พบผลลัพธ์ทั้งหมด 281 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาจากความเหมาะสม ไม่ผูกติดพินัยกรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลจำต้องตั้งผู้จัดการมรดกตามที่ระบุในพินัยกรรมไม่ แม้ผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายโดยอ้างว่ามีพินัยกรรมระบุไว้ก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องคัดค้าน และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดในระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านและขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อศาลได้ดำเนินการพิจารณาอย่างคดีมีข้อพิพาท เป็นการเปิดโอกาสให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อนได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังได้มีการสืบพยานไปบ้าง แต่ยังไม่หมดปาก และแต่ละฝ่ายต่างอ้างสำนวนคดีอื่นที่คู่ความในคดีนั้นได้ประนีประนอมยอมความกันในเรื่องทรัพย์มรดกผู้ตาย พร้อมพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเป็นพยานเมื่อได้มีการเปิดโอกาสให้คู่ความคัดค้านก่อนได้แล้วการที่ศาลพิพากษาตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านและขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อศาลได้ดำเนินการพิจารณาอย่างคดีมีข้อพิพาท เป็นการเปิดโอกาสให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อนได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังได้มีการสืบพยานไปบ้าง แต่ยังไม่หมดปาก และแต่ละฝ่ายต่างอ้างสำนวนคดีอื่นที่คู่ความในคดีนั้นได้ประนีประนอมยอมความกันในเรื่องทรัพย์มรดกผู้ตาย พร้อมพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเป็นพยานเมื่อได้มีการเปิดโอกาสให้คู่ความคัดค้านก่อนได้แล้วการที่ศาลพิพากษาตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1481/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก แม้มีพินัยกรรม และผลของการประนีประนอมยอมความต่อการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก หาใช่เป็นบทบังคับให้ศาลจำต้องตั้งผู้จัดการมรดกตามที่ระบุในพินัยกรรมไม่ แม้ผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายโดยอ้างว่ามีพินัยกรรมระบุไว้ก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องคัดค้าน และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าผู้ใดในระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้าน และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อศาลได้ดำเนินการพิจารณาอย่างคดีมีข้อพิพาท เป็นการเปิดโอกาสให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อนได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังได้มีการสืบพยานไปบ้าง แต่ยังไม่หมดปาก และแต่ละฝ่ายต่างอ้างสำนวนคดีอื่นที่คู่ความในคดีนั้นได้ประนีประนอมยอมความกันในเรื่องทรัพย์มรดกผู้ตาย พร้อมพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเป็นพยาน เมื่อได้มีการเปิดโอกาสให้คู่ความคัดค้านก่อนได้แล้ว การที่ศาลพิพากษาตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้าน และขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อศาลได้ดำเนินการพิจารณาอย่างคดีมีข้อพิพาท เป็นการเปิดโอกาสให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อนได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังได้มีการสืบพยานไปบ้าง แต่ยังไม่หมดปาก และแต่ละฝ่ายต่างอ้างสำนวนคดีอื่นที่คู่ความในคดีนั้นได้ประนีประนอมยอมความกันในเรื่องทรัพย์มรดกผู้ตาย พร้อมพยานหลักฐานในสำนวนนั้นเป็นพยาน เมื่อได้มีการเปิดโอกาสให้คู่ความคัดค้านก่อนได้แล้ว การที่ศาลพิพากษาตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด: สิทธิการร้องสอดคดีตั๋วเงิน
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ในคดีที่ห้างหุ้นส่วนถูกฟ้องให้ใช้หนี้ตามตั๋วเงิน จึงร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมไม่ได้ เมื่อศาลสั่งยกคำร้องสอด และเพิกถอนคำสั่งที่รับเข้าเป็นจำเลยร่วมของผู้ร้องบางคนไว้แล้ว ผู้ร้องอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน: ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกเงินคืนได้ทันที และสิทธิในการทำกินต่างดอกเบี้ยสิ้นสุดเมื่อมีคำพิพากษา
