คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดวง ดีวาจิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 281 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายฟ้องเนื้อที่บุกรุกและการไม่ขัดกันของคำให้การเพิ่มเติม-เดิม จำเลยนำสืบได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1 งาน 50 ตารางวา ราคา 2,000 บาท แต่เมื่อไปทำแผนที่พิพาทปรากฏว่าที่ดินตรงที่โจทก์ชี้ว่าจำเลยบุกรุกนั้น คิดเป็นเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา โจทก์จึงขอตีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 บาทดังนี้ เมื่อที่ดินที่โจทก์นำชี้ในแผนที่พิพาทว่าจำเลยบุกรุกนั้นตรงกับที่ที่โจทก์บรรยายฟ้อง ซึ่งจำเลยก็นำชี้ด้วยแต่อ้างว่าเป็นของจำเลย ที่พิพาทจึงมิได้นอกเหนือหรือเกินไปจากฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด เป็นแต่จำนวนเนื้อที่ซึ่งประมาณไว้คลาดเคลื่อนเท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องขอเพิ่มเติมฟ้องในส่วนนี้ และศาลย่อมตีราคาเนื้อที่ที่แท้จริงและเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามความเป็นจริงได้ไม่เป็นการเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้อง
เดิมจำเลยให้การว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีที่งอก แม้จะมีที่งอกก็เป็นของจำเลย จำเลยไม่ได้บุกรุกเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์จำเลยทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยซึ่งครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผย ติดต่อมา 50-60 ปี แล้ว มี ส.ค.1 เป็นหลักฐานจำเลยมิได้ขุดบ่อบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ บ่อที่มีอยู่เป็นบ่อดั้งเดิมของจำเลย ต่อมาจำเลยให้การเพิ่มเติมว่า แม้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ตามคำให้การเดิมจะอยู่ในโฉนดของโจทก์หรืออยู่ในที่งอก จำเลยก็ได้ครอบครองมาในฐานะเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์และเจ้าของร่วมก็ทราบมาก่อนแล้วว่าเป็นที่ดินของจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ คำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยไม่ขัดกัน จำเลยจึงนำสืบตามประเด็นในคำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2517 ในประเด็นข้อคำให้การขัดกันหรือไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเนื้อที่พิพาทและคำให้การที่ไม่ขัดแย้งกัน ศาลสามารถตีราคาและรับฟังพยานได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ1 งาน 50 ตารางวา ราคา 2,000 บาท แต่เมื่อไปทำแผนที่พิพาทปรากฏว่าที่ดินตรงที่โจทก์ชี้ว่าจำเลยบุกรุกนั้น คิดเป็นเนื้อที่ 1 ไร่3 งาน 64 ตารางวา โจทก์จึงขอตีราคาเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 บาทดังนี้ เมื่อที่ดินที่โจทก์นำชี้ในแผนที่พิพาทว่าจำเลยบุกรุกนั้นตรงกับที่ที่โจทก์บรรยายฟ้อง ซึ่งจำเลยก็นำชี้ด้วย แต่อ้างว่าเป็นของจำเลย ที่พิพาทจึงมิได้นอกเหนือหรือเกินไปจากฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด เป็นแต่จำนวนเนื้อที่ซึ่งประมาณไว้คลาดเคลื่อนเท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องขอเพิ่มเติมฟ้องในส่วนนี้ และศาลย่อมตีราคาเนื้อที่ที่แท้จริงและเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มขึ้นตามความเป็นจริงได้ ไม่เป็นการเรียกค่าขึ้นศาลเพิ่มนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้อง
เดิมจำเลยให้การว่า ที่ดินของโจทก์ไม่มีที่งอก แม้จะมีที่งอกก็เป็นของจำเลย จำเลยไม่ได้บุกรุกเข้าไปในเขตโฉนดของโจทก์จำเลยทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยซึ่งครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของโดยสงบและเปิดเผย ติดต่อมา 50-60 ปี แล้ว มี ส.ค.1 เป็นหลักฐานจำเลยมิได้ขุดบ่อบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ บ่อที่มีอยู่เป็นบ่อดั้งเดิมของจำเลย ต่อมาจำเลยให้การเพิ่มเติมว่า แม้ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่ตามคำให้การเดิมจะอยู่ในโฉนดของโจทก์หรืออยู่ในที่งอก จำเลยก็ได้ครอบครองมาในฐานะเป็น เจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้ว โจทก์และเจ้าของร่วมก็ทราบมาก่อนแล้วว่าเป็นที่ดินของจำเลยโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ดังนี้ คำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยไม่ขัดกัน จำเลยจึงนำสืบตามประเด็นในคำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2517 ในประเด็นข้อคำให้การขัดกันหรือไม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทบุพการีเป็นเหตุฟ้องหย่า และหลักการแบ่งสินสมรสเมื่อมีหนี้ร่วม
จำเลยด่าโจทก์และมารดาโจทก์ว่ามารดาโจทก์เป็นคนดอกทองและโจทก์เป็นลูกคนดอกทอง มารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นคนดอกทอง ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493ได้นิยามคำว่า 'ดอกทอง' ไว้ว่า หมายถึงหญิงใจง่ายในทางประเวณี คำด่าดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการด่ามารดาโจทก์เป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณีและมารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณี อันเป็นการหมิ่นประมาทมารดาโจทก์อย่างร้ายแรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 บัญญัติว่าในระหว่างสามีภริยาให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกัน ตามส่วนที่จะได้สินสมรสนั้น เป็นเพียงบทบัญญัติยกเว้นของ มาตรา 296 ที่ให้ลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเท่านั้น ส่วนการที่จะให้สามีภริยารับผิดในหนี้ร่วมต่อกันตามมาตรา 1518 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาได้ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ ให้ มิใช่ว่าเมื่อมีหนี้ร่วม หากสามีหรือภริยาฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ถ้ามีเหตุหย่า และต้องแบ่งสินสมรสแล้วจะต้องหักหนี้ร่วมออกจากสินสมรส ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนจึงจะ แบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน จำเลยจะขอหักหนี้ดังกล่าวออกเพื่อ จำเลยจะนำไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงแบ่งสินสมรสกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหย่าและการแบ่งสินสมรส กรณีหมิ่นประมาทบุพการีและการหักหนี้ร่วม
จำเลยด่าโจทก์และมารดาโจทก์ว่ามารดาโจทก์เป็นคนดอกทองและโจทก์เป็นลูกคนดอกทอง มารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นคนดอกทอง ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493ได้นิยามคำว่า "ดอกทอง" ไว้ว่า หมายถึงหญิงใจง่ายในทางประเวณี คำด่าดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการด่ามารดาโจทก์เป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณีและมารดาโจทก์จะชักชวนให้โจทก์ไปเป็นหญิงใจง่าย ในทางประเวณี อันเป็นการหมิ่นประมาทมารดาโจทก์อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1500(2) โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยได้
ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518 บัญญัติว่าในระหว่างสามีภริยา ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกัน ตามส่วนที่จะได้สินสมรสนั้น เป็นเพียงบทบัญญัติยกเว้นของ มาตรา 296 ที่ให้ลูกหนี้ร่วมแต่ละคนจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเท่านั้น ส่วนการที่จะให้สามีภริยารับผิดในหนี้ร่วมต่อกันตามมาตรา 1518 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาได้ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ ให้ มิใช่ว่าเมื่อมีหนี้ร่วม หากสามีหรือภริยาฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรส ถ้ามีเหตุหย่า และต้องแบ่งสินสมรสแล้วจะต้องหักหนี้ร่วมออกจากสินสมรส ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อน จึงจะแบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน จำเลยจะขอหักหนี้ดังกล่าวออกเพื่อ จำเลยจะนำไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงแบ่งสินสมรสกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391-2393/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินอันเป็นสินสมรสให้บุตรโดยชอบธรรม: การให้ตามสมควรทางศีลธรรมอันดี
