คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 664 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7183/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ถูกชำระบัญชี ไม่เป็นสัญญาซื้อขายความกัน
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นนิติกรรมนอกวัตถุประสงค์ของโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว และโจทก์มิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญาซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ ปรส. ระหว่างโจทก์กับ ปรส. เกิดขึ้นจากการที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 7 (3) ให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการซึ่งในคดีนี้คือ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม.ซี.ซี. จำกัด (มหาชน) เพราะบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ และพระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัทดังกล่าวได้อีกโดยเปิดประมูลอย่างเปิดเผย เมื่อโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์และสินเชื่อซึ่งมีจำเลยเป็นลูกหนี้ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ การซื้อขายของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นไปตามที่ พ.ร.ก.การปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 กำหนด สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายความกัน และมิได้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7810/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกรในการทำนิติกรรม และอายุความในการเรียกค่าหนี้ซื้อปุ๋ย
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งองค์การของรัฐบาลพ.ศ. 2496 โดยจัดตั้งขึ้นตาม พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 โจทก์จึงมีอำนาจเป็นตัวการที่จะกระทำ การใดหรือทำนิติกรรมใด ๆ ได้ด้วยตัวเองตามกฎหมาย เป็นการ ดำเนินการในฐานะตัวแทนของ รัฐบาลและกระทรวง ทบวง กรม ที่รับนโยบายรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติในนามของโจทก์เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร หาใช่โจทก์กระทำการใด ๆ ในฐานะที่เป็นตัวแทนกระทำการแทนตัวการที่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจตั้งตัวแทนไม่ โจทก์จึงมีอำนาจกระทำนิติกรรมใด ๆ กับจำเลยได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากกระทรวงทบวง กรม แต่อย่างใด และมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ตามกฎหมาย องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรโจทก์มีอำนาจกระทำการใด ๆหรือนิติกรรมใด ๆ ได้ด้วยตนเองตามกฎหมายแล้ว เมื่อป. ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการของโจทก์ ป. จึงมีอำนาจกระทำการใดหรือทำนิติกรรมใด ๆ รวมทั้งการฟ้องคดีและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามวัตถุประสงค์ที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร พ.ศ. 2517 แทนโจทก์ได้ โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจแต่งตั้ง เป็นตัวแทนของกระทรวง ทบวง กรมใด ๆ จำเลยทำสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยจากโจทก์และได้รับปุ๋ยจากโจทก์ทุกครั้ง อีกทั้งตามข้อบังคับของจำเลยได้ระบุผู้ที่มีอำนาจลงลายมือชื่อในนิติกรรมและเอกสารทั้งปวงแทนจำเลยว่าจะต้องเป็นประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการหรือเหรัญญิกหรือผู้จัดการคนใดคนหนึ่ง เมื่อตามสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยดังกล่าวมี ผ.ประธานกรรมการและส.เลขานุการเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาตามความประสงค์ในการประชุมคณะกรรมการของจำเลย สัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยดังกล่าวจึงมีผลผูกพันจำเลยตามกฎหมาย แม้ในการซื้อปุ๋ยแต่ละครั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรไม่เคยอนุมัติวงเงินซื้อปุ๋ยและไม่เคยให้ความเห็นชอบให้จำเลยซื้อเชื่อปุ๋ยก็ตาม ก็เป็นเรื่องไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของจำเลยเท่านั้น หามีผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อเชื่อปุ๋ยระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การตลาดเพื่อเกษตรกรพ.ศ. 2517 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 (1) (8) หาใช่ประกอบ การค้าโดยทำการซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเพื่อหากำไรตามปกติ จึงมิใช่เป็นพ่อค้าตามมาตรา 165 (1) จะนำอายุความ 2 ปี มาใช้บังคับในกรณีขอให้ลูกหนี้ชำระค่าปุ๋ยไม่ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาเช่าหลังโอนมรดก: คำมั่นสัญญาเช่ามีผลผูกพันผู้รับโอนหากผู้ให้เช่ายังไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลง
