พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7108/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานต่อความเสียหายจากความประมาทเลินเล่อในการรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สิน
ตู้นิรภัยมีลูกกุญแจใช้ประจำรวม 2 ดอก โดยจะต้องไขพร้อมกันจึงจะเปิดตู้นิรภัยได้ และมีระเบียบว่าด้วย การรับ การจ่าย การเก็บรักษา และการนำส่งเงิน กำหนดให้หัวหน้ากองคือโจทก์ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยการเงินหรือผู้ที่หัวหน้ากองมอบหมายถือกุญแจไว้ 1 ดอก และหัวหน้าหน่วยการเงินถือไว้ 1 ดอก ห้ามผู้หนึ่งผู้ใดถือพร้อมกันทั้ง 2 ดอก แต่โจทก์ไม่ได้ถือลูกกุญแจไว้เลย กลับได้มอบให้ น.ผู้ใต้บังคับบัญชาเก็บไว้ทั้ง 2 ดอก โดยโจทก์มิได้ให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาถือกุญแจแยกไว้คนละดอกตามระเบียบ ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้ความระมัดระวังปฏิบัติให้ ถูกต้องตามระเบียบได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ การที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวจนเป็นเหตุให้คนร้ายสามารถจี้บังคับ น.ให้เปิดตู้นิรภัยเอาเงินที่เก็บไว้ไปได้ จึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ มิใช่เหตุสุดวิสัย โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น
การที่พนักงานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลย แม้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะไม่คัดค้าน ก็ไม่ทำให้การ ฝ่าฝืนระเบียบนั้นกลับกลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยระเบียบขึ้นมาไม่ เมื่อโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยจน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย โจทก์ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่จำเลย
การที่พนักงานฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลย แม้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะไม่คัดค้าน ก็ไม่ทำให้การ ฝ่าฝืนระเบียบนั้นกลับกลายเป็นการกระทำที่ชอบด้วยระเบียบขึ้นมาไม่ เมื่อโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยจน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย โจทก์ก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2417/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง: ผู้ถือหุ้นและประธานกรรมการไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของบริษัท จึงไม่เป็นลูกจ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 และข้อ 47 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว หมายความว่า ลูกจ้างคือผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้าง ทั้งนี้ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาสามารถออกคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานให้เป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืน นายจ้างมีสิทธิลงโทษลูกจ้างได้
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและประธานกรรมการของบริษัทจำเลย โจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานในบริษัทจำเลยรองจากประธานกิตติมศักดิ์ โจทก์ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับการทำงานของบริษัทจำเลย อีกทั้งไม่มี ผู้ใดในบริษัทจำเลยสามารถสั่งการหรือบังคับบัญชาโจทก์ได้ โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและประธานกรรมการของบริษัทจำเลย โจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานในบริษัทจำเลยรองจากประธานกิตติมศักดิ์ โจทก์ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับการทำงานของบริษัทจำเลย อีกทั้งไม่มี ผู้ใดในบริษัทจำเลยสามารถสั่งการหรือบังคับบัญชาโจทก์ได้ โจทก์จึงมิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาลาออกมีผลผูกพัน แม้ต่อมานายจ้างอ้างเหตุเลิกจ้าง สัญญาเดิมยังคงมีผลบังคับใช้
จำเลยทำคำเสนอให้โจทก์ลาออกโดยยอมจ่ายเงินเพื่อตอบแทนการลาออก ซึ่งโจทก์มีคำสนองรับคำเสนอของจำเลยโดยการลาออก จึงเกิดสัญญาขึ้นระหว่างจำเลยกับโจทก์และมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยื่นหนังสือขอลาออกการที่ภายหลังจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยอย่างร้ายแรง กระทำทุจริตต่อหน้าที่และกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ก็หามีผลตามกฎหมายไม่เพราะขณะนั้นโจทก์และจำเลยมิได้มีความสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง ทั้งมิใช่เหตุตามข้อสัญญาหรือบทบัญญัติของกฎหมายที่จะบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวมาเพื่อบอกเลิกสัญญาที่ทำกับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 497-528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปีและสะสมเฉพาะกรณีนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างลาออกเองนายจ้างไม่ต้องจ่าย
จำเลยอนุมัติให้โจทก์เกษียณอายุก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 22 มกราคม 2542 เป็นต้นไป แม้สัญญาจ้างกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำเลยก็คงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เพียงวันที่ 21 มกราคม 2542 เท่านั้น
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวแก่ลูกจ้างล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะขอให้จำเลยอนุมัติให้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และจำเลยเพิ่งอนุมัติให้ลาออกตามโครงการดังกล่าวนั่นเองอันเป็นการอนุมัติให้ลาออกตามคำขอของโจทก์ จึงถือว่าเป็นการขอลาออกจากงานด้วยความสมัครใจของโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้แก่ลูกจ้าง จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายลาออกเองจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวแก่ลูกจ้างล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอเกษียณอายุก่อนกำหนดตามโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะขอให้จำเลยอนุมัติให้ลาออกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และจำเลยเพิ่งอนุมัติให้ลาออกตามโครงการดังกล่าวนั่นเองอันเป็นการอนุมัติให้ลาออกตามคำขอของโจทก์ จึงถือว่าเป็นการขอลาออกจากงานด้วยความสมัครใจของโจทก์มิใช่เป็นการเลิกจ้าง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีสะสมให้แก่ลูกจ้าง จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายลาออกเองจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7767/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างครูโรงเรียนเอกชนเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ฟ้องศาลแรงงานได้ แม้มีกฎกระทรวงคุ้มครองเฉพาะ
