ่งมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวนั้น จึงเป็นการฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ซึ่งทายาทฝ่ายนั้นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยจะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันต่อมาโจทก์โกรธจำเลยจึงแยกไปอยู่เสียที่อื่นจำเลยจึงครอบครองทรัพย์มรดกนั้นแต่ผู้เดียวต้องถือว่าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมกันและแทนกันมิใช่เป็นการเข้าแย่งการครอบครองดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
โจทก์จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันต่อมาโจทก์โกรธจำเลยจึงแยกไปอยู่เสียที่อื่นจำเลยจึงครอบครองทรัพย์มรดกนั้นแต่ผู้เดียวต้องถือว่าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมกันและแทนกันมิใช่เป็นการเข้าแย่งการครอบครองดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การฟ้องขอส่วนแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สิน
คดีเรื่องก่อน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งฟ้องนางสาวเสงี่ยมซึ่งเป็นทายาทด้วยกันขอส่วนแบ่งมรดก ทายาทคนอื่นมิได้เข้าเป็นคู่ความร่วมเพื่อขอส่วนแบ่งด้วยคดีถึงที่สุดโดยโจทก์กับนางสาวเสงี่ยมตกลงประนีประนอมยอมความกันให้ที่นามรดกโฉนดที่ 2154 และ 2155 ได้แก่ โจทก์ทรัพย์นอกนั้นได้แก่นางสาวเสงี่ยม ต่อมาโจทก์ไปจัดการขอรับมรดกที่ดินโฉนดนั้นต่อสำนักงานที่ดิน ทายาทอื่นได้โต้แย้งการรับมรดกโจทก์จึงฟ้องทายาทอื่นเป็นจำเลยขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องและถอนคำโต้แย้งนั้นจำเลยให้การตัดฟ้องว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความมรดก ดังนี้ การฟ้องร้องคดีเรื่องก่อนต้องฟ้องภายในอายุความ คือ ภายใน1 ปี อายุความจึงจะสะดุดหยุดอยู่ อันอาจเป็นเหตุทำให้โจทก์ฟ้องคดีเรื่องหลังเกินกว่า 1 ปีได้ แต่ปรากฏว่าเจ้ามรดกตายเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2501 แต่โจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อนเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2502 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ขาดอายุความแล้ว ดังนั้นการฟ้องคดีเรื่องก่อนของโจทก์จึงไม่เป็นเหตุทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีเรื่องหลังได้เกินกว่า 1 ปี เมื่อคดีเรื่องหลังปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองนาพิพาทรายนี้ตลอดมา และนับแต่เจ้ามรดกตาย โจทก์มิได้ครอบครองนาพิพาทรายนี้เลยเป็นเวลาเกือบ 2 ปี คดีเรื่องหลังของโจทก์ย่อมขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกต่อเนื่อง หากฟ้องคดีแรกขาดอายุความแล้ว คดีหลังก็ขาดอายุความตามไปด้วย
คดีเรื่องก่อน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งฟ้องนางสาวเสงี่ยมซึ่งเป็นทายาทด้วยกันขอส่วนแบ่งมรดก ทายาทคนอื่นมิได้เข้าเป็นคู่ความร่วมเพื่อขอส่วนแบ่งด้วย คดีถึงที่สุดโดยโจทก์กับนางสาวเสงี่ยมตกลงประนีประนอมยอมความกันให้ที่นามรดกโฉนดที่ 2154 และ 2155 ได้แก่โจทก์ ทรัพย์นอกนั้นได้แก่นางสาวเสงี่ยม ต่อมาโจทก์ไปจัดการขอรับมรดกที่ดินโฉนดนั้นต่อสำนักงานที่ดิน ทายาทอื่นได้โต้แย้งการรับมรดก โจทก์จึงฟ้องทายาทอื่นเป็นจำเลยขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องและถอนคำโต้แย้งนั้น จำเลยให้การตัดฟ้องว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความมรดก ดังนี้ การฟ้องร้องคดีเรื่องก่อนต้องฟ้องภายในอายุความ คือภายใน 1 ปี อายุความจึงจะสะดุดหยุดอยู่ อันอาจเป็นเหตุทำให้โจทก์ฟ้องคดีเรื่องหลังเกินกว่า 1 ปีได้ แต่ปรากฎว่าเจ้ามรดกตายเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2501 แต่โจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อนเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2502 