พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845-2847/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการตรวจสอบการลงโทษทางวินัยของนายจ้าง: ต้องเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่นายจ้างลงโทษทางวินัยแก่ลูกจ้างที่มิได้เป็นกรรมการลูกจ้างและการลงโทษนั้นไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ หมวด 9 นั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อนตามมาตรา 52หรือให้ความคุ้มครองตามมาตรา 121 ถึงมาตรา 123 ดังนั้น ศาลแรงงานจะเข้าไปตรวจสอบดุลพินิจการลงโทษของนายจ้างได้ต่อเมื่อเป็นการใช้ดุลพินิจลงโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้นว่าขัดต่อระเบียบข้อบังคับอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ไม่สุจริตกลั่นแกล้งหรือไม่สมเหตุสมผลอย่างชัดแจ้ง เมื่อโจทก์ทั้งสามทำผิดวินัยจริง จำเลยลงโทษตัดเงินเดือนร้อยละ 10 คนละ 1 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่ามีการใช้ดุลพินิจลงโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้ว มิใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางจะเข้าไปตรวจสอบดุลพินิจการลงโทษของจำเลยหรือลดโทษโจทก์ทั้งสามให้เป็นภาคทัณฑ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2844/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องมีเหตุสมควร แม้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การเลิกจ้างตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจึงชอบธรรม
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123 กำหนดข้อยกเว้นให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับไว้ใน (1) ถึง (5) แต่ก็มิได้หมายความว่า นอกจากข้อยกเว้นดังกล่าวแล้วนายจ้างไม่อาจเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องเพราะเหตุอื่น ๆ ได้อีก หากนายจ้างมีเหตุผลที่จำเป็นไม่ว่าจะเกิดจากนายจ้างหรือลูกจ้าง นายจ้างก็ย่อมมีสิทธิที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ ปรากฏว่าผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นลูกจ้างโจทก์ตามสัญญาจ้างชั่วคราวอันเป็นนโยบายช่วยเหลือบุตรและญาติเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีลูกจ้างในโครงการประมาณ 500คน เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้าง โจทก์บรรจุลูกจ้างดังกล่าวเป็นพนักงานประจำประมาณ350 คน และโจทก์ตั้งคณะทำงานโดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อบรรจุลูกจ้างที่เหลือ แต่ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดไม่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โจทก์ย่อมมีเหตุผลและความชอบธรรมที่จะเลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดได้ นอกจากนี้โจทก์ยังเลิกจ้างลูกจ้างคนอื่น ๆ ที่ไม่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวด้วย การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดจึงมิใช่เป็นเพราะสาเหตุจากการที่ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภา หรือเพราะเหตุที่ผู้กล่าวหาทั้งเจ็ดเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้น ไม่ถือว่าโจทก์มีเจตนากลั่นแกล้งเลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งเจ็ด แต่เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลและจำเป็นมิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลสมควร, การไม่ปฏิบัติตามระเบียบ, และฟ้องซ้ำ
คดีแรกโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้พักงานโจทก์และขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิในขณะที่โจทก์ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นครั้งที่สองโดยโจทก์ไม่มีความผิดและไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าส่วนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งโดยมูลเหตุสืบเนื่องมาจากการที่ถูกจำเลยเลิกจ้างและเรียกร้องในทำนองเดียวกันกับคดีนี้ ก็เป็นการเรียกร้องที่สืบเนื่องมาจากการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ครั้งแรก แม้คดีทั้งสองจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้กับมูลคดีที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นมูลคดีที่มิได้เกิดขึ้นในคราวเดียวกันและประเด็นข้อพิพาทก็แตกต่างกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับเงินทดรองโดยโจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ได้ยืมเงินทดรองจากจำเลยแล้วนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาจะส่งคืนเงินทดรองดังกล่าวให้แก่จำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย และการค้างชำระเงินทดรองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงการที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ค้างชำระเงินทดรองดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119
โจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทดรองดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็เพิกเฉยไม่คืนเงินทดรองดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยก็ได้จ่ายเงินค่าเสียหายในระหว่างที่มีคำสั่งพักงานโจทก์ให้แก่โจทก์ไปแล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควรไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยดังกล่าวก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องเงินทดรองอันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเกี่ยวกับเงินทดรองโดยโจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่าโจทก์ได้ยืมเงินทดรองจากจำเลยแล้วนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่มีเจตนาจะส่งคืนเงินทดรองดังกล่าวให้แก่จำเลย จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย และการค้างชำระเงินทดรองดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรงการที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ค้างชำระเงินทดรองดังกล่าวจึงไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119
