คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดวง ดีวาจิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 281 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2901/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังหุ้นส่วนเสียชีวิต เมื่อทายาทปฏิเสธการชำระบัญชี
โจทก์กับ ต. เป็นหุ้นส่วน ตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ต. เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อ ต. ตายห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055 (5) ประกอบด้วยมาตรา 1080 และจะต้องตั้งผู้ชำระบัญชี ในการนี้จำเลยซึ่งเป็นทายาทและผู้รับมรดกของ ต. จะต้องเข้ามาแทนที่ ต. เพื่อการชำระบัญชี ปรากฏว่าทรัพย์สินตลอดจนบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือจำเลยและโจทก์ขอร้องให้จำเลยมาร่วมกันชำระบัญชี และแบ่งคืนเงินทุนแล้วแต่จำเลยเพิกเฉยเสีย ดังนี้ ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ (อ้างฎีกาที่ 191/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2901/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องตั้งผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังผู้จัดการเสียชีวิต เมื่อทายาทเพิกเฉยถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์กับ ต. เป็นหุ้นส่วน ตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด โจทก์เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ต. เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อ ต. ตายห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055(5) ประกอบด้วยมาตรา 1080 และจะต้องตั้งผู้ชำระบัญชี ในการนี้จำเลยซึ่งเป็นทายาทและผู้รับมรดกของ ต.จะต้องเข้ามาแทนที่ต. เพื่อการชำระบัญชี ปรากฏว่าทรัพย์สินตลอดจนบัญชีและเอกสารต่างๆ ของห้างหุ้นส่วนอยู่ในมือจำเลย และโจทก์ขอร้องให้จำเลยมาร่วมกันชำระบัญชี และแบ่งคืนเงินทุนแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยเสีย ดังนี้ ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ (อ้างฎีกาที่ 191/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมกำหนดผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่นไม่มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการมรดก
เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ และมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ อ.เป็นผู้จัดการมรดก ทั้งไม่ปรากฏว่าข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกดังกล่าวไม่มีผลบังคับด้วยประการใด ๆประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคท้าย บัญญัติให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ดังนั้น แม้ผู้ร้องเป็นทายาทของผู้ตายหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ก็ไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมกำหนดผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทอื่นไม่มีสิทธิขอเป็นผู้จัดการ
เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ และมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ อ.เป็นผู้จัดการมรดก ทั้งไม่ปรากฏว่าข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกดังกล่าวไม่มีผลบังคับด้วยประการใด ๆประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคท้ายบัญญัติให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ดังนั้นแม้ผู้ร้องเป็นทายาทของผู้ตายหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมรดกของผู้ตาย ก็ไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้เช่ายังไม่สร้างอาคารให้เสร็จตามกำหนด และการตีความสัญญาที่เป็นคุณแก่ผู้เสียเปรียบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่า 17 เดือน จำเลยให้การว่าจำเลยชำระตลอดมา คงไม่ชำระเพียง 6 เดือนเพราะโจทก์ไม่ยอมรับดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ยืมเงินจำเลย และยอมให้หักเงินยืมนั้นกับค่าเช่าที่ยังไม่ได้ชำระ 11 เดือน จำเลยจึงยังไม่ได้ชำระค่าเช่าอีกเพียง 6 เดือน ดังนี้ เป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่า จำเลยชำระค่าเช่าให้โจทก์แล้ว คงยังไม่ได้ชำระอีก 6 เดือนตามคำให้การของจำเลย มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