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเอกชนที่ตกลงทำสัญญาจ้างกัน โดยจำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นครู และให้ค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย สัญญาจ้างเป็นครูดังกล่าวจึงเป็นการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 แต่มิใช่สัญญาทางการปกครองแม้กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 1)ฯ ข้อ (1) จะกำหนดมิให้ใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู แต่เมื่อสัญญาการเป็นครูเป็นสัญญาจ้างแรงงานโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยใช้เงินอันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 8 เพียงแต่ศาลแรงงานกลางจะนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯมาบังคับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้เท่านั้น พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพ มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างและลูกจ้างหรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้างอันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายที่ขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ จึงไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ที่โจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าวก่อนฟ้องคดี โจทก์มีอำนาจฟ้อง
ในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้นไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายที่นอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานกลางนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
ในการฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้นไม่จำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายที่นอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานกลางนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชนฯ มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7767/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างครู การจ่ายค่าชดเชย และการประเมินความร้ายแรงของพฤติกรรมผิดวินัย
โจทก์และจำเลยต่างเป็นเอกชนที่ตกลงทำสัญญาจ้างกัน โดยจำเลยตกลงจ้างโจทก์ทำงานเป็นครู และให้ค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย จึงเป็นการจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 หาใช่เป็นสัญญาทางการปกครองไม่
แม้กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ (1) จะกำหนดมิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู แต่เมื่อสัญญาการเป็นครูเป็นสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 เพียงแต่ศาลแรงงานจะนำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาบังคับใช้แก่คดีไม่ได้ และสิทธิของคู่สัญญาย่อมเป็นไปตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่น
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างลูกจ้าง หรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้าง อันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วย แรงงานสัมพันธ์ แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครู โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่จะขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 จึงมิใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ การฟ้องคดีจึงไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 กำหนดไว้ก่อน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ตาม แต่การฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้น หาจำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วยไม่ หรือถ้าอ้างบทกฎหมายมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายนอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 จะได้กำหนดให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณี (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่ผู้รับใบอนุญาต (2) จงใจทำให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยจรรยา มรรยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครูตามที่คุรุสภากำหนด (5) ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 และ (7) มีความประพฤติไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ แต่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสั่งลงโทษครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 ข้อ 2 กำหนดการลงโทษครูใหญ่หรือครูไว้ 5 สถานได้แก่ (1) ตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร (2) ภาคฑัณฑ์ (3) ตัดเงินเดือน (4) ลดเงินเดือนและ (5) ให้พ้นจากหน้าที่ ข้อ 3 กำหนดให้การสั่งลงโทษต้องให้เหมาะสมกับความผิด อย่าให้เป็นไปโดยพยาบาทหรือโดยโทสะจริต ข้อ 5 กำหนดว่า ถ้าปรากฏว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ ซึ่งเป็นความผิดเล็กน้อยไม่ถึงกับจะถูกลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน ก็ให้ผู้มีอำนาจลงโทษโดยการตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษรหรือภาคฑัณฑ์ตามควรแก่กรณี และข้อ 7 กำหนดว่า ในกรณีที่ครูประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ซึ่งผู้มีอำนาจเห็นควรลงโทษร้ายแรงถึงขั้นให้พ้นจากหน้าที่ครู ให้ทำการสอบสวนและเสนอให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานพิจารณาวินิจฉัยก่อน เห็นได้ชัดแจ้งว่า การประพฤติผิดจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ หรือประพฤติที่ไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ มีระดับความร้ายแรงแตกต่างกันตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป จึงกำหนดให้ลงโทษแตกต่างกันไปตามระดับของความร้ายแรงนั้น