ตามสัญญาเช่ามีข้อความว่าเมื่อครบกำหนดอายุแล้วผู้ให้เช่าต้องให้ผู้เช่าอยู่ต่อไปโดยผู้ให้เช่าจะต่ออายุสัญญาเช่าให้ทุกๆ3ปีและเรียกเก็บเงินค่าเช่าเพิ่มเป็นสองเท่าของที่กรมธนารักษ์เรียกเก็บข้อสัญญานี้เป็นคำมั่นของผู้ให้เช่าว่าจะให้จำเลยเช่าต่อไปไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบก่อนจะสนองรับว่าป. ผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วกรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา360ต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169วรรคสองมาใช้บังคับคำมั่นของป.จึงไม่เสื่อมเสียไปมีผลผูกพันโจทก์ผู้รับโอนให้ต้องปฏิบัติตามให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเดิม ที่โจทก์ฎีกาว่าโดยพฤตินัยและตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนจำเลยต้องรู้หรือควรรู้ว่าป. ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วเพราะเป็นคนในอำเภอเมืองสมุทรสงครามด้วยกันมีประชากรไม่มากน่าจะทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวของกันและกันดีเป็นฎีกาข้อเท็จจริง เมื่อฟังว่าคำมั่นของป. มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าการที่โจทก์เรียกเก็บค่าเช่าค่าตอบแทนเกินไปกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อดังกล่าวโจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ที่โจทก์ฎีกาว่าสัญญาเช่าเอกสารหมายจ.4ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะเกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และทายาทผู้รับโอนต่อๆไปในภายหน้าให้ต้องปฏิบัติตามไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดไม่ควรมีผลบังคับแม้ปัญหานี้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์โจทก์ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคท้าย เจ้าของทรัพย์สินจะให้เช่าทรัพย์สินของตนในลักษณะใดก็ได้เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกจึงหาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาเช่าต่อผู้รับโอนและข้อยกเว้นความขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ตามสัญญาเช่ามีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดอายุแล้วผู้ให้เช่าต้องให้ผู้เช่าเช่าอยู่ต่อไป โดยผู้ให้เช่าจะต่ออายุสัญญาเช่าให้ทุก ๆ 3 ปี และเรียกเก็บเงินค่าเช่าเพิ่มเป็นสองเท่าของที่กรมธนารักษ์เรียกเก็บ ข้อสัญญานี้เป็นคำมั่นของผู้ให้เช่าว่าจะให้จำเลยเช่าต่อไป ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ทราบก่อนจะสนองรับว่า ป.ผู้ให้เช่าถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว กรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 360 ต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 169 วรรคสอง มาใช้บังคับคำมั่นของ ป.จึงไม่เสื่อมเสียไป มีผลผูกพันโจทก์ผู้รับโอนให้ต้องปฏิบัติตามให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาเดิม
ที่โจทก์ฎีกาว่า โดยพฤตินัยและตามหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนจำเลยต้องรู้หรือควรรู้ว่า ป.ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้วเพราะเป็นคนในอำเภอเมือง-สมุทรสงครามด้วยกัน มีประชากรไม่มากน่าจะทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวของกันและกันดีเป็นฎีกาข้อเท็จจริง
เมื่อฟังว่าคำมั่นของ ป.มีผลผูกพันโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า การที่โจทก์เรียกเก็บค่าเช่า ค่าตอบแทนเกินไปกว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อดังกล่าว โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ที่โจทก์ฎีกาว่า สัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.4 ขัดต่อความสงบ-เรียบร้อยของประชาชน เพราะเกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์และทายาทผู้รับโอนต่อ ๆ ไปในภายหน้าให้ต้องปฏิบัติตามไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ไม่ควรมีผลบังคับแม้ปัญหานี้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โจทก์ก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคท้าย
เจ้าของทรัพย์สินจะให้เช่าทรัพย์สินของตนในลักษณะใดก็ได้เป็นเรื่องระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก จึงหาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความที่มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากความขัดแย้งทางกฎหมาย ถือเป็นโมฆะ
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความในคดีฟ้องขับไล่มีข้อสัญญาว่าจำเลยจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี กับให้โจทก์ออกเงินทดรองเป็นค่าขึ้นศาล ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในระหว่างดำเนินคดีไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืน โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้าง ดังนี้ ข้อตกลงตามสัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าว มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันหรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขถูกบอกเลิกได้เมื่อเกิดข้อจำกัดทางกฎหมายทำให้ไม่สามารถโอนได้ ผู้ขายต้องคืนเงิน
ในกรณีที่ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2ฟังมา แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังมายังไม่ชัดเจนพอ ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่จากพยานหลักฐานในสำนวนได้
ขณะโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินที่จำเลยมีสิทธิเข้าทำกินในนิคมทุ่งสาน โจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันด้วยว่า หากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ต่อไปการซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลย จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายกันเท่านั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ทั้งข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันก็เพิ่งจะประทับตราด้านหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี 2529หลังจากโจทก์จำเลยตกลงกันแล้วเกือบ 1 ปี จึงเป็นที่เห็นได้ว่า ขณะโจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจำเลย โจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินนั้นมีข้อกำหนดห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมาย เมื่อจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับชำระจากโจทก์จำนวน 65,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3393/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีผลผูกพันจนกว่าจะมีการจดทะเบียน หากมีข้อห้ามตามกฎหมาย คู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาได้
