คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 575

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9785/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทางทะเล: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสัญญาและการสูญหายระหว่างทำงาน
อ.ปฏิบัติงานเป็นไต๋เรือทำหน้าที่ควบคุมดูแลการจับปลาและอุปกรณ์ตลอดจนลูกเรือ โดยโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายปลาที่หาได้เมื่อขายและหักค่าใช้จ่ายให้โจทก์แล้ว โจทก์จะได้65 เปอร์เซ็นต์ อ. และลูกเรือได้ 35 เปอร์เซ็นต์แสดงว่าอ. เพียงตกลงทำงานให้โจทก์เพื่อประโยชน์ในธุรกิจหาปลาเท่านั้น การกำหนดส่วนแบ่งจำนวนเงินเป็นเรื่องจูงใจให้ขยันทำงานถือว่าเป็นเงินที่แบ่งให้หรือจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงานมีลักษณะเป็นค่าจ้าง อ. จึงเป็นลูกจ้างของโจทก์ อ. ต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่ในทะเลตลอดระยะเวลาที่อยู่ในทะเลจึงถือว่าเป็นระยะเวลาที่อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะนำเรือกลับมาถึงฝั่ง เมื่อ อ. หายไปจากเรือที่ทำงานอยู่จึงถือได้ว่า อ. หายไปในระหว่างทำงาน เป็นการสูญหายตาม พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9784/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดและเริ่มต้นนิติสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้างหลังการเลิกจ้างและกลับเข้าทำงาน สิทธิค่าจ้างและค่าเล่าเรียนบุตร
จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ซึ่งมีผลเมื่อวันที่27กรกฎาคม2538นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยในฐานะลูกจ้างและนายจ้างย่อมระงับสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวต่อมาเมื่อมีการสั่งให้โจทก์กลับเข้าปฎิบัติหน้าที่ตามเดิมนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยในฐานะลูกจ้างนายจ้างย่อมเริ่มต้นเมื่อโจทก์ได้รายงานตัวเข้าปฎิบัติหน้าที่ส่วนช่วงระยะเวลาระหว่างที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จนถึงก่อนวันที่โจทก์รายงานตัวเข้าทำงานใหม่นั้นโจทก์และจำเลยหาได้มีนิติสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างนายจ้างไม่ สิทธิในค่าจ้างก็ดีค่าเล่าเรียนบุตรก็ดีจึงไม่อาจมีได้ทั้งคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์กลับเข้าปฎิบัติหน้าที่ตามเดิมก็มิได้ระบุให้โจทก์ใดๆในระหว่างเลิกจ้างนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9784/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดและเริ่มต้นนิติสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง และสิทธิเรียกร้องค่าจ้าง/ค่าเล่าเรียนระหว่างช่วงเลิกจ้าง
จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม2538 นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยในฐานะลูกจ้างและนายจ้างย่อมระงับสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว ต่อมาเมื่อมีการสั่งให้โจทก์กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามเดิม นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยในฐานะลูกจ้างนายจ้างย่อมเริ่มต้นเมื่อโจทก์ได้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ ส่วนช่วงระยะเวลาระหว่างที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จนถึงก่อนวันที่โจทก์รายงานตัวเข้าทำงานใหม่นั้น โจทก์และจำเลยหาได้มีนิติสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างนายจ้างไม่ สิทธิในค่าจ้างก็ดี ค่าเล่าเรียนบุตรก็ดี จึงไม่อาจมีได้ ทั้งคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์กลับเข้าปฏิบัติหน้าที่ตามเดิมก็มิได้ระบุให้โจทก์มีสิทธิใด ๆ ในระหว่างเลิกจ้างนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095-5099/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ: ค่าจ้าง, ค่าตำแหน่ง, ค่าครองชีพ, ระยะเวลาทดลองงาน และเงินสวัสดิการ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดคำนิยามของคำว่า "ค่าจ้าง"และ"ค่าแรง" ไว้ นอกจากนี้ในข้อบังคับดังกล่าวใช้คำว่าค่าจ้างและค่าแรง ปะปนกันไม่แน่นอน เป็นต้นว่า ข้อ 4.3 การเข้าทำงานสายจะถูกตัดค่าแรงลงตามส่วน แต่ในข้อ 4.4 ในวันหยุดตามประเพณีพนักงานมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับวันทำงานตามปกติและในข้อ 5 เกี่ยวกับเรื่อง การทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด และการจ่ายค่าแรง ก็ระบุไว้ในข้อ 5.1 ว่า พนักงานทำงานเกินเวลาปกติจะได้รับค่าล่วงเวลาหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในการทำงานตามปกติสำหรับเวลาที่ทำงานเกิน ดังนี้ค่าแรงก็คือค่าจ้างที่เอามาเฉลี่ยคิดให้เป็นวันหรือชั่วโมงนั่นเอง การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าค่าแรง ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย หมายถึงค่าจ้างจึงชอบแล้ว