การที่จำเลยจะให้โจทก์พ้นหน้าที่ครูโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยต่อเมื่อการกระทำของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการและระเบียบคุรุสภา ว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของครูโรงเรียนเอกชนและวินัยตามระเบียบประเพณีครู ต้องเป็นกรณีที่ร้ายแรงในระดับที่ใกล้เคียงกับการกระทำความผิดตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 (1) (2) และ (3) โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ใช้ความระมัดระวังปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกันซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวที่ยังไม่ร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยจะมีสิทธิเลิกสัญญาการเป็นครูโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ในการคุมสอบ ปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกัน ถือได้ว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์
แม้กฎกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 ข้อ (1) จะกำหนดมิให้ใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บังคับแก่นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่และครู แต่เมื่อสัญญาการเป็นครูเป็นสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 เพียงแต่ศาลแรงงานจะนำ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาบังคับใช้แก่คดีไม่ได้ และสิทธิของคู่สัญญาย่อมเป็นไปตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่น
พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 มีวัตถุประสงค์ควบคุมโรงเรียนเอกชนให้เป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพเท่านั้น มิใช่กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่นายจ้างลูกจ้าง หรือกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง หรือแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างลูกจ้าง อันเป็นวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วย แรงงานสัมพันธ์ แม้จะมีการกำหนดให้การคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครู โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองการทำงานเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่จะขจัดข้อพิพาทระหว่างครูใหญ่หรือครูกับ ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้จัดการ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 จึงมิใช่กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ การฟ้องคดีจึงไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 กำหนดไว้ก่อน
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิด ขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรมตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ตาม แต่การฟ้องคดีแพ่งโจทก์เพียงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นเท่านั้น หาจำต้องอ้างบทกฎหมายที่กำหนดให้จำเลยต้องจ่ายเงินตามฟ้องมาด้วยไม่ หรือถ้าอ้างบทกฎหมายมาด้วย ศาลก็มีอำนาจนำบทกฎหมายนอกเหนือจากที่โจทก์อ้างมาปรับกับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ เพราะเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่ข้อเท็จจริงนั้น ที่ศาลแรงงานนำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 มาปรับแก่คดีนี้ จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 จะได้กำหนดให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกสัญญาการเป็นครูในกรณี (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่ผู้รับใบอนุญาต (2) จงใจทำให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้รับใบอนุญาตได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยจรรยา มรรยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครูตามที่คุรุสภากำหนด (5) ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 และ (7) มีความประพฤติไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ แต่ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการสั่งลงโทษครูใหญ่หรือครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2526 ข้อ 2 กำหนดการลงโทษครูใหญ่หรือครูไว้ 5 สถานได้แก่ (1) ตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร (2) ภาคฑัณฑ์ (3) ตัดเงินเดือน (4) ลดเงินเดือนและ (5) ให้พ้นจากหน้าที่ ข้อ 3 กำหนดให้การสั่งลงโทษต้องให้เหมาะสมกับความผิด อย่าให้เป็นไปโดยพยาบาทหรือโดยโทสะจริต ข้อ 5 กำหนดว่า ถ้าปรากฏว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ ซึ่งเป็นความผิดเล็กน้อยไม่ถึงกับจะถูกลงโทษตัดเงินเดือนหรือลดเงินเดือน ก็ให้ผู้มีอำนาจลงโทษโดยการตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษรหรือภาคฑัณฑ์ตามควรแก่กรณี และข้อ 7 กำหนดว่า ในกรณีที่ครูประพฤติผิดจรรยา มรรยาท หรือไม่ปฏิบัติตามวินัยหรือหน้าที่ซึ่งผู้มีอำนาจเห็นควรลงโทษร้ายแรงถึงขั้นให้พ้นจากหน้าที่ครู ให้ทำการสอบสวนและเสนอให้คณะกรรมการคุ้มครองการทำงานพิจารณาวินิจฉัยก่อน เห็นได้ชัดแจ้งว่า การประพฤติผิดจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ หรือประพฤติที่ไม่เหมาะสมแก่ตำแหน่งหน้าที่ มีระดับความร้ายแรงแตกต่างกันตามข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป จึงกำหนดให้ลงโทษแตกต่างกันไปตามระดับของความร้ายแรงนั้น
