พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดกฎหมาย สัญญาจำนอง และอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามป.พ.พ. มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายและการคิดดอกเบี้ยหลังบอกกล่าวบังคับจำนอง
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามป.พ.พ. มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฯ ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระเกินไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 407
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาเป็นโมฆะ ศาลแก้ไขดอกเบี้ยเป็นอัตราตามกฎหมาย
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระแล้วไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 407 การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับ จำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการซื้อหุ้นโดยใช้เงินทุนสะสมของพนักงาน และเงื่อนไขการคืนหุ้นกรณีออกจากงานเนื่องจากทุจริต
เงินทุนสะสมไม่ใช่เงินที่หักจากเงินเดือนของโจทก์แต่เป็นเงินที่ธนาคาร ฯ จำเลยจ่ายเข้าบัญชีเงินทุนสะสมของโจทก์ตามระเบียบของธนาคาร ฯ ธนาคาร ฯ จำเลยให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ฯ จำเลยโดยนำเงินทุนสะสมของโจทก์ดังกล่าวชำระเป็นค่าหุ้นโดยมีข้อตกลงในหนังสือส่งมอบใบหุ้นว่าให้ธนาคาร ฯ จำเลยยึดใบหุ้นไว้จนกว่าโจทก์จะพ้นสภาพการเป็นพนักงาน และหากโจทก์ถูกออกจากงานเพราะทุจริตต่อหน้าที่แล้วโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับใบหุ้น ยินยอมให้นำหุ้นทั้งหมดออกจำหน่ายเพื่อนำเงินคืนเงินทุนสะสม ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขของการได้สิทธิในหุ้นประการหนึ่งที่มีผลใช้บังคับได้ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการซื้อหุ้นโดยใช้เงินทุนสะสมของพนักงาน และผลกระทบต่อสิทธิในหุ้นกรณีทุจริต
เงินทุนสะสมไม่ใช่เงินที่หักจากเงินเดือนของโจทก์แต่เป็นเงินที่ธนาคาร ฯ จำเลยจ่ายเข้าบัญชีเงินทุนสะสมของโจทก์ตามระเบียบของธนาคาร ฯ ธนาคาร ฯ จำเลยให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ฯ จำเลยโดยนำเงินทุนสะสมของโจทก์ดังกล่าวชำระเป็นค่าหุ้นโดยมีข้อตกลงในหนังสือส่งมอบใบหุ้นว่าให้ธนาคาร ฯ จำเลยยึดใบหุ้นไว้จนกว่าโจทก์จะพ้นสภาพการเป็นพนักงาน และหากโจทก์ถูกออกจากงานเพราะทุจริตต่อหน้าที่แล้วโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับใบหุ้น ยินยอมให้นำหุ้นทั้งหมดออกจำหน่ายเพื่อนำเงินคืนเงินทุนสะสม ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขของการได้สิทธิในหุ้นประการหนึ่งที่มีผลใช้บังคับได้ หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายโดยคิดค่าจ้างเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินที่ได้จากการดำเนินคดี เป็นโมฆะขัดต่อกฎหมายทนายความ
สัญญาจ้างว่าความโดยคิดค่าจ้างร้อยละสามสิบของเงินที่ได้มาทั้งหมด เป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความจึงมีวัตถะประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508มาตรา 41 ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช 2477 มาตรา12(2) เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508ไปแล้ว และตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามมาตรา 53 ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างการว่าความไว้ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาจ้างว่าความที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นแล้วกลับสมบูรณ์ได้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทเป็นโมฆะ แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง
สัญญาจ้างว่าความโดยคิดค่าจ้างร้อยละสามสิบของเงินที่ได้มาทั้งหมด เป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความจึงมีวัตถะประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช 2477 มาตรา12 (2) เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 ไปแล้ว และตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามมาตรา 53 ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างการว่าความไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาจ้างว่าความที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นแล้วกลับสมบูรณ์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าความคิดค่าจ้างจากส่วนแบ่งทรัพย์สินเป็นโมฆะ แม้กฎหมายทนายความเปลี่ยนแปลง
สัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความว่าต่างให้จำเลยทั้งสามโดยคิดค่าจ้างร้อยละสามสิบของเงินที่ได้มาทั้งหมด มิได้คิดจากจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องเป็นการแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ทนายความพ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบกับ พ.ร.บ. ทนายความ พุทธศักราช 2477มาตรา 12(2) เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 แม้ต่อมาจะได้มีพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 ให้ยกเลิก พ.ร.บ. ทนายความพ.ศ. 2508 ไปแล้ว และกำหนดให้คณะกรรมการ(คณะกรรมการสภาทนายความ) ออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาท ทนายความตามมาตรา 53 ซึ่งข้อบังคับนั้นมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างการว่าความไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาที่เป็นโมฆะแต่ต้น กลับสมบูรณ์ขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4257/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินป่าสงวน: สัญญาซื้อขายการครอบครองระหว่างราษฎรไม่เป็นโมฆะ แม้ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน
แม้ตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 14 บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใด ยึด ถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ก็เป็นเพียงบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎร ซึ่งเป็นผลให้ราษฎรที่เข้ายึดถือครอบครองที่ดินไม่ได้สิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายทั้งไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ใช้ยันรัฐได้ แต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันสัญญาซื้อขายการครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติย่อมใช้บังคับกันได้เพราะมิใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย คดีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็ค ไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 จึงนำ ป.วิ.อ.มาตรา 46 มาใช้บังคับหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่ลูกหนี้ (จำเลย) ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นสามีมิได้จดทะเบียนสมรสกันมอบอำนาจให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาททั้งส่วนที่เป็นมรดกของ พ. และส่วนที่เป็นของตนให้แก่ผู้คัดค้านขณะที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้(จำเลย) แล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างลูกหนี้ (จำเลย) กับผู้คัดค้านเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย)ย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) เสียได้ และเมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาคือลูกหนี้(จำเลย) ผู้ขายและผู้คัดค้านผู้ซื้อย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมายไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกและถึงแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขอให้เพิกถอนการโอนโดยอ้างมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาด้วยและผู้คัดค้านอ้างว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน เมื่อได้ความว่าลูกหนี้ (จำเลย) โอนทรัพย์ให้ผู้คัดค้านหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย)เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับตามมาตรา 24 เพราะคำว่า การโอนทรัพย์สินหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หมายถึงการโอนที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่การโอนที่กระทำกันหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) ไม่.