คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่ลูกหนี้ (จำเลย) ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นสามีมิได้จดทะเบียนสมรสกันมอบอำนาจให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาททั้งส่วนที่เป็นมรดกของ พ. และส่วนที่เป็นของตนให้แก่ผู้คัดค้านขณะที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้(จำเลย) แล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างลูกหนี้ (จำเลย) กับผู้คัดค้านเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย)ย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) เสียได้ และเมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาคือลูกหนี้(จำเลย) ผู้ขายและผู้คัดค้านผู้ซื้อย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมายไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกและถึงแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขอให้เพิกถอนการโอนโดยอ้างมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาด้วยและผู้คัดค้านอ้างว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน เมื่อได้ความว่าลูกหนี้ (จำเลย) โอนทรัพย์ให้ผู้คัดค้านหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย)เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับตามมาตรา 24 เพราะคำว่า การโอนทรัพย์สินหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หมายถึงการโอนที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่การโอนที่กระทำกันหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: การกำหนดเวลาทำงานวันละ 24 ชั่วโมง และสิทธิค่าล่วงเวลา
บริษัทจำเลยกำหนดให้พนักงานขับรถยนต์ส่วนกลางเข้าทำงานวันละ24 ชั่วโมง หยุดพักวันรุ่งขึ้น 24 ชั่วโมง ต่อมาจำเลยดำริ ให้เปลี่ยนเป็นทำงานเป็นผลัด ผลัดละ 8 ชั่วโมง แต่พนักงานขับรถยนต์ของจำเลยขอให้กำหนดเวลาทำงานเช่นเดิม โดยอ้างว่าต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นซึ่งจำเลยก็ได้ตกลงยินยอมกำหนดเวลาทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยในภายหลัง ก็ย่อมต้องถูกผูกพันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว การทำงานของโจทก์จึงมิใช่เป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติอันจะมีสิทธิเรียกเอาค่าล่วงเวลาจากจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างและความรับผิดชอบจากอุบัติเหตุ พนักงานขับรถ
บริษัทจำเลยกำหนดให้พนักงานขับรถยนต์ส่วนกลางเข้าทำงานวันละ 24 ชั่วโมง หยุดพักวันรุ่งขึ้น 24 ชั่วโมง ต่อมาจำเลยดำริให้เปลี่ยนเป็นทำงานเป็นผลัด ผลัดละ 8 ชั่วโมง แต่พนักงานขับรถยนต์ของจำเลยขอให้กำหนดเวลาทำงานเช่นเดิมโดยอ้างว่าต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจำเลยก็ได้ตกลงยินยอมกำหนดเวลาทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยในภายหลังก็ย่อมต้องถูกผูกพันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว การทำงานของโจทก์จึงมิใช่เป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติอันจะมีสิทธิเรียกเอาค่าล่วงเวลาจากจำเลยได้
ระเบียบของจำเลยกำหนดว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุและได้รับการพิจารณาถึงที่สุด พขร.(พนักงานขับรถ)เป็นฝ่ายผิดพขร.ที่ทำหน้าที่ขับรถจะต้องรับผิดชอบร้อยละหกสิบ ส่วน พขร.ที่นั่งคู่จะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมร้อยละสี่สิบดังนี้เมื่อ ส.ขับรถยนต์ของจำเลยด้วยความประมาทเลินเล่อเกิดอุบัติเหตุทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขณะที่โจทก์เป็นพนักงานขับรถที่นั่งคู่ จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายในอัตราร้อยละสี่สิบของค่าเสียหายทั้งหมดได้ ตามระเบียบดังกล่าว และเมื่อโจทก์ได้ยินยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยผ่อนชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225-1235/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับค่าชดเชยขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ ศาลฎีกาตัดสินว่าข้อตกลงสละค่าชดเชยเป็นโมฆะ
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานแรงงานจังหวัดเพื่อขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยขอให้จำเลยจ่ายค่าล่วงเวลาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย ต่อมาโจทก์จำเลยทำบันทึกตกลงว่าโจทก์จะขอรับเพียงเงินค่าจ้างที่ตกค้าง และจะไม่ติดใจเอาความแต่อย่างใดอีกนั้น บันทึกข้อตกลงนี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มีผลบังคับเพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างค้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าล่วงเวลาเท่านั้น ส่วนค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันไม่อาจตกลงแก้ไขให้ผิดแผกแตกต่างเป็นประการอื่นได้ ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กำหนดว่าโจทก์ทั้งสิบเอ็ดไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากจำเลยได้นั้น จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 135.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4140/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกในการฟ้องสิทธิเรียกร้องนอกพินัยกรรม และการซื้อขายโบราณวัตถุ
อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะทรัพย์ที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมเท่านั้นทรัพย์มรดกในส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1620 ผู้จัดการมรดกก็มีอำนาจหน้าที่จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทด้วย ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม
สัญญากู้ยืมเงินเพื่อไปซื้อโบราณวัตถุตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวไม่เป็นโมฆะ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มีการซื้อขายโบราณวัตถุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4140/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกฟ้องหนี้สินนอกพินัยกรรม และความชอบธรรมของสัญญากู้ซื้อโบราณวัตถุ
อำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะทรัพย์ที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมเท่านั้นทรัพย์มรดกในส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับย่อมตกได้แก่ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1620 ผู้จัดการมรดกก็มีอำนาจหน้าที่จัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทด้วย ดังนั้น ผู้จัดการมรดกจึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม
สัญญากู้ยืมเงินเพื่อไปซื้อโบราณวัตถุตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวไม่เป็นโมฆะ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามมิให้มีการซื้อขายโบราณวัตถุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเป็นสามีภริยาโดยมีเจตนาขัดต่อศีลธรรมเป็นโมฆะ แม้มีการจ่ายเงิน
จำเลยมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้ทำสัญญากับโจทก์ซึ่งก็ทราบว่าจำเลยมีภริยาอยู่แล้ว มีสาระสำคัญว่า โจทก์จำเลยยินยอมเป็นสามีภริยากันตั้งแต่วันทำสัญญา โดยจำเลยจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์เดือนละ 1,000 บาท สัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเป็นสามีภริยาโดยมิชอบ และขัดต่อศีลธรรม เป็นโมฆะ
จำเลยมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้ทำสัญญากับโจทก์ซึ่งก็ทราบว่าจำเลยมีภริยาอยู่แล้วมีสาระสำคัญว่าโจทก์จำเลยยินยอมเป็นสามีภริยากันตั้งแต่วันทำสัญญาโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์เดือนละ1,000บาทสัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่ออยู่กินฉันสามีภริยาโดยมีภริยาชอบธรรมอยู่แล้ว เป็นโมฆะ
จำเลยมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้ทำสัญญากับโจทก์ซึ่งก็ทราบว่าจำเลยมีภริยาอยู่แล้ว มีสาระสำคัญว่าโจทก์จำเลยยินยอมเป็นสามีภริยากันตั้งแต่วันทำสัญญาโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์เดือนละ 1,000 บาท สัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาค้ำประกัน, และค่าทนายความที่ขัดต่อกฎหมาย
จำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่แสดง โดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็น หลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเป็นการยกถ้อยคำในกฎหมายมาอ้าง โดยมิได้บรรยายว่าสภาพแห่งข้อหาคำขอคำบังคับหรือข้ออ้างในคำฟ้อง ของโจทก์ข้อใดที่ไม่ชัดแจ้ง และไม่ชัดแจ้งอย่างไร คำให้การจำเลย จึงแสดงเหตุไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ให้ ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ก่อนโจทก์จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหาโดยมิได้ระบุมูลค่าแห่งความรับผิดไว้แน่นอน เพื่อให้โจทก์ประกันผู้ต้องหาในคดีอาญาจากศาล โดยทำสัญญาไว้ว่า ถ้าผู้ต้องหาหลบหนีและนายประกันถูกปรับ จำเลยรับชดใช้ค่าปรับแทน จนครบถ้วน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบจำเลย แต่ประการใด เพราะหากโจทก์ไม่นำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ต้องหา สัญญาค้ำประกันที่ทำกันไว้ก็ไม่มีผลบังคับ ส่วนจำนวนความรับผิด ก็เป็นไปตามที่ศาลจะตีราคาประกันและสั่งปรับเมื่อผิดสัญญาประกัน ต่อไปสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้หา ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
สัญญาค้ำประกันดังกล่าวกำหนดว่า 'หากข้าพเจ้าปล่อยให้จำเลยหลบหนีด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี ถ้านายประกันถูกปรับหรือถูกริบทรัพย์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับชดใช้ค่าปรับแทนนายประกันจนครบถ้วนและจะเป็น ผู้รับไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่จำนองประกันคืนแก่นายประกันโดยมิชักช้า' ดังนี้เพียงแต่โจทก์ถูกศาลสั่งปรับจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าปรับ ไถ่ถอนหลักทรัพย์ที่ประกันคืนแก่โจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับ จำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ต้องรอให้มีการขายทรัพย์อันเป็น หลักประกันก่อน
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนตามกฎหมาย และสั่งในคำพิพากษาให้ฝ่ายใดชดใช้แก่ฝ่ายใดหรือให้เป็นพับกันไปก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161,167 และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนี้การที่สัญญาค้ำประกันกำหนดให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากกฎหมาย อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ ข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย
of 67