การที่จำเลยจะให้โจทก์พ้นหน้าที่ครูโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยต่อเมื่อการกระทำของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบกระทรวงศึกษาธิการและระเบียบคุรุสภา ว่าด้วยจรรยา มรรยาท วินัยและหน้าที่ของครูโรงเรียนเอกชนและวินัยตามระเบียบประเพณีครู ต้องเป็นกรณีที่ร้ายแรงในระดับที่ใกล้เคียงกับการกระทำความผิดตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการคุ้มครองการทำงานของครูใหญ่และครูโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2542 ข้อ 34 (1) (2) และ (3) โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ใช้ความระมัดระวังปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกันซึ่งเป็นการฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวที่ยังไม่ร้ายแรงถึงขนาดที่จำเลยจะมีสิทธิเลิกสัญญาการเป็นครูโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ในการคุมสอบ ปล่อยให้นักศึกษาลอกคำตอบข้อสอบกัน ถือได้ว่าเป็นการทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7766/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงาน ค่าจ้าง และค่าชดเชย: การจ่ายค่าจ้างถึงวันสุดท้ายที่ทำงาน และการคำนวณค่าชดเชยตามระยะเวลาทำงาน
สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ และลูกจ้างก็มีหน้าที่ตอบแทนคือต้องทำงานให้แก่นายจ้างเช่นเดียวกัน นายจ้างได้บอกเลิกสัญญาจ้างแก่ลูกจ้างเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2542 โดยให้ลูกจ้างหยุดทำงานตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2542 เป็นต้นไป ฉะนั้นนายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเพียงวันที่ 20 มกราคม 2542 เท่านั้น ไม่จำต้องจ่ายค่าจ้างหลังจากนั้นอีกเพราะสัญญาแรงงาน สิ้นสุดลงและลูกจ้างพ้นจากฐานะการเป็นลูกจ้างและไม่ได้ทำงานให้แก่นายจ้างแล้ว
จำเลยแสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยทำเป็นหนังสือเลิกจ้างระบุให้มีผลเป็นการเลิกจ้างนับตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2542 เป็นต้นไป โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดในวันที่ระบุไว้
การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีผลเพียงทำให้ นายจ้างต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่านั้น และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ก็มิใช่ค่าจ้าง เมื่อสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง การนับระยะเวลาทำงานของลูกจ้างก็สิ้นสุดลงด้วย
จำเลยแสดงเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยทำเป็นหนังสือเลิกจ้างระบุให้มีผลเป็นการเลิกจ้างนับตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2542 เป็นต้นไป โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2542 สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์และจำเลยจึงสิ้นสุดในวันที่ระบุไว้
การที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีผลเพียงทำให้ นายจ้างต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่านั้น และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ก็มิใช่ค่าจ้าง เมื่อสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง การนับระยะเวลาทำงานของลูกจ้างก็สิ้นสุดลงด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าจ้างค้างจ่ายตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน การกำหนดวันผิดนัดชำระหนี้ และสิทธิเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม
จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนจึงถือได้ว่า ค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์เป็นหนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง หากจำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับถัดแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปซึ่งจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง จึงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เมื่อมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา7 วัน
การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เมื่อมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา7 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดดอกเบี้ยค่าจ้างและการเรียกค่าเพิ่ม กรณีจำเลยผิดนัดชำระค่าจ้างตามกำหนด
จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนถือได้ว่า ค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์นั้นเป็นหนี้ที่กำหนด เวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง หากจำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับถัดแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป ซึ่งจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แถลงขอคิดดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันฟ้องตามที่ศาลแรงงานวินิจฉัยไว้ คำพิพากษาของศาลแรงงานที่พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง จึงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นไปโดยจงใจโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน
เมื่อไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นไปโดยจงใจโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7635/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดชำระหนี้ค่าจ้าง, ดอกเบี้ยผิดนัด, และเงื่อนไขการเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม
จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนจึงถือได้ว่า ค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์เป็นหนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฎิทินตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง หากจำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดนับถัดแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไปซึ่งจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มิได้ขอคิดดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง จึงผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวน เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เมื่อมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน
การที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ เมื่อมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วัน