กู้เงินไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน ผู้ให้กู้เรียกให้ชำระเงินได้โดยพลัน ไม่จำต้องบอกกล่าวก่อนฟ้อง
สัญญากู้มอบที่สวนให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปตั้งแต่วันศาลพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จ ชั้นฎีกาไม่มีข้อโต้แย้งว่าโจทก์มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ จึงต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันพิพากษา ส่วนการทำกินต่างดอกเบี้ย เมื่อพิพากษาแล้วต่อไปไม่คืนสวน เป็นคนละเรื่องกัน
สัญญากู้มอบที่สวนให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปตั้งแต่วันศาลพิพากษาให้จำเลยเสียดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีจนกว่าจะชำระเสร็จ ชั้นฎีกาไม่มีข้อโต้แย้งว่าโจทก์มีสิทธิทำกินต่างดอกเบี้ยต่อไปหรือไม่ จึงต้องถือตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่วันพิพากษา ส่วนการทำกินต่างดอกเบี้ย เมื่อพิพากษาแล้วต่อไปไม่คืนสวน เป็นคนละเรื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษี, การชำระบัญชีบริษัท, และความรับผิดของผู้ชำระบัญชี
ผู้มีเงินได้ต้องยื่นรายการในกุมภาพันธ์ 2502 แสดงเงินได้ในปี 2501 ที่ล่วงมาแล้ว สิทธิเรียกร้องภาษีเงินได้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2502กรมสรรพากรโจทก์ยื่นฟ้องเรียกภาษีเงินได้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2512ยังไม่เกินอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 167
การชำระบัญชีบริษัทจำกัดสิ้นสุดเมื่อจดทะเบียน ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียน อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 1272 ยังไม่เริ่มนับ
เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินภาษีเงินได้ให้จำเลยชำระรวมทั้งเงินเพิ่ม จำเลยไม่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภายใน 30 วัน จำเลยต้องเสียภาษีตามนั้น จะอ้างว่าไม่ถูกต้องภายหลังไม่ได้
ผู้ถือหุ้นค้างชำระค่าหุ้นอยู่เพราะกรรมการบริษัทและผู้ชำระบัญชีไม่เรียกเก็บ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระได้พร้อมด้วยดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
ผู้ชำระบัญชีบริษัทจำกัดมีหน้าที่ตามมาตรา 1250 แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ที่บริษัทค้างชำระ ข้อหาว่าทำละเมิดก็ต้องแสดงว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เสียหายเพียงแต่ไม่เรียกให้ชำระค่าหุ้นให้ครบยังไม่เป็นละเมิด
การชำระบัญชีบริษัทจำกัดสิ้นสุดเมื่อจดทะเบียน ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียน อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 1272 ยังไม่เริ่มนับ
เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินภาษีเงินได้ให้จำเลยชำระรวมทั้งเงินเพิ่ม จำเลยไม่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภายใน 30 วัน จำเลยต้องเสียภาษีตามนั้น จะอ้างว่าไม่ถูกต้องภายหลังไม่ได้
ผู้ถือหุ้นค้างชำระค่าหุ้นอยู่เพราะกรรมการบริษัทและผู้ชำระบัญชีไม่เรียกเก็บ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระได้พร้อมด้วยดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
ผู้ชำระบัญชีบริษัทจำกัดมีหน้าที่ตามมาตรา 1250 แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ที่บริษัทค้างชำระ ข้อหาว่าทำละเมิดก็ต้องแสดงว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เสียหายเพียงแต่ไม่เรียกให้ชำระค่าหุ้นให้ครบยังไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้ดุมเกวียน-กำเกวียน-กีบเกวียน ไม่ถือเป็นไม้แปรรูป หากมีไว้เพื่อใช้ประกอบล้อเกวียน
ไม้หวงห้ามที่เป็นดุมเกวียน กำเกวียน และกีบเกวียน ซึ่งมีสภาพเป็นเครื่องใช้และจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ผู้ใช้เกวียน เอาไปใช้แทนส่วนที่หักและพร้อมที่จะนำเอาไปใช้ได้ทันทีนั้น นับได้ว่าเป็นเครื่องใช้ประกอบเป็นล้อเกวียนมิใช่เป็นวัตถุที่จะเอาไปเปลี่ยนแปลงทำเป็นสิ่งอื่นต่อไปจึงมิใช่ไม้ แปรรูปตามพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 4 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3054/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้ดุมเกวียน-กำเกวียน-กีบเกวียน ไม่ถือเป็นไม้แปรรูป หากมีสภาพเป็นเครื่องใช้พร้อมใช้งาน