เงินค่าตำแหน่งและค่าครองชีพที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนที่อยู่ในเกณฑ์มีสิทธิได้รับเป็นการประจำและมีจำนวนแน่นอนจึงเป็นเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน เงินทั้ง 2 ประเภทดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2
เงินค่าที่พักที่จำเลยจ่ายช่วยเหลือลูกจ้างที่ไม่มีที่พักเป็นของตนเอง ลูกจ้างที่มีที่พักแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับเงินประเภทนี้ เงินค่าที่พักดังกล่าวจึงเป็นเพียงเงินสวัสดิการที่จำเลยจ่ายให้แก่ลูกจ้าง หาใช่เงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานไม่
เมื่อตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยไม่มีข้อยกเว้นมิให้นับระยะเวลาการทดลองงานรวมเข้ากับระยะเวลาทำงานหลังจากได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ หากจำเลยไม่ต้องการให้นับระยะเวลาทดลองงานดังกล่าวรวมเข้าด้วย จำเลยก็น่าจะระบุไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวให้ชัดแจ้ง ซึ่งจำเลยสามารถจะทำได้อีกประการหนึ่งเมื่อจำเลยออกใบผ่านงานให้โจทก์ที่ 3 จำเลยก็ระบุว่าโจทก์ที่ 3 ทำงานกับจำเลยตั้งแต่วันแรกที่โจทก์ที่ 3 เข้าทำงานทดลองงานกับจำเลย ด้วยเหตุนี้จึงต้องถือว่าระยะเวลาทดลองงานเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาทำงานที่ต้องนำมารวมคำนวณเงินตอบแทนพิเศษสำหรับโจทก์ที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดเวลาหรือไม่? การเลิกจ้างโดยการบอกกล่าวล่วงหน้า และสิทธิการได้รับค่าชดเชย
จำเลยจ้างโจทก์เป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด โดยเฉพาะเงื่อนไขข้อที่ไม่ให้ช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศไทยไปประกอบอาชีพหรือหน้าที่อื่นใดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน แต่ให้บุคคลดังกล่าวถ่ายทอดความรู้และฝึกสอนช่างภายในประเทศให้สามารถรับช่วงงานได้ รวมทั้งการอนุมัติตำแหน่งและกำหนดระยะเวลาการทำงานของคนต่างด้าวต้องผ่านมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้วย เงื่อนไขและขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดไว้ให้จำเลยปฏิบัติตามในกรณีที่จำเลยรับช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่เป็นคนต่างด้าวเช่นโจทก์ไว้ปฏิบัติงานในกิจการของจำเลย ซึ่งไม่ปรากฏว่าในการที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหัวหน้าครัวโดยมีหน้าที่จัดการและดำเนินการเกี่ยวกับครัวของโรงแรมจำเลยตลอดมานั้น เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขหรือมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใด หรือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจหน้าที่เข้าไปบริหารกิจการของจำเลยอย่างไร นิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและโจทก์คงเป็นไปตามสัญญา ซึ่งระบุว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน อันสอดคล้องกับข้อความในสัญญาที่มีการระบุไว้ชัดเจนต้องตามบทบัญญัติ ป.พ.พ.ลักษณะจ้างแรงงาน เช่นว่า โจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของคณะกรรมการบริหารของโรงแรม หากโจทก์ทุจริต ไม่ประพฤติตามคำบังคับบัญชา ประพฤติตัวต่ำทรามผิดกฎระเบียบตามกฎหมายไทยอย่างร้ายแรงหรือกระทำการขัดแย้งต่อผลประโยชน์และภาพพจน์ต่อสาธารณชนของจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นต้น โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย
แม้ตามสัญญาเอกสารหมาย ล.6 จะระบุให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสัญญาได้โดยการแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก็ตาม แต่มิได้ระบุว่าให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อใด ทั้งการที่โจทก์อยู่ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยครบตามกำหนดที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติเป็นคราว ๆ ไปนั้น หาทำให้สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์จำเลยมีต่อกันสิ้นสุดลงไปด้วยไม่ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
