คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับค่าชดเชย: การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยโดยการรับเงินช่วยเหลือ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อโจทก์ทำ สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมรับเงินช่วยเหลือจากจำเลย ไปจำนวนหนึ่งแล้วโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรจากจำเลยอีกจึงมีผลเป็นว่า โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าชดเชยหรือโจทก์ยอมสละข้อหานี้ โดยโจทก์ ไม่ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับเอากับจำเลยอีกต่อไป สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงหาขัดต่อ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานอันตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ขัดประกาศคุ้มครองแรงงาน แม้โจทก์สละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งมีผลเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อโจทก์ทำ สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลยอมรับเงินช่วยเหลือจากจำเลย ไปจำนวนหนึ่งแล้ว โดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรจากจำเลยอีก จึงมีผลเป็นว่า โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องค่าชดเชย หรือโจทก์ยอมสละข้อหานี้ โดยโจทก์ ไม่ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับเอากับจำเลยอีกต่อไป สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงหาขัดต่อ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน อันตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยบุคคลล้มละลายในฐานะกรรมการบริษัท: การเปลี่ยนตัวผู้ถือแทนกรรมสิทธิ์ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์
ส.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไว้แทนบริษัทจำเลยส.เป็นบุคคลล้มละลายในระหว่างเป็นกรรมการผู้จัดการ ย่อมขาดจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1154จึง ไม่มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทนบริษัทจำเลยอีกต่อไปดังนั้นการที่ ส. โอนที่พิพาทให้กรรมการอีกคนหนึ่งของบริษัทจึงเป็นการโอนเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทจำเลยเท่านั้นหาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไม่การโอนจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินโดยกรรมการที่ล้มละลาย: การเปลี่ยนตัวผู้ถือแทนกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์
ส.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไว้แทนบริษัทจำเลย ส.เป็นบุคคลล้มละลายในระหว่างเป็นกรรมการผู้จัดการ ย่อมขาดจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1154 จึง ไม่มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทนบริษัทจำเลยอีกต่อไป ดังนั้น การที่ ส. โอนที่พิพาทให้กรรมการอีกคนหนึ่งของบริษัท จึงเป็นการโอนเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ การโอนจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลมีผลผูกพัน ไม่จำกัดเฉพาะคำขอเดิม หากไม่ขัดกฎหมาย
สัญญาประนีประนอมยอมความที่กระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาสืบพยานกันจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายที่ห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเพียงแต่ต้องตกลงกันในประเด็นแห่งคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นนั้นๆ หากข้อตกลงนั้นมิได้ฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษาไปตามยอมไม่ต้องย้อนไปดูว่าเกินคำขอหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวทำสัญญาให้จำเลยทั้งสามถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินและตึกพิพาทแทน ได้ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้ยึดที่ดินและตึกพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระให้โจทก์การที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโจทก์ได้รับเงินค่าเช่าที่ดินและตึกพิพาทตลอดชีวิตของโจทก์แทนเงินจากการขายทอดตลาดโดยโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดีแล้วคำพิพากษาตามยอมก็ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะเป็นการที่โจทก์ได้จำหน่ายที่ดินและตึกพิพาทตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 และไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 113 ศาลย่อมพิพากษาให้เป็นไปตามยอมได้ หมายเหตุ (โปรดดูฎีกาที่ 1848/2516,2170/2519 และ2487/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาล ไม่จำกัดเฉพาะคำขอในฟ้อง หากไม่ขัดกฎหมาย ศาลต้องพิพากษาตามยอม
สัญญาประนีประนอมยอมความที่กระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาสืบพยานกันจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายที่ห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเพียงแต่ต้องตกลงกันในประเด็นแห่งคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นนั้นๆ หากข้อตกลงนั้นมิได้ฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษาไปตามยอม ไม่ต้องย้อนไปดูว่าเกินคำขอหรือไม่
โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวทำสัญญาให้จำเลยทั้งสามถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินและตึกพิพาทแทน ได้ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้ยึดที่ดินและตึกพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระให้โจทก์การ ที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์ได้รับเงินค่าเช่าที่ดินและตึกพิพาทตลอดชีวิตของโจทก์แทนเงินจากการขายทอดตลาด โดยโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดีแล้ว คำพิพากษาตามยอมก็ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นการที่โจทก์ได้จำหน่ายที่ดินและตึกพิพาทตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 และไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 113 ศาลย่อมพิพากษาให้เป็นไปตามยอมได้
หมายเหตุ (โปรดดูฎีกาที่ 1848/2516, 2170/2519 และ 2487/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141-142/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยและวันหยุดพักผ่อน: ข้อบังคับที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายและสิทธิลูกจ้างหลังเกษียณ
เมื่อหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินสงเคราะห์กับค่าชดเชยแตกต่างกันเงินสงเคราห์จึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือจากค่าชดเชย และการที่มีข้อบังคับกำหนดให้การจ่ายเงินสงเคราะห์เป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานนั้น มีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย จึงไม่มีผลบังคับ
ลูกจ้างมิได้ทำแผนวันลาพักผ่อนประจำปีตามคำสั่งของนายจ้างเพราะลูกจ้างมีเหตุจำเป็นไม่อาจหาคนอื่นทำหน้าที่แทนได้ และนายจ้างก็มิได้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ ดังนี้ เมื่อลูกจ้างเกษียณอายุโดยมิได้หยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณ 2526 และ 2527 นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีงบประมาณดังกล่าวแก่ลูกจ้าง ส่วนปีงบประมาณ 2528 นั้น ลูกจ้างมิได้ทำงานให้นายจ้างแล้ว จึงไม่มีวันหยุดพักผ่อนประจำปี ลูกจ้างจะเรียกค่าจ้างโดยอ้างว่าหากไม่ถูกเลิกจ้างก็มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากการทำงานครบ 1 ปีของปีงบประมาณ 2527 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเพื่อถอนคดีอาญา วัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยเป็นโมฆะ
จำเลยทำสัญญาซื้อขายมันสำปะหลังที่เสียหายกับโจทก์ ก็เพื่อให้โจทก์ถอนคดีข้อหากระทำให้เกิดเพลิงไหม้ ไร่มันสำปะหลังอันเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดิน วัตถุประสงค์ในการทำสัญญาขัดต่อความสงบเรียบร้อยเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113 โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ชำระราคาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงลดค่าจ้างช่วงหยุดงาน: ศาลยืนตามข้อตกลงหากลูกจ้างยอมรับเพื่อช่วยเหลือนายจ้าง
นายจ้างจำเป็นต้องหยุดงานเพราะขาดวัตถุดิบป้อนโรงงาน จึงตกลงกับลูกจ้างว่า ในระหว่างหยุดงานจะจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างต่ำกว่าค่าจ้างที่ลูกจ้างเคยได้รับและต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย ดังนี้ ลูกจ้างจะเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามที่เคยได้รับหรือตามค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3501/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงลดค่าจ้างช่วงหยุดงาน: ศาลยืนตามข้อตกลงหากลูกจ้างยินยอม แม้ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ
นายจ้างจำเป็นต้องหยุดงานเพราะขาดวัตถุดิบป้อนโรงงาน จึงตกลงกับลูกจ้างว่า ในระหว่างหยุดงานจะจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างต่ำกว่าค่าจ้างที่ลูกจ้างเคยได้รับและต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย ดังนี้ ลูกจ้างจะเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างตามที่เคยได้รับหรือตามค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายหาได้ไม่
of 67