ตามสัญญาเช่าที่ดินกำหนดว่า 'หากอายุการเช่าครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่ายังไม่ทำการถมดินและก่อสร้างอาคารร้านค้า อย่างน้อย10 ห้อง และครบ 7 ปีตั้งแต่วันทำสัญญาต้องสร้างให้เสร็จครบอย่างน้อย 20 ห้อง ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ทันที' ดังนี้ กรณีมีข้อสงสัยว่าเมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่าถมดินและก่อสร้างร้านค้าเกินกว่า 10 ห้อง แต่ก่อสร้างเสร็จน้อยกว่า 10 ห้อง ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้หรือไม่ จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้เช่าซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ว่าจะบอกเลิกสัญญายังไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 7 ปีนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า: การตีความสัญญา การสร้างอาคารไม่ครบตามสัญญา และสิทธิของผู้เช่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่า 17 เดือน จำเลยให้การว่าจำเลยชำระตลอดมา คงไม่ชำระเพียง 6 เดือนเพราะโจทก์ไม่ยอมรับดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ยืมเงินจำเลย และยอมให้หักเงินยืมนั้นกับค่าเช่าที่ยังไม่ได้ชำระ 11 เดือน จำเลยจึงยังไม่ได้ชำระค่าเช่าอีกเพียง 6 เดือน ดังนี้ เป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่าจำเลยชำระค่าเช่าให้โจทก์แล้ว คงยังไม่ได้ชำระอีก 6 เดือนตามคำให้การของจำเลย มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
ตามสัญญาเช่าที่ดินกำหนดว่า "หากอายุการเช่าครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่ายังไม่ทำการถมดินและก่อสร้างอาคารร้านค้าอย่างน้อย10 ห้อง และครบ 7 ปี ตั้งแต่วันทำสัญญาต้องสร้างให้เสร็จครบ อย่างน้อย 20 ห้อง ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ทันที"ดังนี้ กรณีมีข้อสงสัยว่าเมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่าถมดินและก่อสร้างร้านค้าเกินกว่า 10 ห้อง แต่ก่อสร้างเสร็จน้อยกว่า 10 ห้อง ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้หรือไม่ จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้เช่าซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ว่าจะบอกเลิกสัญญายังไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 7 ปีนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: หน้าที่ชำระค่าเช่าของผู้เช่า แม้เจ้าของมิได้ส่งคนมาเก็บ
ตามข้อ 3 แห่งสัญญาเช่าซื้อ ระบุให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่านำค่าเช่าไปชำระแก่โจทก์ผู้ให้เช่า ณ สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ภายในวันที่ 10 ของทุก ๆ เดือน ทั้งยังระบุต่อไปว่า ผู้เช่าสัญญาว่าไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ผู้เช่าจะอ้างเหตุที่เจ้าของมิได้ส่งคนไปเก็บค่าเช่าขึ้นเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นความรับผิดไม่ชำระค่าเช่าหรือชำระค่าเช่าให้ช้ากว่ากำหนดไม่ได้เป็นอันขาด ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องนำค่าเช่าซื้อไปชำระให้โจทก์ แม้ในทางปฏิบัติโจทก์จะส่งพนักงานมาเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 แล้วต่อมาโจทก์จะไม่ส่งพนักงานมาเก็บค่าเช่าซื้อก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องนำค่าเช่าซื้อไปชำระแก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยจะนำเหตุที่โจทก์ไม่ส่งพนักงานไปเก็บค่าเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดว่า จำเลยที่ 1 มิได้ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อไม่ได้เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อสองคราวติด ๆ กันโจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลไม่อนุญาตคู่ความร่วม: พิจารณาประเภทคำสั่งเพื่อสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วมในคดีตามคำร้องของจำเลยนั้น ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความและไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเป็นคู่ความร่วม: การจำแนกประเภทคำสั่งและการอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วมในคดีตามคำร้องของจำเลยนั้น ไม่ใช่คำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความและไม่ใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความ แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา226(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องวินิจฉัยค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะค่าทนายความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 เป็นบทบังคับให้ศาลต้องสั่งเรื่องความรับผิดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีส่วนการที่จะสั่งให้คู่ความฝ่ายใดชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมากน้อยเพียงใดให้ศาลใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงแม้จะให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับกันไป ศาลก็ต้องสั่ง แต่ค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความนั้น นอกจากค่าธรรมเนียมศาลแล้วยังมีค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมในการส่งเอกสารและบังคับคดี และค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ บรรดาที่กฎหมายบังคับให้เสีย การที่ศาลอุทธรณ์สั่งเฉพาะค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์ ส่วนค่าฤชาธรรมเนียมอื่น ๆ มิได้วินิจฉัยถึง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
of 29