ตามสัญญาจ้างให้สิทธิแก่จำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ โดยเฉพาะสัญญาจ้าง ข้อ 6 มีข้อความว่า "ระยะเวลาของสัญญานี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2533 จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด โดยแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า 80 วัน" สัญญาข้อนี้ให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการ โดยไม่จำต้องแสดงเหตุผลแห่งการเลิกจ้างแต่อย่างใดในเมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1931/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน, การเลิกจ้าง, ค่าชดเชย, สิทธิของนายจ้าง, เหตุผลการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยจ้างโจทก์เป็นไปตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดโดยเฉพาะเงื่อนไขข้อที่ไม่ให้ช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในประเทศไทยไปประกอบอาชีพหรือหน้าที่อื่นใดเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแต่ให้บุคคลดังกล่าวถ่ายทอดความรู้และฝึกสอนช่างภายในประเทศให้สามารถรับช่วงงานได้รวมทั้งการอนุมัติตำแหน่งและกำหนดระยะเวลาการทำงานของคนต่างด้าวต้องผ่านมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้วยเงื่อนไขและขั้นตอนดังกล่าวเป็นเรื่องที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดไว้ให้จำเลยปฏิบัติตามในกรณีที่จำเลยรับช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่เป็นคนต่างด้าวเช่นโจทก์ไว้ปฏิบัติงานในกิจการของจำเลยซึ่งไม่ปรากฎว่าในการที่จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหัวหน้าครัวโดยมีหัวหน้าที่จัดการและดำเนินการเกี่ยวกับครัวของโรงแรมจำเลยตลอดมานั้นเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขหรือมติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแต่อย่างใดหรือคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจหน้าที่เข้าไปบริหารกิจการของจำเลยอย่างไรนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและโจทก์คงเป็นไปตามสัญญาซึ่งระบุว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานอันสอดคล้องกับข้อความในสัญญาที่มีการระบุไว้ชัดเจนต้องตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจ้างแรงงานเช่นว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของคณะกรรมการบริหารของโรงแรมหากโจทก์ทุจริตไม่ประพฤติตามคำบังคับบัญชา ประพฤติตัวต่ำทรามผิดกฎระเบียบตามกฎหมายไทยอย่างร้ายแรงหรือกระทำการขัดแย้งต่อผลประโยชน์และภาพพจน์ต่อสาธารณชนของจำเลยจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นต้นโจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย แม้ตามสัญญาเอกสารหมายล.6จะระบุให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกสัญญาได้โดยการแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก็ตามแต่มิได้ระบุว่าให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อใดทั้งการที่โจทก์อยู่ปฏิบัติงานให้แก่จำเลยครบตามกำหนดที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอนุมัติเป็นคราวๆไปนั้นหาทำให้สัญญาจ้างแรงงานที่โจทก์จำเลยมีต่อกันสิ้นสุดลงไปด้วยไม่สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีกำหนดเวลาแน่นอนเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ ตามสัญญาจ้างให้สิทธิแก่จำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าได้โดยเฉพาะสัญญาจ้างข้อ6มีข้อความว่า"ระยะเวลาของสัญญานี้เริ่มตั้งแต่วันที่15มกราคม2533จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า80วัน"สัญญาข้อนี้ให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จะบอกเลิกสัญญาในเวลาใดเวลาหนึ่งได้ตามที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการโดยไม่จำต้องแสดงเหตุผลแห่งการเลิกจ้างแต่อย่างใดในเมื่อปฏิบัติครบถ้วนตามสัญญาแล้วการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรจึงไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงออกเสมือนตัวแทนและการผูกพันตามสัญญาจ้าง
