พบผลลัพธ์ทั้งหมด 600 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ทายาทไม่มีสิทธิฟ้องขอส่วนแบ่งเพิ่มเติม แม้จะฟ้องภายในอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเป็นเวลาถึง 37 ปีเศษ จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่ทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แต่หากโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกันก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1748 แล้ว
ทรัพย์มรดกที่ดินของ ผ. เจ้ามรดกได้แบ่งปันให้แก่ ร. บ. และ ส. ทายาทของผ. และบุคคลทั้งสามดังกล่าวเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรก จึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่า บุคคลทั้งสามครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิใช่ครอบครองแทนโจทก์ซึ่งเป็นทายาท ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
ทรัพย์มรดกที่ดินของ ผ. เจ้ามรดกได้แบ่งปันให้แก่ ร. บ. และ ส. ทายาทของผ. และบุคคลทั้งสามดังกล่าวเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรก จึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่า บุคคลทั้งสามครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิใช่ครอบครองแทนโจทก์ซึ่งเป็นทายาท ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สิน การฟ้องเรียกส่วนแบ่งมรดกพ้นกำหนดอายุความ
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ผ. ภายหลังจาก ผ. ถึงแก่ความตายเป็นเวลาถึง 37 ปีเศษ จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งต้องห้ามไม่ให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แต่หากโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 โจทก์จึงต้องนำสืบให้ได้ความโดยแน่ชัดว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกันและทายาทอื่นได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์
ทรัพย์มรดกของ ผ. ได้แบ่งปันให้แก่ ร. บ. และ ส. ทายาทของ ผ. และบุคคลทั้งสามเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดอันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรก ตั้งแต่ 37 ปีเศษมาแล้วจึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่ 37 ปีเศษดังกล่าว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่าบุคคลทั้งสามครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนไม่ใช่ครอบครองแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
ทรัพย์มรดกของ ผ. ได้แบ่งปันให้แก่ ร. บ. และ ส. ทายาทของ ผ. และบุคคลทั้งสามเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดอันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคแรก ตั้งแต่ 37 ปีเศษมาแล้วจึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่ 37 ปีเศษดังกล่าว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่าบุคคลทั้งสามครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนไม่ใช่ครอบครองแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีมรดกเกินอายุความและการแบ่งทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของนาง ผ. เจ้ามรดก ภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเป็นเวลาถึง 37 ปีเศษ จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แต่หากโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1748 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นโจทก์จึงต้องนำสืบให้ได้ความโดยแน่ชัดว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกันและทายาทอื่นได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์
ทรัพย์มรดกที่ดินของนาง ผ. เจ้ามรดกได้แบ่งปันให้แก่นาย ร. นาง บ. และนาย ส. ทายาทของนาง ผ. เจ้ามรดก และบุคคลทั้งสามดังกล่าวเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคแรก จึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่านาย ร. นาย ส. และนาง บ. ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิใช่ครอบครองแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
ทรัพย์มรดกที่ดินของนาง ผ. เจ้ามรดกได้แบ่งปันให้แก่นาย ร. นาง บ. และนาย ส. ทายาทของนาง ผ. เจ้ามรดก และบุคคลทั้งสามดังกล่าวเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคแรก จึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่านาย ร. นาย ส. และนาง บ. ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิใช่ครอบครองแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2660/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการกู้ยืมเงิน, การยอมรับสภาพหนี้, ผลกระทบการตายของผู้กู้ต่ออายุความ, การฟ้องร้องภายใน 1 ปี
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาอย่างไรก็ตาม เมื่อจำเลยไม่คัดค้านภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาพออนุโลมได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตามมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
สัญญากู้เงินลงวันที่ 12 มิถุนายน 2523 มีข้อตกลงว่าผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง มิได้มีข้อตกลงเรื่องการชำระหนี้ไว้จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและมาตรา 193/12
กฎหมายมิได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ ร. ผู้กู้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2523เมื่อ ร. นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2531 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการชำระหนี้คือ วันที่ 2 มิถุนายน 2531และจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง มาตรา 193/5 วรรคสอง และมาตรา 193/15 วรรคสอง
