พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: การจ่ายค่าจ้างตามคำขอของบริษัทอื่น ไม่ทำให้เกิดความสัมพันธ์โดยตรง
บริษัท ด.เป็นผู้ทำสัญญาจ้างโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ทำหน้าที่หาลูกค้ามาพักที่โรงแรม ท. การสมัครงานและการทำงานของโจทก์มิได้เกี่ยวข้องกับจำเลย และจำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาในการทำงานของโจทก์ ทั้งงานที่โจทก์รับจ้างบริษัท ด.ทำในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ซึ่งมีหน้าที่หาลูกค้ามาพักที่โรงแรม ท.ก็ไม่ใช่งานของจำเลย เพราะจำเลยประกอบกิจการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ ประกอบกับโจทก์เคยฟ้องบริษัท ด.เป็นจำเลยต่อศาลแรงงานว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทดังกล่าวในตำแหน่งเดียวกันกับในคดีนี้ขอให้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย และค่าชดเชยแก่โจทก์คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว จึงเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยตามสัญญาจ้างแรงงานจำเลยจึงไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ แม้จำเลยได้จ่ายเงินค่าจ้างบางส่วนและออกใบรับเงินในนามจำเลยให้แก่โจทก์ตามคำขอของบริษัท ด.ก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นนายจ้างของโจทก์ไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องสัญญาจ้างแรงงาน: การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และอำนาจศาลแรงงาน
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นเพียงว่า อ. เป็นลูกจ้างโจทก์หรือไม่ โจทก์ และจำเลยมิได้คัดค้าน กรณีจึงไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางหรือไม่ ที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาคดีโดยไม่ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงาน วินิจฉัยจึงชอบแล้ว สัญญาที่โจทก์ทำกับ อ.กำหนดให้อ. ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์เป็นเพียงข้อ กำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ.ไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่สัญญา จ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานและการพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: สัญญาจ้างต้องมีสาระสำคัญและมีการควบคุมดูแล
จำเลยให้การว่า อ. ไม่ได้รับบรรจุเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยถูกหลอกให้ลงชื่อค้ำประกันการทำงานของ อ. สัญญาจ้างเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่ไม่เป็นความจริงโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ศาลแรงงานกำหนดประเด็นตามที่จำเลยให้การดังกล่าวแต่เพียงว่า อ. เป็นลูกจ้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ประกอบกับโจทก์และจำเลยมิได้คัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าว กรณีจึงไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก่อนจึงชอบแล้ว
ตามสัญญาเอกสารฉบับพิพาท โจทก์มิได้กำหนดสถานที่ทำงานวันเวลาทำงานวันหยุดประจำสัปดาห์ และการลงโทษ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์ไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และโจทก์ไม่มีชื่อ อ. ในทะเบียนลูกจ้าง ดังนี้การที่ อ. รับสินค้าของโจทก์ไปวางขายที่บ้านของ อ. และโจทก์ไม่มีเงินเดือนให้ อ. แม้ตามสัญญาโจทก์จะกำหนดให้ อ. ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นเพียงข้อกำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ. ดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สัญญาฉบับพิพาทจึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
ตามสัญญาเอกสารฉบับพิพาท โจทก์มิได้กำหนดสถานที่ทำงานวันเวลาทำงานวันหยุดประจำสัปดาห์ และการลงโทษ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์ไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และโจทก์ไม่มีชื่อ อ. ในทะเบียนลูกจ้าง ดังนี้การที่ อ. รับสินค้าของโจทก์ไปวางขายที่บ้านของ อ. และโจทก์ไม่มีเงินเดือนให้ อ. แม้ตามสัญญาโจทก์จะกำหนดให้ อ. ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นเพียงข้อกำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ. ดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สัญญาฉบับพิพาทจึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และการไม่มีลักษณะบังคับบัญชาในสัญญาจ้าง
จำเลยให้การว่า อ.ไม่ได้รับบรรจุเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยถูกหลอกให้ลงชื่อค้ำประกันการทำงานของ อ. สัญญาจ้างเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่ไม่เป็นความจริง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ศาลแรงงานกำหนดประเด็นตามที่จำเลยให้การดังกล่าวแต่เพียงว่า อ.เป็นลูกจ้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ประกอบกับโจทก์และจำเลยมิได้คัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าว กรณีจึงไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก่อนจึงชอบแล้วตามสัญญาเอกสารฉบับพิพาท โจทก์มิได้กำหนดสถานที่ทำงาน วันเวลาทำงาน วันหยุดประจำสัปดาห์และการลงโทษซึ่งเป็นสาระสำคัญของการจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์ไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและมีชื่อ อ.ในทะเบียนลูกจ้างโจทก์ แต่กลับได้ความว่า อ.รับสินค้าของโจทก์ไปวางขายที่บ้าน อ.และโจทก์ไม่มีเงินเดือนให้ อ.แม้ตามสัญญาโจทก์จะกำหนดให้ อ.ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์เป็นเพียงข้อกำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ.ดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่ให้ค่าตอบแทนพิเศษจากการระดมเงินฝากขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะ
สัญญาที่จำเลยที่ 1 จ้างโจทก์ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการส่วนพัฒนาเงินทุนมีข้อตกลงพิเศษว่า โจทก์ต้องระดมเงินฝากให้แก่จำเลยที่ 1ไม่ต่ำกว่าปีละ4,000 ล้านบาท จึงจะได้รับค่าตอบแทนพิเศษในอัตราร้อยละ 0.06 ของยอดเงินฝากคงเหลือเฉลี่ยแต่ละวัน หากไม่สามารถระดมเงินฝากได้ถึง2,500 ล้านบาท ในระยะหนึ่งปี จำเลยที่ 1 สามารถเปลี่ยนแปลงสัญญาใหม่ได้ ทำให้เห็นว่าโจทก์จะได้ค่าตอบแทนพิเศษ จำนวนเท่าใดหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าโจทก์จะระดมเงินฝากได้มากน้อยเพียงใดถ้าไม่สามารถระดมเงินฝากได้ โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือถ้าระดมเงินฝากได้น้อยโจทก์ก็จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษลดลงตามส่วน จึงไม่แน่นอนว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนพิเศษหรือไม่และจำนวนเท่าใด ทั้งในกรณีที่โจทก์ระดมเงินฝากได้มากเกิน 4,000 ล้านบาทในระยะหนึ่งปี สัญญาจ้างก็มิได้กำหนดให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์ค่าตอบแทนพิเศษแก่โจทก์ดังนั้น เมื่อค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินที่จะได้รับต่างหากจากเงินเดือนจึงไม่เป็นเงินรางวัล เงินบำเหน็จ เงินเพิ่มอย่างอื่น บรรดาที่พึงจ่ายตามปกติ และไม่เป็นเงินเดือน เพราะเป็นจำนวนไม่แน่นอน การที่จำเลยที่ 1 ตกลงจ่ายค่าตอบแทนพิเศษเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์เนื่องจากการกระทำหรือการประกอบธุรกิจรับฝากเงินจึงเป็นการตกลงที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ. 2522 มาตรา 20(9) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแย่งกันระดมเงินฝากโดยให้เงินค่าตอบแทนพิเศษแก่ลูกจ้างในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนก่อให้เกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความเสียหายแก่สถาบันการเงินและประชาชนผู้ฝากเงินจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อตกลงให้ค่าตอบแทนพิเศษตามสัญญาจ้างดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่มีผลบังคับให้จำเลยที่ 1ต้องปฏิบัติตามจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานเพื่อสอบสวนและการจ่ายค่าจ้าง: แม้พักงาน นายจ้างยังต้องจ่ายค่าจ้างหากลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่า "หากพนักงานผู้ใดฝ่าฝืน หรือหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัยหรือฝ่าฝืนข้อห้าม มิให้ปฏิบัติ พนักงานผู้นั้นจะต้องได้รับโทษทางวินัย อย่างไรก็ดี ก่อนการสั่งลงโทษผู้บังคับบัญชาอาจสั่งพักงานเพื่อการสอบสวน ก็ได้ โดยในระหว่างพักงานให้งดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ โดยการพักงานกรณีนี้ให้กระทำเฉพาะพักงานเพื่อการสอบสวน เท่านั้น มิให้พักงานเพื่อรอผลคดี ซึ่งการพักงานเพื่อการสอบสวน นี้มิใช่เป็นการพักงานเพื่อการลงโทษ" เห็นได้ว่า การพักงาน เพื่อการสอบสวนตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเพื่อให้ ได้ความแจ้งชัดว่าลูกจ้างผู้ถูกพักงานได้กระทำความผิดตามที่ถูก สอบสวนหรือไม่ ทั้งการพักงานดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษแม้ระหว่างการพักงานนายจ้างมีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างและสิทธิ ประโยชน์ต่าง ๆ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่ระหว่างการพักงานเป็นเพียงนายจ้างให้ลูกจ้างผู้นั้นหยุดงาน เป็นการชั่วคราวเท่านั้น สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังคง มีอยู่ต่อไป ดังนี้ หากการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างผู้นั้นมิได้ กระทำความผิด นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างผู้นั้นไม่ได้และนายจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างการพักงานให้แก่ลูกจ้าง จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมมีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง ให้แก่โจทก์ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 จำเลยมีคำสั่ง พักงานโจทก์เพื่อการสอบสวน เป็นกรณีที่จำเลยมิให้โจทก์ทำงาน ดังนี้การที่โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลยจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ ค่าจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานเพื่อสอบสวนและการจ่ายค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างเมื่อไม่มีความผิด