โจทก์ค้างชำระเงินทดรองแก่จำเลย ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินทดรองดังกล่าว และคดีถึงที่สุดแล้ว แต่โจทก์ก็เพิกเฉยไม่คืนเงินทดรองดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้ง ๆ ที่จำเลยก็ได้จ่ายเงินค่าเสียหายในระหว่างที่มีคำสั่งพักงานโจทก์ให้แก่โจทก์ไปแล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุผลอันสมควรไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์ไม่คืนเงินทดรองให้แก่จำเลยดังกล่าวก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องเงินทดรองอันเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและเหตุผลอื่นภายหลัง การเพิกถอนการเลิกจ้างทำไม่ได้เมื่อความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างสิ้นสุด
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัท ด. เลิกจ้างโจทก์เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเหตุที่มีอยู่จริงและเป็นเจตนาของนายจ้างที่จะเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าว ถือไม่ได้ว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยสำคัญผิด และแม้นายจ้างจะพบเหตุอื่น (ความผิดของโจทก์) ในภายหลังก็ไม่สามารถอ้างเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้อีก ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้กลฉ้อฉลให้นายจ้างเลิกจ้าง ฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นการฉ้อฉลนายจ้างให้สำคัญผิด จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์สิ้นสุดลงและมีผลตามกฎหมายตามหนังสือเลิกจ้างเป็นต้นไป โดยบริษัท ค. ไม่อาจใช้สิทธิเพิกถอนการเลิกจ้างนั้นได้อีกแม้ภายหลังบริษัท ด. นายจ้างจะพบเรื่องที่อ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงกรณีโจทก์ร่วมกับพวกก่อตั้งบริษัท อ. ประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง บริษัท ด. นายจ้างจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกครั้งไม่ได้ เพราะความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์ได้สิ้นสุดไปแล้ว
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์สิ้นสุดลงและมีผลตามกฎหมายตามหนังสือเลิกจ้างเป็นต้นไป โดยบริษัท ค. ไม่อาจใช้สิทธิเพิกถอนการเลิกจ้างนั้นได้อีกแม้ภายหลังบริษัท ด. นายจ้างจะพบเรื่องที่อ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงกรณีโจทก์ร่วมกับพวกก่อตั้งบริษัท อ. ประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง บริษัท ด. นายจ้างจะยกเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกครั้งไม่ได้ เพราะความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์ได้สิ้นสุดไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเพิกถอนการเลิกจ้างภายหลังพบเหตุฝ่าฝืนสัญญา
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัท ด. เลิกจ้างโจทก์เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นเหตุที่มีอยู่จริงและเป็นเจตนาของนายจ้างที่จะเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวถือไม่ได้ว่านายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยสำคัญผิด และแม้นายจ้างจะพบเหตุอื่นในภายหลังก็ไม่สามารถอ้างเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้อีก ถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้กลฉ้อฉลให้นายจ้างเลิกจ้าง ฉะนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานอุทธรณ์ว่าโจทก์ปกปิดข้อเท็จจริงอันเป็นการฉ้อฉลนายจ้างให้สำคัญผิดเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54
บริษัท ด. เลิกจ้างโจทก์แล้วสัญญาจ้างแรงงานระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์จึงสิ้นสุดลงและมีผลตามกฎหมายตามหนังสือเลิกจ้างเป็นต้นไป บริษัท ด. ไม่อาจใช้สิทธิเพิกถอนการเลิกจ้างนั้นได้อีก แม้ภายหลังบริษัท ด. จะพบเรื่องที่อ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงกรณีโจทก์ร่วมกับพวกก่อตั้งบริษัท อ. ประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง ก็จะยกมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกครั้งไม่ได้
บริษัท ด. เลิกจ้างโจทก์แล้วสัญญาจ้างแรงงานระหว่างบริษัท ด. กับโจทก์จึงสิ้นสุดลงและมีผลตามกฎหมายตามหนังสือเลิกจ้างเป็นต้นไป บริษัท ด. ไม่อาจใช้สิทธิเพิกถอนการเลิกจ้างนั้นได้อีก แม้ภายหลังบริษัท ด. จะพบเรื่องที่อ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงกรณีโจทก์ร่วมกับพวกก่อตั้งบริษัท อ. ประกอบกิจการแข่งขันกับนายจ้าง ก็จะยกมาเป็นเหตุเลิกจ้างอีกครั้งไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสหภาพแรงงาน-นายจ้าง การผ่อนปรนโบนัสช่วงขาดทุน และสิทธิการได้รับเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
วัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานนอกจากเพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างแก่สมาชิกแล้ว ยังต้องส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกันด้วย การที่สหภาพแรงงานธนาคาร ก. และสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาธนาคาร ก. ทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคารจำเลยที่ 1 ก็เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างกับพนักงานลูกจ้าง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ประสบภาวะขาดทุน การผ่อนปรน การจ่ายเงินโบนัสเป็นการชั่วคราวอาจจะช่วยพยุงฐานะทางการเงินและอาจเป็นผลให้จำเลยที่ 1สามารถแก้ไขสถานการณ์ในการประกอบกิจการของตนได้ ซึ่งหากผลประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 มีกำไร จำเลยที่ 1 ก็สามารถจ่ายเงินโบนัสตามปกติได้ และการที่มีข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษนั้นถือได้ว่าเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างแก่สมาชิกด้วยอันเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะยกเลิกสิทธิการได้เงินโบนัสเพียงชั่วคราวเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อได้รับมติของที่ประชุมใหญ่สหภาพแรงงานทั้งสองจึงสามารถทำข้อตกลงกับจำเลยที่ 1 ได้โดยชอบด้วยกฎหมายข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาธนาคาร ก. จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องจ่ายโบนัสในช่วงเวลาที่ระบุไว้ในข้อตกลงให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166-167/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งย้ายงานที่ไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยปริยาย: อำนาจฟ้องและการพิจารณาข้อเท็จจริง