ร. ถึงแก่ความตายวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะต้องฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตามมาตรา 193/23 เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. จะถึงแก่ความตายจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ภายหลังจากที่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ยังไม่มีอำนาจวินิจัยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์ได้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาทอีกหลายข้อที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยซึ่งต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเหล่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
สัญญากู้เงินลงวันที่ 12 มิถุนายน 2523 มีข้อตกลงว่าผู้กู้จะชำระหนี้เมื่อผู้ให้กู้เรียกร้อง มิได้มีข้อตกลงเรื่องการชำระหนี้ไว้จึงเป็นสัญญาที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 203 วรรคหนึ่ง และถือเป็นระยะเวลาที่ผู้ให้กู้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับแต่วันถัดไปคือวันที่ 13 มิถุนายน 2523 ตามมาตรา 193/3 วรรคสองและมาตรา 193/12
กฎหมายมิได้กำหนดอายุความของการกู้ยืมเงินไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้ ร. ผู้กู้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2523เมื่อ ร. นำเงินบางส่วนมาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2531 เป็นการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14(1) และต้องเริ่มต้นนับอายุความใหม่ในวันถัดจากวันที่ได้มีการชำระหนี้คือ วันที่ 2 มิถุนายน 2531และจะครบกำหนดอายุความ 10 ปี ในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 ตามมาตรา 193/3 วรรคสอง มาตรา 193/5 วรรคสอง และมาตรา 193/15 วรรคสอง
ร. ถึงแก่ความตายวันที่ 2 กันยายน 2532 โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จะต้องฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ร. ทั้งนี้มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม และวรรคท้าย กรณีมิใช่อายุความมีกำหนด 1 ปี นับแต่วันถึงแก่ความตายของ ร. ตามมาตรา 193/23 เพราะการที่จะอยู่ภายใต้บังคับอายุความในมาตราดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. ถึงแก่ความตายจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับแต่ ร. ถึงแก่ความตายเท่านั้น แต่อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ก่อนที่ ร. จะถึงแก่ความตายจะครบกำหนดในวันที่ 1 มิถุนายน 2541 อันเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ภายหลังจากที่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ โจทก์มีอำนาจฟ้อง แม้หากอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวฟังขึ้น ศาลฎีกาก็ยังไม่มีอำนาจวินิจัยให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องของโจทก์ได้ เนื่องจากมีประเด็นข้อพิพาทอีกหลายข้อที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยซึ่งต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นเหล่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองแม้คดีขาดอายุความ และการรับผิดของทายาท
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้หลังจากที่ ท. ถึงแก่ความตายไปแล้วเกิน1 ปี ซึ่งทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้โจทก์เอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้, สิทธิบังคับจำนอง, และความรับผิดของทายาทต่อหนี้สินของผู้ตาย
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ผู้ตายให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้แม้โจทก์ฟ้องคดีหลังจาก ท. ถึงแก่ความตายไปเกิน 1 ปี คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสามแล้ว แต่บทบัญญัติดังกล่าวยกเว้นมิให้ใช้บังคับในกรณีสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ตามมาตรา 193/27 แม้คดีขาดอายุความแล้ว ก็ยังยอมให้โจทก์ผู้รับจำนองใช้สิทธิบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้โจทก์จากทรัพย์สินที่จำนองได้
โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือแก่ ร. ทนายโจทก์ให้บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อ ร. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 และถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
ท. ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 ส่วนจำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ตายจะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือแก่ ร. ทนายโจทก์ให้บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อ ร. ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 และถือว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
ท. ผู้ตายเป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 ส่วนจำเลยจะได้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ตายจะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนอง แม้คดีขาดอายุความ
แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้หลังจากที่ ท. ถึงแก่ความตายไปแล้วเกิน 1 ปี ซึ่งทำให้คดีขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้โจทก์เอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/27
