คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 316

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินกองทุนหมู่บ้านฯ เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ห้ามยึดบังคับคดี
จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้านตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าว หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำเลยมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม ป.พ.พ. จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 วรรคสอง (1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย หรือสำหรับส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (2) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (3) รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ (4)... (5)... ทั้งการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านต้องเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามมาตรา 29 กองทุนหมู่บ้านมีเงินและทรัพย์สินในการดำเนินการตามมาตรา 6 ได้แก่ (1) เงินที่คณะกรรมการกองทุนและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้ (2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้นหรือฝากไว้กับกองทุน (4) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (5) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน ทั้งนี้ มาตรา 11 บัญญัติให้เป็นหน่วยงานของรัฐ และมีวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 11 วรรคสอง โดยมาตรา 12 บัญญัติให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประกอบไปด้วย (1) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 31 ซึ่งโอนมาจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 มีฐานะเป็นองค์การมหาชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนแห่งชาติตามมาตรา 11 และกองทุนหมู่บ้านจำเลยที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 5 จึงเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน การที่มาตรา 14 บัญญัติว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพื่อความคล่องตัวทางการเงิน อันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ดังนั้น เงินฝากในบัญชีเลขที่ 05067074XXXX เป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเพื่อเป็นเงินอุดหนุน จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 301 (5) ส่วนเงินฝากในบัญชีเลขที่ 05067074XXXX เป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออมตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้าน อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชยกรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิใช่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 303 และมาตรา 316

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการหักเงินปันผล/เฉลี่ยคืนชำระหนี้: ข้อจำกัดตามกฎหมายสหกรณ์และหลักกฎหมายทั่วไป
เงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนเป็นเงินที่ผู้ร้องจ่ายให้แก่จำเลย ไม่ใช่เงินอื่นใดที่หน่วยงานของรัฐ สถานประกอบการ หรือหน่วยงานอื่นใดในฐานะนายจ้างที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่อยู่จ่ายให้แก่จำเลยตามความในมาตรา 42/1 แห่ง พ.รบ.สหกรณ์ พ.ศ.2542
ข้อตกลงตามสัญญากู้ที่จำเลยยินยอมให้ผู้ร้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยชำระหนี้เงินกู้ที่จำเลยมีต่อผู้ร้อง มิใช่เป็นข้อตกลงในเรื่องเกี่ยวกับเงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืน ผู้ร้องจึงไม่อาจนำเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากผู้ร้องไปหักชำระหนี้ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องโดยอาศัยข้อตกลงดังกล่าวได้
การขอให้นำเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนมาหักชำระหนี้ได้กระทำภายหลังจากที่ผู้ร้องได้รับหนังสืออายัดเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนปี 2561 จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อาจหักเงินดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 วรรคสอง
หนี้ที่จำเลยมีต่อผู้ร้องเป็นเพียงหนี้กู้ยืมไม่ใช่หนี้บุริมสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 322 และมาตรา 324 ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิเหนือเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนของจำเลยในอันที่จะนำไปหักชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17549/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้างชำระ: แม้มีการซื้อทรัพย์หลุดจำนอง แต่การร้องคัดค้านทำให้สิทธิรับชำระหนี้ยังไม่สมบูรณ์ โจทก์มีสิทธิรับดอกเบี้ยจนกว่าการชำระหนี้จะเสร็จสิ้น
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด แต่จำเลยร้องคัดค้านการยึดทรัพย์ ร้องขอมิให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด อ้างว่าจะขอจัดการทรัพย์และร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดหลายครั้ง ทำให้โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้เป็นเวลาหลายปี พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ขัดขวางการได้รับชำระหนี้ของโจทก์ ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วเสร็จในวันขายทอดตลาด และไม่แน่ว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เมื่อใด กรณีจึงทำให้โจทก์ยังมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยต่อไปตามสิทธิที่ปรากฏในคำพิพากษา เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดที่โจทก์ซื้อทรัพย์ได้ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยผู้ฎีกายื่นคำร้องขอถอนฎีกา ศาลฎีกาอนุญาต ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟังวันใด ถือว่าวันดังกล่าวโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยเพราะไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ มาขัดข้องต่อการได้รับชำระหนี้ของโจทก์อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเพิกถอนการขายทอดตลาด: การบังคับคดีไม่เสร็จสิ้นและหน้าที่เจ้าพนักงานบังคับคดี
การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ส่งหมายแจ้งวันประกาศขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 2 ทราบ การขายทอดตลาดจึงไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง และมาตรา 306 จำเลยที่ 2 มิได้ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกินสมควร และการขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาต่ำเกินสมควรนั้นเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง อันจะทำให้คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นที่สุด ตามมาตรา 309 ทวิ วรรคท้าย ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ และเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 296 มิได้บัญญัติให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นที่สุด จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 หาได้ถึงที่สุดไม่
ตามบทบัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2) และมาตรา 316 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 วรรคหนึ่ง และการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 318 หากเจ้าพนักงานบังคับคดียังปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น จะถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้จ่ายเงินให้แก่โจทก์เนื่องจากยังไม่ได้ทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ดังนี้ จึงถือว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสี่ (2) จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์นี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินบังคับคดีค้างจ่ายของผู้จัดการมรดกของลูกหนี้สาบสูญ ภายใน 5 ปีนับจากวันที่ทราบสิทธิ
ตาม ป.วิ.พ มาตรา 316, 318 และ 322 เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติหลังจากมีการจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว คือการจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายรับ - จ่ายโดยเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำรายการรับ - จ่าย เสร็จแล้วก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายตามบัญชีนั้นต่อไป ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดียังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติโดยมีคำสั่งหรือดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เช่น ส่งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ให้จำเลยทราบแล้ว จึงจะถือว่าเงินส่วนที่เหลือนั้นเป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323
ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยร้องขอ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยเป็นคนสาบสูญเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543 โดยในชั้นพิจารณาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ เนื่องจากเจ้าพนักงานศาลรายงานผลการส่งหมายว่าจำเลยออกไปจากบ้านนานแล้ว ส่วนการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีนี้ขอให้ศาลส่งบัญชีทรัพย์แสดงรายการรับ - จ่ายให้จำเลยทราบพร้อมแจ้งให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือคืน 2 ครั้ง โดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของจำเลยอีกแห่งหนึ่ง เจ้าพนักงานศาลผู้ส่งหมายก็รายงานว่าจำเลยออกจากบ้านไปนานแล้ว ทั้งในขณะนั้นเป็นระยะเวลาที่จำเลยไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้เห็นว่าจำเลยยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่อยู่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยมารับเงินส่วนที่เหลือแล้วเมื่อผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยเรียกเอาในวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี นับแต่ปลายเดือนตุลาคม 2542 อันเป็นวันที่ผู้ร้องทราบว่ามีเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับคืนค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งผู้ร้องมีสิทธิเรียกเอาได้ เงินจำนวนดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1702/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการจ่ายเงินคืนให้ลูกหนี้/ผู้จัดการมรดก แม้ลูกหนี้สาบสูญ เงินยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินหากผู้มีสิทธิเรียกร้องทันเวลา
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อไปคือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316 และการจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ตามมาตรา 318 ซึ่งหากมีเงินสุทธิเหลืออยู่ต้องจ่ายในส่วนที่เหลือนั้นให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาด้วยตามมาตรา 322 วรรคสอง และหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการจ่ายเงินที่เหลือแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย และแจ้งให้ลูกหนี้มารับเงินคืนด้วย หากยังปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวไม่เสร็จสิ้น เงินส่วนที่เหลือนั้นก็ยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกร้องเอาภายใน 5 ปี และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ศาลส่งหมายแจ้งให้ ลูกหนี้ตามคำพิพากษามารับเงินโดยวิธีปิดหมายที่ภูมิลำเนาของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2535 และวันที่ 16 พฤษภาคม 2536 แต่ขณะนั้นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่แล้ว โดยไม่มีใครรู้เห็นว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ จนต่อมาศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคนสาบสูญและมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษา และปรากฏว่าผู้ร้องทราบว่ามีเงินส่วนที่เหลือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิได้รับคืน เมื่อเดือนตุลาคม 2542 ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอรับเงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2543 จึงยังไม่พ้นระยะเวลา 5 ปี ย่อมมีสิทธิขอรับเงินนี้ได้ เงินจำนวนนี้ยังไม่ตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5378/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง และการทำบัญชีรับ-จ่ายใหม่เพื่อให้เป็นธรรม