แม้สิทธิในการย้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง บริษัทจำเลยในฐานะนายจ้างสามารถกระทำได้ตามความเหมาะสมเพราะเป็นอำนาจในการบริหารจัดการภายในองค์กรของจำเลยก็ตาม แต่การที่จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ทั้งสองซึ่งมีรายได้น้อยให้ไปทำงานในโรงงานที่ห่างจากสถานที่ทำงานเดิมถึง 120 กิโลเมตร โดยไม่จัดที่พักหรือหารถรับส่งในการไปทำงานให้ อีกทั้งโจทก์ทั้งสองไม่สามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้คำสั่งของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายและก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์ทั้งสองอย่างยิ่ง ยากที่โจทก์ทั้งสองจะปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยได้ จึงมีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสอง คำสั่งของจำเลยดังกล่าวแม้จะชอบด้วยกฎหมายแต่ก็เป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม ฉะนั้น การที่โจทก์ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยจึงยังถือไม่ได้ว่าจงใจขัดคำสั่งของจำเลยและละทิ้งหน้าที่และแม้คำสั่งของจำเลยจะไม่เป็นธรรม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ออกคำสั่งย้ายโดยเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ทั้งสองทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองโดยปริยาย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้ จำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง แต่เพิ่งมีคำสั่งเลิกจ้างหลังจากมีการฟ้องคดีนี้แล้ว ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้จึงยังไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายในเรื่องที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในอุทธรณ์ แต่อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7242-7254/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบรวมกิจการและการโอนสิทธิหน้าที่ของลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน
บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนควบรวมกิจการเข้ากับธนาคาร ซ. แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารจำเลยที่ 2 มิใช่เป็นการเลิกกิจการเพียงแต่จำเลยที่ 1 ต้องสิ้นสภาพไป และเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ต้องรับโอนไปทั้งสิทธิหน้าที่ ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1243 นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ยังต้องรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ทุกประการอันเกี่ยวกับลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 13 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 577 วรรคแรก ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ในทันทีโดยอัตโนมัติแม้จะไม่ได้แสดงเจตจำนงว่าประสงค์จะโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เว้นแต่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 รายที่ได้แสดงความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่าไม่ยินยอมโอนไป ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้เลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวเนื่องจากสภาพนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 ได้หมดสิ้นไปเป็นเหตุให้ลูกจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง
โจทก์ไม่ได้แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 ว่า โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้โอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยที่ 2 ต้องแสดงเจตจำนงตอบรับการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มิฉะนั้นจะถูกเลิกจ้างนั้น เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ขัดแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลบังคับ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าจำเลยทั้งสองเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้โอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสภาพความเป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจจะก่อนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างอีก
โจทก์ไม่ได้แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 ว่า โจทก์ไม่ประสงค์ที่จะโอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงต้องถือว่าโจทก์ได้โอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ประกาศกำหนดเงื่อนไขให้ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ที่ประสงค์จะทำงานกับจำเลยที่ 2 ต้องแสดงเจตจำนงตอบรับการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มิฉะนั้นจะถูกเลิกจ้างนั้น เป็นการกำหนดเงื่อนไขที่ขัดแย้งต่อบทบัญญัติของกฎหมายข้างต้นซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลบังคับ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าจำเลยทั้งสองเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้โอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ได้สิ้นสภาพความเป็นนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจจะก่อนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้างอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีสมาชิกสหภาพแรงงาน และการจ่ายค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ย