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่า "หากพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัยหรือฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้ปฏิบัติ พนักงานผู้นั้นจะต้องได้รับโทษทางวินัย อย่างไรก็ดี ก่อนการสั่งลงโทษผู้บังคับบัญชาอาจสั่งพักงานเพื่อการสอบสวนก็ได้ โดยในระหว่างพักงานให้งดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยการพักงานกรณีนี้ให้กระทำเฉพาะพักงานเพื่อการสอบสวนเท่านั้น มิให้พักงานเพื่อรอผลคดี ซึ่งการพักงานเพื่อการสอบสวนนี้มิใช่เป็นการพักงานเพื่อการลงโทษ" เห็นได้ว่า การพักงานเพื่อการสอบสวนตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเพื่อให้ได้ความแจ้งชัดว่าลูกจ้างผู้ถูกพักงานได้กระทำความผิดตามที่ถูกสอบสวนหรือไม่ ทั้งการพักงานดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษ แม้ระหว่างการพักงานนายจ้างมีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่ระหว่างการพักงานเป็นเพียงนายจ้างให้ลูกจ้างผู้นั้นหยุดงานเป็นการชั่วคราวเท่านั้น สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป ดังนี้ หากการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างผู้นั้นมิได้กระทำความผิด นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างผู้นั้นไม่ได้และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างการพักงานให้แก่ลูกจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานให้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575 จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อการสอบสวน เป็นกรณีที่จำเลยมิให้โจทก์ทำงาน ดังนี้การที่โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลยจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างหาได้ไม่
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานให้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575 จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อการสอบสวน เป็นกรณีที่จำเลยมิให้โจทก์ทำงาน ดังนี้การที่โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลยจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกของลูกจ้างมีผลเมื่อได้รับอนุมัติจากนายจ้าง แม้จะถอนเจตนาภายหลังก็ไม่เป็นผล นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงานและหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้วลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 วรรคสอง จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการเมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลาออกมีผลผูกพัน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงาน และหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้ว ลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 วรรคสอง
จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป
โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้าง โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย
การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407
จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป
โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้าง โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย
การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนพนักงานรัฐวิสาหกิจและสิทธิบำเหน็จ: สัญญาจ้างใหม่ไม่ต่อเนื่องจากเดิม
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สถาบันการบินพลเรือนจำเลย (สบพ.) พิจารณารับโอนพนักงานหรือลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย กรมการบินพาณิชย์ ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ สบพ. โดยให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ และวรรคสองบัญญัติว่าการโอนลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการให้ออกจากงานเพราะทางราชการยุบตำแหน่งหรือทางราชการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด และให้ได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยได้โอนมาทำงานเป็นลูกจ้างของจำเลยตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 สัญญาจ้างระหว่างศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยกับโจทก์ได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 38 วรรคสอง ซึ่งโจทก์ก็ได้รับเงินบำเหน็จจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยครบถ้วนแล้ว การที่โจทก์โอนมาทำงานกับจำเลยจึงเป็นสัญญาว่าจ้างใหม่ต่างหากจากสัญญาเดิม โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้นับอายุงานโจทก์ต่อเนื่องกัน ฉะนั้น สิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงต้องเป็นไปตามสัญญาว่าจ้างใหม่และเริ่มต้นนับอายุงานใหม่ และเมื่อจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องนำระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 มาใช้บังคับ โจทก์จึงต้องอยู่ภายใตบังคับของระเบียบดังกล่าวด้วยซึ่งระเบียบดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จในกรณีเลิกจ้างโจทก์เอาไว้ด้วย โจทก์มิใช่ลูกจ้างของส่วนราชการ โจทก์จึงไม่อาจนำระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ได้ โจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับบำเหน็จตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้างพ.ศ. 2519 มิได้ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง กำหนดไว้เพื่อให้สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากสถาบันการบินพลเรือนในระหว่างที่โจทก์ยังไม่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจากผู้ว่าการไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่เป็นลูกจ้างของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวเท่านั้น หาได้ก่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ที่โจทก์เคยได้รับอยู่ก่อนมาคิดคำนวณด้วย และเมื่อไม่มีระเบียบหรือบทกฎหมายใดให้สิทธิโจทก์เรียกร้องเงินบำเหน็จได้ จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินบำเหน็จแก่โจทก์