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และ ท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และ ท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสระหว่างสามีภริยา การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า และอายุความในการฟ้องเรียกคืน
ว. และ ห. อยู่กินฉันสามีภริยาที่ประเทศมาเลเซียประมาณ 90 ปีมาแล้ว จึงเป็นสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม ห. ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2484 อันเป็นปีที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 แล้ว จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้กับการแบ่งสินสมรส โดยบทที่ 72 กำหนดให้ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ไว้ในวันแต่งงานให้เป็นสินเดิมถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส ดังนั้นถ้าได้ทรัพย์มาก่อนปี 2484 ก็ต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยากันตามบทที่ 68 คือ ถ้าชายและหญิงต่างมีสินเดิม ให้คืนสินเดิมแก่แต่ละฝ่าย ส่วนสินสมรสให้แบ่งเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วนหญิงได้ 1 ส่วน ถ้าต่างฝ่ายไม่มีสินเดิมก็แบ่งสินสมรสแบบเดียวกันแต่ถ้าได้ทรัพย์มาภายหลังจากที่คู่สมรสของตนถึงแก่กรรมไปแล้วทรัพย์ดังกล่าวย่อมไม่ใช่สินสมรสที่จะแบ่งระหว่างสามีภริยาอีกต่อไป เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทได้มาก่อนปี 2484 จึงเป็นสินสมรสที่ต้องแบ่งระหว่างสามีภริยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย โดย ว. ได้ 2 ส่วน ห. ได้ 1 ส่วน หลังจากนั้นส่วนของ ว. จึงตกทอดเป็นมรดกที่ ว. มีสิทธิทำพินัยกรรมยกให้แก่จำเลยที่ 1ถึงที่ 3 กับจำเลยร่วมที่ 2 และที่ 3 ได้ ส่วนของ ห. นั้น โจทก์ผู้จัดการมรดกย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ว. ส่งมอบทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์เพื่อจัดแบ่งให้แก่ทายาทของ ห. โดย ว. หามีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์ส่วนที่มิใช่ของตนให้แก่ทายาทตามพินัยกรรมไม่
ทรัพย์อันเป็นสินสมรสที่ยังไม่ได้แบ่งนั้น โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกมีสิทธิติดตามเอาคืนมาเพื่อจัดการแบ่งแก่ทายาทได้แม้เกิน 10 ปีนับแต่ ห. ถึงแก่กรรม คดีหาขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 ไม่
ทรัพย์อันเป็นสินสมรสที่ยังไม่ได้แบ่งนั้น โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกมีสิทธิติดตามเอาคืนมาเพื่อจัดการแบ่งแก่ทายาทได้แม้เกิน 10 ปีนับแต่ ห. ถึงแก่กรรม คดีหาขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7968/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดก การแบ่งมรดก และอายุความ ฟ้องแบ่งมรดกไม่ขาดอายุความแม้พ้นกำหนด
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้มีการแบ่งปัน การที่จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินต้องถือว่าได้ถือไว้แทนทายาทอื่นด้วย เมื่อโจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งจึงเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้แบ่งกันให้เสร็จสิ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งมรดกนี้ได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 กรณีต้องตามมาตรา 1748 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้กล่าวถึงทรัพย์มรดกของ ย. ไว้ในคำฟ้องการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้โจทก์ได้รับที่ดินพิพาท 1 ใน 12 ส่วนของเนื้อที่ดินทั้งแปลงเท่ากับนำที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ ย. ไปแบ่งให้โจทก์ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอ นั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าวินิจฉัยคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง เพียงแต่อ้างว่าส่วนแบ่งของโจทก์ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเกินคำขอ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ภาค 2ย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งได้โดยโจทก์ไม่จำต้องอุทธรณ์ในเรื่องนี้
ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้กล่าวถึงทรัพย์มรดกของ ย. ไว้ในคำฟ้องการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้โจทก์ได้รับที่ดินพิพาท 1 ใน 12 ส่วนของเนื้อที่ดินทั้งแปลงเท่ากับนำที่ดินส่วนที่เป็นมรดกของ ย. ไปแบ่งให้โจทก์ด้วย เป็นการพิพากษาเกินคำขอ นั้น จำเลยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าวินิจฉัยคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องอย่างไรบ้าง เพียงแต่อ้างว่าส่วนแบ่งของโจทก์ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเกินคำขอ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วไม่ได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ภาค 2ย่อมมีอำนาจสั่งแก้ไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งได้โดยโจทก์ไม่จำต้องอุทธรณ์ในเรื่องนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7449/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทอื่น สิทธิโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754
หลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โจทก์ไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือครอบครองที่ดินพิพาท คงมีแต่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกโดยโจทก์มิได้เข้ามาเกี่ยวข้องเลยเป็นเวลาเกิน 10 ปี แล้ว สิทธิของโจทก์ให้จำเลยทั้งสี่แบ่งมรดกซึ่งเป็นคดีมรดกจึงต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นทรัพย์มรดกย่อมตกแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยสมบูรณ์