พบผลลัพธ์ทั้งหมด 600 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ดินหลังคดีกรรมสิทธิ์สิ้นสุด และผลกระทบต่อทายาทที่รับมรดก
บิดาเป็นความพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่กับผู้อื่น แล้วบิดาตายในระหว่างคดี บุตรคนหนึ่งเข้ารับมรดกความดำเนินคดีต่อมาอีกราว 2 ปี คดีถึงที่สุดบิดาชนะคดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท และปรากฏด้วยว่าทายาทของบิดาต่างก็มิได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทนี้ดังนี้ทายาทอื่นฟ้องทายาทผู้รับมรดกความ ขอแบ่งมรดกที่ดินแปลงนี้ เมื่อภายหลังที่ศาลชี้ขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทราว 1 เดือนได้ แม้จะเป็นเวลาที่เจ้ามรดกตายแล้วเกิน 1 ปีก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกพระภิกษุ: ตกเป็นของวัด แม้ครอบครองนานเกิน 10 ปี ก็มิอาจอ้างกรรมสิทธิ์ได้
พระภิกษุถึงมรณภาพในขณะที่เป็นพระภิกษุอยู่ โดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร มรดกของพระภิกษุนั้นย่อมตกได้แก่วัดที่พระภิกษุนั้นอยู่ แม้ทายาทจะครอบครองที่ดินมรดกของพระภิกษุนั้นเกิน 10 ปีนับแต่วันมรณภาพทายาทนั้นก็จะเอาที่ดินมรดกนั้นไม่ได้ เพราะที่ดินมรดกนั้นเป็นของวัด จะใช้อายุความ 10 ปียันวัดให้เสียสิทธิหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มรดกของพระภิกษุตกเป็นของวัด แม้ทายาทครอบครองเกิน 10 ปี ก็อ้างไม่ได้
พระภิกษุถึงมรณะภาพในขณะที่เป็นพระภิกษุอยู่ โดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ใคร มรดกของพระภิกษุนั้นย่อมตกได้แก่วัดที่พระภิกษุนั้นอยู่ แม้ทายาทจะครอบครองที่ดินมรดกของพระภิกษุนั้นเกิน 10 ปี นับแต่วันมรณภาพทายาทนั้นก็จะเอาที่ดินมรดกนั้นไม่ได้ เพราะที่ดินมรดกนั้นเป็นของวัด จะใช้อายุความ 10 ปียันวัดให้เสียสิทธิหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้จากการส่งมอบที่ดิน และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเมื่อผู้ซื้อรายหลังรู้ถึงข้อเสียเปรียบ
มารดาทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่เขา โดยได้รับเงินค่าที่ดินนั้นไว้บางส่วน และส่งมอบที่ดินให้เขาครอบครองแล้ว ครั้นมารดาถึงแก่กรรมบุตรผู้เป็นทายาทได้ไปขอรับเงินค่าที่ดินนั้นเพิ่มเติมจากผู้ซื้อ และรับว่าจะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินนั้น ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่เขา แล้ว กลับเอาที่ดินนั้นไปขายแก่ญาติของตน โดยไปจดทะเบียนการซื้อขายกันที่อำเภอ เมื่อปรากฏว่าญาติผู้ซื้อรับโอนที่ดินรายนี้ไว้โดยไม่สุจริต ล่วงรู้ถึงพฤติการณ์อันทำให้ผู้ซื้อคนแรกผู้เป็นเจ้าหนี้ผู้ขายต้องเสียเปรียบแล้ว ผู้ซื้อคนแรกก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายรายหลังนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่เขา แล้ว กลับเอาที่ดินนั้นไปขายแก่ญาติของตน โดยไปจดทะเบียนการซื้อขายกันที่อำเภอ เมื่อปรากฏว่าญาติผู้ซื้อรับโอนที่ดินรายนี้ไว้โดยไม่สุจริต ล่วงรู้ถึงพฤติการณ์อันทำให้ผู้ซื้อคนแรกผู้เป็นเจ้าหนี้ผู้ขายต้องเสียเปรียบแล้ว ผู้ซื้อคนแรกก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายรายหลังนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้หลังการเสียชีวิตของผู้ทำสัญญาเดิม และการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากผู้ซื้อไม่สุจริต
มารดาทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่เขา โดยได้รับเงินค่าที่ดินนั้นไว้บางส่วน และส่งมอบที่ดินให้เขาครอบครองแล้ว ครั้นมารดาถึงแก่กรรม บุตรผู้เป็นทายาทได้ไปขอรับเงินค่าที่ดินนั้นเพิ่มเติมจากผู้ซื้อ และรับว่าจะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินนั้น ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่เขา แล้ว กลับเอาที่ดินไปจดทะเบียนการซื้อขายกันที่อำเภอ เมื่อปรากฎว่าญาติผู้ซื้อรับโอนที่ดินรายนี้ไว้โดยไม่สุจริต ล่วงรู้ถึงพฤติการณ์อันทำให้ผู้ซื้อคนแรกเป็นเจ้าหนี้ผู้ขายต้องเสียเปรียบแล้ว ผู้ซื้อคนแรกก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายรายหลังนี้ได้ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 237
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่เขา แล้ว กลับเอาที่ดินไปจดทะเบียนการซื้อขายกันที่อำเภอ เมื่อปรากฎว่าญาติผู้ซื้อรับโอนที่ดินรายนี้ไว้โดยไม่สุจริต ล่วงรู้ถึงพฤติการณ์อันทำให้ผู้ซื้อคนแรกเป็นเจ้าหนี้ผู้ขายต้องเสียเปรียบแล้ว ผู้ซื้อคนแรกก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายรายหลังนี้ได้ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการแบ่งมรดกของทายาทโดยไม่มีพินัยกรรม แม้เวลาผ่านพ้นไปกว่า 1 ปี ก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องได้
เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมายมรดก และเมื่อไม่มีทายาทคนใดได้ครอบครองมรดก ก็ต้องถือว่าทายาททุกคนมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 และมีสิทธิฟ้องขอแบ่งมรดกจากกัน แม้จะเป็นเวลาภายหลังเจ้ามรดกตายเกิน 1 ปี ก็ได้ คดีไม่ขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกเมื่อไม่มีผู้ครอบครอง และอายุความไม่ขาด
เจ้ามรดกตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทตามกฎหมายมรดก และเมื่อไม่มีทายาทคนใดได้ครอบครองมรดก ก็ต้องถือว่าทายาททุกคนมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกันตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1745 และมีสิทธิฟ้องขอแบ่งมรดกจากัน แม้จะเป็นเวลาภายหลัง เจ้ามรดกตายเกิน 1 ปี ก็ได้ คดีไม่ขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงแบ่งมรดกยังไม่สมบูรณ์ อายุความไม่สะดุด
ผู้รับมรดกคนหนึ่งพูดถามผู้รับมรดกซึ่งครอบครองทรัพย์มรดกอยู่ว่าเมื่อไรจะแบ่งมรดกผู้ครอบครองทรัพย์มรดกตอบว่าเอาไว้เผาศพผู้ตายเสียก่อน ดังนี้ย่อมไม่ใช่เป็นการตกลงแบ่งมรดกกันแล้ว คงเป็นแต่เพียงพูดกันเรื่องจะแบ่งมรดกเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการรับสภาพหนี้ตามมาตรา 172 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง(อ้างฎีกาที่ 30/2481)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทำนาหลังไถ่ถอนมรดก: สิทธิในมรดกยังคงอยู่
สามีของทายาทคนหนึ่งไถ่ถอนนามรดก ซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันมาจากเจ้าหนี้ โดยตกลงกับทายาทอื่นว่า ตนต้องเข้าทำนาก่อน 3 ปี พ้น 3 ปีแล้วมีทายาทคนใดจะเข้าทำนา ต้องใช้เงินให้ตนจำนวนหนึ่ง ครั้นครบ 3 ปีแล้วทายาทอื่นต่างเอาเงินตามจำนวนที่ตกลงกันไว้มามอบให้สามีทายาทคนนั้น เพื่อจะเข้าทำนาตามที่ตกลงกัน แต่สามีของทายาทคนนั้นไม่ยอม ดังนี้ จะถือว่าการที่ทายาทอื่นยอมให้สามีของทายาทผู้ไถ่ถอนนา ครอบครองทำนาพิพาทนั้นทายาทอื่นได้สละสิทธิในการรับมรดกที่นาพิพาทไม่ได้ ทายาทอื่นยังคงมีสิทธิในที่นาพิพาทอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดกโดยทายาทอื่นและการสละสิทธิรับมรดก
สามีของทายาทคนหนึ่งไถ่ถอนนามรดก ซึ่งยังมิได้แบ่งปันกันมาจากเจ้าหนี้โดยตกลงกับทายาทอื่นว่า ตนต้องเข้าทำนาก่อน 3 ปี พ้น 3 ปีแล้วมีทายาทคนใดจะเข้าทำนา ต้องใช้เงินให้ตนจำนวนหนึ่ง ครั้นครบ 3 ปี แล้วทายาทอื่นต่างเอาเงินตามจำนวนที่ตกลงกันไว้มามอบให้สามีทายาทคนนั้น เพื่อจะเข้าทำนาตามที่ตกลงกัน แต่สามีของทายาทคนนั้น ไม่ยอมดังนี้ จะถือว่าการที่ทายาทอื่นยอมให้สามีของทายาทผู้ไถ่ถอนนา ครอบครองทำนาพิพาท นั้นทายาทอื่นได้สละสิทธิในการรับมรดกที่นาพิพาทไม่ได้ ทายาทอื่นยังคงมีสิทธิในที่นาพิพาทอยู่