พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของพนักงานฝ่ายจัดการที่ไม่ได้รับการคุ้มครองตามข้อบังคับสำหรับพนักงานทั่วไป และการสละสิทธิเรียกร้องเงินสมทบกองทุน
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ให้จำเลยจ่ายบำเหน็จและเป็นผู้ออกภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้นั้นระบุไว้ชัดเจนว่าสำหรับพนักงานประจำที่มิใช่ฝ่ายจัดการ โจทก์เป็นพนักงานฝ่ายจัดการจะนำข้อบังคับนี้มาใช้ไม่ได้จึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าจำเลยจะต้องออกภาษีเงินได้ให้จากข้อบังคับนี้
เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติ โจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีก โจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น
เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติ โจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีก โจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาและการยกเว้นค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยที่1รับโจทก์ที่1เข้าทำงานโดยไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่าไม่ต้องทำสัญญาจ้างที่จำเลยที่1ยอมให้โจทก์ที่1เข้าทำงานไปก่อนโดยมิได้ทำสัญญาจ้างทันทีจะถือว่าจำเลยที่1รับโจทก์ที่1เข้าทำงานเป็นลูกจ้างโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆหาได้ไม่เมื่อโจทก์ที่1ทำงานกับจำเลยที่1ได้1เดือนแล้วก็ได้ทำสัญญาจ้างกันซึ่งมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนสัญญาจ้างย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่1ถือไม่ได้ว่าการทำสัญญาจ้างดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา20เมื่อจำเลยที่1เลิกจ้างโจทก์ที่1ตามกำหนดนั้นจำเลยที่1ได้รับยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ46วรรคสามไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดเงื่อนไขการขายทอดตลาดให้ผู้ซื้อรับภาระภาษีแทนจำเลยได้ ไม่ขัดกฎหมาย
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินแม้จะเป็นเงินได้ของจำเลยซึ่งจำเลยต้องมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ก็ตาม แต่บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวหรือกฎหมายอื่นมิได้ห้ามบุคคลอื่นชำระภาษีดังกล่าวแทนจำเลยดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดที่ให้ผู้ซื้อต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ จึงไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด ไม่เป็นโมฆะตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เมื่อโจทก์(ผู้ซื้อ) ตกลงกับเจ้าพนักงานบังคับคดีตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้วก็ผูกพันโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตาม จะอ้างหน้าที่ของจำเลยเป็นผู้เสียภาษีนั้นมาปัดความรับผิดนั้นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211-4212/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยมีผลผูกพันแม้ผู้รับประกันภัยไม่มีวัตถุประสงค์ แต่ได้รับเบี้ยประกันภัย การไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการประกันภัยเป็นโมฆะต่อเมื่อคู่สัญญาทราบ
นิติบุคคลซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันวินาศภัยแต่ได้รับประกันวินาศภัยไว้เมื่อได้รับเบี้ยประกันภัยอันเป็นผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้เอาประกันภัย นิติบุคคลนั้นจะปฏิเสธว่าเป็นเรื่องนอกวัตถุประสงค์ของตนเพื่อให้พ้นความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันภัยหาได้ไม่ การที่ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้จากผู้เอาประกันภัยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ประกอบกิจการประกันวินาศภัยสัญญาประกันภัยจะเป็นโมฆะก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ทราบถึงการไม่ได้รับอนุญาตนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยได้ทราบความดังกล่าว ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4211-4212/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยมีผลผูกพันแม้ผู้รับประกันภัยไม่มีวัตถุประสงค์ด้านประกันภัย หากได้รับเบี้ยประกันภัยแล้ว การไม่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจเป็นโมฆะต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยทราบ
นิติบุคคลซึ่งไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับประกันวินาศภัยแต่ได้รับประกันวินาศภัยไว้เมื่อได้รับเบี้ยประกันภัยอันเป็นผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้เอาประกันภัย นิติบุคคลนั้นจะปฏิเสธว่าเป็นเรื่องนอกวัตถุประสงค์ของตนเพื่อให้พ้นความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาประกันภัยหาได้ไม่