ว.เป็นผู้รับโจทก์เข้าทำงานในบริษัทจำเลย เป็นผู้ทำสัญญาจ้างโจทก์แทนจำเลย ซึ่งตามหนังสือจ้างงานดังกล่าวระบุว่า ว.มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายธุรการบุคคลของบริษัทจำเลย และเมื่อมีกรณีที่โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ ว.ก็เป็นผู้เรียกโจทก์ไปตำหนิ เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยได้เชิด ว.ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย หรือรู้แล้วยอมให้ ว.เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการจ้างหรือเลิกจ้างโจทก์ได้ ดังนั้น การที่ ว.บอกเลิกจ้างโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่า ว.เป็นตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ.และพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด: ผลผูกพันนายจ้างต่อการเลิกจ้างโดยตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจ
ว. เป็นผู้รับโจทก์เข้าทำงานในบริษัทจำเลยเป็นผู้ทำสัญญาจ้างโจทก์แทนจำเลยซึ่งตามหนังสือจ้างงานดังกล่าวระบุว่าว. มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายธุรการบุคคลของบริษัทจำเลยและเมื่อมีกรณีที่โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ว.ก็เป็นผู้เรียกโจทก์ไปตำหนิเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าจำเลยได้เชิดว.ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ว. เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการจ้างหรือเลิกจ้างโจทก์ได้ดังนั้นการที่ว. บอกเลิกจ้างโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่าว.เป็นตัวแทนของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-542/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายจ้างต้องชอบด้วยกฎหมายและอยู่ในขอบเขตหน้าที่/กิจการของนายจ้าง การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามป.พ.พ.มาตรา575,583และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ต้องเป็นคำสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานในกิจการของนายจ้างการที่จำเลยให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานที่บริษัทอ. ซึ่งมิได้เป็นกิจการของจำเลยทั้งมิใช่งานตามหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายกรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดขัดหรือฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536-542/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งให้นายจ้างส่งลูกจ้างไปทำงานนอกกิจการของตนเองไม่ชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างจึงไม่เป็นธรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา575,583และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีหน้าที่ทำงานให้แก่นายจ้างโดยทำงานตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างดังนั้นคำสั่งของนายจ้างที่ลูกจ้างจักต้องปฏิบัติตามก็จะต้องเป็นคำสั่งที่ให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานในกิจการของนายจ้างนั้น จำเลยมีปัญหาในการผลิตเนื่องจากเกิดการผละงานในบริษัท อ.ที่จำเลยเป็นลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์พื้นยางรองเท้ามาผลิตเป็นรองเท้าจำเลยได้ชี้แจงให้ลูกจ้างทราบความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างจำเลยไปทำงานที่บริษัท อ. โจทก์ทั้งเจ็ดและลูกจ้างอื่นก็ไปทำงานให้ตามประสงค์ชอบด้วยกฎหมายและการแรงงานสัมพันธ์ที่ดีแต่ที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานที่บริษัท อ. หลังจากที่โจทก์ทั้งเจ็ดกลับไปที่บริษัทจำเลยและสั่งเช่นเดียวกันซ้ำอีกครั้งหนึ่งหลังจากได้ลงโทษโจทก์ทั้งเจ็ดที่ไม่ปฏิบัติคำสั่งครั้งแรกนั้นเมื่อบริษัทอ. มิได้เป็นกิจการของจำเลยทั้งงานที่จำเลยสั่งให้โจทก์ทั้งเจ็ดทำที่บริษัท อ. ก็มิใช่งานตามหน้าที่ของโจทก์ทั้งเจ็ดคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ทั้งเจ็ดไปทำงานนอกหน้าที่ของลูกจ้างและเป็นงานของบุคคลอื่นเช่นนี้ย่อมมิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายการที่โจทก์ทั้งเจ็ดไม่ไปทำงานดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งเจ็ดขัดหรือฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ที่1ที่2ที่4ถึงที่7จึงเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมทั้งจำเลยจะต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้แก่โจทก์ดังกล่าวด้วย
of 249