พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา 3,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิครอบครองที่พิพาทมาโดยตลอดเป็นการครอบครองเพื่อตน จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกา
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ห้ามโจทก์ผู้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงพิพาทโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี ดังนั้นถึงแม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์สละการครอบครองก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 แม้จะโอนไปเพียงบางส่วนของที่ดินที่ห้ามโอนและมอบการครอบครองแล้ว ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วก็ไม่อาจทำได้
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ห้ามโจทก์ผู้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงพิพาทโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี ดังนั้นถึงแม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์สละการครอบครองก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 แม้จะโอนไปเพียงบางส่วนของที่ดินที่ห้ามโอนและมอบการครอบครองแล้ว ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วก็ไม่อาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามกฎหมายที่ดิน และสิทธิครอบครองที่ดินที่พิพาท
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา 3,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิครอบครองที่พิพาทมาโดยตลอดเป็นการครอบครองเพื่อตน จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกา ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 ห้ามโจทก์ผู้ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแปลงพิพาทโอนไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี ดังนั้นถึงแม้จะฟังว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์สละการครอบครองก็เป็นการซื้อมาและเข้าครอบครองภายในกำหนดเวลาห้ามโอน เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้จะโอนไปเพียงบางส่วนของที่ดินที่ห้ามโอนและมอบการครอบครองแล้ว ทั้งมีข้อตกลงว่าจะจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลยเมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนแล้วก็ไม่อาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดิน น.ส.3ก. ที่มีข้อจำกัดตามมาตรา 31 ประมวลกฎหมายที่ดิน และผลของการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 อันเป็นการห้ามโอนโดยเด็ดขาด การที่โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 ไม่ทำให้โจทก์ที่ 2 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแต่อย่างใดนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2530 แม้ตามสารบัญจดทะเบียนจะมีข้อความว่าห้ามโอนภายในสิบปี ตามมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินนับแต่วันที่ 15 มกราคม 2523 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตามแต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31แห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้อยู่เดิม จากการห้ามโอนภายในสิบปีให้ยกเลิกเป็นการห้ามโอนมีกำหนดห้าปี ดังนั้น ข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 เดิมจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับในคดีนี้ได้เพราะคดีนี้โจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีแล้ว โจทก์ที่ 2จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3 โมฆะหากไม่ทำตามแบบและฝ่าฝืนห้ามโอน แต่หากครอบครองหลังพ้นห้ามโอน ย่อมได้สิทธิครอบครอง
การซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ซึ่งทางราชการห้ามโอนภายใน 10 ปีตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายแม้โจทก์ซื้อและยึดถือที่พิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อมาในระยะเวลาห้ามโอนก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง แต่เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองต่อมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันที่พ้นกำหนดห้ามโอนนั้น
เมื่อสัญญาซื้อขายที่พิพาทเป็นโมฆะ จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงบังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทไม่ได้
เมื่อสัญญาซื้อขายที่พิพาทเป็นโมฆะ จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงบังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ที่ผิดแบบและห้ามโอน สิทธิครอบครองเกิดขึ้นได้หลังพ้นระยะห้าม
การซื้อขายที่ดิน น.ส.3 ซึ่งทางราชการห้ามโอนภายใน 10 ปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะ เพราะไม่ถูกต้องตามแบบและเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย แม้โจทก์ซื้อและยึดถือที่พิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนต่อมาในระยะเวลาห้ามโอนก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง แต่เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองต่อมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 นับแต่วันที่พ้นกำหนดห้ามโอนนั้น เมื่อสัญญาซื้อขายที่พิพาทเป็นโมฆะ จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงบังคับจำเลยไปจดทะเบียนโอนที่พิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สินที่ได้จากการฟ้องร้อง เป็นโมฆะ แม้กฎหมายจะเปลี่ยนไป