ในกรณีที่ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค2ฟังมาแต่ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค2ฟังมายังไม่ชัดเจนพอศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่จากพยานหลักฐานในสำนวนได้ ขณะโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินที่จำเลยมีสิทธิเข้าทำกินในนิคมทุ่งสานโจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันด้วยว่าหากทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยจะจดทะเบียนโอนที่ดินนั้นแก่โจทก์ต่อไปการซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจะซื้อขายกันเท่านั้นไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดทั้งข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันก็เพิ่งจะประทับตราด้านหลังหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อปี2529หลังจากโจทก์จำเลยตกลงกันแล้วเกือบ1ปีจึงเป็นที่เห็นได้ว่าขณะโจทก์ตกลงซื้อที่ดินจากจำเลยโจทก์ไม่ทราบว่าที่ดินนั้นมีข้อกำหนดห้ามโอนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยในขณะนั้นจึงไม่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามหรือฝ่าฝืนกฎหมายเมื่อจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์เพราะมีข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยจึงต้องคืนเงินค่าที่ดินที่ได้รับชำระจากโจทก์จำนวน65,000บาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการจัดการมรดก: ข้อตกลงไม่ขัดกฎหมาย
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ว. และจำเลยมีว่า จำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คให้โจทก์และ ว. และยอมรับว่าจะชำระเงินให้โจทก์และ ว. เมื่อศาลได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. เจ้ามรดก และผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินแล้วโดยโจทก์และ ว. ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คที่ได้แจ้งความไว้ ข้อตกลงเช่นนี้เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งมีผลทำให้หนี้เดิมคือหนี้ตามเช็คระงับไป เกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
เมื่อผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ประกาศขายที่ดินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว โดยเมื่อขายได้แล้วจะต้องแบ่งเงินให้แก่จำเลยและจำเลยจะต้องนำไปชำระให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง ดังนั้นอำนาจในการจัดการมรดกรวมตลอดถึงการขายที่ดินมรดกตามข้อตกลง จึงขึ้นอยู่กับผู้จัดการมรดกมิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงดังกล่าวจึงหาตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 152 (เดิม) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เช็ค การจัดการมรดก และผลผูกพันตามสัญญา
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ว. และจำเลยมีว่าจำเลยยอมรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คให้โจทก์และ ว. และยอมรับว่าจะชำระเงินให้โจทก์และ ว. เมื่อศาลได้ตั้งผู้จัดการมรดกของ ถ. เจ้ามรดกและผู้จัดการมรดกได้จำหน่ายที่ดินแล้วโดยโจทก์และ ว. ยอมถอนคำร้องทุกข์ในคดีเช็คที่ได้แจ้งความไว้ข้อตกลงเช่นนี้เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850ซึ่งมีผลทำให้หนี้เดิมคือหนี้ตามเช็คระงับไปเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ เมื่อผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ประกาศขายที่ดินตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้วโดยเมื่อขายได้แล้วจะต้องแบ่งเงินให้แก่จำเลยและจำเลยจะต้องนำไปชำระให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงดังนั้นอำนาจในการจัดการมรดกรวมตลอดถึงการขายที่ดินมรดกตามข้อตกลงจึงขึ้นอยู่กับผู้จัดการมรดกมิใช่ขึ้นอยู่กับจำเลยหรือสุดแล้วแต่ใจของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนข้อตกลงดังกล่าวจึงหาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา152(เดิม)ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินในช่วงจัดรูปที่ดินเป็นโมฆะตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2517มาตรา26และมาตรา44วรรคแรกได้บัญญัติห้ามมิให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตโครงการจัดรูปที่ดินซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา24,25แล้วจำหน่ายจ่ายโอนนับตั้งแต่วันที่ได้มีประกาศของรัฐมนตรีจนถึงวันครบกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองตกลงทำ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่กันในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายหรือ สัญญา วางมัดจำเอกสารหมายจ.1จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิม(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)โจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองต้อง กลับคืนสู่ฐานะเดิมไม่มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญากันอีกต่อไปจำเลยทั้งสองจึงไม่มีหน้าที่จะต้องไปยื่นคำร้องขออนุญาตโอนที่ดินเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางแต่อย่างใดการที่จำเลยทั้งสองไม่ไปยื่นคำร้องขออนุญาตดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา
of 67