คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5773/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ ผู้ไม่ได้รับการจัดสรรไม่มีสิทธิแย่งการครอบครอง
การซื้อขายที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39 จึงเป็นโมฆะกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ในเขตปฏิรูปที่ดินบุคคลที่มิได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่มีสิทธิแย่งการครอบครองผู้ที่ได้รับจัดสรรเพราะเมื่อผู้ได้รับจัดสรรที่ดินละทิ้งการครอบครองไป การครอบครองที่ดินก็กลับตกมาเป็นของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกครั้ง ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่ที่จะจัดสรรให้เกษตรกรที่เหมาะสมได้รับต่อไป และพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 37 ห้ามมิให้ยกอายุความครอบครองขึ้นต่อสู้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้มาตามพระราชบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อขายที่ดินขัดต่อกฎหมายปฏิรูปที่ดินเป็นโมฆะ เจ้าของที่ดินตาม น.ส.3 คือเจ้าของที่แท้จริง
เมื่อคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องบรรยายไว้แล้วว่า ที่ปรากฏใน น.ส.3 ว่าที่ดินมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของ เพราะที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เจ้าของที่ดินมีกรรมสิทธิ์ได้ไม่เกินคนละ 50 ไร่ ผู้ร้องจึงตกลงให้ใส่ชื่อจำเลยไว้แทนผู้ร้อง ดังนี้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายย่อมเป็นโมฆะกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 ถือว่าไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ที่ดินจึงเป็นของจำเลยซึ่งมีชื่อใน น.ส.3 ศาลชอบที่จะพิจารณาคำร้อง ของผู้ร้องแล้วมีคำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5671/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ผูกพันบุคคลภายนอกคดี แม้ผู้ทำสัญญาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้โจทก์จำเลยหย่ากันและแบ่งทรัพย์สินซึ่งระบุให้จำเลยโอนที่ดินจำนวน 14 ไร่ ที่บริษัทม. จำกัด เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการเพียงผู้เดียวพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนบริษัทได้ให้โจทก์ สัญญานี้ระบุด้วยว่า คำพิพากษาตามยอมไม่บังคับถึงทรัพย์สินของบุคคลภายนอกคดี การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เป็นการกระทำในฐานะส่วนตัว มิได้ทำในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทดังกล่าวข้อตกลงตามสัญญานี้จึงไม่ผูกพันบริษัท ม. จำกัด คำพิพากษาตามยอมไม่อาจบังคับเกี่ยวกับที่ดินจำนวน 14 ไร่ ของบริษัท ม. จำกัดซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี การบังคับให้จำเลยชำระหนี้ในส่วนนี้จึงกลายเป็นพ้นวิสัย ดังนี้ ศาลจะบังคับให้จำเลยโอนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5479/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ดินสาธารณะและการตกเป็นโมฆะของการขายรวม
เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยจำนวน 7 แปลงในคราวเดียวกัน ผู้ร้องประมูลซื้อได้ทั้ง 7 แปลงต่อมาปรากฏว่าที่ดิน 2 แปลงที่ประกาศขายนั้นเป็นทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งจะโอนขายให้แก่กันมิได้ การขายที่ดินสองแปลงนี้จึงเป็นการขายทรัพย์สินที่ต้องห้ามโอนขายตามกฎหมายตกเป็นโมฆะ ส่วนที่ดินอีก 5 แปลง ซึ่งขายมาในคราวเดียวกันโดยไม่สามารถแยกออกได้ว่าที่ดินแปลงใดมีราคาเท่าใด และตามพฤติการณ์ก็ไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีประสงค์จะให้การขายที่ดินทั้ง 5 แปลงนี้ให้สมบูรณ์แยกต่างหากออกมาได้ การขายที่ดิน5 แปลงนี้จึงตกเป็นโมฆะด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุด
++ คดีแดงที่ 4800 - 5216/2534
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2534มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้ (1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องระงับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ: ค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดที่เกิดขึ้นก่อนทำสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม2534 มีความว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาททั้งปวงดังต่อไปนี้(1) ลูกจ้างตกลงยินยอมรับค่าชดเชยตามกฎหมายเนื่องจากบริษัทได้เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2534 ไว้ตามจำนวนที่ตกลงกันถูกต้องแล้วในขณะทำสัญญานี้ (2) บริษัทตกลงยอมจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว (3) ลูกจ้างยอมรับว่าการที่บริษัทได้เลิกจ้างครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นธรรมแล้ว (4) ลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องหรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากบริษัทอีก หมายความว่า ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาระหว่างคู่กรณีที่มีอยู่นั้น ให้ถือตามความที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับเงินใด ๆ รวมทั้งค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดที่มีข้อพิพาทกันอยู่ก่อนวันทำสัญญานี้เป็นอันระงับไปโดยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย การผิดสัญญาทำให้เกิดความเสียหายและต้องรับผิดชดใช้
ข้อตกลงตามรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาที่ทนายโจทก์กับจำเลยได้ลงชื่อไว้มีใจความว่า โจทก์ยอมรับว่า จำเลยเป็นเจ้าหนี้ จ.เป็นจำนวน 100,000 บาท และโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีอาญาแลกกับการที่จำเลย งดเว้นการใช้สิทธิอุทธรณ์คดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยต่างเกี่ยวข้องอยู่ในคดีต่าง ๆ นั้น ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งมีวัตถุประสงค์จะระงับข้อพิพาทที่มีอยู่แล้วให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ย่อมก่อให้เกิดความผูกพันใช้ บังคับได้ และหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ฎีกาในทางแพ่งของจำเลยไม่ เพราะเป็นความสมัครใจเองที่ยอมสละสิทธิอุทธรณ์ในคดีแพ่งนั้น การที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าทนายความไป ในการต่อสู้คดีกับจำเลย เพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการที่จำเลยผิดสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3245/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนนำเข้าทำงาน ไม่ขัดศีลธรรม สัญญาไม่เป็นโมฆะ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา
การที่จำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจะดำเนินการให้บุตรโจทก์ได้เข้าทำงานที่การไฟฟ้าวัดเลียบโดยคิดค่าบริการจากโจทก์ ถ้าไม่ได้จะคืนเงินทั้งหมดให้โจทก์ โจทก์จึงมอบเงินให้จำเลยไปก่อนส่วนหนึ่งแต่ต่อมาจำเลยไม่สามารถดำเนินการให้บุตรโจทก์เข้าทำงานได้ครั้นโจทก์ทวงถามเงินคืน จำเลยก็ทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวนที่รับไปนั้นให้โจทก์ไว้ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เงินจำเลยไปเพื่อให้จำเลยดำเนินการในทางไม่ชอบหรือนำเงินที่ได้รับจากโจทก์ไปดำเนินการในทางไม่ชอบเพื่อให้บุตรโจทก์ได้เข้าทำงาน สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศิลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญากู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3245/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนนำเข้าทำงาน - สัญญากู้ยืม - ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรม - จำเลยต้องรับผิด
จำเลยจะนำบุตรโจทก์เข้าทำงานโดยคิดค่าบริการจากโจทก์ ถ้าไม่สามารถนำบุตรโจทก์เข้าทำงานได้จะคืนเงินให้ โจทก์มอบเงินให้จำเลยแต่จำเลยนำบุตรโจทก์เข้าทำงานไม่ได้ จำเลยจึงได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินมอบไว้แก่โจทก์ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ไม่ปรากฏว่าโจทก์ให้เงินจำเลยไปเพื่อให้จำเลยดำเนินการในทางไม่ชอบ หรือนำเงินที่ได้รับจากโจทก์ไปดำเนินการในทางไม่ชอบ เพื่อให้บุตรโจทก์ได้เข้าทำงาน ดังนี้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินที่มีการรวมดอกเบี้ยเกินอัตรากฎหมาย ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ หากแยกต้นเงินออกจากดอกเบี้ยได้
จำเลยรู้เห็นยินยอมให้โจทก์เอาดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมกับต้นเงินกรอกลงในสัญญากู้ สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอมการกู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ผิดกฎหมาย แต่การคิดดอกเบี้ยเป็นความผิดตามกฎหมายต่างหาก ซึ่งแยกออกจากกันได้โดยถือว่าคู่กรณีไม่ประสงค์จะให้ต้นเงินสูญไปด้วย ต้นเงินเป็นส่วนที่สมบูรณ์ สัญญากู้ไม่เป็นโมฆะทั้งฉบับ น.ส.3 ที่จำเลยมอบให้โจทก์ไว้เป็นประกันการกู้ยืม ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมเพราะไม่ใช่เอกสารที่แสดงในตัวเองว่ามีการกู้ยืมเงินกัน การที่โจทก์คืน น.ส.3 ดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการเวนคืนหลักฐานแห่งการกู้ยืม.
of 67