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ขาดอายุความแล้ว ดังนั้นการฟ้องคดีเรื่องก่อนของโจทก์จึงไม่เป็นเหตุทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีเรื่องหลังได้เกินกว่า 1 ปี เมื่อคดีเรื่องหลังปรากฎว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองนาพิพาทรายนี้ตลอดมา และนับแต่เจ้ามรดกตาย โจทก์มิได้ครอบครองนาพิพาทรายนี้เลยเป็นเวลาเกือบ 2 ปี คดีเรื่องหลังของโจทก์ย่อมขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, อายุความหนี้เงินกู้, และการรับสภาพหนี้หลังการเสียชีวิตของลูกหนี้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้ไว้แก่ธนาคารในวงเงินที่กำหนดไว้และมีระยะเวลา 2 เดือน นับแต่วันทำสัญญา ส่วนจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปนั้น กำหนดให้ถือตามบัญชีกระแสรายวันของธนาคารแล้วมีผู้ค้ำประกันเข้าทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวนั้นจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ คำว่า "เบิกเงินเกินบัญชี" ย่อมหมายความเป็นการเบิกเงินเกินจากบัญชีเงินฝากของลูกหนี้ที่เป็นลูกหนี้ธนาคารอยู่ทั้งหมด การเข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้ จึงเป็นการค้ำประกันหนี้ที่มีอยู่และหนี้ในอนาคตในวงเงินที่ค้ำประกันในระยะ 2 เดือนนั้นด้วย
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ 8ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราวๆ ไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้มาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องขอธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม ย่อมมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปีได้สิ้นสุดลง ผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้ และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น
แม้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะมีข้อความว่า ถ้าผู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ส่งดอกเบี้ย (ในอัตราร้อยละ 8ต่อปี) ผู้เบิกเงินเกินบัญชียอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราวๆ ไปก็ดี แต่ข้อสัญญานี้เป็นข้อตกลงในการเบิกเงินเกินบัญชีจะนำไปใช้ในกรณีที่มีการผิดนัดไม่ชำระหนี้มาได้ไม่ การที่ธนาคารโจทก์เจ้าหนี้ขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของลูกหนี้รับผิดใช้ดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันฟ้องนั้น เป็นการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคสองห้ามไว้
กรณีลูกหนี้ของธนาคารตายลง แล้วผู้เป็นทายาทได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้ธนาคารเจ้าหนี้ไว้ อายุความเรียกร้องขอธนาคารเจ้าหนี้อันมีต่อลูกหนี้เจ้ามรดกก็ได้เปลี่ยนมาเป็นอายุความเรียกร้องอันมีต่อทายาทผู้รับสารภาพหนี้นั้น อายุความตามมาตรา 1754 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่มิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกจึงสะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของธนาคารเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้
การที่ลูกหนี้ของธนาคารนำเงินเข้าบัญชีและถอนออกไปในระยะเวลาที่ยังมีการเบิกเงินเกินบัญชีอยู่ หาเป็นการชำระหนี้เงินเบิกเกินบัญชีต่อธนาคารไม่
ข้อสัญญาค้ำประกันที่ว่า เมื่อลูกหนี้ตาย ผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วม ย่อมมีความหมายว่าผู้ค้ำประกันยอมเข้าเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของลูกหนี้ซึ่งจะตกทอดไปยังทายาทของลูกหนี้นั้นตามกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าทายาทของลูกหนี้ได้ทำหนังสือรับสารภาพหนี้ให้เจ้าหนี้ไว้ก่อนที่อายุความ 1 ปีได้สิ้นสุดลง ผู้ค้ำประกันก็ย่อมเป็นลูกหนี้ร่วมกับทายาทนั้นต่อไปตามจำนวนหนี้ที่ค้ำประกันไว้ และใช้อายุความตามมูลหนี้นั้น