คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1754

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 600 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1104/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการฟ้องแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยจำเลยแต่เพียงผู้เดียว
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสี่คนละ 1 ส่วน รวม 4 ส่วนในเจ็ดส่วน คิดเป็นเงินรวม 204,000 บาท เท่ากับคนละ 50,100 บาท แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เป็นยุติตามที่ศาลล่างวินิจฉัยว่า นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อปี 2526 จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวนับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โดยมิได้ครอบครองแทนโจทก์ทั้งสี่หรือทายาทอื่น ดังนั้น เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2540 จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่นายอินทร์เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ฟ้องโจทก์ทั้งสี่จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการรับมรดกและการแบ่งมรดกเป็นเรื่องเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้รับฟ้องแย้ง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้กำจัดจำเลยทั้งสองมิให้รับมรดกที่ดินพิพาทเพราะปิดบังพินัยกรรม ห้ามจำเลยทั้งสองยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่ามิได้ปิดบังพินัยกรรม โจทก์และจำเลยทั้งสองรวมทั้งทายาทอื่นตกลงแบ่งมรดกโดยจำเลยทั้งสองได้ที่ดินพิพาท และจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่มีส่วนในที่ดินพิพาทอีก คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ดังนี้เห็นได้ว่าเป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับการรับมรดกที่ดินพิพาทนั่นเอง คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้กำจัดจำเลยทั้งสองมิให้รับมรดกที่ดินพิพาท จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ฝ่ายเดียว ส่วนฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองที่ว่ามีการตกลงแบ่งมรดกและจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองมรดกที่พิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว ทั้งคดีโจทก์ขาดอายุความ หากเป็นจริงโจทก์ก็สิ้นความเป็นทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทรวมทั้งไม่มีสิทธิยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ดังนี้ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองก็เพื่อจะได้มรดกที่ดินพิพาทแต่ฝ่ายเดียวเช่นกัน ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิม พอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้, การโอนกิจการธนาคาร, สิทธิบังคับหลักประกัน, การตายของลูกหนี้
การโอนกิจการระหว่างโจทก์กับธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เป็นการโอนตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 5 ได้บัญญัติให้เพิ่มข้อความเป็นมาตรา 38 เบญจ โดยในวรรค 4 กล่าวถึงการควบกิจการหรือโอนกิจการธนาคารว่าให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีอากรต่าง ๆ เมื่อกฎหมายไม่ได้ระบุว่ายกเว้นอากรประเภทใด จึงต้องแปลว่าเป็นการยกเว้นอากรทุกประเภท ดังนั้นเมื่อโจทก์รับโอนกิจการของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) โดยอาศัยตามพระราชกำหนดฉบับดังกล่าวหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างสองธนาคาร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทผู้ตายชำระหนี้ บอกกล่าวบังคับจำนองและบอกเลิกสัญญากู้เงินที่ผู้ตายทำไว้มิใช่กรณีที่หนี้เงินกู้ที่ผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับสิ้นไปการจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงยังไม่ระงับ
โจทก์รับโอนกิจการจากธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) มาเป็นของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เมื่อธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้รู้ถึงการตายของลูกหนี้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม2539 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้แล้วด้วย โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 28 มีนาคม 2543 จึงเกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความและเป็นเหตุให้หนี้อุปกรณ์คือผู้ค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้ต่อโจทก์หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย แต่สัญญากู้เงินมีการจำนองเป็นประกันไว้ด้วย ดังนี้ แม้หนี้สินตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ด้วยการรับโอนสิทธิมาจากเจ้าหนี้เดิมย่อมใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และคงบังคับได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้นหาอาจบังคับถึงทรัพย์สินอื่นของผู้ตายได้ด้วยไม่ แม้สัญญาจำนองจะมีข้อความระบุให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ในกรณีที่ทรัพย์สินที่จำนองไม่พอชำระหนี้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้, การโอนสิทธิเจ้าหนี้, และสิทธิบังคับจำนอง: ข้อจำกัดในการบังคับชำระหนี้จากทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หนี้ระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้มีการปลดหนี้การหักกลบลบหนี้ การแปลงหนี้ใหม่ หรือการที่หนี้เกลื่อนกลืนกัน ผู้ตายทำสัญญากู้เงินกับจำเลย 2 ครั้ง โดยผู้ตายยังชำระหนี้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วน และไม่ปรากฏเหตุอย่างอื่นที่จะทำให้หนี้เงินกู้ดังกล่าวระงับ หนี้เงินกู้ที่ผู้ตายจะต้องรับผิดต่อโจทก์จึงยังไม่ระงับ การจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์จึงยังไม่ระงับสิ้นไป
โจทก์รับโอนกิจการจากธนาคาร ม. มาเป็นของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ของธนาคาร ม. เมื่อธนาคาร ม. เจ้าหนี้รู้ถึงการตายของผู้ตายตั้งแต่วันที่8 มีนาคม 2539 ต้องถือว่าโจทก์ได้รู้แล้วด้วย เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 28 มีนาคม 2543 เกินกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความและเป็นเหตุให้หนี้อุปกรณ์คือผู้ค้ำประกันที่จำเลยที่ 1 ได้ทำไว้ต่อโจทก์หลุดพ้นไปด้วย แต่เนื่องจากสัญญากู้เงินรายนี้มีการนำทรัพย์สินมาจำนองเป็นประกันไว้ แม้หนี้สินตามสัญญากู้เงินอันเป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ด้วยการรับโอนสิทธิมาจากเจ้าหนี้เดิมย่อมใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม ประกอบมาตรา 193/27 และคงบังคับได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่จำนองเท่านั้น หาอาจบังคับถึงทรัพย์สินอื่นของผู้ตายได้ด้วยไม่ แม้สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันจะมีข้อความระบุให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้มาชำระหนี้ได้ในกรณีที่ทรัพย์สินที่จำนองไม่พอชำระก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก, อายุความ, การเพิกถอนนิติกรรม, สิทธิทายาท, ผู้จัดการมรดก
หลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งที่จะเป็นฟ้องซ้ำนั้น คดีก่อนศาลต้องมีคำวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว แต่เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้อง ซึ่งการถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 176 นอกจากนี้คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแต่อย่างใด การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1กับพวกเป็นคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายจากจำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 1 จะยกอายุความมรดก1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่ เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ดังนั้น ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงไม่ขาดอายุความ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดก เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดก 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2เป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1584/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดก, อายุความ, พินัยกรรมปลอม, และอำนาจบังคับคดี
โจทก์เป็นบุตรของ พ. ซึ่งเป็นพี่สาวของผู้ตาย เมื่อขณะผู้ตายถึงแก่ความตายผู้ตายไม่มีคู่สมรสและบุตร ทั้งบิดามารดาก็ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว มรดกของผู้ตายจึงตกทอดแก่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตาย ซึ่งรวมทั้ง พ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(3) เมื่อ พ. ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและผู้สืบสันดานของ พ. ย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ พ. โจทก์จึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเฉพาะส่วนแบ่งของ พ. ตามมาตรา 1639
การต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 นั้นคดีก่อนจะต้องได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนโจทก์กับพวกได้ถอนฟ้องซึ่งตามมาตรา 176 อาจยื่นใหม่ได้ ทั้งคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี การที่โจทก์นำมูลคดีเดียวกันกับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 148
โจทก์เป็นทายาทฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทรัพย์มรดกของผู้ตายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และให้จำเลยที่ 2 คืนเงิน 40,000 บาท ซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกอายุความมรดก1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่เพราะกฎหมายได้บัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิดต่อทายาทไว้โดยเฉพาะแล้วตามมาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับตั้งแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้รับพินัยกรรมอันจะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและให้คืนเงินสดเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาท จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกกับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่วัตถุแห่งหนี้ให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดิน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 276 บัญญัติไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมรดกสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส: สิทธิทายาท, อายุความ, และการแบ่งมรดก
พ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ น. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส พ. ซื้อที่ดินพิพาทเนื้อที่ 1 งาน 56 ตารางวา มาในระหว่างที่อยู่กินด้วยกัน น. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วย พ. ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นของ น. กึ่งหนึ่งเนื้อที่ 78 ตารางวาให้แก่จำเลยที่ 2 และ บ. เมื่อ น. ถึงแก่กรรมไปก่อน พ. ที่ดินส่วนของ น. จึงตกเป็นมรดกแก่ทายาทของ น. ซึ่งได้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 เพียง 2 คน ส่วน พ. มิได้เป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกส่วนของ น. เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ น. ให้แก่โจทก์โดยที่ดินส่วนดังกล่าวไม่ได้เป็นมรดกของ พ. จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้สืบสิทธิของทายาทอันจะอาจอ้างอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาตัดฟ้องโจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ต้องดำเนินการแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จำนวน 26 ตารางวา
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์เท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เป็นทายาทอยู่ในฐานะอันควรได้มรดกเช่นเดียวกับโจทก์ ศาลจึงมีอำนาจแบ่งมรดกให้แก่จำเลยที่ 1 ด้วย เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในคดีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 วรรคสองอยู่แล้ว โดยไม่จำต้องร้องสอดเข้ามาขอส่วนแบ่งในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกในศาสนาอิสลาม: ประเด็นการพิจารณาคดีโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรม และอายุความการฟ้องร้อง
โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอิสลามศาสนิกอยู่ในจังหวัดนราธิวาส โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ จ. บิดาโจทก์และจำเลยทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดกของ จ. แต่เป็นของ ต. มารดาจำเลยทั้งสอง ซึ่งในการที่จะวินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่จะนำกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับไม่ได้ต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นหลักวินิจฉัยก่อน ต่อเมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นมรดกแล้วจึงจะใช้กฎหมายอิสลามในการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทต่อไป คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและที่มิใช่ข้อกฎหมายอิสลามปะปนกันอยู่ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา การพิจารณาคดีจะไม่เป็นการชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลฯ มาตรา 4 วรรคแรก ก็แต่เฉพาะข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับเท่านั้น การพิจารณาคดีในประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ต. มารดาของจำเลยทั้งสอง หรือเป็นมรดกของ จ. บิดาของโจทก์และจำเลยทั้งสอง และประเด็นข้อพิพาทที่ว่าคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ ทั้งสองข้อนี้หาใช่ข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดไม่แม้ดะโต๊ะยุติธรรมจะมิได้ร่วมนั่งพิจารณาด้วย ก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต้องเสียไปแต่อย่างใดการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้คดีว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องขอส่วนแบ่งมรดกแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เนื่องจากโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกจากจำเลยทั้งสองเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายและโจทก์ก็ทราบวันเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วนที่จำเลยทั้งสองเบิกความว่าหากที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นมรดกของ จ. ก็จะยอมแบ่งให้แก่โจทก์นั้นเป็นเพียงการแสดงความบริสุทธิ์ใจของจำเลยทั้งสองที่ไม่ประสงค์จะฉ้อโกงโจทก์หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 ที่ต้องแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งก่อนการฟ้องคดีไม่ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ส่วนที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ในคดีนี้ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5210/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยมรดกใช้ ป.พ.พ. ก่อน หากเป็นมรดกจึงใช้กฎหมายอิสลามได้ ศาลล่างพิพากษาถูกต้องฟ้องขาดอายุความ
แม้โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอิสลามศาสนิกอยู่ในจังหวัดนราธิวาส แต่ในการวินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นมรดกหรือไม่ จะนำกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับไม่ได้ ต้องใช้ ป.พ.พ. เป็นหลักวินิจฉัยก่อน
คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและที่มิใช่ข้อกฎหมายอิสลามปะปนกันอยู่ การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา การพิจารณาคดีจะไม่เป็นการชอบด้วย พ.ร.บ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 4 วรรคแรก ก็แต่เฉพาะข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับเท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีในประเด็นข้ออื่นหาได้อยู่ในบังคับที่ต้องมีดะโต๊ะยุติธรรมร่วมพิจารณาด้วยไม่
ประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสอง หรือเป็นมรดกของบิดาโจทก์และจำเลยทั้งสอง และประเด็นข้อพิพาทที่ว่าคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ ทั้งสองข้อหานี้หาใช่ข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดไม่ แม้ดะโต๊ะยุติธรรมจะมิได้ร่วมนั่งพิจารณาด้วย ก็ไม่ทำให้กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต้องเสียไปแต่อย่างใด
จำเลยทั้งสองได้ให้การต่อสู้อย่างชัดแจ้งว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความเรียกร้องขอส่วนแบ่งมรดกแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และในชั้นพิจารณา จำเลยทั้งสองก็นำสืบว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 จึงเป็นการนำสืบตามข้อต่อสู้ในเรื่องอายุความแล้ว ส่วนที่จำเลยทั้งสองเบิกความตอบคำถามค้านของทนายโจทก์ว่า หากที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นมรดกก็จะยอมแบ่งให้แก่โจทก์นั้น เป็นเพียงการแสดงความบริสุทธิ์ใจของจำเลยทั้งสองที่ไม่ประสงค์จะฉ้อโกงโจทก์ หาใช่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 ที่ต้องแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้งก่อนการฟ้องคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4356/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดก: เจ้าหนี้ฟ้องหลัง 1 ปีจากรู้ถึงการเสียชีวิตของลูกหนี้ ย่อมถูกยกข้อต่อสู้ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวหาได้กำหนดเงื่อนไขว่าหากยังไม่ได้มีการจัดการมรดกของลูกหนี้แล้วเจ้าหนี้จะมีสิทธิฟ้องร้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกได้แม้พ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกผู้กู้จึงมีสิทธิยกอายุความหนึ่งปีขึ้นมาต่อสู้ได้ แม้ยังมิได้มีการจัดการมรดก
ความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม ตอนแรกที่บัญญัติว่าภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 นั้นหมายถึงความในมาตรา 1754วรรคสาม ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้ในมาตรา 193/27 ซึ่งใช้สิทธิเจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้ได้แม้หนี้นั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม มิใช่ว่าความในมาตรา 1754 วรรคสามบังคับใช้เฉพาะเจ้าหนี้มีประกัน ไม่ใช้กับโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญ
การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันเจ้ามรดกแม้จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 แต่เป็นการยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 691 ซึ่งคงเสียสิทธิเพียงไม่อาจยกข้อต่อสู้ตามมาตรา 688,689 และ 690 ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิตามมาตรา 694 ที่จะยกข้อต่อสู้ทั้งหลาย ซึ่งเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้มีต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เป็นทายาทของของเจ้ามรดกผู้เป็นลูกหนี้
ข้อตกลงในสัญญาค้ำประกันที่ระบุว่า ผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ผู้ให้กู้ตามสัญญา ผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชำระหนี้แทนให้ทั้งสิ้น เพียงแต่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดแม้ผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับไปแล้วหรือผู้กู้ไม่ชำระหนี้เท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดรวมไปถึงเรื่องการสละสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ด้วย ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงมีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้ได้เมื่อผู้กู้ถึงแก่กรรม
of 60