ไม้หวงห้ามที่เป็นดุมเกวียนกำเกวียนและกีบเกวียน ซึ่งมีสภาพเป็นเครื่องใช้ และจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายแก่ผู้ใช้เกวียน เอาไปใช้แทนส่วนที่หักและพร้อมที่จะนำเอาไปใช้ได้ทันทีนั้น นับได้ว่าเป็นเครื่องใช้ประกอบเป็นล้อเกวียนมิใช่เป็นวัตถุที่จะเอาไปเปลี่ยนแปลงทำเป็นสิ่งอื่นต่อไป จึงมิใช่ไม้แปรรูปตามพระราชบัญญัติป่าไม้(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 มาตรา 4 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่3054/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นสัญญาเช่าต่อสิ้นสุดเมื่อผู้ให้เช่าเสียชีวิต ไม่ผูกพันทายาท
เงินกินเปล่าที่ผู้เช่าชำระก่อนการเช่า ไม่ทำให้เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จะต้องให้เช่าต่อจากที่การเช่าครบอายุ
คำมั่นของผู้ให้เช่าว่าจะให้เช่าต่อนั้น เมื่อผู้ให้เช่าตาย และผู้เช่าก็รู้แล้ว คำมั่นนั้นตกไปตามมาตรา 360 ไม่ผูกพันทายาทให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา 569
คำมั่นของผู้ให้เช่าว่าจะให้เช่าต่อนั้น เมื่อผู้ให้เช่าตาย และผู้เช่าก็รู้แล้ว คำมั่นนั้นตกไปตามมาตรา 360 ไม่ผูกพันทายาทให้ต้องปฏิบัติตามมาตรา 569
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่เปิดเผยข้อความจริงในสัญญาประกันภัย ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆียะ ผู้เอาประกันต้องแจ้งรายได้ที่แท้จริง
โจทก์เอาประกันภัยกับจำเลยสำหรับค่าทดแทนลูกจ้างของโจทก์ในระดับผู้จัดการร้านสาขา ถ้าโจทก์มีความรับผิดต้องจ่ายค่าทดแทน จำเลยจะต้องชดใช้เงินทุกจำนวนที่โจทก์จะต้องรับผิดนั้น กรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทข้อ 5 ระบุว่า"ค่าเบี้ยประกันภัยจะต้องคิดตามจำนวนค่าแรงและเงินเดือนตลอดทั้งรายได้อื่นๆที่ผู้เอาประกันจ่ายให้แก่ลูกจ้างในระหว่างระยะเวลาประกันภัยระยะหนึ่งๆ" ดังนั้นการแจ้งจำนวนรายได้ที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายให้ลูกจ้างจึงเป็น ข้อสารสำคัญ เมื่อโจทก์แจ้งจำนวนเงินผิดไปถึง 10 เท่าตัวเศษเป็นผลทำให้จำเลยไม่อาจเรียกเบี้ยประกันภัยซึ่งตนมีสิทธิเรียกร้องได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยถึง 200,000 บาทเศษถือได้ว่าเป็นการไม่เปิดเผยข้อความจริงที่ควรต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบในเวลาทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยฉบับพิพาทจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
ในสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงทุกข้ออันอาจจะทำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุให้จำเลยมีสิทธิตรวจดูสมุดบัญชีก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงนี้เองไม่ และจะถือว่าจำเลยควรจะทราบข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่ได้ดุจกัน
เมื่อผู้จัดการร้านสาขาคนหนึ่งของโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ โจทก์ได้แจ้งรายได้อื่นๆ ของผู้ตายนอกจากเงินเดือนให้จำเลยทราบด้วยแล้ว จำเลยไม่ได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายใน 1 เดือนนับแต่นั้น แต่การที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมรายนี้ได้ จำเลยจะต้องรู้ข้อเท็จจริงมากกว่านั้น คือต้องคำนวณจากรายได้ที่แท้จริงทั้งหมดของผู้จัดการร้านสาขาของโจทก์ทั้งหมด เพื่อจะได้ความว่าโจทก์ปกปิดข้อความจริงใดอันจะทำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะหรือไม่ เมื่อจำเลยสอบถามไปโจทก์ก็ไม่ตอบให้จำเลยทราบจนกระทั่งฟ้องจำเลยแล้วและจำเลยก็ได้บอกล้างไปภายใน 1 เดือนนับแต่จำเลยได้สอบถามไปกรณีจึงไม่ต้องด้วยวรรคสอง ของมาตรา 865
ในสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงทุกข้ออันอาจจะทำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุให้จำเลยมีสิทธิตรวจดูสมุดบัญชีก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงนี้เองไม่ และจะถือว่าจำเลยควรจะทราบข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่ได้ดุจกัน
