คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก, สิทธิหน้าที่ของผู้จัดการมรดก, และการส่งมอบเอกสารบัญชีทรัพย์มรดก
สิทธิในการดำเนินคดีทางศาลเป็นสิทธิโดยชอบของบุคคลตามกฎหมายในเมื่อสิทธิของตนถูกโต้แย้งหรือมีกรณีจะต้องใช้สิทธิทางศาลการที่พินัยกรรมมีข้อกำหนดห้ามทายาทผู้ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมฟ้องคดีต่อศาลเกี่ยวกับทรัพย์ตามพินัยกรรม มิฉะนั้นให้ถือว่าผู้นั้นถูกตัดออกจากกองทรัพย์สินนั้น เช่นนี้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงไม่เป็นการกระทำที่ต้องถูกตัดมิให้รับมรดก การฟ้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกใหม่นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 มิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องร้องเข้ามาในคดีเดิม ดังนั้น โจทก์จึงอาจฟ้องเป็นคดีใหม่หรือร้องเข้ามาในคดีเดิมก็ได้ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล จึงมีหน้าที่จะต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ยังไม่มีการแบ่งปันมรดกให้ทายาทเลย อีกทั้งยังได้จำหน่ายทรัพย์มรดกบางส่วนไปโดยมิได้ประชุมปรึกษาทายาท รวมทั้งไม่มีบัญชีแสดงให้ทายาททราบถึงการที่ได้จัดการไป และหลังจากที่ได้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วถึง 4 ปีเศษจึงได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดก แสดงว่าจำเลยไม่นำพาต่อหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1729 และ 1732 จึงมีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดก จำเลยมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียข้อคัดค้านของจำเลยที่จะไม่ให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เจ้ามรดกทำพินัยกรรมระบุให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน เมื่อโจทก์ที่ 1 ถอนฟ้อง ส่วนผู้ร้องสอดที่ 1 ถูกโต้แย้งว่า ได้นำทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งไปจำหน่าย ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 มีข้อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก กรณีเห็นได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ไม่อาจเข้าร่วมจัดการเพื่อประโยชน์ของกองมรดกโดยไม่มีข้อขัดแย้งได้ ตามพฤติการณ์จึงไม่อาจตั้งผู้ร้องสอดที่ 1ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกกับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 2 ได้ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ต่อมาศาลมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้จำเลยส่งมอบบัญชีทรัพย์มรดกที่จำเลยทำขึ้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกให้ผู้จัดการมรดกคนใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวและผลบังคับใช้ แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากจำเลยผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญากับจำเลยให้โจทก์ประกันตัว ส.ซึ่งถูกดำเนินคดีอาญาต่อศาล โดยจำเลยมีหน้าที่นำส่งตัว ส.ต่อศาลตามนัด หากผิดสัญญาไม่นำตัว ส.ส่งศาลจำเลยยินยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งสัญญาดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เพราะสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องบังคับจำเลยมิได้ปิดอากรแสตมป์นั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ สัญญาที่จำเลยตกลงกับโจทก์ว่าจะนำตัว ส.ซึ่งโจทก์เป็นผู้ประกันตัวมาพบเจ้าพนักงานตามกำหนดนัดทุกครั้ง ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะต้องกระทำการตามสัญญาดังกล่าว จึงไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ เมื่อจำเลยผิดสัญญาจนศาลสั่งปรับโจทก์และมีการบังคับคดียึดทรัพย์โจทก์แล้วแม้จะยังไม่มีการนำทรัพย์ที่ยึดออกขายทอดตลาด โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องใช้สิทธิทางศาลโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาคิดดอกเบี้ยเกิน 15% ต่อปี โมฆะ
สัญญากู้ระบุให้ตกลงคิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนอัตราดังกล่าวเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 654 และต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475ดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะทั้งหมด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, หนี้ถึงกำหนด, การบอกกล่าวทวงถาม, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สัญญาค้ำประกัน: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกเงินเกินบัญชีตามเอกสารหมาย 33 และ 34ท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดของรายการต่าง ๆ โดยละเอียดคำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่าแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญานี้ภายในวันที่27 สิงหาคม 2525 แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควรและโดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้เรียกร้องให้ชำระหนี้ ผู้กู้จะชำระหนี้ที่เรียกร้องทันที ข้อสัญญานี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลผูกพัน จำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ 3 ครั้ง และได้รับเงินทั้ง3 ครั้ง และทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับ โจทก์ อีก 3 ครั้งการเบิกเงินเกินบัญชีทำโดยจำเลยสั่งจ่ายเช็ค และยอมให้โจทก์หักทอนค่าธรรมเนียมกับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้แล้วรวมเข้ากับต้นเงินเมื่อถึงสิ้นเดือนโจทก์มีบัญชีควบคุม แม้บัญชีต่าง ๆ ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้นเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากจำเลยก่อนก็ตามแต่ไม่มีพิรุธ จำเลยคงมีแต่จำเลยเบิกความลอย ๆ ว่าหนี้ไม่ถูกต้องจึงไม่อาจรับฟังหักล้างพยานฝ่ายโจทก์ ทนายโจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและบอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ตอบรับลงทะเบียนให้จำเลยแต่ไม่ได้รับใบตอบรับโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง จึงทำคำร้องขอไต่สวนไปรษณีย์ตอบรับในประเทศว่าส่งหนังสือได้หรือไม่ เมื่อใด และใครเป็นผู้รับหนังสือต่อมาทนายโจทก์ได้รับแจ้งจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า ส่งได้โดยระบุวันที่ส่งและชื่อผู้รับด้วยใบตอบรับที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จัดทำขึ้นตามหน้าที่ ทั้งระบุสถานที่นำหนังสือไปส่งตรงกับภูมิลำเนาของจำเลย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้รับก็ตามแต่เป็นเอกสารที่ทำภายหลังจากทนายโจทก์ได้ทำคำร้องขอไต่สวนไปการไม่มีชื่อของผู้รับในใบตอบรับจึงไม่มีพิรุธ ถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม-หนี้ถึงกำหนด: ศาลฎีกายืนฟ้องได้ เหตุรายละเอียดหนี้ชัดเจน-บอกกล่าวทวงถามถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกเงินเกินบัญชีตามเอกสารหมายเลข 33และ 34 ท้ายฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดของรายการต่าง ๆ ไว้แล้ว จำเลยย่อมสามารถตรวจสอบได้คำฟ้องของโจทก์จึงถือได้ว่าได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม สัญญากู้ระบุว่าผู้กู้ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญานี้ภายในวันที่ 27สิงหาคม 2525 แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ และผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้เรียกร้องดังกล่าวมานี้ ผู้กู้จะชำระหนี้ตามที่เรียกร้องทันที ข้อสัญญานี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญามีผลผูกพันกันได้ ทนายโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้กับสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทางไปรษณีย์ตอบรับลงทะเบียนแต่ไม่ได้รับใบตอบรับโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง จึงไปทำคำร้องขอไต่สวนไปรษณีย์ตอบรับในประเทศ ต่อมาทนายโจทก์ได้รับแจ้งจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่าส่งได้โดยระบุวันที่ส่งและชื่อผู้รับมาด้วยตามใบตอบรับที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ได้จัดทำขึ้นตามหน้าที่ ทั้งระบุสถานที่นำหนังสือไปส่งตรงกับภูมิลำเนาของจำเลย ใบตอบรับดังกล่าวทำภายหลังจากทนายโจทก์ทำคำร้องขอไต่สวน การไม่มีลายมือชื่อของผู้รับในใบตอบรับจึงไม่เป็นพิรุธ ฟังได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี การบอกกล่าวหนี้ และการบังคับจำนอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่เคลือบคลุม และการบอกกล่าวถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกเงินเกินบัญชีตามเอกสารหมาย 33 และ 34 ท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดของรายการต่าง ๆ โดยละเอียดคำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่า แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญานี้ภายในวันที่ 27 สิงหาคม 2525แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควรและโดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ ผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้เรียกร้องให้ชำระหนี้ ผู้กู้จะชำระหนี้ที่เรียกร้องทันที ข้อสัญญานี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลผูกพัน
จำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ 3 ครั้ง และได้รับเงินทั้ง 3 ครั้ง และทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์อีก 3 ครั้ง การเบิกเงินเกินบัญชีทำโดยจำเลยสั่งจ่ายเช็ค และยอมให้โจทก์หักทอนค่าธรรมเนียมกับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้แล้วรวมเข้ากับต้นเงิน เมื่อถึงสิ้นเดือนโจทก์มีบัญชีควบคุม แม้บัญชีต่าง ๆ ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้นเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากจำเลยก่อนก็ตามแต่ไม่มีพิรุธ จำเลยคงมีแต่จำเลยเบิกความลอย ๆ ว่าหนี้ไม่ถูกต้อง จึงไม่อาจรับฟังหักล้างพยานฝ่ายโจทก์
ทนายโจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และบอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ตอบรับลงทะเบียนให้จำเลย แต่ไม่ได้รับใบตอบรับโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง จึงทำคำร้องขอไต่สวนไปรษณีย์ตอบรับในประเทศว่าส่งหนังสือได้หรือไม่ เมื่อใด และใครเป็นผู้รับหนังสือต่อมาทนายโจทก์ได้รับแจ้งจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า ส่งได้โดยระบุวันที่ส่งและชื่อผู้รับด้วยใบตอบรับที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จัดทำขึ้นตามหน้าที่ ทั้งระบุสถานที่นำหนังสือไปส่งตรงกับภูมิลำเนาของจำเลย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้รับก็ตาม แต่เป็นเอกสารที่ทำภายหลังจากทนายโจทก์ได้ทำคำร้องขอไต่สวนไป การไม่มีชื่อของผู้รับในใบตอบรับจึงไม่มีพิรุธ ถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน & สิทธิในการฟ้องเพิกถอนหลังคดีถึงที่สุด
สัญญาประนีประนอมยอมความที่คู่กรณีตกลงกันต่อหน้าศาล และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้วนั้น มีผลทำให้หนี้เดิมระงับ เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งคู่กรณีต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องก็อาจจะอุทธรณ์ได้หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงว่า จะบังคับชำระหนี้ด้วยวิธีการให้โจทก์โอนที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินดังนี้ ข้อตกลงนั้นไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่กรณี หากไม่โต้แย้งสิทธิในเวลาที่กำหนด ย่อมไม่อาจฟ้องเพิกถอนได้ภายหลัง
สัญญาประนีประนอมยอมความที่คู่กรณีตกลงกันต่อหน้าศาล และศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้วนั้น มีผลทำให้หนี้เดิมระงับ เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งคู่กรณีต้องปฏิบัติตามสัญญานั้น หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถูกต้องก็อาจจะอุทธรณ์ได้หากเข้ากรณีตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนได้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงว่า จะบังคับชำระหนี้ด้วยวิธีการให้โจทก์โอนที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เงินกู้ ดังนี้ ข้อตกลงนั้นไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการมรดกและการจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมาย
คดีเดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ร.หาก ส. จะขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนโจทก์ ตามปกติย่อมกระทำได้โดยยื่นคำร้องในคดีเดิม หรืออาจฟ้องโจทก์แยกจากคดีเดิมได้โดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นแต่ให้สิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมก่อนการปัน มรดก เสร็จสิ้นลงเท่านั้น หาเป็นการตัดสิทธิมิให้ฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีใหม่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้ง ส.เป็นผู้จัดการมรดกของร. แทนนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของ ร. อีกต่อไป การที่ ส. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกทำตามมติที่ประชุมทายาทโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการจัดการตามอำนาจหน้าที่และมิใช่เป็นการทำนิติกรรมที่ตนมีส่วนได้เสียอันเป็นปรปักษ์ต่อกองมรดก นิติกรรมจึงมีผลสมบูรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6180/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นโมฆะ โจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อให้จำเลย
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ให้จำเลยเช่าซื้อเป็นที่ราชพัสดุและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำที่ดินพิพาทไปให้จำเลยเช่าซื้อ เพราะต้องห้ามมิให้โอนกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 สัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 เพราะมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการพ้นวิสัยและต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย โจทก์จึงต้องคืนค่าเช่าซื้อให้จำเลยเพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ตามมาตรา 406 วรรคแรก
of 67