แม้บันทึกที่บริษัทจำเลยที่ 1 มีถึงพนักงานทุกคนให้ละเว้นการออกเงินกู้ด้วยดอกเบี้ยสูงจะมิใช่ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับทำงาน แต่บันทึกดังกล่าวมีสภาพเป็นคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์นำเงินมาให้เพื่อนพนักงานซึ่งมีหน้าที่เก็บเงินจากลูกค้ากู้ยืมและเรียกดอกเบี้ยในอัตราสูงจึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ 1แต่มิใช่เป็นกรณีที่ร้ายแรง เพราะมิได้ทำให้มีผลกระทบต่อกิจการของจำเลยที่ 1 ให้เสียหายอย่างชัดแจ้ง เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าได้มีการตักเตือนเป็นหนังสือและโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ แต่การที่โจทก์จงใจฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 มีเหตุที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ เพราะโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทในการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในบริษัทจำเลยที่ 1 อันเป็นการบรรยายว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโดยฝ่าฝืนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่า การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาการกระทำอันไม่เป็นธรรม แต่โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องในข้อหาว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมได้
แม้โจทก์จะขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดถึงกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาที่ผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมศาลจึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 เสียดอกเบี้ยในค่าชดเชยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52
แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ เพราะโจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์ที่มีบทบาทในการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในบริษัทจำเลยที่ 1 อันเป็นการบรรยายว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโดยฝ่าฝืนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯอันเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่า การที่จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหาการกระทำอันไม่เป็นธรรม แต่โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องในข้อหาว่า จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมได้
แม้โจทก์จะขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายดอกเบี้ยสำหรับค่าชดเชยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดถึงกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาที่ผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมศาลจึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 เสียดอกเบี้ยในค่าชดเชยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีนับแต่วันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6296/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแรงงาน และการฟ้องซ้ำ: มูลหนี้ต่างกัน ย่อมฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องเสนอข้อหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์จะตั้งข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องว่าเป็นเรื่องละเมิดและบรรยายฟ้องด้วยว่าโจทก์ตรวจสอบรู้ตัวผู้รับผิดว่าคือจำเลยก็ตามก็หาทำให้คำฟ้องคดีนี้เป็นคำฟ้องที่โจทก์เสนอข้อหาว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์แต่เพียงอย่างเดียวไม่
สิทธิเรียกร้องในกรณีผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
จำเลยมิได้ต่อสู้คดีไว้ในคำให้การว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรกซึ่งศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว แต่ปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คดีทั้งสองเป็นคดีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้โจทก์เสียหาย แต่คดีแรกเป็นเรื่องจำเลยร่วมกับพวกทำให้สินค้าขาดจำนวนไปจากบัญชีรายรับรายจ่าย ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องจำเลยรับฝากเงินจากสมาชิกของโจทก์แล้วไม่ลงบัญชีเงินสดรับครบจำนวนที่รับฝาก เป็นเหตุให้เงินขาดหายไป มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นคนละกรณีกัน แม้โจทก์จะตรวจสอบทางบัญชีว่ามีสินค้าของโจทก์ขาดหายไปจากบัญชีและยังมีเงินขาดบัญชีอีกส่วนหนึ่งก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นคนละคดีได้หาจำต้องรวมฟ้องเป็นคดีเดียวกันไม่ฟ้องโจทก์ในคดีนี้มิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
สิทธิเรียกร้องในกรณีผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
จำเลยมิได้ต่อสู้คดีไว้ในคำให้การว่าฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรกซึ่งศาลพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว แต่ปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คดีทั้งสองเป็นคดีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้โจทก์เสียหาย แต่คดีแรกเป็นเรื่องจำเลยร่วมกับพวกทำให้สินค้าขาดจำนวนไปจากบัญชีรายรับรายจ่าย ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องจำเลยรับฝากเงินจากสมาชิกของโจทก์แล้วไม่ลงบัญชีเงินสดรับครบจำนวนที่รับฝาก เป็นเหตุให้เงินขาดหายไป มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจึงเป็นคนละกรณีกัน แม้โจทก์จะตรวจสอบทางบัญชีว่ามีสินค้าของโจทก์ขาดหายไปจากบัญชีและยังมีเงินขาดบัญชีอีกส่วนหนึ่งก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเป็นคนละคดีได้หาจำต้องรวมฟ้องเป็นคดีเดียวกันไม่ฟ้องโจทก์ในคดีนี้มิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31