การที่ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้จากผู้เอาประกันภัยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ประกอบกิจการประกันวินาศภัย สัญญาประกันภัยจะเป็นโมฆะก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ทราบถึงการไม่ได้รับอนุญาตนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยได้ทราบความดังกล่าว ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
การที่ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้จากผู้เอาประกันภัยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ประกอบกิจการประกันวินาศภัย สัญญาประกันภัยจะเป็นโมฆะก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ทราบถึงการไม่ได้รับอนุญาตนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยได้ทราบความดังกล่าว ผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย ฐานคำนวณ และการหักเงินที่จ่ายไปแล้ว
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการปิโตรเลียมตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตทำงานนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องอ้างเหตุที่ทำให้การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ว่า โจทก์ได้ทำการถูกต้องตามคำสั่งของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยกเอา เหตุที่กรมทรัพยากรธรณีเพิกถอนใบอนุญาตทำงานของโจทก์มาเป็นเหตุ เลิกจ้าง โจทก์หาได้อ้างพฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ช่วยเหลือโจทก์ ดังที่ยกขึ้นอุทธรณ์เป็นเหตุสนับสนุนข้อหาตามฟ้องไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์ จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์ การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3964/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ค่าชดเชย และฐานการคำนวณค่าจ้าง กรณีลูกจ้างถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน
ข้อที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการปิโตรเลียมตามกฎหมายเพื่อช่วยเหลือโจทก์ที่ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตทำงานนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องอ้างเหตุที่ทำให้การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ว่า โจทก์ได้ทำการถูกต้องตามคำสั่งของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยกเอา เหตุที่กรมทรัพยากรธรณีเพิกถอนใบอนุญาตทำงานของโจทก์มาเป็นเหตุ เลิกจ้าง โจทก์หาได้อ้างพฤติการณ์ของจำเลยที่ไม่ช่วยเหลือโจทก์ ดังที่ยกขึ้นอุทธรณ์เป็นเหตุสนับสนุนข้อหาตามฟ้องไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์
จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน
ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์
การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยระบุว่าเพราะโจทก์ถูกเพิกถอนการอนุญาต ให้พำนักอยู่ในประเทศไทย หาใช่เนื่องจากโจทก์กล่าวคำดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นกรณีที่ร้ายแรงไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างในกรณีฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ จำเลยต้องจ่าย ค่าชดเชยแก่โจทก์
จำเลยจ่ายค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการให้แก่โจทก์ เป็นประจำทุกเดือน มีจำนวนแน่นอนเช่นเดียวกับค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าทำงานนอกประเทศ ค่าครองชีพและค่าบริการดังกล่าวจึงเป็นค่าจ้าง ต้องนำมาเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย ส่วนค่าที่พักอาศัยนั้น เป็นการจ่ายเพื่อช่วยเหลือค่าเช่าบ้านแก่ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นสวัสดิการ ในเรื่องที่พักอาศัย มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานจึงไม่เป็นค่าจ้างค่าภาษีตามแบบเสมอภาคและค่าเบี้ยประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายที่หักจาก รายได้ของโจทก์ มิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างย่อมไม่เป็นค่าจ้าง เช่นเดียวกัน
ภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่ง แก่โจทก์ โดยเงินจำนวนนี้มีค่าเลิกจ้างจำนวนหนึ่งรวมอยู่ด้วยค่าเลิกจ้าง เป็นเงินที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่าเป็นเงินประเภทอื่นที่จำเลยตกลงจ่ายให้แก่โจทก์ ย่อมถือได้ว่าเป็นค่าชดเชย ต้องนำเงินจำนวนนี้มาหักออกจากค่าชดเชย ที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์
