คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย โมฆะ แม้จำเลยยอมรับชำระ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 84,000บาท แต่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนดังกล่าวเมื่อจำเลยให้การว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 33,000 บาท โดยได้ความว่าแยกเป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 10,000 บาทได้ ส่วนเงินอีก 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะให้การยอมรับจะชำระเงินจำนวนนี้ ก็บังคับให้ไม่ได้ เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย
บทบัญญัติมาตรา 24 พระราชบัญญัติล้มละลาย ไม่ได้บัญญัติห้ามผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือกระทำกิจการแทนผู้อื่น จำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: การแต่งตั้งทนายความแทนจำเลยที่เป็นนิติบุคคล
บทบัญญัติมาตรา 24 พระราชบัญญัติล้มละลาย ไม่ได้บัญญัติห้ามผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจัดการทรัพย์สินของผู้อื่นหรือกระทำกิจการแทนผู้อื่น จำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงมีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4771/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ารถที่ขัดต่อกฎหมายและหลักตัวการตัวแทน: ความรับผิดของผู้ให้เช่าต่อความเสียหายจากการขับรถ
จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร โดยใช้รถยนต์สี่ล้อรับจ้างบรรทุกคนโดยสารได้ไม่เกินเจ็ดคนในท้องที่จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 34(พ.ศ. 2513) ออกตามความใน พ.ร.บ. รถยนต์พ.ศ. 2473 อันเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ในขณะพิพาท ซึ่งตามข้อ 8(5)แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว จำเลยที่ 2 ต้องไม่ยินยอมให้ผู้อื่นเช่ารถของจำเลยที่ 2 ไปหารายได้ ดังนี้ ที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าให้จำเลยที่ 1 เช่ารถตามฟ้องไปแล้ว สัญญาเช่าดังกล่าวจึงฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 เมื่อจำเลยที่ 1 เดิน รถรับจ้างโดยสารดังกล่าวกระทำในนามของจำเลยที่ 2 ตามวัตถุประสงค์ที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนไว้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารของจำเลยที่ 2ไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการจะปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าให้เช่ารถคันดังกล่าวไปแล้วหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306-4307/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถว จำเลยต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพถนนตามสัญญา
จำเลยประกาศโฆษณาขายที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ซื้อว่ามีถนนกว้าง 10 เมตร เมื่อครบ 10 ปีแล้วจะยกให้เป็นทางสาธารณะ เป็นสัญญาต่อเนื่องในการขายระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ใช่การให้คำมั่นว่าจะให้จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
จำเลยผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ยอมให้บุคคลภายนอกเช่าทรัพย์สินไปและทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อโจทก์ผู้มี สิทธิใช้ทรัพย์สินนั้นตามสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4020/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงกฎหมายเงินทุนโดยใช้วิธีการกู้ยืมเงินผ่านตัวกลาง ทำให้ธุรกรรมเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนต้องการให้ผู้คัดค้านที่ 3ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน กู้ยืมเงิน แต่ไม่สามารถทำได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 35 จำเลยจึงให้ผู้คัดค้านที่ 1 กู้ยืมเงินเพื่อนไปให้ผู้คัดค้านที่ 3กู้ยืมเงินนั้นต่อด้วยวิธีให้ผู้คัดค้านที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลยที่ 1 โดยผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับอาวัล และผู้คัดค้านที่ 3 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ผู้คัดค้านที่ 1 โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้รับอาวัล ต่อมาก่อนผู้คัดค้านที่ 3 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ได้มีการหักกลบลบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินกันระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1และผู้คัดค้านทั้งสามย่อมเป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าว อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 นิติกรรมการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีผลบังคับโดยศาลไม่จำต้องเพิกถอน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะเรียกเงินกู้คืนจากผู้คัดค้านที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม - สัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชี - ดอกเบี้ยเพิ่ม - สิทธิของโจทก์ในการบังคับชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 โดยถือเอาบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 13777 ของจำเลยที่มีไว้กับโจทก์เพื่อเดินสะพัดบัญชีกับโจทก์ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2526 จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,256,239.21 บาท จำเลยได้จำนองที่ดินและเครื่องจักรเป็นประดับหนี้ดังกล่าว หนี้ถึงกำหนดแล้วแต่จำเลยยังไม่ชำระให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้หากไม่ชำระให้ครบ ให้ยึดทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินยังไม่ชำระหนี้ก็ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์จนครบ คำฟ้องดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำของบีงคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้าหาครบถ้วนสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาในทางแพ่งซึ่งทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอก และวัตถุประสงค์ของสัญญาก็ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเพิ่มดอกเบี้ยย้อนหลังในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ย่อมใช้บังคับได้ หากเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาโดยไม่ขัดกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาตกลงกับโจทก์ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากร้อยละ 12.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 15 ต่อปี และร้อยละ18 ต่อปี แม้เป็นการเพิ่มดอกเบี้ยย้อนหลัง แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาในทางแพ่งซึ่งทำขึ้นระหว่างธนาคารโจทก์กับจำเลยอันเป็นคู่สัญญา มิได้มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอก ทั้งวัตถุประสงค์ของสัญญาก็ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การออกเช็คเพื่อยืนยันความรักและเจตนาสมรส ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม ผู้รับมีอำนาจฟ้อง
จำเลยออกเช็คพิพาทมอบให้แก่โจทก์เพื่อยืนยันว่า จำเลยรักใคร่โจทก์ จำเลยจะสมรสกับโจทก์เป็นการให้เงินตามเช็คแก่โจทก์โดยมีมูลหนี้บังคับกันได้ การออกเช็คพิพาทของจำเลยในลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทจึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3444/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย น.ส.3 ที่ขัดต่อข้อจำกัดการโอนตามกฎหมาย ถือเป็นโมฆะ และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามผู้มีสิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เป็นต้นไป นอกจากตกทอดทางมรดกตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 31 การที่จำเลยได้ที่ดินพิพาทมาโดยทางมรดก และทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวโดยได้รับเงินกับมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองแล้ว แม้มีข้อตกลงว่าจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยประกาศรับมรดกเสร็จแล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว
of 67