เมื่อผู้จัดการร้านสาขาคนหนึ่งของโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ โจทก์ได้แจ้งรายได้อื่นๆ ของผู้ตายนอกจากเงินเดือนให้จำเลยทราบด้วยแล้ว จำเลยไม่ได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายใน 1 เดือนนับแต่นั้น แต่การที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมรายนี้ได้ จำเลยจะต้องรู้ข้อเท็จจริงมากกว่านั้น คือต้องคำนวณจากรายได้ที่แท้จริงทั้งหมดของผู้จัดการร้านสาขาของโจทก์ทั้งหมด เพื่อจะได้ความว่าโจทก์ปกปิดข้อความจริงใดอันจะทำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะหรือไม่ เมื่อจำเลยสอบถามไปโจทก์ก็ไม่ตอบให้จำเลยทราบจนกระทั่งฟ้องจำเลยแล้วและจำเลยก็ได้บอกล้างไปภายใน 1 เดือนนับแต่จำเลยได้สอบถามไปกรณีจึงไม่ต้องด้วยวรรคสอง ของมาตรา 865
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่เปิดเผยข้อมูลรายได้ที่แท้จริงในสัญญาประกันภัย ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ
โจทก์เอาประกันภัยกับจำเลยสำหรับค่าทดแทนลูกจ้างของโจทก์ในระดับผู้จัดการร้านสาขา ถ้าโจทก์มีความรับผิดต้องจ่ายค่าทดแทนจำเลยจะต้องชดใช้เงินทุกจำนวนที่โจทก์จะต้องรับผิดนั้นกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทข้อ 5 ระบุว่า"ค่าเบี้ยประกันภัยจะต้องคิดตามจำนวนค่าแรงและเงินเดือนตลอดทั้งรายได้อื่นๆที่ผู้เอาประกันจ่ายให้แก่ลูกจ้างในระหว่างระยะเวลาประกันภัยระยะหนึ่ง ๆ ........." ดังนั้นการแจ้งจำนวนรายได้ที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายให้ลูกจ้างจึงเป็นข้อสารสำคัญ เมื่อโจทก์แจ้งจำนวนเงินผิดไปถึง 10 เท่าตัวเศษเป็นผลทำให้จำเลยไม่อาจเรียกเบี้ยประกันภัยซึ่งตนมีสิทธิเรียกร้องได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยถึง 200,000 บาทเศษ ถือได้ว่าเป็นการไม่เปิดเผยข้อความจริงที่ควรต้องแจ้งให้ผู้รับประกันภัยทราบในเวลาทำสัญญาประกันภัย สัญญาประกันภัยฉบับพิพาทจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865
ในสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงทุกข้ออันอาจจะทำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุให้จำเลยมีสิทธิตรวจดูสมุดบัญชีก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงนี้เองไม่ และจะถือว่าจำเลยควรจะทราบข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่ได้ดุจกัน
เมื่อผู้จัดการร้านสาขาคนหนึ่งของโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ โจทก์ได้แจ้งรายได้อื่น ๆ ของผู้ตายนอกจากเงินเดือนให้จำเลยทราบด้วยแล้ว จำเลยไม่ได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายใน 1 เดือนนับแต่นั้น แต่การที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมรายนี้ได้ จำเลยจะต้องรู้ข้อเท็จจริงมากกว่านั้นคือต้องคำนวณจากรายได้ที่แท้จริงทั้งหมดของผู้จัดการร้านสาขาของโจทก์ทั้งหมด เพื่อจะได้ความว่าโจทก์ปกปิดข้อความจริงใดอันจะทำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะหรือไม่ เมื่อจำเลยสอบถามไปโจทก์ก็ไม่ตอบให้จำเลยทราบจนกระทั่งฟ้องจำเลยแล้วและจำเลยก็ได้บอกล้างไปภายใน 1 เดือนนับแต่จำเลยได้สอบถามไปกรณีจึงไม่ต้องด้วยวรรคสอง ของมาตรา 865
ในสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องเปิดเผยข้อความจริงทุกข้ออันอาจจะทำให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นหรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาด้วย แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะระบุให้จำเลยมีสิทธิตรวจดูสมุดบัญชีก็ตาม แต่ก็หาใช่เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยจะต้องแสวงหาข้อเท็จจริงนี้เองไม่ และจะถือว่าจำเลยควรจะทราบข้อเท็จจริงนี้ก็ไม่ได้ดุจกัน
เมื่อผู้จัดการร้านสาขาคนหนึ่งของโจทก์ถึงแก่ความตายในขณะปฏิบัติหน้าที่ โจทก์ได้แจ้งรายได้อื่น ๆ ของผู้ตายนอกจากเงินเดือนให้จำเลยทราบด้วยแล้ว จำเลยไม่ได้บอกล้างโมฆียะกรรมภายใน 1 เดือนนับแต่นั้น แต่การที่จำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมรายนี้ได้ จำเลยจะต้องรู้ข้อเท็จจริงมากกว่านั้นคือต้องคำนวณจากรายได้ที่แท้จริงทั้งหมดของผู้จัดการร้านสาขาของโจทก์ทั้งหมด เพื่อจะได้ความว่าโจทก์ปกปิดข้อความจริงใดอันจะทำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะหรือไม่ เมื่อจำเลยสอบถามไปโจทก์ก็ไม่ตอบให้จำเลยทราบจนกระทั่งฟ้องจำเลยแล้วและจำเลยก็ได้บอกล้างไปภายใน 1 เดือนนับแต่จำเลยได้สอบถามไปกรณีจึงไม่ต้องด้วยวรรคสอง ของมาตรา 865