โจทก์รับจ้างว่าความให้จำเลยโดยตกลงกันว่าจำเลยจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์อัตราร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษา จึงเป็นสัญญาจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความ อันมีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบพระราชบัญญัติ ทนายความ พ.ศ. 2477 มาตรา 12(2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะตกลงทำสัญญากัน จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528ยกเลิกกฎหมายข้างต้นแล้วก็ไม่ทำให้สัญญาซึ่งเป็นโมฆะตั้งแต่ต้นกลับสมบูรณ์ขึ้นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3ก. ในช่วงเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้จะอ้างการครอบครองก่อนทำสัญญา
ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า ห้ามมิให้ผู้ได้สิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เว้นแต่การตกทอดทางมรดกโจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจาก ส. บิดาจำเลยเมื่อวันที่19 ตุลาคม 2529 โดยระบุว่า ส. ได้รับเงินค่าซื้อขายที่พิพาทจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว และยินยอมมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งให้สิทธิโจทก์ทุกอย่างในการเข้าครอบครองปลูกสร้างอาคารในที่พิพาทนับแต่วันที่ทำสัญญา ซึ่งอยู่ในระยะเวลาห้ามโอน ถือว่าสัญญาซื้อขายมุ่งประสงค์โอนสิทธิครอบครองทันที แม้ว่า ส. บิดาจำเลยได้ น.ส. 3 มาเมื่อวันที่ 25 และ 26 พฤษภาคม 2520 แล้ว ส. ทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์ในวันที่ 19 ตุลาคม 2529 เมื่อครอบครองที่พิพาทมา9 ปี 5 เดือนแล้ว และกำหนดโอนกันวันที่ 19 กรกฎาคม 2531 ซึ่งเป็นเวลา 11 ปี 5 เดือน นับแต่ได้รับ น.ส. 3ก. มา การทำสัญญาซื้อขายในลักษณะดังกล่าวก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน ย่อมเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะนับแต่วันทำสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน น.ส.3ก. ที่มีข้อจำกัดการโอน ย่อมตกเป็นโมฆะหากเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมาย
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก.)ซึ่งทางราชการห้ามโอนภายในสิบปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58ทวิ โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทจาก ส. ซึ่งเป็นบิดาจำเลยโดยระบุว่า ส. ได้รับเงินค่าซื้อขายที่พิพาทจากโจทก์ครบถ้วนแล้วและยินยอมมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งให้สิทธิโจทก์ทุกอย่างในการเข้าครอบครองปลูกสร้างอาคารในที่พิพาทนับแต่วันทำสัญญาซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนที่พิพาทตามกฎหมายดังกล่าว สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์และ ส.มุ่งประสงค์โอนสิทธิครอบครองทันที การทำสัญญาซื้อขายลักษณะดังกล่าวก็เพื่อหลีกเลี่ยงข้อห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ ดังกล่าว ย่อมเป็นการอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับแม้ส่วนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย, ดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
หนังสือสัญญากู้เงินท้ายฟ้องเห็นได้ว่ามีสองส่วน คือส่วนการกู้เงินกับส่วนการเรียกดอกเบี้ย ส่วนการกู้เงินไม่ผิดกฎหมายแต่ส่วนการเรียกดอกเบี้ยโจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะ สองส่วนนี้แยกต่างหากจากกันได้โดยถือว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้ต้นเงินสูญไปด้วย ดังนั้น ต้นเงินจึงไม่ตกเป็นโมฆะ เพราะเป็นส่วนที่สมบูรณ์แยกต่างหากจากการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราซึ่งเป็นส่วนที่ไม่สมบูรณ์ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เมื่อลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดให้คิดดอกเบี้ยได้เสมอไม่ว่าจะมีข้อตกลงให้ดอกเบี้ยกันหรือไม่ก็ตาม เพราะเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยผลของกฎหมายเมื่อสัญญากู้ถึงกำหนดชำระคืนในวันที่ 8 มีนาคม 2529 จำเลยไม่ชำระย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จึงมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2529 ซึ่งเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ดอกเบี้ยภายหลังจากที่จำเลยผิดนัดไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสัญญากู้ก่อนกำหนด & การส่งหนังสือบอกกล่าวถึงกรรมการบริษัท: ผลผูกพันทางกฎหมาย
การร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 นั้น ทำได้เฉพาะในศาลชั้นต้นเท่านั้น แม้ข้อตกลงในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระ จะทำให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบต่อโจทก์ แต่ข้อตกลงดังกล่าวก็เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจของจำเลยที่ 1เอง หาเกี่ยวกับสังคมหรือประชาชนไม่ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 2จะมีที่อยู่แยกต่างหากจากภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 มีหลักแหล่งที่ทำการเป็นปกติแห่งเดียวกับจำเลยที่ 1ดังนั้น การที่โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบคำบอกกล่าวแล้ว