คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 575

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4721/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างระหว่างพักงาน: ลูกจ้างยังอยู่ในสถานะลูกจ้าง จำเลยมีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง แม้ไม่มีงานมอบหมาย
เมื่อไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในระหว่างพักงานลูกจ้างเมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนั้น การที่โจทก์ได้ส่งมอบงานในหน้าที่ก่อนที่จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์การพักงานโจทก์จึงไม่ใช่สืบเนื่องมาจากความผิดของโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างพักงานโจทก์
โจทก์ขอลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าตามระเบียบแล้ว จำเลยไม่อนุญาตให้โจทก์ลาออก แต่กลับสั่งพักงานโจทก์ โจทก์จึงยังไม่พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยและโจทก์ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยอยู่ ไม่ว่าในระหว่างที่จำเลยพักงานโจทก์ จำเลยได้จ่ายงานให้โจทก์ทำหรือไม่ ส่วนจำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตอบแทนการทำงานให้โจทก์หาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่ได้ขอพักงานเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการสหกรณ์ต่อความเสียหายของสินค้า และขอบเขตความรับผิดของประกันจำนอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างเป็นผู้จัดการของโจทก์ตามสัญญาจ้างผู้จัดการ โดยสัญญามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1รับชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินต่อโจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการของโจทก์ สินค้าโจทก์ขาดบัญชีไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีดังกล่าวตามข้อตกลง เป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามข้อตกลงที่มี ข้อตกลงที่มีต่อกันตามสัญญาที่ทำกันไว้ และอายุความในกรณีนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องมีอายุความ10 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าสินค้าโจทก์ขาดบัญชีตามมาตรา 169 เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ สัญญาจ้างฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างได้รับทราบและตกลงที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามระเบียบข้อบังคับ ของร้านสหกรณ์และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจะ มอบหมายให้ ถ้าผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นต่อผู้จ้างไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้รับจ้างยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินนั้น ๆ โดยสิ้นเชิงให้แก่ผู้จ้างตามที่ผู้จ้างจะเรียกร้อง และข้อบังคับของ โจทก์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการระบุว่า ผู้จัดการ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับบรรดากิจการค้าของสหกรณ์ รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของสหกรณ์ จัดการวางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควรทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ตรวจตราดูแลสถานที่ สำนักงานร้าน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนบรรดาสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย ดังนั้น เมื่อสินค้าของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ขาดบัญชีไปและไม่ปรากฏว่าที่สินค้าขาดบัญชีไปดังกล่าวเกิดจากการ กระทำของผู้อื่น ย่อมเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการ ทำให้สินค้าของ โจทก์ที่อยู่ในความครอบครองสอดส่องดูแลของตนขาดบัญชีไปโดยประมาทเลินเล่อและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1 อาจเป็นผู้ก่อในวงเงินจำนวน 200,000 บาทซึ่งเป็นจำนวนจำกัด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าวงเงินที่จำนองที่ดินเป็นประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแทน และหากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้โจทก์จนครบนั้น ยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการสหกรณ์ต่อความเสียหายจากสินค้าขาดบัญชี และขอบเขตความรับผิดของจำนอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างเป็นผู้จัดการของโจทก์ตามสัญญาจ้างผู้จัดการ โดยสัญญามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 รับชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินต่อโจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการของโจทก์ สินค้าโจทก์ขาดบัญชีไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีดังกล่าวตามข้อตกลง เป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามข้อตกลงที่มีต่อกันตามสัญญาที่ทำกันไว้ และอายุความในกรณีนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องมีอายุความ 10 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าสินค้าโจทก์ขาดบัญชีตาม มาตรา 169 เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
สัญญาจ้างฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างได้รับทราบและตกลงที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามระเบียบข้อบังคับของร้านสหกรณ์และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจะมอบหมายให้ ถ้าผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นต่อผู้จ้างไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้รับจ้างยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินนั้น ๆ โดยสิ้นเชิงให้แก่ผู้จ้างตามที่ผู้จ้างจะเรียกร้อง และข้อบังคับของโจทก์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการระบุว่า ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับบรรดากิจการค้าของสหกรณ์ รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของสหกรณ์ จัดการวางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการ รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ตรวจตราดูแลสถานที่ สำนักงาน ร้าน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนบรรดาสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย ดังนั้นเมื่อสินค้าของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ขาดบัญชีไปและไม่ปรากฏว่าที่สินค้าขาดบัญชีไปดังกล่าวเกิดจากการกระทำของผู้อื่น ย่อมเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการ ทำให้สินค้าของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองสอดส่องดูแลของตนขาดบัญชีไปโดยประมาทเลินเล่อและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง
จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1อาจเป็นผู้ก่อในวงเงินจำนวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนจำกัด จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าวงเงินที่จำนองที่ดินเป็นประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแทน และหากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ ให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้โจทก์จนครบนั้น ยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเกษียณอายุ กรณีเลิกจ้างไม่ใช่เพราะครบเกษียณอายุ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเรื่องเงินบำเหน็จกำหนดไว้ว่า พนักงานมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อทำงานครบเกษียณอายุ โดยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานในฐานะพนักงานเป็นเวลาอย่างน้อย15 ปี ติดต่อกัน (2) มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และ(3) ทำงานให้จำเลยด้วยความขยันหมั่นเพียรและปราศจากข้อตำหนิในประวัติการทำงาน เห็นได้ว่าตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะจ่ายเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุเมื่อพนักงานทำงานครบเกษียณอายุเท่านั้น แต่การเลิกจ้างของจำเลยตามหนังสือแจ้งการเลิกจ้าง มิใช่เป็นการให้โจทก์ออกจากงานโดยเหตุครบเกษียนอายุ แต่เป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วย เหตุที่จำเลยประสบปัญหาการขาดทุนและจำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเจตนาไม่ให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8183/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจัดหางานมีหน้าที่รับผิดตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้ตัวการต่างประเทศหักเงินค่าตั๋วเครื่องบิน
สำเนาสัญญาจัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เอกสารท้ายฟ้องซึ่งโจทก์รับรองสำเนาถูกต้อง อันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฎิเสธ ว่าเป็นเอกสารไม่ถูกต้องกับเอกสารต้นฉบับอย่างไร จึงถือว่าจำเลยรับว่าข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นอยู่จริงตามนั้น ย. กรรมการจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยผูกพันจำเลยได้ลงชื่อในสัญญาจัดหางานกับโจทก์โดยเป็นการดำเนินการแทนบริษัท จ. เพื่อส่งโจทก์ไปทำงานกับบริษัท จ. ที่ไต้หวัน ต่อมาโจทก์ได้ไปทำงานโดยทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท จ. แล้ว ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท จ. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นตัวแทนทำสัญญากับโจทก์แทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง แม้ทั้งชื่อตัวการจะได้เปิดเผยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824การที่บริษัท จ. ยอมให้โจทก์กลับประเทศไทยโดยไม่จัดหาตั๋วเครื่องบินขากลับให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่กลับหักค่าตั๋วเครื่องบินจากค่าจ้างโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิจำเลยในฐานะตัวแทนของนายจ้างดังกล่าวจึงต้องรับผิดคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้แก่โจทก์จำเลยจะอ้าง พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39(1) มายกเว้นความรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8183/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของตัวแทนตามสัญญาจัดหางานและการหักค่าจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
สำเนาสัญญาจัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศเอกสารท้ายฟ้องซึ่งโจทก์รับรองสำเนาถูกต้อง อันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าเป็นเอกสารไม่ถูกต้องกับเอกสารต้นฉบับอย่างไร จึงถือว่าจำเลยรับว่าข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นอยู่จริงตามนั้น
ย.กรรมการจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยผูกพันจำเลยได้ลงชื่อในสัญญาจัดหางานกับโจทก์ โดยเป็นการดำเนินการแทนบริษัท จ.เพื่อส่งโจทก์ไปทำงานกับบริษัท จ.ที่ไต้หวัน ต่อมาโจทก์ได้ไปทำงานโดยทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท จ.แล้ว ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท จ.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นตัวแทนทำสัญญากับโจทก์แทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง แม้ทั้งชื่อตัวการจะได้เปิดเผยแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 824 การที่บริษัท จ.ยอมให้โจทก์กลับประเทศไทยโดยไม่จัดหาตั๋วเครื่องบินขากลับให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่กลับหักค่าตั๋วเครื่องบินจากค่าจ้างโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิจำเลยในฐานะตัวแทนของนายจ้างดังกล่าวจึงต้องรับผิดคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้แก่โจทก์จำเลยจะอ้าง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 39 (1)มายกเว้นความรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7257/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานบริษัทจัดตั้งใหม่: หนังสือแต่งตั้งกรรมการไม่ใช่สัญญาจ้างงาน
ตามหนังสือแต่งตั้งเอกสารหมาย จ.6 เป็นหนังสือที่มีข้อความชัดแจ้งว่าบริษัทในเครือกลุ่มจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้โจทก์เป็นกรรมการบริษัท ส.ซึ่งเป็นบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่โดยการร่วมลงทุนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มิใช่หนังสือที่จำเลยที่ 1 ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ส่วนจำเลยที่ 2ไม่ปรากฏว่าเข้าเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ในลักษณะการว่าจ้าง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ จึงไม่ขัดกับเอกสารดังกล่าวและเป็นการวินิจฉัยคดีชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7257/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: การจ้างเป็นกรรมการบริษัทมิใช่การจ้างลูกจ้าง
ตามหนังสือแต่งตั้งเอกสารหมาย จ.6 เป็นหนังสือที่มีข้อความชัดแจ้งว่าบริษัทในเครือกลุ่มจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้โจทก์เป็นกรรมการบริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่โดยการร่วมลงทุนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มิใช่หนังสือที่จำเลยที่ 1 ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ปรากฏว่าเข้าเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ในลักษณะการว่าจ้าง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ จึงไม่ขัดกับเอกสารดังกล่าว และเป็นการวินิจฉัยคดีชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7257/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: สัญญาแต่งตั้งกรรมการบริษัท ไม่ใช่สัญญาจ้างงาน นายจ้าง-ลูกจ้าง
ตามหนังสือแต่งตั้งเอกสารหมาย จ.6 เป็นหนังสือที่มีข้อความชัดแจ้งว่าบริษัทในเครือกลุ่มจำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้โจทก์เป็นกรรมการบริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่โดยการร่วมลงทุนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มิใช่หนังสือที่จำเลยที่ 1 ตกลงรับโจทก์เข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ปรากฏว่าเข้าเกี่ยวข้องอย่างไรกับโจทก์ในลักษณะการว่าจ้าง การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองไม่ใช่นายจ้างของโจทก์ จึงไม่ขัดกับเอกสารดังกล่าว และเป็นการวินิจฉัยคดีชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7107/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีผิดสัญญาจ้างแรงงานและการเบียดบังยักยอกทรัพย์สิน
ตามฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ตำแหน่งพนักงานการเงิน มีหน้าที่รักษาเงินสดและทำบัญชีรับจ่าย ทุกประเภทตามคำสั่งของโจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเบียดบังเอาเงินของโจทก์ไป เช่นนี้เป็นการอ้างว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันเป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานกรณีไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
of 249