โจทก์เป็นผู้ซื้อทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นที่ดินสองแปลงจากการขายทอดตลาด และโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทั้งเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวอยู่ด้วย โจทก์ขอหักส่วนได้ใช้แทนและศาลชั้นต้นอนุญาต โจทก์จึงไม่ต้องนำเงินค่าที่ดินที่ต้องชำระมาวางและโจทก์ก็ไม่ต้องรับเงินจากการขายทอดตลาดไป แต่ถือว่าโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ซื้อและได้ใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้รับเงินไปแล้วนับแต่วันที่ศาลสั่งอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทน แม้จำเลยที่ 3 จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ดิน โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใดเพราะโจทก์ไม่ต้องวางเงินชำระค่าซื้อที่ดินและเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์อีก ดังนั้นเมื่อศาลอนุญาตให้โจทก์หักส่วนได้ใช้แทนก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในวันที่ศาลสั่งอนุญาต จึงคิดดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วไม่ได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำบัญชีแสดงรายรับ-จ่ายก็เพื่อจะได้แบ่งเงินให้เจ้าหนี้แต่ละคนได้รับตามส่วนโดยถูกต้อง บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 318ถึง 322 นั้นเป็นเพียงวิธีการที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในการจ่ายเงินให้เจ้าหนี้เท่านั้น ซึ่งเมื่อจ่ายเงินไปครบถ้วนก็ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่มิใช่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ตลอดไปจนกว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณโดยถือว่าเงินจำนวนที่หักได้ใช้แทนนั้น ยังมิได้ชำระให้โจทก์จนถึงวันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 3 โดยคำนวณดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าวมาถึงวันที่อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา เป็นการไม่ถูกต้อง กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่ชัดว่าเมื่อขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 3 รวม 13 แปลง ชำระหนี้โจทก์แล้ว ยังมีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกหรือไม่เพียงใด ดังนั้น ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีแสดงรายรับ จ่ายเงินใหม่ทั้งหมดและคำนวณดอกเบี้ยใหม่ให้ถูกต้อง หากปรากฏว่ามีหนี้เหลือที่โจทก์จะได้รับชำระอีกก็ให้โจทก์บังคับคดีจากที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่ยึดไว้เท่าที่พอจะชำระหนี้ต่อไป แต่ถ้าการขายทอดตลาดที่ดินรวม 13 แปลง พอชำระหนี้โจทก์แล้ว ก็ให้จ่ายเงินให้โจทก์และจำเลยที่ 3 ตามสิทธิของแต่ละฝ่ายและเพิกถอนการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อีก 6 แปลงต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบังคับคดีที่เหลือให้ลูกหนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการจ่ายเมื่อทวงถาม มิเช่นนั้นยังไม่ถือเป็นเงินค้างจ่าย
เมื่อมีการจำหน่ายทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว มีขั้นตอนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติสองขั้นตอน คือ การจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย ขั้นตอนหนึ่ง และการจ่ายเงินตามบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายอีกขั้นตอนหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่าย เสร็จแล้ว ก็ต้องดำเนินการให้มีการจ่ายเงินตามบัญชีนั้นต่อไป ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 316, 318 และ มาตรา 322 วรรคสอง
หลังจากเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายแล้ว ปรากฏว่ายังมิได้มีคำสั่งหรือการ ดำเนินการใดเพื่อให้มีการจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้แก่จำเลย เมื่อยังมีขั้นตอนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องปฏิบัติอีก เงินส่วนที่เหลือนี้จึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เรียกเอาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่จำเลย ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาก็เห็น สมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว แม้มีการปรับปรุงบัญชีดอกเบี้ย จำเลยไม่มีสิทธิเพิกถอนได้
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดได้ชำระราคาครบถ้วนและศาลมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนอง - โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้รับชำระหนี้จากเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาดไปแล้ว ดังนี้ ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีที่เสร็จแล้วได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา296 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่าย เพื่อปรับปรุงฉบับเดิมขึ้นใหม่ก็เพราะจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านการคิดคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดคำนวณดอกเบี้ยใหม่ แม้จะทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับบัญชีแสดงการรับจ่ายเดิมเพราะการคิดคำนวณดอกเบี้ยผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง หาใช่เป็นเรื่องที่ทำให้การบังคับคดียังไม่เสร็จลงไม่ เพราะไม่มีการกระทำอย่างใดในการที่จะบังคับเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยต่อไปอีก
ป.วิ.พ.มาตรา 316 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจัดทำบัญชีในการปฏิบัติงานบังคับคดี และมาตรา 320 ก็เป็นเรื่องที่กำหนดให้เฉพาะเจ้าหนี้เท่านั้นที่จะยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีซึ่งการบังคับคดีเสร็จลงแล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2939/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว แม้มีการปรับปรุงบัญชีรายรับ-จ่ายจากข้อคัดค้านดอกเบี้ย จำเลยไม่มีสิทธิเพิกถอน
เมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดได้ชำระราคาครบถ้วนและศาลมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนระงับการจำนอง - โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ได้รับชำระหนี้จากเงินสุทธิที่ได้รับจากการขายทอดตลาดไปแล้ว ดังนี้ ถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยจึงไม่มีสิทธิ ร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีที่เสร็จแล้วได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเพื่อปรับปรุงฉบับเดิมขึ้นใหม่ก็เพราะจำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านการคิดคำนวณดอกเบี้ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดคำนวณดอกเบี้ยใหม่ แม้จะทำให้ตัวเลขทางบัญชีไม่ตรงกับบัญชีแสดงการรับจ่ายเดิมเพราะการคิดคำนวณดอกเบี้ยผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง หาใช่เป็นเรื่องที่ทำให้การบังคับคดียังไม่เสร็จลงไม่ เพราะไม่มีการกระทำอย่างใดในการที่จะบังคับเกี่ยวกับที่ดินของจำเลยต่อไปอีก
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 316 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหน้าที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องจัดทำบัญชีในการปฏิบัติงานบังคับคดี และมาตรา 320 ก็เป็นเรื่องที่กำหนดให้เฉพาะเจ้าหนี้เท่านั้นที่จะยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีส่วนเฉลี่ยต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิร้องขอเพิกถอนการบังคับคดีซึ่งการบังคับคดีเสร็จลงแล้วได้
of 2