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภรรยากัน มีที่ดินอันเป็นสินสมรสด้วยกันหลายแปลง การที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามียกที่ดินดังกล่าวให้แก่บุตร 3 คน ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์และจำเลยที่ 1 เอง คนละ 1 แปลง ถือว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี จำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีมีอำนาจทำได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภรรยาก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391-2393/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินอันเป็นสินสมรสให้บุตร ถือเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภรรยา
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภรรยากัน มีที่ดินอันเป็นสินสมรสด้วยกันหลายแปลง การที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็น สามียกที่ดินดังกล่าวให้แก่บุตร 3 คน ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์และจำเลยที่ 1 เองคนละ 1 แปลง ถือว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีมีอำนาจทำได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภรรยาก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1473(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิของตัวแทนเชิดเรียกค่าเสียหายจากตัวการ ต้องฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 816 วรรคสาม
การที่โจทก์จะใช้สิทธิทางศาลให้จำเลยซึ่งเป็นตัวการรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนนั้น โจทก์จะต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 วรรคสาม โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าจำเลยเป็นตัวการ และโจทก์เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยไม่ได้ เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2286/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิดและค่าสินไหมทดแทน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตัวการต้องอ้างอิงมาตรา 816 วรรค 3
การที่โจทก์จะใช้สิทธิทางศาลให้จำเลยซึ่งเป็นตัวการรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนนั้น โจทก์จะต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 816 วรรค 3 โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าจำเลยเป็นตัวการ และโจทก์เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยไม่ได้ เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความกฎกระทรวงกำหนดกระสุนปืนใช้เฉพาะสงคราม: ความแตกต่างของแบบปืนและกระสุน
บรรยายฟ้องความว่า มีเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คือกระสุนปืนเล็กสั้นบรรจุเองแบบ 87 ขนาด 7.62 ม.ม. เมื่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ.2501) ฯลฯ ได้กำหนดเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในข้อ(16) คือ "เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับสิ่งซึ่งระบุไว้ตั้งแต่ (1) ถึง (9) เว้นแต่เครื่องกระสุนปืน ชนิดและขนาดที่ใช้ได้แก่อาวุธปืนซึ่งได้รับอนุญาต" กฎกระทรวงดังกล่าวข้อ (3) ค. กำหนดว่า "ปืนเล็กสั้นแบบ 83 ขนาด 6.5 ม.ม. และ 7.62 ม.ม." กระสุนปืนของกลางเป็นแบบ 87 ปืนในกฎกระทรวงข้อ (3) ค. เป็นแบบ 83ต่างแบบกัน. จะฟังว่ากระสุนปืนเล็กสั้นแบบ 87 ขนาด7.62 ม.ม. ในกฎกระทรวงข้อ (3) ค. ย่อมไม่ได้กระสุนปืนของกลางจึงไม่ใช่สำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการเข้าใจผิด ลงโทษจำเลยฐานมีกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'กระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม' ตามกฎกระทรวงฯ กรณีปืนและกระสุนคนละแบบ
บรรยายฟ้องความว่า มีเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง คือกระสุนปืนเล็กสั้นบรรจุเองแบบ 87 ขนาด 7.62 ม.ม. เมื่อกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ.2501) ฯลฯ ได้กำหนดเครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในข้อ(16) คือ "เครื่องกระสุนปืนสำหรับใช้กับสิ่งซึ่งระบุไว้ตั้งแต่ (1) ถึง (9) เว้นแต่เครื่องกระสุนปืน ชนิดและขนาดที่ใช้ได้แก่อาวุธปืนซึ่งได้รับอนุญาต" กฎกระทรวงดังกล่าวข้อ (3) ค.กำหนดว่า "ปืนเล็กสั้นแบบ 83 ขนาด 6.5 ม.ม. และ 7.62 ม.ม."กระสุนปืนของกลางเป็นแบบ 87 ปืนในกฎกระทรวงข้อ (3) ค.เป็นแบบ 83ต่างแบบกัน. จะฟังว่ากระสุนปืนเล็กสั้นแบบ 87ขนาด7.62 ม.ม. ในกฎกระทรวงข้อ (3) ค. ย่อมไม่ได้กระสุนปืนของกลางจึงไม่ใช่สำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการเข้าใจผิดลงโทษจำเลย ฐานมีกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไม่ได้
of 29