การที่โจทก์ถูกถอนใบอนุญาตทำงานและถูกสั่งให้ออกนอกประเทศ เนื่องจากโจทก์กล่าวคำผรุสวาทต่อเจ้าพนักงานนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงาน ระหว่างโจทก์จำเลยกลายเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยกฎหมายไม่ แต่เป็นเรื่องโจทก์ไม่อาจทำงานให้จำเลยได้ต่อไป การชำระหนี้ของฝ่ายโจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยด้วยเหตุอันจะโทษโจทก์ได้ จำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์ได้ แต่จำเลยก็ต้องจ่ายเงินเดือน ค่าครองชีพ จนถึงวันเลิกจ้าง และจ่ายค่าชดเชยเมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับเงิน ดังกล่าวและได้รับเงินเดือนค่าครองชีพกับค่าชดเชยบางส่วน จึงมิใช่รับไว้ โดยไม่มีมูลที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงไม่ต้องคืนให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาว่าจะรับราชการของทหาร: อำนาจของหน่วยงาน, ความผูกพันของสัญญา, และการบังคับค่าปรับ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 และมาตรา 16แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ เตรียมกำลัง กองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหาย ต่อการจัดเตรียมกำลัง กองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกำหนดให้ผู้สมัครเข้ารับราชการสังกัดจำเลยที่ 1 ทำสัญญาว่าจะรับราชการในกระทรวงกลาโหมไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์ และกำหนดค่าปรับในกรณีที่ผู้นั้นผิดสัญญาได้ แม้คำสั่งกระทรวงกลาโหมที่ 555/18 จะระบุถึงบุคคลประเภทต่างๆ ซึ่งจะต้องทำสัญญากับ จำเลยที่ 1 โดยไม่รวมถึงนายทหารประทวนเช่นโจทก์ก็ตาม
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจ และไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับ แก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าว ในนามของจำเลยที่ 1ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจ และไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับ แก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าว ในนามของจำเลยที่ 1ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทำเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์กองทัพอากาศ ย่อมมีผลผูกพันและบังคับใช้ได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2503 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุให้จำเลยที่ 1 มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายต่อการจัดเตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกำหนดให้ผู้รับสมัครเข้ารับราชการยังสังกัดจำเลยที่ 1 ทำสัญญว่าจะรับราชการในกระทรวงกลาโหมไม่น้อยกว่า 2 ปีบริบูรณ์และกำหนดค่าปรับในกรณ๊ที่ผู้นั้นผิดสัญญาได้ แม้คำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ 555/18 จะระบุถึงบุคคลประเภทต่าง ๆ ซึ่งจะต้องทำสัญญากับจำเลยที่ 1 โดยไม่รวมถึงนายทหารประทวนเช่นโจทก์ก็ตาม
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจและไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับแก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อยเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เข้าทำสัญญากันด้วยความสมัครใจและไม่ปรากฏว่าสัญญานั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงย่อมผูกพันคู่กรณีและมีผลใช้บังคับแก่กันได้ และผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจที่จะทำสัญญาดังกล่าวในนามของจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบ สัญญาจึงหาตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์ผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจบังคับเอาค่าปรับจากโจทก์ตามสัญญานั้นได้ การที่โจทก์ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้วนั้น โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อยเอาคืนจากจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขนส่งทางทะเล, การจำกัดความรับผิด, และผลของสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นบริษัทในต่างประเทศ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพเป็นกิจการของจำเลย จึงเป็นสาขาของจำเลย เมื่อสาขาดังกล่าวมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และได้ร่วมกระทำการ ในการขนส่งสินค้ารายพิพาท จึงถือว่าสำนักงานแห่งใหญ่ของสายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพ เป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรคสอง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ก็หาทำให้ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง จะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัดความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบเพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้น เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็นสาระสำคัญก็ได้หา เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ก็หาทำให้ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง จะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัดความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบเพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้น เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็นสาระสำคัญก็ได้หา เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่